เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๒๕


           แก่นแท้ของพุทธธรรม คือความหลุดพ้นพึ่งตนได้
ในสังคมของกัลยาณมิตร ผู้มีชีวิตที่เกื้อกูลกัน

           ขอจบด้วยคำสรุปตามหัวข้อที่ตั้งไว้ให้ว่า..... “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา” นั้นมีอยู่ในพระสูตรหนึ่งชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องแก่นของพระพุทธศาสนาไว้ มีใจความตามพระสูตรนี้ว่า..... ชีวิตที่ประเสริฐ (พรหมจริยะ) คือตัวพระพุทธศาสนานี้ เปรียบได้กับต้นไม้ ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ คือ

           ลาภสักการะ เหมือนกิ่งใบ
           ศีล เหมือนสะเก็ดไม้
           สมาธิ เหมือนเปลือกไม้
           ปัญญา เหมือนกับกระพี้ไม้
           วิมุตติ (ความหลุดพ้น) เป็นแก่น

           ตรงนี้แหละ มาถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ เข้ากับหลักที่พูดสุดท้ายว่า จะต้องพัฒนาตนให้พึ่งตนเองได้ และเป็นอิสระ จนกระทั่งในที่สุดเป็นอิสระทางจิตใจและปัญญา เราพึ่งคนอื่น เช่น พึ่งพระพุทธเจ้า ก็เพื่อทำตัวเราให้พึ่งตนเองได้ พระพุทธเจ้าช่วยให้เราพึ่งตนเองได้นั่นเอง จุดหมายก็คือพึ่งตนเองได้เป็นอิสระ เพราะฉะนั้นหลักพุทธศาสนาจึงมาถึง แก่นแท้ที่สูงสุด คือวิมุตติ ความหลุดพ้น เป็นอิสระ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ก็จบลงตรงนี้เอง

           ตอนแรกเป็นอิสระทางพฤติกรรม ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่เป็นอิสระทางสังคม ทำอะไรๆ พูดอะไร ได้โดยไม่ถูกบังคับครอบงำ ข่มเหง แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากจิตใจที่เป็นอิสระจากกิเลส จึงจะเป็นอิสระจากการเบียดเบียนกันแท้จริง อิสรภาพที่แท้จึงไม่ใช่เป็นพฤติกรรม แต่เป็นภาวะทางจิตใจและปัญญา และอิสรภาพที่สมบูรณ์คืออิสรภาพทางปัญญา

           ด้านพฤติกรรมนั้น ท่านไม่สอนให้เป็นอิสระแบบแยกต่างหากจากกัน หรือต่างคนต่างอยู่ แต่พฤติกรรมนั้นท่านมุ่งให้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ให้เกื้อหนุนกันด้วยวัตถุและเรี่ยวแรงกำลังเป็นต้น โดยรู้เท่าทันว่าวัตถุทรัพย์สินภายนอก รวมทั้งลาภสักการะทั้งหลาย เราต้องอาศัยแต่มันเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุน เหมือนเป็นกิ่งใบ ไม่ใช่เป็นแต่แก่นสาร

           ด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับชีวิตภายนอกนี้ ให้เราเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้ พร้อมกับเราต้องพึ่งคนอื่นด้วย ให้สังคมเป็นสังคมประเภทพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน โดยแต่ละคนก็มีอะไรให้คนอื่นได้พึ่งบ้าง ต่างก็เกื้อหนุนกันให้สังคมอยู่ผาสุก และให้แต่ละคนมีโอกาสพัฒนายิ่งขึ้นไปในไตรสิกขา เพื่อให้แต่ละคนมีอิสรภาพที่พึ่งตนได้แท้จริงทางจิตใจและทางปัญญา อย่างนี้จึงจะเป็นสังคมที่ดี

           ขอให้ดูวินัยของพระ คือ ชีวิตในสังฆะตามพุทธบัญญัติ จะเห็นชัดว่าเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงจัดวางเป็นแบบไว้ คือสังคมสงฆ์เป็นสังคมตัวอย่างแห่งการที่แต่ละคนพยายามพัฒนาตนให้มีอิสรภาพทาง จิตใจและปัญญา โดยที่ชีวิตทางด้านพฤติกรรมนั้นพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นการเกื้อหนุนกันให้ก้าวไป ไม่ใช่ช่วยให้เขาไม่ต้องทำแล้วคอยรอรับความช่วยเหลือ

           คนที่มีอิสรภาพทางจิตใจและทางปัญญาเท่านั้น จึงจะสร้างสรรค์สังคมอย่างนี้ และอยู่กันด้วยดีในสังคมอย่างนี้ได้ เรื่องแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา พูดมาถึง แก่นธรรมเพื่อชีวิต แล้ว ขอจบเพียงนี้ แม้ว่าที่จริงยังมีหัวข้อที่ควรพูดอีก ๒ เรื่อง หรือ ๒ บท คือ แก่นธรรมเพื่อสังคม กับ แก่นธรรมเพื่อโลก แต่จำเป็นต้องยุติเพราะความยาวที่เกินเวลา

           ขออนุโมทนาท่านอธิบดี ท่านรองอธิบดี ท่านผู้อำนวยการและท่านผู้บริหารระดับสูงของกรมการศาสนา ขอความเจริญผาสุกจงมีแด่ทุกท่าน

- จบ -

 

   
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน