เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ พุทธวิธีชนะความโกรธ ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
ปราบพยศ

            ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชย์ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพทและศิลปวิทยาในเมืองตักกสิลา ครั้นบิดามารดาล่วงลับไปก็บวชเป็นดาบส ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้วพำนักอยู่ในป่าหิมพานต์

             วันหนึ่ง พระดาบสเข้าไปสู่ชนบทเพื่อบริโภครสเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ บรรลุถึงกรุงพาราณสี อาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน รุ่งเช้านุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว เข้าสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต เดินไปถึงพระลานหลวง พระราชากำลังทอดพระเนตรทางช่องพระแกล ทรงเห็นท่านแล้ว ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงรับสั่งให้อำมาตย์ผู้หนึ่งไปนิมนต์พระดาบสมา

             อำมาตย์ไปหาพระดาบส ไหว้แล้วรับภาชนะใส่อาหารจากมือพระดาบส กราบเรียนว่า
            อ. ข้าแต่พระคุณท่านผู้เจริญ พระราชารับสั่งนิมนต์พระคุณเจ้า
            ด. เราไม่ใช่นักบวชประจำราชสำนัก เป็นนักบวชอยู่ป่าหิมพานต์

             อำมาตย์ไปกราบทูลความนั้นแด่พระราชา

             พระราชาตรัสว่า ดาบสอื่นที่เป็นผู้ใกล้ชิดของเราไม่มี จงนิมนต์ท่านมาเถิด

             อำมาตย์ก็ไปไหว้พระดาบส พูดอ้อนวอนนิมนต์ให้เข้าไปสู่พระราชวังจนได้

       พระราชาถวายบังคมพระดาบส อาราธนาให้นั่งเหนือบัลลังก์ทอง ภายใต้เศวตฉัตร ให้ฉันโภชนะมีรสเลิศ ต่าง ๆ ที่เขาจัดไว้เพื่อพระองค์ แล้วรับสั่งถาม
            ร. พระคุณเจ้าอยู่ที่ไหน
            ด. ป่าหิมพานต์
            ร. บัดนี้พระคุณเจ้าจะไปไหน
            ด. กำลังหาที่อยู่อันเหมาะแก่ฤดูฝน
            ร. ถ้าเช่นนั้น นิมนต์อยู่ในอุทยานของพวกโยมเถิด

             เมื่อพระราชาเสวยเสร็จแล้ว ทรงพาพระดาบสไปสู่อุทยาน รับสั่งให้สร้างบรรณศาลา ให้ทำที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ทรงถวายบริขารสำหรับบรรพชิต ทรงมอบหมายให้คนเฝ้าอุทยานดูแล แล้วเสด็จกลับพระนคร แต่นั้นมา พระดาบสก็อยู่ในอุทยาน พระราชาก็เสด็จไปหาท่านทุกวัน

             พระราชาทรงมีพระโอรสพระนามว่า ทุฏฐกุมาร เป็นผู้มีสันดานดุร้าย หยาบคาย พระราชาและพระประยูรญาติทั้งหลายไม่สามารถจะฝึกหัดอบรมเธอได้ พวกอำมาตย์ พวกพราหมณ์และคหบดี ก็มิสามารถอบรมเธอได้เช่นกัน พระราชาดำริว่า ยกเว้นพระดาบสผู้ทรงศีลเสียแล้ว คงไม่มีผู้อื่นที่จะสามารถทรมานกุมารนี้ได้

             ท้าวเธอทรงพาพระกุมารไปสำนักพระดาบส รับสั่งว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ กุมารนี้ดุร้ายหยาบคาย พวกข้าพเจ้าไม่สามารถจะอบรมฝึกสอนเธอได้ พระคุณเจ้าโปรดหาอุบายสักอย่างหนึ่ง อบรมเธอให้ด้วยเถิด ทรงมอบพระกุมารแด่พระดาบส แล้วเสด็จหลีกไป

             พระดาบสชวนพระกุมารเที่ยวไปในอุทยาน เห็นหน่อต้นสะเดาต้นหนึ่ง เพิ่งมีใบ ๒ ใบเท่านั้นคือแตกออกข้างละ ๑ ใบ จึงกล่าวกับพระกุมารว่า เธอจงเคี้ยวกินใบของหน่อสะเดานั้นแล้วทราบรสไว้เถิด

             พระกุมารทรงเคี้ยวใบสะเดาใบหนึ่ง เมื่อรู้รสแล้ว ทรงรีบถ่มทิ้งที่แผ่นดินพร้อมทั้งเขฬะ (น้ำลาย)

             พระดาบสกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า

             กุมารกราบเรียนว่า ต้นไม้นี้เปรียบเสมือนยาพิษชนิดร้ายแรงในบัดนี้ทีเดียว ถ้าเจริญเติบโตขึ้น คงฆ่ามนุษย์เสียเป็นอันมาก พลางทรงถอนหน่อสะเดานั้น แล้วขยี้จนแหลกด้วยพระหัตถ์


             พระดาบสกล่าวว่า เธอกล่าวถึงหน่อสะเดานี้ว่า แม้ต้นจะเล็กมันยังขมถึงเพียงนี้ เมื่อมันโตจักเป็นอย่างไร อาศัยมันแล้วจะมีความเจริญมาแต่ไหน แล้วถอนขยี้ทิ้งไป เธอปฏิบัติในหน่อสะเดานี้ฉันใด แม้ชาวแว่นแคว้นของเธอก็ฉันนั้น จักพากันกล่าวว่า พระกุมารนี้ยังเด็กอยู่ ยังดุร้ายหยาบคายอย่างนี้ เมื่อเจริญวัยครองราชสมบัติ จักทำอย่างไรกันเล่า ที่ไหนพวกเราจักอาศัยเธอ พากันจำเริญได้ แล้วไม่ยอมถวายราชสมบัติ อันเป็นของแห่งตระกูลของเธอ จักถอดถอนเธอเสียเหมือนหน่อสะเดา แล้วขับไล่ออกไปเสียจากแว่นแคว้น เพราะฉะนั้น เธอจงละเว้นความเป็นคนดุร้ายหยาบคาย อันเปรียบเหมือนต้นสะเดาเสีย จงถึงพร้อมด้วยความอดทน ความเมตตาและความเอื้อเฟื้อ ตั้งแต่บัดนี้ไปเถิด

             จำเดิมแต่นั้น พระกุมารก็หมดมานะ หมดพยศ สมบูรณ์ด้วยความอดทน ความเมตตาและความเอื้อเฟื้อ ดำรงอยู่ในโอวาทของพระดาบส ครั้นพระชนกล่วงลับไปแล้ว ก็ได้ครองราชสมบัติ
                                                                  (อรรถกถาเอกปัณณชาดก เอกนิบาต)

             คนที่ดุร้ายหยาบคาย ชอบข่มเหงรังแกคนอื่น ย่อมไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของพ่อแม่พี่น้องของเขา แม้ของบุตรภรรยาหรือสามีของเขา แม้ของญาติมิตรของเขา ดังนั้นจึงไม่ต้องกล่าวถึงคนอื่นเลย

            แม้คนดี ๆ เมื่อถูกความโกรธครอบงำแล้ว ก็กลายเป็นคนที่ดุร้ายน่าหวาดหวั่น เหมือนอสรพิษที่กำลังเลื้อยมากัดคน เหมือนโจรที่มุ่งแต่จะปล้นฆ่าผู้อื่น เหมือนยักษ์มารที่ดุร้ายกินคน ควรหรือที่เราจะปล่อยตัวปล่อยใจให้ความโกรธครอบงำ แล้วทำตนให้ต่ำ เป็นที่น่ารังเกียจของคนอื่น ๆ ถึงเพียงนั้น เกิดเป็นมนุษย์ดี ๆ แล้ว ไม่ชอบใจไม่พอใจ กลับไปชอบทำตัวต่ำ ๆ เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นโจรบ้าง เป็นยักษ์มารบ้าง กล้าประพฤติสิ่งที่น่าละอายได้อย่างหน้าตาเฉยไม่ละอาย ทำลายความเป็นมนุษย์ของตนให้หมดไป ด้วยการปล่อยตัวให้เป็นทาสของความโกรธ

             คนมักโกรธ แม้จะตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม ก็ยังคงมีผิวพรรณเศร้าหมองไม่น่าดูอยู่นั่นเอง แม้หน้าตาอันสวยงามดังพระจันทร์วันเพ็ญของเขา ก็จะกลายเป็นเหมือนดอกบัวที่แห้งเหี่ยว เพราะถูกไฟลน ผู้ที่ตายด้วยอำนาจความโกรธย่อมไปเกิดในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็มีโรคมากตั้งแต่แรกเกิดทีเดียว ทำให้ต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน
                                                                  (อรรถกถาเอกปัณณชาดก เอกนิบาต)

            เวลาโกรธใคร เกลียดใคร รีบไปยืนมองหน้าตัวเองในกระจกซี่ จะพบว่า ไม่มีเวลาไหนที่หน้าตาเราแสนทุเรศน่าเกลียด น่าชังเท่าเวลานี้
(สง่า อารัมภีร)

               หมาใดร้าย ขบกัด หรือเห่าหอน      เราอย่าย้อน ขบกัดหมา มันน่าขัน
               อันคนชั่ว ใจโหด ก็เช่นกัน               จงหลีกมัน อย่าถือสา หาความ

                                                                                                 (สำนวนเก่า)

   

สารบัญ
ความนำ 15. ถึงตายก็ไม่โกรธ
1. ลักษณะของความโกรธ 16. อย่าทำใจให้เป็นแผล
2. ลำดับขั้นของความโกรธ 17. โกรธเขาเราร้อน
3. สาเหตุของความโกรธ 18. น้ำน้อยในรอยเท้าโคกับคนไข้หนัก
4. พุทธวิธีชนะความโกรธ 19. หาใช่ใครอื่น
5. ลูกยอดีกว่ากอไผ่ 20.วัวใครเข้าคอกคนนั้น
6. ช้างกลางสงคราม 21. ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
7. แพ้เป็นพระ 22. ช่างหัวมัน
8. ต้นร้ายปลายดี 23. ทำอย่างไรถึงสวย
9. พระปิดทวาร 24. คนจนก็มีสิทธิ์
10. ให้เข็นครกขึ้นภูเขายังดีกว่า 25. ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง
11. พระปฏิมายังราคิน 26. พุทธทาสวาทะ
12. ปราบพยศ 27. สรุปความ
13. สารถีกับคนถือเชือก   ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
14. ทำใจเหมือนธาตุทั้ง ๕  
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน