เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สู่ความสุข ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
   


๒๗.เผด็จการโดยธรรม

          เผด็จการโดยธรรม เป็นคำที่หลวงพ่อพุทธทาส ท่านได้บัญญัติขึ้น หมายถึงความกล้าหาญ ความเฉียบขาด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือทำในสิ่งที่ตนเห็นว่า "ถูกต้อง" ในทันที ไม่มีการรีรอหรือลังเลใจใด ๆ

          แต่อย่าลืมว่า เผด็จการโดยธรรมนี้ ท่านย้ำอยู่เสมอว่า ต้องมี "ธรรม" คือ "ความถูกต้อง" กำกับอยู่ด้วยทุกกรณีไป ถ้าขาดความถูกต้องเสียเพียงประการเดียวเท่านั้น นอกจากจะไม่เกิดผลดีที่ฉับพลันแล้ว มันยังจะ "พัง" เป็นแถบ ๆ ไปโดยรวมเร็วเสียด้วย

          การที่คนเราจะทำอะไร ? ในสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความดีงาม และถูกต้องแล้ว แต่มัวรอปรึกษาคนโน้น รอขอความเห็นคนนี้ รอประชุมที่นั่น รอสัมมนาที่นี่ ประเภท "กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้" กันพอดีนั้น ก็เกิดเพราะเราขาดเผด็จการโดยธรรม เพียงประการเดียวแท้ ๆ

          โดยเฉพาะการดำเนินปฏิปทา เพื่อบรรลุสู่ความสุข อันเป็นเรื่อง "ปัจเจกชน" เพื่อให้ครบวงจรด้วยแล้ว ถ้าขาดเผด็จการโดยธรรมแล้ว โอกาสที่เราจะได้เสวยสุขก็คงจะมีได้น้อย เพราะปัญหาในชีวิตของแต่ละคนนั้น มันช่างมีมากมายเสียเหลือเกิน แต่ตัวชีวิตมันกลับมีน้อย ไม่พอแก่งานเสียเลย เผลอเผล็บเดียว ก็แก่เฒ่าจะเข้าโลงเสียแล้ว

          ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุความสุขนั้น เราจำเป็นที่จะต้อง "รีบอย่างช้า ๆ" นั่นคือ เราต้องเร่งรัดในการกระทำ แต่ไม่เร่งรัดที่จะรับผล หมายความว่า การทำเหตุเป็นหน้าที่ของเรา แต่การให้ผลเป็นหน้าที่ของพระธรรม (หรือพระเจ้า) เราจะต้องรอได้คอยได้

          ในชีวิตของคนเรา มีปัญหาต่าง ๆ เป็นอันมาก ที่เราจำจะต้องเร่งรัดทำ เพื่อให้ทันแก่อายุอันน้อยนิดนี้ ถ้าเรามัวแต่โอ้เอ้ปล่อยให้วันคือมันล่วงไปเสียเปล่าแล้ว มันก็ไม่ล่วงไปแต่วันและคืนเท่านั้น นอกจากว่าเราจะไม่ได้เชยชิดความสุข ตามวิสัยของชาวบ้านแล้ว มันยังนำเอาความขมขื่นทรมาน และความทุกข์นานาประการ มาประดังประเดให้ด้วย การใช้เผด็จการโดยธรรม จึงก่อผลดีโดยส่วนเดียว เช่น

          - การคบเพื่อนชั่ว เมื่อเรารู้ว่าเพื่อนชั่ว เราไม่อาจที่จะช่วยดึงให้เพื่อนกลับตัวได้แล้ว เราก็ควรที่จะใช้เผด็จการโดยธรรม เข้าจัดการคือเลิกคบกันในทันที อย่ามีเยื่อไยต่อกันไปอีกเลย

          - ผัวหรือเมียชั่ว เราห้ามก็แล้ว ขอร้องก็แล้ว ทั้งปลอบทั้งขู่ไม่ได้ผล ก็ควรที่จะเผด็จการโดยธรรม เลิกหรือหย่ากันไปเสียเลย ขืนทนทู่ซี้อยู่กันต่อไป ก็รังแต่จะแบกความทุกข์เปล่า ๆ

          - ลูกเลว หน้าที่ของเราก็จะต้องแนะนำสั่งสอน ให้ทำความดี ถ้าเขาไม่รักดี ก็ต้องเฆี่ยนตีสั่งสอน ถ้าเหลือขอจริง ๆ ก็ต้อง "ตัดหางปล่อยวัด" คืออย่าไปสนใจเขาอีกเลย

          - ใจชอบใฝ่ชั่ว คือตัวเรามันนิยมความชั่ว เช่น ชอบเล่นการพนัน เป็นคนขี้เหล้าขี้ยา (บุหรี่) เป็น "โรคเห็นเมียคนอื่นสวยกว่าเมียตน" เป็นต้น ก็จะต้องใช้เผด็จการโดยธรรม ฟันฉับลงไปให้เต็มแรง ต้องเลิกละให้เด็ดขาด อย่าได้เมตตาปรานี ให้มันกลายเป็นโรคเรื้อรัง ต่อไปอีกเลย

          - โรคแพ้ความดี คือไม่ชอบให้ทาน รักษาศีลเจริญภาวนา ไม่สนใจวัดวาหรือธัมมะธัมโม ก็อย่าไปโอ้โลมปฏิโลม ให้มันได้ใจอีกต่อไป จงใช้ดาบเผด็จการโดยธรรมฟันมันอย่าเลี้ยง ด้วยการฝืนใจมันทำเป็นชอบเสียบ้างฝืนนานไปมันก็จะเคย และจะชอบในที่สุด

          - เจ็บแล้วต้องจำ มีคนเป็นอันมาก ที่มีความทุกข์แล้วก็ไม่จำไม่เข็ด ยังไปทำเหตุนั้นเข้าอีก มันก็จะต้องถูกความทุกข์เล่นงาน ซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จักสิ้นสุด นี่ก็เพราะเหตุที่ "เจ็บแล้วไม่จำ" ก็ต้องเผด็จการโดยธรรมกัน

          - รู้แต่ไม่ยอมทำ คือคนทั่วไปส่วนมาก ย่อมจะรู้ว่าอะไรเป็นเหตุของความทุกข์ ? และอะไรเป็นเหตุของความสุข ? แต่ไม่กล้าที่จะตัดสินใจทำลงไป มัวแต่กลัวนั่นเกรงนี่ อ้างโน่นอ้างนี่ แล้วก็ต้องทนทุกข์ต่อไปเหมือนเดิม จากวันเป็นเดือนและเป็นปี ก็เพราะขาดเผด็จการโดยธรรม

          เผด็จการโดยธรรมนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย เพราะเราทำกับตัวของเราเอง หรือทำในขอบเขตความรับผิดชอบของเรา ทำแล้วเราก็ย่อมจะประสบความสุขในทันที

          ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาหรือมีความทุกข์ใด ๆ ก็ตาม ควรใช้เผด็จการโดยธรรมมาปฏิบัติ มีขั้นตอน ดังนี้

          ๑. ตั้งสติและปลุกสัมปชัญญะ คือ ระลึกและรู้สึกตัวให้ได้ก่อนว่าอะไรเกิดขึ้น ? และควรจะมีขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างไร ? ใครจะเป็นคนแก้ ? และจะแก้ได้อย่าง ?

          ๒. ศึกษาให้แจ่มแจ้ง คือ ให้รู้ "ต้นเหตุ" ของปัญหานั้น ๆ อย่างถูกต้องและตรงจุด ถ้ายังไม่รู้จริงควรสอบถามท่านผู้รู้ก่อน อย่าทำลงไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ จะเกิดผลข้างเคียงและแก้ภายหลังยาก

          ๓. ลงดาบเผด็จการโดยธรรม คือ เมื่อแน่ใจแล้ว่าถูกต้องก็จะใช้ความกล้าหาญ "ลงดาบ" ในทันที แล้วทุกอย่างก็จะเรียบร้อย และบรรลุถึงความสุขตามประสงค์.

 

 

สารบัญ
บทนำ ๑๕.เชื่อกฎแห่งกรรม
๑.ความสุขคืออะไร ? ๑๖.เลี้ยงลูกถูกต้อง
๒.ทำอย่างไรจึงจะพบความสุข ๑๗.สันโดษ
๓.อย่าคบคนพาล ๑๘.ขจัดความหวาดกลัว
๔.จงคบบัณฑิต ๑๙.อย่าสีแกลบ
๕.เว้นอบายมุข ๒๐.อย่าแบบโลก
๖.งดเว้นเวรภัย ๒๑.อย่าอยู่ว่าง
๗.สูตรเศรษฐี ๒๒.สร้างปีติ
๘.สุขแบบชาวบ้าน ๒๓.มองแต่แง่ดี
๙.เจริญพรหมวิหาร ๒๔.ควรฝึกจิต
๑๐.ยอดมหาเสน่ห์ ๒๕.ฉีดวัคซีนธรรม
๑๑.สูตรสำเร็จ ๒๖.ถอนอุปทาน
๑๒.ฆราวาสธรรม ๒๗.เผด็จการโดยธรรม
๑๓.สุขภาพดี ๔ อ. ๒๘.ศิลปะสู่ความสุข
๑๔.ธรรมชาติบำบัด ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
   

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน