เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สู่ความสุข ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
   


๘.สุขแบบชาวบ้าน

         ชาวบ้าน คือ ผู้ครองเรือน หรือคฤหัสถ์นั้น นอกจากจะต้องขยันหาทรัพย์แล้ว ยังจะต้องมีส่วนประกอบอื่นเพื่อให้บรรลุความสุข ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

         พระพุทธองค์จึงได้ตรัสถึงความสุขแบบชาวบ้าน ซึ่งปรากฏอยู่ในอันนนาถสูตร (๒๑/๗๙) เพื่อช่วยเสริมให้ชีวิตฆราวาส ได้มีความสุขยิ่งขึ้นไป มี ๔ ประการ ดังนี้

         ๑. อัตถิสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการมีทรัพย์ ความภูมิใจ มีความอุ่นใจ มีความสุขใจ ที่ตนมีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยลำแข้ง และโดยความสุจริต เป็นต้น

         ๒. โภคสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ มีความภูมิใจว่า ตนได้ใช้จ่ายทรัพทย์นั้น ที่หามาได้โดยชอบธรรม เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงพ่อแม่ เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง ตลอดจนได้บำเพ็ญกุศลต่างๆ เป็นต้น

         ๓. อนณสุข คือ ความสุขอันเกิดจากความไม่มีหนี้สิน มีความอิ่มใจ มีความภฺมิใจ มีความสุขใจว่าตนเป็นไท ไปไหนมาไหนอย่างเชิดหน้าชูตา ไม่ต้องหลบเจ้าหนี้ เป็นต้น

         ๔. อนวัชชสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการกระทำการงานอันไม่มีโทษ มีความภฺมิใจ มีความอิ่มใจสุขใจ ว่าตนประพฤติสุจริต ไม่มีความบกพร่องเสียหายให้ต้องระแวงว่าคนอื่นจะท้วงจะกล่าวหาในทางทุจริต เป็นต้น

         บางคนมีทรัพย์มาก แต่ไม่มีความสุขภูมิใจในทรัพย์เหล่านั้น เพราะตนไม่ได้หามาเอง หรือมีส่วนเป็นเจ้าของ ก็จะเป็นเพียง "หุ้นลม" เสียมากกว่า เพระยังไม่เป็นสัดส่วนของตนโดยเฉพาะ คือยังไม่อิสระในทรัพย์สินเหล่านั้น

         การมีโภคทรัพย์ แล้วไม่จับจ่ายใช้สอย ในสิ่งที่ควรใช้ควรสอยมันก็ไม่มีความสุข เหมือนเจว็ดในศาลเจ้า มีก็เหมือนไม่มี การได้ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ควรจ่าย จึงจัดว่าเป็นความสุขชนิดหนึ่งของคน

         คนที่ไม่เคยเป็นหนี้สินใคร หรือใครที่ไม่เคยเป็นหนี้ที่ถูกเจ้าหนี้ขีดเส้นตาย โดยที่ตัวไม่มีทางจะใช้หนี้ได้นั้น ย่อมจะไม่ซึ้งถึงทุกข์ภัยของการเป็นหนี้ ขนาดคนมีเงินหรือทรัพย์สินเป็นล้านๆ ก็ยังมีข่าวว่ายังต้องฆ่าตัวตายหนีหนี้ ดังนั้น การไม่มีหนี้สินใคร จึงจัดว่าเป็นความสุขใจอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะยากจนก็ตาม

         การประกอบการงานที่มีโทษ คือผิดกฎหมายและศีลธรรมนั้น แม้ว่าจะมั่งมีทรัพย์สินเงินทองปานใด ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะภูมิใจในทรัพย์สินเหล่านั้น และมันก็ย่อมจะหาความสุขใจอย่างแท้จริงไม่ได้ อย่างมากจะทำได้ก็เพียง "หน้าชื่นอกตรม" อุปมาเหมือนการเล่นละครเท่านั้น จะอยู่ที่ไหน ? จะไปที่ไหน ? แม้ว่าจะมีมือปืนคุ้มกัน ก็มีแต่ความหวาดระแวง หาความสงบใจหรือสุขใจไม่ได้เลย.

 

 

สารบัญ
บทนำ ๑๕.เชื่อกฎแห่งกรรม
๑.ความสุขคืออะไร ? ๑๖.เลี้ยงลูกถูกต้อง
๒.ทำอย่างไรจึงจะพบความสุข ๑๗.สันโดษ
๓.อย่าคบคนพาล ๑๘.ขจัดความหวาดกลัว
๔.จงคบบัณฑิต ๑๙.อย่าสีแกลบ
๕.เว้นอบายมุข ๒๐.อย่าแบบโลก
๖.งดเว้นเวรภัย ๒๑.อย่าอยู่ว่าง
๗.สูตรเศรษฐี ๒๒.สร้างปีติ
๘.สุขแบบชาวบ้าน ๒๓.มองแต่แง่ดี
๙.เจริญพรหมวิหาร ๒๔.ควรฝึกจิต
๑๐.ยอดมหาเสน่ห์ ๒๕.ฉีดวัคซีนธรรม
๑๑.สูตรสำเร็จ ๒๖.ถอนอุปทาน
๑๒.ฆราวาสธรรม ๒๗.เผด็จการโดยธรรม
๑๓.สุขภาพดี ๔ อ. ๒๘.ศิลปะสู่ความสุข
๑๔.ธรรมชาติบำบัด ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
   

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน