เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สู่ความสุข ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
   


๒๘.ศิลปะสู่ความสุข

           ศิลปะสู่ความสุข หมายถึงวิธีการที่จะบรรลุความสุขนั้น ๆ โดยอุบายที่ไม่ยากนัก เหมือนกับการที่คนเราจะประกอบอาชีพอะไร นอกจากจะรู้หลักการอย่างถูกต้องแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการ ที่จะปฏิบัติงานนั้น ๆ ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วอีกด้วย

           ในการดำเนินชีวิต เพื่อสู่ความสุขก็เช่นเดียวกัน ถ้าขาดศิปละเสียเพียงอย่างเดียวแล้ว นอกจากจะไม่อาจบรรลุความสุข ตามที่ปรารถนาแล้ว ยังอาจจะเพิ่มปัญหาต่าง ๆ ให้อีกมากมาย

           เพราะปัญหาหรืออุปสรรค ที่ขัดขวางทางสู่ความสุขของแต่ละคนนั้นอาจไม่เหมือนกัน กล่าวคือ มีความกว้าง,ลึก หรือทั้งกว้างและทั้งลึกไม่เท่ากัน เช่น

           - บางคน มีปัญหาเฉพาะคู่ครอง หรือระหว่างผัวเมีย และมีปัญหาเพียงเรื่องเดียว อีกทั้งไม่มีความลึกลับซับซ้อน สามารถที่จะตกลงกันได้เฉพาะผัวเมียเท่านั้น

           ปัญหาที่ว่านี้ จึงมีลักษณะตื่นและแคบ การแก้ก็ง่ายมาก อาจเพียงพูดกัน ๒,๓ คำก็เข้าใจหรือหมดปัญหา

           - บางคน มีปัญหาเรื่องพ่อแม่ แถมโยงถึงลูกของเราด้วย การแก้ก็ค่อนข้างยาก เพราะมีบุคคลร่วมด้วยหลายฝ่าย แต่ก็อาจจแก้ได้ง่าย ถ้าเพียงแต่ปัญหามันกว้างและไม่ลึก

           - บางคน มีปัญหาของตัวเอง เกี่ยวโยงไปถึงผู้บังคับบัญชา แถมมีปัญหาครอบครัว เข้ามาแทรกด้วย และยังเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน ซึ่งถ้าเป็นคนขาดศิลปะ ก็ไม่อาจที่จะแยกปัญหาออกได้ชัดเจน อาจจะตัดสินด้วยลูกปืน หรือไม่ก็อาจจะเป็นโรคประสาทเรื้อรัง หรือบ้าไปเลย

           การแก้ปัญหาชีวิตที่ทั้งลึกและกว้าง ลึกลับซับซ้อนจนยากที่จะแก้ได้ ชนิดมะลุมมะตุ้มยุ่งเหยิง อาจแก้ด้วยการปลีกตัวออกไปบวช เป็นต้น

           ดังนั้น ก่อนที่เราจะกระทำการใด ๆ เพื่อให้บรรลุสู่ความสุข สิ่งแรกและสำคัญที่สุด คือจะต้องวิเคราะห์ต้นเหตุและปัญหานั้น ๆ ให้แตกหรือให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงค่อยลงมือปฏิบัติ และการที่เราได้รู้ปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้อง ก็เท่ากับว่าเราได้แก้ปัญหาไปแล้วถึง ๕๐% เพราะอะไร ?

           เพราะว่า การที่เราเกิดความทุกข์ต่าง ๆ หรือเป็นโรคอะไรที่เกี่ยวกับประสาทหรือจิตนั้น ก็เนื่องมาจากว่า เราไม่อาจที่จะรู้ถึงสมุฐานของปัญหานั้น ๆ อย่างแท้จริง ส่วนมากจะเกิดจากการคาดคะเน หรือเดาเอาว่าคงจะเป็นอย่างนั้นกระมัง ? อย่างนี้กระมัง ?

           ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่ใช่ หรือใช่ก็ไม่ทั้งหมด ยังมีส่วนอื่นๆ เข้าประกอบด้วย การแก้จึงไม่สำเร็จ เพราะแก้ปัญหาไม่ถูกจุด หรือถูกจุดเหมือนกัน แต่ไม่ถูกทั้งหมด ปัญหามันจึงไม่หมด อย่างดีก็เพียงแต่บรรเทา หรือชะลอให้มันช้าลงเท่านั้น

           วิธีแก้ปัญหาหรืออุปสรรค ที่ขัดขวางทางบรรลุสู่ความสุข ควรมีขั้นตอน ดังนี้

           ๑. ควรปลีกตัวอยู่ในที่สงบสงัด อาจเป็นมุมหนึ่งของบ้าน หรือในสวนหลังบ้างที่ร่มเย็นก็ได้

           ๒. เจริญสมาธิ หรือเจริญสติ พอให้ใจสงบ หรือไม่ฟุ้งซ่านเพียง ๕ หรือ ๑๐ นาทีก็พอ (ถ้าสงบ) แล้วก็หยิบยกเอาปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความทุกข์กังวล ห่วงใยยึดมั่นถือมั่น จนวางไม่ลงขึ้นมาพิจารณาแต่ละเรื่องๆ ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ?

           ๓. ในแต่ละเรื่องนั้น เรื่องไหนสำคัญที่สุด ? ให้ยกเรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียว มาวิจัย วิจารณ์ วิเคราะห์เจาะลึกให้ละเอียดถี่ถ้วนทุกแง่ทุกมุม ทั้งทางกว้างและทางลึก

           ๔. ถ้าหาไม่พบหรือจำไม่ได้ ก็ให้ใช้ปากกาเขียนลงไปบนกระดาษให้หมดทุกเรื่องเท่าที่จะนึกได้ แล้วก็เลือกเอาเรื่องที่เห็นว่าสำคัญที่สุดเพียงเรื่องเดียวมาวิจัย

           ๕. เมื่อได้เรื่องแล้ว จงพิจารณาดูวิธีแก้ ซึ่งอาจจะต้องมีหลายวิธี ให้เขียนลงไว้ว่า วิธีไหนดีที่สุดและง่ายที่สุด ก็ให้เอาวิธีนั้น ถ้าไม่พบทางแก้ที่ดี ควรปรึกษาท่านผู้รู้ต่อไป

           ๖. เมื่อได้พบวิธีที่สุดแล้ว ก็อย่าให้ลังเล จงลงมือทำในทันที (เผด็จการโดยธรรม) อย่าได้ผลัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไป มันจะทำให้เสียนิสัย ไม่กล้าติดสินใจ ไม่กล้าทำ เพราะกลัวโน่นกลัวนี่จิปาถะ ในที่สุดก็ไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วก็ต้องเป็นทุกข์หรือเป็นโรคประสาทต่อไปตามเดิม

           มีข้อความเดิมว่า ปัญหาต่างๆ ที่ทับถมเราอยู่นั้น ส่วนมากแล้วมักจะเป็นเพราะเราสร้างขึ้นเอง โดยรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เช่น

           - เป็นกังวลว่า ผู้บังคับบัญชาจะไม่ชอบ จะไม่ไว้วางใจ หรือจะจับผิด จะหาเรื่องให้ เป็นต้น ซึ่งความจริง มันไม่มี หรือถ้ามีจริงก็ควรแก้ไขเสียไม่ใช่มานอนเป็นทุกข์

           - ระแวงว่าแฟนจะนอกใจหรือมีชู้ แต่ก็ไม่ถาม ไม่พูด ไม่พิสูจน์ หรือไม่บอกให้ใครรู้ เก็บเอาไว้กลุ้มคนเดียว ซึ่งบางทีก็ไม่จริงเลย

           - ห่วงลูกเมีย กลัวว่าถ้าเราตายไป ลูกเมียจะลำบากหรือรายได้ตก หรือไม่มีงานทำจะลำบากเดือดร้อน ทั้งที่ยังไม่เกิด

           - กลัวไว้ล่วงหน้า จะเดิมทางไปไหน ก็กลัวว่าจะมีอันตราย จะมีอุปสรรคนานา ทำให้วิตกทุกข์ร้อนไปต่าง ๆ จนจิตไม่ผ่องใส

           สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เป็นเสมือนเงาปีศาจ คอยหลอกหลอน ให้จิตใจหวาดผวา วิตก กังวล ห่วงไปสารพัด เท่ากับคอยอัดหรือฉีดพิษของมะเร็งในอารมณ์อยู่ตลอดเวลา และจะสะสมมากขึ้น จนถึงขีดหนึ่งจิตใจและร่างกายก็จะทนไม่ได้ ถึงกับหยุดหรือพิการไปเลย

           ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ มีผลสัมพันธ์ไปถึงกายด้วย แต่แพทย์ก็ตรวจไม่พบ เพราะมันมีต้นเหตุไปจากจิตใจ จึงไม่อาจที่จะรักษาทางยาได้ จะต้องรักษาด้วย "ธรรมโอสถ" ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น รับรองว่าหายเด็ดขาด เพียงแต่ว่าเราจะทำตามท่านได้หรือไม่เท่านั้น ?

           ถ้าเราทำตามท่านไม่ได้ มันก็ต้องระทมทุกข์อยู่ตลอดไป แม้พระพุทธเจ้าหรือพระเจ้า ก็ไม่อาจจะช่วยเราได้ ท่านว่า "อย่ายึดมั่นถือมั่นนะ" แต่เรามันอดยึดไม่ได้ แล้วจะทำยังไง ?

           ดับตัวตน ผู้เขียนมีความมั่นใจว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเองพบว่า ต้นเหตุแห่งความทุกข์ หรืออุปสรรคแห่งความสุขทั้งมวลนั้นเกิดจากการที่เรายึดถือตัวตนของตนมากเกินไป แล้วเลยเป็น "ผลพวง" ให้ยึดมั่นสิ่งอื่น ๆ ตามไปด้วย เมื่อสลายหรือดับตัวตน ให้ลดน้อยลงได้มากเท่าไร ? ความสุขก็ย่อมจะเกิดมีขึ้นมาแทน ตามส่วนที่อัตตาตัวตนนั้นลดลงไปได้เท่านั้น !

           ซึ่งแน่นอนละ ในระดับของปุถุชนเต็มขั้นนี่ เราจะไม่ให้มันยึดถืออะไรเลยนั้น ก็ดูจะผิดวิสัยคนธรรมดาไป เพียงแต่ว่าให้มันน้อยลงหรือดับได้ "ชั่วคราว" เป็นระยะ ๆ ก็นับว่าดีอักโขแล้ว และถ้าต้องการที่จะเพิ่มความสุขให้มากขึ้น ก็ทำ "ชั่วคราว" นั่นแหละ ให้มันถี่ขึ้น ๆ ด้วยการเอา "สติ" เข้ามาระลึกร่วมด้วย ก็เป็นสิ่งที่จะทำได้ไม่ยากนักมิใช่หรือ ?

           วิธีสลายตัวตน มีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
           ๑. เจริญสติให้มาก แต่ทำสมาธิให้น้อยลง ทำสมาธิพอเป็น "พี่เลี้ยงสติ" ก็พอ ควรทำในชีวิตประจำวันเท่าที่พอจะทำได้ การทำเพียงเช้าหนและเย็นหนไม่พอ

           แต่อย่าลืมว่า ลำพังแต่การเจริญสติอย่างเดียว ไม่อาจจะแก้ปัญหาชีวิตหรือดับทุกข์ได้ ต้องเจริญปัญญา คือ พิจารณาเหตุผลให้รู้แจ้งตลอดถึงคุณและโทษ และตัดต้นเหตุแห่งทุกข์, โทษประกอบด้วย ตราบใดที่สติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) ยังบริบูรณ์ดีอยู่ ความทุกข์ก็เล่นงานเราไม่ได้

           ๒. เจริญมรณสติ คือระลึกถึงความตายให้บ่อยๆ หาภาพคนตายมาไว้ดู หรือไปดูศพที่วัด หรือโรงพยาบาลก็ได้ จำภาพเหล่านั้นไว้ หรือระลึกถึงภาพศพต่าง ๆ ที่เราเคยไปพบมาก็ได้ แล้วน้อมเอามาเทียบกับตนเองจนเกิดความสลดใจ แต่ไม่ใช่กลัวความตายนะ เพราะคนที่กลัวความตายนั้น จะต้องตายหลายหน แต่คนที่ไม่กลัวความตายก็จะตายเพียงหนเดียวเท่านั้น

           ๓. ถ้าจิตมันสลดหดหู่ จนเกิดคลายความยึดถือในตัวตน และสิ่งต่าง ๆ ลงได้ จิตใจโปร่งเบา มีกำลังใจในการทำความดี ก็ถือว่าธรรมะถูกกับจริตแล้ว ให้หมั่นระลึกไว้บ่อย ๆ

เคล็ดลับการเจริญมรณสติ

           การระลึกถึงความตาย ที่จะให้เกิดความไม่ประมาทจนถึงกับว่าดับหรือสลายตัวตนได้ หรืออย่างน้อยก็เบาบางจนเป็นเหตุให้กิเลสตัณหา ราคะบรรเทาบางลง รวมทั้งความยึดมั่นต่าง ๆ ก็พลอยคลายลงไปด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายนัก จะต้องประกอบด้วยอุบายหลาย ๆ อย่างที่ถูกกับจริต เช่น

           - เกิดความสลดใจ รู้สึกขึ้นในจิตจริง ๆ ว่าตนเองจะต้องตายแน่ ๆ แล้ว เกิดใจหายหรือวาบหวิว เหมือนตกจากที่สูง จนเกิดความไม่ประมาท เร่งขวนขวายในการทำความดี มีความรู้สึกเหมือนกับว่าจะต้องเดินทางไกล หรือไปแล้วจะไม่มีวันกลับ เตรียมตัวไว้ให้พร้อมแล้วอยู่เสมอ เช่น ทำพินัยกรรมไว้ มอบหมายงานที่คั่งค้างไว้ สั่งเสียจนถึงกับต่อโลงศพเตรียมไว้ เป็นต้น

           - สติช่วยกระตุ้น แม้ว่าเราจะเห็นคุณค่า ในการเจริญมรณสติอย่างไรก็ตาม พอทำไปสักระยะหนึ่ง มันก็จะมีอาการเนือยๆ จนจิตใจจะเข้าสภาพเดิม เราก็จำเป็นที่จะต้องใช้สติ เป็นพี่เลี้ยงคอยกระตุ้น ให้เกิดความไม่ประมาทอยู่เสมอ

           อะไรที่เป็นสาระของชีวิต ก็ให้เร่งรีบทำ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง มิฉะนั้นแล้วจิตก็ย่อมจะตกไปสู่อารมณ์ฝ่ายต่ำในเวลาไม่นานนัก สติจึงเป็นธรรมสำคัญ ที่จะต้องหมั่นระลึกไว้เสมอ ๆ

           - ตายก่อนตาย คือหัดทำเหมือนกับว่า เราได้ตายไปแล้วจริง ๆ มีงานอะไร ? มีภาระอะไร ? ก็มอบหมายให้คนอื่นทำแทนให้หมด แล้วปลีกตัวไปอยู่คนเดียวดู ว่ามันจะรู้สึกอย่างไร ? ยังมีการห่วงโน่นกังวลนี่ยังยึดติดในอะไร ๆ อีกบ้างไหม ?

           เมื่อทำมาถึงขั้นนี้แล้ว บางทีอาจจะรู้ว่า ภายในส่วนลึกของจิตจริง ๆ อาจจะยังมีอะไรซ่อนอยู่ก็ได้ ซึ่งการเพียงแต่พูด หรือลองหัดทำดูเพียงผิวเผิน ไม่อาจจะรู้ได้ เช่น

           บางคนพอเห็นพ่อแม่ หรือลูกของใครตาย เขาร้องไห้ไม่ได้สติ ก็คุยว่าถ้าเป็นตัวเขาละก็จะเฉย จะไม่ให้เสียน้ำตาเลยสักหยด ! แต่พอเอาเข้าจริงก็อาจจะยิ่งกว่าเขาด้วยซ้ำไป !

           ผงชิ้นเล็ก ๆ ที่ยังไม่เข้าตาตนเอง ก็ดูเป็นสิ่งไม่สำคัญฉันใด ? เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น แม้ว่าจะใหญ่โตปานใดก็ตาม ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นของเล็กสำหรับเราก็ฉันนั้น !

           การปฏิบัติธรรม เพื่อให้สลายตัวตน จึงไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายนัก จะต้องใช้ความพยายามขยันหมั่นเพียร ทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ และอาจจะต้องใช้เวลานานในบางคน จึงไม่ควรที่จะท้อใจ เลิกละในการทำความดีต่าง ๆ เสีย

           ก่อนจบเล่มนี้ ขอขมวดเรื่อง เพื่อจำง่าย และนำไป ทำง่ายว่า ศิลปะแห่งการบรรลุความสุขนั้น มีขั้นตอนใหญ่ ๆ ที่ควรจะทำความเข้าใจกัน ๒ ประเด็น คือ การปรับทิฐิและลงมือทำ

           - ปรับทิฐิ ได้แก่ การทำความเห็นให้ตรง คือ ตรงต่อหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรมอย่างถูกต้อง จนหมดความสงสัยในเบื้องต้นว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดจากเราทำเอาไว้เอง ไม่มีอะไรในโลกนี้ หรือโลกอื่น จะมาบันดาลให้เราได้ เราทำดีก็ต้องดี เราทำชั่วก็ต้องชั่ว" จะต้องลงตัวเสมอทุกครั้งไป

           - ลงมือทำ ได้แก่ การปฏิบัติจริงในทันที อะไรเป็นเหตุแห่งความทุกข์ ก็จงตั้งจิต ทำจิตใจให้เข้มแข็ง เลิกละให้ได้ อะไรเป็นเหตุแห่งความสุข ก็จงกล้าตัดสินใจรีบทำในทันที อย่ามัวแต่คิดสร้างวิมานในอากาศอยู่เลย เลิกเป็นคนใจคอโลเลเสียที อย่ามัวแต่เกรงโน่นกลัวนี่อยู่เลย การเอาแต่บ่น หรือคิดแต่ไม่ทำ จะไม่ก่อประโยชน์อะไรให้เราดีขึ้นเลย นอกจากเสียเวลาเปล่า เวลาของชีวิตก็ย่อมจะหมดไปเปล่า ๆ อย่างไร้สาระ และทรมานเราอยู่ตลอดไป

           ขอให้มั่นใจเถิดว่า ไม่มีพระเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ไหน จะมาบันดาลให้เราได้ดีกว่า การที่เราลงมือทำของเราเองหรอก จงเริ่มตั้งต้นเป็นคนจริงเสียที และจงเป็นคนจริงเสียแต่บัดนี้ และเดี๋ยวนี้เถิด !

           เอ้า... คนขี้ทุกข์ทั้งหลายฟังนะ ! ถ้าอยากพ้นทุกข์และบรรลุถึงความสุข ก็จงรีบทำเหตุเสียแต่บัดนี้ จงเงื้อดาบเผด็จการโดยธรรม แล้วฟังฉับลงไปในทันที !

           เอาละ, เป็นอันว่า ท่านผู้อ่านได้ผ่านวิธี "สู่ความสุข" มาจนจบเล่มแล้ว ผู้เขียนได้ประมวลวิธีต่าง ๆ เพือ่ให้ท่านผู้อ่านก้าวหน้าสู่ความสุขตามที่ได้ประสบจริงมา ก็มีเพียงเท่านี้

           ในชีวิตจริงของคนเรา มันไม่มีความทุกข์มาก เหมือนเท่าที่นำมาเขียนไว้นี้หรอก เพียงแต่ว่ามันเป็น "ต้นเหตุ" ที่จะให้เราเกิดความทุกข์ในบางส่วนได้เท่านั้น ที่นำมาเขียนก็เพื่อความสมบูรณ์

           เมื่อรวบยอดกันแล้ว ก็กล่าวได้ว่า ตัว "อุปาทาน" นี่แหละ เป็น "ต้นเหตุใหญ่" ที่ครอบคลุมความทุกข์ไว้ได้หมดทุกแขนง ตั้งแต่สิ่งของภายนอก จนถึงภายใน คือ ตัวของเราเอง ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ จนถึงเรื่องใหญ่ ๆ ระดับโลก

           เมื่อเรารู้จักหน้าตาของความทุกข์ และหัวใจของความสุขแล้ว จะเหลืออยู่ก็แต่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะบรรลุสู่ความสุขได้ ? ก็อยู่ที่ว่าเราจะเป็น "คนจริง" กันแค่ไหน ? กล้าที่จะลงมือทำจริงเมื่อไหร่ ? และจะเอากันจริงจังแค่ไหน ? จะเหยียบขี้ไก่ฝ่อหรือไม่ ?

           ขอให้เชื่อเถอะ ... ความรู้ที่ยังอยู่ในตำรานั้น ไม่อาจที่จะช่วยใครได้หรอก เมื่อยังไม่ถูกดึงเอามาปฏิบัติ ให้ปรากฎเป็นรูปธรรมอยู่ตราบใด ? ผู้อ่านก็ย่อมจะต้องถูก "หมามันกัด" อยู่ตลอดไปตราบนั้น.

พระสัทธรรมย่อมจะไร้ความหมาย
ถ้าไม่นำเอามาใช้ปฏิบัติ

สุขิตกายจิตฺโต โหตุ

- จบ -

 

   

สารบัญ
บทนำ ๑๕.เชื่อกฎแห่งกรรม
๑.ความสุขคืออะไร ? ๑๖.เลี้ยงลูกถูกต้อง
๒.ทำอย่างไรจึงจะพบความสุข ๑๗.สันโดษ
๓.อย่าคบคนพาล ๑๘.ขจัดความหวาดกลัว
๔.จงคบบัณฑิต ๑๙.อย่าสีแกลบ
๕.เว้นอบายมุข ๒๐.อย่าแบบโลก
๖.งดเว้นเวรภัย ๒๑.อย่าอยู่ว่าง
๗.สูตรเศรษฐี ๒๒.สร้างปีติ
๘.สุขแบบชาวบ้าน ๒๓.มองแต่แง่ดี
๙.เจริญพรหมวิหาร ๒๔.ควรฝึกจิต
๑๐.ยอดมหาเสน่ห์ ๒๕.ฉีดวัคซีนธรรม
๑๑.สูตรสำเร็จ ๒๖.ถอนอุปทาน
๑๒.ฆราวาสธรรม ๒๗.เผด็จการโดยธรรม
๑๓.สุขภาพดี ๔ อ. ๒๘.ศิลปะสู่ความสุข
๑๔.ธรรมชาติบำบัด ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
   

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน