เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สู่ความสุข ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
   


๒๖.ถอนอุปทาน

          อุปทาน คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ยึดมั่นในตัวเอง ในคนอื่น ยึดมั่นในทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของต่างๆ ตลอดจนสัตว์ใช้งานและสัตว์เลี้ยงต่างๆ มีความยึดถือยึดมั่นว่าเป็นของเรา มีความห่วงกังวล จนจิตหมดความเป็นอิสระหรือขาดความเป็นตัวของตัวเอง

          ความยึดถือของคนในแต่ละคน ย่อมมีแนวโน้มของจิตต่างกัน มีความเข้มข้นหรือหนักเบาต่างกัน มีวัตถุที่ยึดถือต่างกัน เช่น

          - บางคน ยึดมั่นในความสุขเฉพาะตน ใครจะมีกินไม่มีกิน จะอดอยากปากแห้งอย่างไร ? ก็ช่างหัวมัน ! ขอให้ฉันสบาย มีกิน มีใช้ ก็พอใจแล้ว

          - บางคน ไม่ยึดมั่นในตัวเอง แต่ยึดมั่นและเป็นห่วงแต่คนอื่น กลัวเขาจะทุกข์ยากลำบาก กลัวเขาจะอดอยาก กลัวเขาจะเดือดร้อน กลัวเขาจะเจ็บป่วย กลัวไปสารพัด

          - บางคน ก็เป็น "โรคเงินขึ้นสมอง" ขอให้ได้เงินก็แล้วกัน ใครจะยังไงก็ช่าง ผัวหรือเมีย พ่อหรือแม่ลูกหลาน ไม่ห่วง ไม่กังวลทั้งสิ้น ขอแต่ให้ได้เงินก็แล้วกัน ใครจะเป็นจะตายก็ช่าง !

          - บางคน ก็ห่วงแต่ผัวหรือเมีย และลูกเท่านั้น เงินทองข้าวของใด ๆ จะเสียหายหรือหมดไป ก็ไม่เป็นไร หลงยึดฝัว (เมีย) และลูก จะลืมพ่อแม่และแม่ของตัว

          - บางคน ชอบหาความทุกข์ ด้วยการเก็บเอาเรื่องเก่าๆ มาคิดฝัน เช่น ผัวตีจากมีเมียน้อยไปแล้ว หรือเมียมีชู้ไปแล้ว ก็เฝ้าแต่อาลัยนึกถึงแต่ความสุขครั้งอดีต จนชีวิตหมดความสุข แต่คนที่เราไปคิดถึงเขา เขากลับกำลังระเริงสุขอยู่ น่าทุเรศและเวทนายิ่งนัก !

          - บางคน อะไร ๆ ก็ดูจะไปยึดถือ เหมือนกับว่าจะปล่อยวางได้หมด แต่ยึดถือหมาและแมวเป็นสรณะ มีใจห่วงกังวลไปสารพัด กลัวมัจะอดอยาก กลัวมันจะเจ็บป่วยจะไปไหนแต่ละทีก็แสนยาก นี่ก็ยึดมั่น

          - บางคน ดูภายนอกก็เห็นเป็นคนใจบุญสุนทร์ทานดี ชอบใส่บาตร ชอบเข้าวัดรักษาศีล แต่ก็หน้าโลหิตเหลือร้าย ใครยืนเงินก็เอาดอกแพงหูฉี่ ปากคอก็เหลือร้าย ลูกหลายเข้าหน้าไม่ติด นี่ก็แหละยึดมั่น

          รวมความว่า มีความยึดมั่นในอะไร ? ที่ไหน ? เป็นเกิดความทุกข์ที่นั่น ! ต่างกันแต่ว่าปริมาณของความยึดมั่นนั้น จะมีมากน้อยแต่ไหนเท่านั้น ?

          อุปมา อุปาทานเหมือนการเล่นกันหมาดุ เอามือแหย่เข้าไปทีไร มันเป็นต้องงับทุกที แต่มันจะงับได้มากน้อยแค่ไหน ? ก็ขึ้นอยู่ที่เราแหย่มือเข้าไปใกล้มันมากหรือน้อย ? มันกัดได้ถนัดหรือไม่ถนัด ? (ยึดมากถือน้อย ?)

          ทุกสิ่งในโลกนี้ รวมทั้งตัวเราด้วย ไม่มีอะไรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นได้เลย ยึดมากก็ทุกข์มาก ยึดน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลยก็ไม่มีทุกข์เลย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรายังจะดันทุรังไปยึดมั่นให้โง่อยู่อีกหรือ ?

          เมื่อมีความทุกข์ขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะมากหรือน้อยปานใด ขอให้ตั้งข้อสังเกตดูเถอะ ว่ามีความทุกข์อะไรบ้าง ? ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความยึดถือ ? หรือไม่มีตัวตนของตนเข้าไปหุ้นอยู่ด้วย ?

          ผู้เขียนเองเคยประสบความทุกข์มาจนแทบว่าจะฆ่าตัวตายหลายครั้ง ก็ยังไม่เคยพบเลยว่า มีความทุกข์ครั้งไหน ? ที่ปราศจากความยึดถือหรือยึดมั่นถือมั่นเลย !

          เขียนมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะมีผู้ถามว่า
          "ก็แล้วไปยึดถือมั่นหาพระแสงอะไรเล่า ?"

          ก็ขอตอบด้วยสัจจะว่า
          "ก็ตอนนั้นมันยังอ่อนปัญญาอยู่ จึงเอามือไปแหย่หมามันเล่นดู คิดว่าหมามันจะเล่นด้วย แต่มันไม่ยักกะเล่นด้วยแฮะ ! แหย่เข้าไปทีไร ? ก็ถูกมันงับเอาทุกที ไม่แหย่มันก็ไม่ถูกงับ จนทุกวันนี้ แม้ใจมันก็ยังอยากจะแหย่มันอยู่ แต่ก็ไม่กล้าแหย่มือเข้าไป มันโดนกัดเสียจนเข็ดจริง ๆ

          อันที่จริง ไม่ว่าความชั่วหรือความดี เมื่อเข้าไปยึดมั่นแล้ว มันก็ทุกข์เหมือนกัน ต่างกันแต่ว่าความชั่วมันทุกข์ร้อน แต่ความดีมันทุกข์เย็น แต่ทั้งทุกข์ร้อนและทุกข์เย็น มันก็ทำให้นอนไม่หลับได้เหมือนกันหรือเท่ากัน

          ถ้าจะมีคำถามว่า
          " การที่จะถอนความยึดมั่นหรืออุปทานนั้น จำเป็นจะต้องโกนหัวเข้าวัด หรือรักษาศีลกินเพลหรือไม่ ?"

          ก็ตอบได้ว่า
          "ไม่ต้อง ! - ไม่ต้อง !! ดูแต่พระโสดาบัน และพระสกิทาคามีสิ ท่านก็ยังอยู่ครองเรือน นอนกอดเมีย (ผัว) และลูกอยู่เลย หรือแม้แต่พระอนาคามี ท่านก็ยังอยู่ครองเรือนได้"

          ถ้ามีคำถามต่อว่า
          "ก็จะไม่ให้ยึดถือได้อย่างไร ? ก็อะไร ๆ มันก็เป็นของเราทั้งนั้นนี่น่า"

          ขอตอบว่า
          "ก็ให้มันเป็นอยู่ของมันอย่างเดิมนั้นแหละ ไม่ต้องขนไปให้วัด หรือให้ใครหรอก มันยังเป็นของเราอยู่เหมือนเดิมแต่... ฟังให้ดีนะว่า ให้เรา "จริงจึงแต่อย่ายึดถือ" เพียงแต่เราถอนความยึดมั่นถือมั่น ว่ามันเป็นเราและของเราออกเสียให้หมด หรือให้เหลือแต่น้อยที่สุด ให้มีเหลือแต่ "หน้าที่" ที่จะต้องทำต่อบุคคลหรือสิ่งของเหล่านั้นเท่านั้น เพียงเท่านี้ความทุกข์มันก็จะเล่นงานเราไม่ได้เลย"

          เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือใครตายก็ให้ปลงว่า มันเป็นธรรมดา มีเกิดก็ย่อมมีตาย ไม่มีใครจะฝืนหรืออยู่ค้ำฟ้าได้ แม้ตัวเราเอง ก็จะต้องตายอย่างแน่นอน ถ้าจะร้องให้ถึงคนที่ตายไป ก็ควรที่จะร้องไห้ให้แก่ตัวเราด้วย (๒๗/๑๔๑) ที่จะต้องตายแน่ๆ ในวันหน้า !

          เมื่อมีสิ่งของที่รักสูญหาย หรือต้องพลัดพรากจากกันก็ให้ปลงว่าเมื่อมีสมบัติ มันก็ย่อมจะต้องมีวิบัติได้เป็นธรรมดา ไม่มีใครจะฝืนกฎอันนี้ได้ ไม่ว่าการตายก็ตาม การพลัดพรากจากของรักของหวงก็ตาม เป็นสิ่งที่สาธารณะ คือมีได้แก่ทุนคน มิได้เจาะจงจะเกิดขึ้นเฉพาะกับเราเท่านั้น

          ความจริงสิ่งเหล่านี้ มันเกิดขึ้นทุกวันทั่วโลก แม้ว่าเรารู้ว่าเห็น แต่เราก็ไม่ทุกข์ด้วย นั่นเพราะอะไร ? ก็เพราะว่า มันไม่มี "เรา" หรือ "ของเรา" เข้าไปหุ้นอยู่ด้วย คือ ไม่ใช่พ่อแม่ของเรา ไม่ใช่เมีย (ผัว) และลูกของเราไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของเรา เป็นต้น

          ผัวหรือเมียต้องแยกจากกัน ด้วยความบกพร่องของเขาหรือของเราก็ตาม ขอให้ปลงเสียว่า เราได้ทำบุญร่วมกันมาแค่นี้ อย่าไปฝืนกฎแห่งกรรมเลย มันจะยิ่งทุกข์หนักขึ้น

          เมื่อถูกเขาโกงทรัพย์สิน ก็ควรที่จะถือตามหลักพุทธศาสนาว่า เราได้เคยโกงเขาไว้ก่อน เมื่อเขาโกงเราไป เราก็ควรที่จะยินดี ที่ได้ชดใช้หนี้เก่าให้มันหมดสิ้นกันไป ในชาติต่อไปก็จะได้ไม่ต้องไปใช้กันอีก

          เรื่องการถูกโกง หรือถูกคนอื่นเอาเปรียบนี้ ผู้เขียนโดนมาเสียจนปลงตกแล้ว ให้คนยื่มของทีไร เป็นถูกโกงทุกที จนทุกวันนี้ถ้าจะให้ใครยืมอะไร ? มากน้อยแค่ไหน ? ก็ไม่ยอมทำหนังสือสัญญา ได้แต่คิดว่าถ้าจะให้ใครยืม ก็ทำใจไว้ก่อนว่า "ใช้หนี้เขาไป ถ้าเราเคยโกงเขามา" พอเขาโกงจริง ๆ เราก็สบายใจ ไม่มีการทวงหรือโกรธเขา

          คำบริกรรม เพื่อจะถอนอุปาทาน มีมากมายแล้วแต่ว่าใครจะใช้อะไร ? ขอแต่ว่าเมื่อใช้แล้ว จิตใจมันถอนความยืดมั่น หรือคลายความยืดถือลงได้ ไม่ต้องถึงกับหมด ของเพียงแต่ว่าให้มันเบาบาง ก็นับว่าน่าพอใจแล้ว

          สำหรับผู้เขียนนั้นใช้มาก และบางคำและบางครั้ง ก็ต้องใช้แรงๆ จนดูเป็นว่าหยาบคาย แต่ว่าถ้าไม่กระตุกหรือเขกกันแรงๆ อย่างนั้น มันก็กู่ไม่กลับเหมือนกัน เช่น

          "ทุกข์แท้ แปรผัน เน่าเหม็น แตกดับ"

          คาถานี้ส่วนมากจะใช้เกี่ยวกับเรื่องเพศ คือใช้บรรเทาราคะได้ดีมาก แต่คาถานี้ส่วนจะต้องสร้างมโนภาพศพคนตายเน่าเฟะให้ชัดเจนประกอบด้วย

          "สมบัติเป็นของนอกกาย ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้"

          "รักเขาก็ทุกข์ ถูกเขารักก็ทรมาน (ต้องตามใจเขา) สู้อยู่เฉยๆ ไม่ได้ สบายใจกว่า"

          "มึงจะบ้าไปถึงไหนกันวะ ? โลกนี้มันมีอะไรที่แน่นอนและเป็นของเราบ้าง ?" (ไม่มีเลยจริง ๆ ใจมันจะบอก)

          "มึงอย่าโง่กว่าไอ้ด่างนะ ! ไอ้อ่างมันไม่เคยนอนไม่หลับ เพราะไม่ได้สนองความอยาก !"

          ตัวอุปทานนี่ จัดว่าเป็น "ยอดมาร" ที่ทำลายความสุขของคน และทำให้คนต้องตกเป็นทาสของมัน เพราะไม่รู้จักมันดีพอ

          ดังนั้น ผู้หวังความสุข จึงควรที่จะพยายามถอนอุปทาน ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การถอนอุปทานจึงเป็นการ "ตัดต้นเหตุ" แห่งทุกข์ ที่ตรงเป้าที่สุด เสียเวลาน้อยที่สุด เร็วที่สุด และได้ผลดีที่สุดด้วย.

 

 

สารบัญ
บทนำ ๑๕.เชื่อกฎแห่งกรรม
๑.ความสุขคืออะไร ? ๑๖.เลี้ยงลูกถูกต้อง
๒.ทำอย่างไรจึงจะพบความสุข ๑๗.สันโดษ
๓.อย่าคบคนพาล ๑๘.ขจัดความหวาดกลัว
๔.จงคบบัณฑิต ๑๙.อย่าสีแกลบ
๕.เว้นอบายมุข ๒๐.อย่าแบบโลก
๖.งดเว้นเวรภัย ๒๑.อย่าอยู่ว่าง
๗.สูตรเศรษฐี ๒๒.สร้างปีติ
๘.สุขแบบชาวบ้าน ๒๓.มองแต่แง่ดี
๙.เจริญพรหมวิหาร ๒๔.ควรฝึกจิต
๑๐.ยอดมหาเสน่ห์ ๒๕.ฉีดวัคซีนธรรม
๑๑.สูตรสำเร็จ ๒๖.ถอนอุปทาน
๑๒.ฆราวาสธรรม ๒๗.เผด็จการโดยธรรม
๑๓.สุขภาพดี ๔ อ. ๒๘.ศิลปะสู่ความสุข
๑๔.ธรรมชาติบำบัด ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
   

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน