วันหนึ่ง หลานชายได้คุยปรับทุกข์กับหลวงลุงของตนว่า
หลาน. ที่ทำงานผมมีอยู่คนหนึ่งไม่ถูกชะตากับผมเลย
เมื่อเห็นครั้งแรกก็รู้สึกหมั่นไส้แล้ว นิสัยมันแย่มากครับ
เรื่องเห็นแก่ตัวงี้ เป็นที่หนึ่งไม่มีสอง ขี้เกียจก็ไม่มีใครเกิน
แถมยังขี้คุยชอบนินทาคนอื่นอยู่เรื่อย สักวันมันคงโดนดีแน่
หรือหลวงลุงว่าไง
หลวงลุง. ช่างหัวมัน
หลาน. เมื่อวันก่อนก็มาแซว
แต่ผมทำเฉยเสีย ผมกลัวว่าวันหนึ่งจะทนไม่ไหว ถ้าผมไปทำอะไรมันเข้าแล้ว
เจ้านายไล่ผมออกหรือถูกตำรวจจับ หลวงลุงจะทำยังไง
หลวงลุง. ช่างหัวมัน
หลาน. ถ้าไม่มีผม ใครจะซักสบงจีวร
กวาดวัด ทำความสะอาดกุฏิ หลวงลุงจะไม่ลำบากหรือหลวงลุง.
ช่างหัวมัน
ช่างหัวมันในที่นี้หมายถึง
อย่านึกถึง อย่าใส่ใจ (ในคนที่เราโกรธ) เป็นวิธีระงับความอาฆาตหรือความโกรธที่มาในปฐมอาฆาตวินยสูตร
(๒๒/๑๖๑) ถ้าเราสามารถทำได้อย่างหลวงลุงองค์นี้ อะไร
ๆ ที่ไม่ใช่หน้าที่ของเราก็ช่างหัวมัน โกรธใครเกลียดใครก็ช่างหัวมัน
ใครจะทำอะไรก็อย่าไปสนใจ เราก็จะสามารถอยู่อย่างสงบสุขในโลกอันวุ่นวายนี้
ไม่ต้องเดือดร้อนใจ ไม่โกรธเคืองใคร ๆ ในเรื่องไหน ๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องครอบครัว
ช่างหัวมัน
นั้นควรใช้ ให้เข้าที ทุกวันมี
เรื่องสับสน สุดทนไหว
ทั้งเรื่องบ้าน
เรื่องการงาน บานตะไท โกรธทำไม ให้ปล่อยวาง
ช่างหัวมัน
(ธมฺมวฑฺโฒ
ภิกฺขุ)