เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ พุทธวิธีชนะความโกรธ ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
ต้นร้ายปลายดี

            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ มีหญิงคนหนึ่งชื่อ ธนัญชานี เป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เลื่อมใสยิ่งในพระรัตนตรัย ส่วนพราหมณ์ภารทวาชโคตรผู้สามีนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ (พราหมณ์=พวกนักบวชที่เป็นเจ้าพิธี) เมื่อนางกล่าวว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ พราหมณ์ก็ปิดหูเสีย

            วันหนึ่ง พราหมณ์ภารทวาชโคตรปรึกษากับนางธนัญชานี เชิญพราหมณ์ ๕๐๐ คนมาเลี้ยงอาหารในวันรุ่งขึ้น และขอให้นางงดกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าเสียสักวันหนึ่ง นางตอบว่า ท่านจะแตกจากพราหมณ์ก็ดี จากเทวดาก็ดี ส่วนฉันระลึกถึงพระศาสดา ไม่นอบน้อม ไม่สามารถที่จะอดกลั้นได้ แม้จะถูกพราหมณ์ขู่ว่าจะสับด้วยพระขรรค์ นางก็ไม่กลัว

             รุ่งขึ้น นางธนัญชานีอาบน้ำหอมนุ่งผ้าใหม่ และประดับด้วยเครื่องประดับ ถือทัพพีทองตักอาหารเลี้ยงดูพวกพราหมณ์ในโรงอาหาร ขณะที่นางนำอาหารเข้าไปให้พราหมณ์ภารทวาชโคตร เกิดก้าวเท้าพลาด จึงเปล่งอุทานสามครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

             พวกพราหมณ์ทั้งหลายพอได้ยินเสียงนั้น เป็นเสมือนถูกค้อนเท่าภูเขาฟาดลงบนศีรษะ เหมือนถูกหลาวแทงที่หู เสวยทุกข์โทมนัสโกรธว่า พวกเราถูกคนนอกลัทธินี้ลวงให้เข้าสู่เรือน จึงทิ้งก้อนข้าว พลางด่าพราหมณ์ภารทวาชโคตร แล้วหลีกไปคนละทิศคนละทาง

             พราหมณ์ภารทวาชโคตรเห็นพวกพราหมณ์ที่เชิญมาต่างพากันแยกไปคนละทางอย่างนั้น จึงจ้องมองดูนาง ธนัญชานีตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า คิดว่า เราเห็นภัยนี้แล จึงขอร้องนางแต่วันวานก็ไม่ได้ คิดแล้วก็ด่านางโดยประการต่าง ๆ แล้วกล่าวกับนางว่า ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้น อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหน ๆ แน่ะหญิงถ่อย บัดนี้ เราจักโต้คารมต่อพระศาสดานั้นของเจ้าบ้างละ

             นางธนัญชานีกล่าวว่า พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงโต้คารมกับพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เลย เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้เอง

             พราหมณ์ไปด้วยคิดว่า พระสมณโคดมเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน ใคร ๆ ไม่อาจจะไปว่ากล่าวหรือคุกคามอย่างใด ๆ ได้ จำเราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่ง คิดแล้วแต่งปัญหามีใจความว่า

             บุคคลฆ่าอะไรได้ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงชอบใจการฆ่าอะไร

             พราหมณ์คิดว่า ถ้าพระสมณโคดมกล่าวว่า เราชอบใจการฆ่าบุคคลชื่อโน้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักข่มท่านว่า ท่านปรารถนาจะฆ่าเหล่าชนที่ท่านไม่ชอบใจ ท่านเกิดมาเพื่อจะฆ่าโลก ความเป็นสมณะของท่านจะมีประโยชน์อะไร ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราไม่ชอบการฆ่าใคร ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักข่มท่านว่า ท่านไม่ปรารถนาจะฆ่ากิเลสมีราคะเป็นต้น เพราะเหตุไรท่านจึงเป็นสมณะเที่ยวไป ดังนั้น ด้วยปัญหาสองเงื่อนนี้ พระสมณโคดมก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

             เมื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว พราหมณ์ก็ได้ถามปัญหาที่เตรียมไว้

             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน

             พระดำรัสนี้แทงถูกใจดำของพราหมณ์ ทั้งยังทำลายปัญหาสองเงื่อนให้ย่อยยับ (ทำให้พราหมณ์หน้าแตก) แต่ด้วยความเป็นบัณฑิต แทนที่จะโกรธ พราหมณ์กลับเลื่อมใส จึงกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า และขอบรรพชาอุปสมบท อุปสมบทแล้วไม่นานท่านก็ได้เป็นพระอรหันต์
(ธนัญชานีสูตรและอรรถกถา ๑๕/๖๒๖-๖๓๐)

             ฝ่ายอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ทราบว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตรผู้เป็นพี่ชายบวชเป็นพระภิกษุ ก็โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย

            เมื่อพราหมณ์ด่าว่าจบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสถามว่า
            พ. ดูก่อนพราหมณ์ ญาติมิตรผู้เป็นแขกของท่าน ย่อมมาเยี่ยมท่านบ้างไหม
            อ. ย่อมมาบ้างเป็นบางคราว
            พ. ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่ม ต้อนรับญาติมิตรผู้เป็นแขกของท่านบ้างไหม
            อ. ย่อมจัดบ้างเป็นบางคราว
            พ. ถ้าญาติมิตรผู้เป็นแขกของท่านไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร
            อ. ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มเหล่านั้นย่อมเป็นของข้าพเจ้า
            พ. ข้อนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว
            ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ผู้นี้เรากล่าวว่าย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว
            อ. คนทั้งหลายย่อมทราบว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วทำไมพระสมณโคดมจึงยังโกรธอยู่เล่า
            พ. ผู้ไม่โกรธฝึกฝนตนเองแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้น แล้วเพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจะมีมาแต่ที่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าเพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่ายชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา

             เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ก็เกิดความเลื่อมใส และขอบรรพชาอุปสมบท อุปสมบทแล้วไม่นานท่านก็ได้เป็นพระอรหันต์
(อักโกสกสูตรและอรรถกถา ๑๕/๖๓๑-๖๓๔)

            ฝ่ายอสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ทราบว่า พี่ชายทั้งสองออกบวชเป็นพระภิกษุ ก็โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

             ครั้นแล้วก็ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย

             เมื่อพราหมณ์ด่าว่าอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนิ่งเสีย
      
             ลำดับนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวว่า พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว

             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าเพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา

             ในที่สุดอสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ก็เจริญรอยตามพี่ชายทั้งสอง ได้เป็นพระอรหันต์เช่นกัน
                                                    (อสุรินทกสูตรและอรรถกถา ๑๕/๖๓๕-๖๓๗)

             ความโกรธทำให้บุคคลแสดงอาการดุร้าย หยาบคาย ออกมาทางกายวาจา เปลี่ยนสภาพจากสุภาพชนเป็น ทรชน จากผู้ดีเป็นไพร่ (และจากมนุษย์เป็นสัตว์) ควรหรือที่เราจะโกรธตอบเขา แสดงอาการที่น่ารังเกียจอย่างเขา ทำตนให้เป็นทรชนคนเลว ดุร้าย ป่าเถื่อน (เหมือนสัตว์กัดไม่เลือก) อย่างเขา เป็นผู้ดีไม่ชอบ ชอบเป็นไพร่กระนั้นหรือ ?

             การได้ด่าว่าผู้อื่นจัดเป็นชัยชนะหรือความพ่ายแพ้กันแน่ บางคนคิดว่าตนเป็นผู้ชนะเพราะด่าอยู่ฝ่ายเดียว หรือด่าได้หยาบคายกว่า แท้ที่จริงทุกคนที่กล่าวคำหยาบล้วนเป็นผู้แพ้ แพ้ต่ออำนาจความโกรธ (หรือกิเลสอื่น) ส่วนคนที่ อดทนให้คนอื่น ๆ ด่าโดยไม่โต้ตอบทั้งที่สามารถทำได้ นั่นแหละเป็นผู้ชนะที่แท้จริง เพราะชนะความโกรธซึ่งเป็นสิ่งที่เอาชนะได้ยาก

                     ใครมีปาก อยากปูด ก็พูดไป เรื่องอะไร ก็ช่าง อย่าฟังขาน
                  เราอย่าต่อ ก่อก้าว ให้ร้าวราน ความรำคาญ ก็จะหาย สบายใจ

                                                                                                (อุทานธรรม)

   

สารบัญ
ความนำ 15. ถึงตายก็ไม่โกรธ
1. ลักษณะของความโกรธ 16. อย่าทำใจให้เป็นแผล
2. ลำดับขั้นของความโกรธ 17. โกรธเขาเราร้อน
3. สาเหตุของความโกรธ 18. น้ำน้อยในรอยเท้าโคกับคนไข้หนัก
4. พุทธวิธีชนะความโกรธ 19. หาใช่ใครอื่น
5. ลูกยอดีกว่ากอไผ่ 20.วัวใครเข้าคอกคนนั้น
6. ช้างกลางสงคราม 21. ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
7. แพ้เป็นพระ 22. ช่างหัวมัน
8. ต้นร้ายปลายดี 23. ทำอย่างไรถึงสวย
9. พระปิดทวาร 24. คนจนก็มีสิทธิ์
10. ให้เข็นครกขึ้นภูเขายังดีกว่า 25. ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง
11. พระปฏิมายังราคิน 26. พุทธทาสวาทะ
12. ปราบพยศ 27. สรุปความ
13. สารถีกับคนถือเชือก   ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
14. ทำใจเหมือนธาตุทั้ง ๕  
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน