เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สู่ความสุข ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
   


๕.เว้นอบายมุข

           บันไดขั้นที่สาม ที่จะกรุยทางไปสู่ความสุข ที่นับว่า "สำคัญสุดยอด" ที่ต้องปฏิบัติให้ได้เด็ดขาด คือการละเว้นจาก "อบายมุข" หรือ "ทางแห่งความฉิบหาย" ให้ได้อย่างเด็ดขาด ถ้ายังละไม่ได้ หรือทำให้เบาบางไม่ได้ก็อย่าหมายเลย ว่าจะได้พบความสุขกะเขาในชาตินี้

           อบายมุข คือ ช่องทางแห่งความเสื่อม หรือเหตุแห่งความพินาศหรือฉิบหาย ใครก็ตามถ้าลุ่มหลงกับสิ่งเหล่านี้แล้ว นอกจากจะหาความสุขไม่พบแล้ว ยังจะต้องพบกับความพินาศล่มจม แม้ที่จะซุกหัวนอนก็ไม่มี และบางทีก็จะต้องตายด้วยคมอาวุธ

อบายมุข มี ๖ ประการ คือ
๑. เป็นคนขี้เหล้าเมายา
๒. เจ้าชู้ไม่เลือกลูกเขาเมียใคร
๓. ชอบเที่ยวเตร่ดูการเล่นเป็นนิจ
๔. ชอบเล่นการพนันขันต่อ
๕. ชอบคบคนชั่วเป็นมิตร
๖. เกียจคร้านการงาน

           ผู้หวังความสุขอันไพบูลย์ จะต้องพยายามละเว้นทางฉิบหาย ๖ ทางนี้ให้ได้ แม้เลิกเด็ดขาดไม่ได้ ก็อย่าได้ส่องเสพเป็นประจำ แต่การไม่แตะต้องส้องเสพได้เลย จะเป็นการดีและปลอดภัย

           เพราะขึ้นชื่อว่าอบายมุข ไม่ว่าประเภทใด มันย่อมจะมีเสน่ห์ ใครมั่วสุมกับมันแล้ว มักจะเลิกละยาก ตกนรกทั้งเป็นกันมามากแล้ว ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่เคยเสพ ก็อย่าได้ไปหัดทดลองเลย

           วิธีที่จะปลอดภุยจากอบายมุขทั้งปวง ก็คือการงดเว้นอย่าคบหากับคนที่มั่วสุมอบายมุข ไม่ควรร่วมกินร่วมนอนหรือร่วมทางกับคนพวกนี้ เพราะการได้เห็นสถานอบายมุขบ่อย ๆ ก็ย่อมจะเกิดความเคยชิน หนักเข้าก็จะไม่รังเกียจ จนถึงอาจจะหัดทดลองดู แล้วก็เลยตกเป็นทาสของมันไปในที่สุด จนเสียคนเสียอนาคตไปชั่วชีวิต

           ทุกชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด ไม่ควรที่จะให้เสื่อมเสียไปกับสิ่งที่หาสาระไม่ได้ การได้เกิดมาเป็นคนทั้งที ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐสุด ควรที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีงาม เข้ามาพอกพูนให้ชีวิตมีความสุขมีสาระ และมีแก่นสารถึงที่สุด

           ถ้าเราพ่ายแพ้แก่อบายมุข เราก็จะได้ชื่อว่า เลวกว่าสัตว์เสียอีก เพราะสัตว์ต่างๆ มันเสพอบายมุขไม่เป็น ผู้ที่ได้หลงลืมตัวไปแล้ว ก็ควรที่จะคิดกลับตัวกลับใจเสียเดี๋ยวนี้ไม่มีสาระสายเกินไป สำหรับผู้ที่คิดจะกลับตัว

           เกิดมาเป็นคนทั้งที ควรจะมีความดีติดตัว เพื่อเพิ่มศักดิ์ศรีของความเป็นคน ด้วยการทำประโยชน์ตน และประโยชน์ของผู้อื่น ให้คุ้มค่าของการที่ได้เกิดมาเป็นคนกะเขาชาติหนึ่ง.

 

 

สารบัญ
บทนำ ๑๕.เชื่อกฎแห่งกรรม
๑.ความสุขคืออะไร ? ๑๖.เลี้ยงลูกถูกต้อง
๒.ทำอย่างไรจึงจะพบความสุข ๑๗.สันโดษ
๓.อย่าคบคนพาล ๑๘.ขจัดความหวาดกลัว
๔.จงคบบัณฑิต ๑๙.อย่าสีแกลบ
๕.เว้นอบายมุข ๒๐.อย่าแบบโลก
๖.งดเว้นเวรภัย ๒๑.อย่าอยู่ว่าง
๗.สูตรเศรษฐี ๒๒.สร้างปีติ
๘.สุขแบบชาวบ้าน ๒๓.มองแต่แง่ดี
๙.เจริญพรหมวิหาร ๒๔.ควรฝึกจิต
๑๐.ยอดมหาเสน่ห์ ๒๕.ฉีดวัคซีนธรรม
๑๑.สูตรสำเร็จ ๒๖.ถอนอุปทาน
๑๒.ฆราวาสธรรม ๒๗.เผด็จการโดยธรรม
๑๓.สุขภาพดี ๔ อ. ๒๘.ศิลปะสู่ความสุข
๑๔.ธรรมชาติบำบัด ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
   

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน