เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๕


            ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ ก็ปฏิบัติไม่ถูกและไม่มีทางบรรลุธรรม

            เราจะรู้อริยสัจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้หน้าที่อริยสัจและปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจให้สำเร็จด้วย การเรียนอริยสัจโดยไม่รู้หน้าที่ต่ออริยสัจอาจจะทำให้เข้าใจสับสน

            พระพุทธเจ้าตรัสกิจ หรือหน้าที่ต่ออริยสัจสี่ไว้ครบถ้วนแล้วแต่ละอย่างๆ
            ๑. หน้าที่ต่อทุกข์ คือ "ปริญญา" แปลว่า กำหนดรู้ รู้เท่าทัน จับตัวมันให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า..... "ทุกขัง ปริญเญยยัง" ภาษาพระแปลกันว่า "กำหนดรู้" ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน..... ปริญเญยยัง เป็นคุณศัพท์ ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็น ปริญญา เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา
ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหาเป็นปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ "โรค" ในทางร่างกายของเรา เมื่อเรามีโรคเราก็จะแก้ไขบำบัดหรือกำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริง เรากำจัดโรคไม่ได้ เราต้องเรียนรู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรค ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นที่ไหนตรงไหน และรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย ทำนองเดียวกัน ทุกข์ จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา แต่เรียนชีวิตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย ปัญหาเกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือ เกิดในโลก เราก็ต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิตและดูที่ชีวิต (นามรูป/ขันธ์ ๕)

            ๒. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ "ปหานะ" แปลว่า ละ หรือ กำจัด พอรู้โรคว่าเป็นโรคอะไร จับได้แล้ว ต้องสืบหาสาเหตุของโรค ต้องจับให้ได้ เหมือนกับแพทย์ที่วินิจฉัยโรคให้ได้ สืบหาตัวสาเหตุของโรค อาจจะเป็นเชื้อโรค หรือ ความบกพร่องของอวัยวะ ไม่ใช่เชื้อโรคอย่างเดียว เมื่อมีโรคก็ต้องมี สมุฏฐาน หรือ สมุทัย นี่แหละเป็นตัวที่ต้องแก้ไข หรือกำจัด

            ๓. หน้าที่ต่อนิโรธ เรียกว่า "สัจฉิกิริยา" แปลว่า ทำให้ประจักษ์แจ้ง คือ บรรลุถึงนั่นเอง เราต้องมีเป้าหมายว่าเราจะเอาอะไร และทำได้แค่ไหน จุดหมายอะไรที่ต้องการ กำหนดให้ได้และรู้ความเป็นไปได้ในการแก้ไข คนที่ไม่มีความชัดเจนว่าต้องการอะไร มีความเป็นไปได้อย่างไร ก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ แพทย์ก็ต้องวางเป้าหมายในการรักษาโรคว่าเป็นไปได้แค่ไหน เอาอะไรเป็นจุดหมายในการรักษา แล้วทำให้ได้ ให้บรรลุจุดหมายนั้น

            ๔. หน้าที่ต่อมรรค เรียกว่า "ภาวนา" แปลว่า บำเพ็ญ คือ ปฏิบัติ ลงมือทำ ทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น พอวางเป้าหมายเสร็จก็มาถึงขั้นลงมือปฏิบัติ จะผ่าตัดให้ยา และให้คนไข้ปฏิบัติตัวบริหารร่างกายอย่างไร วิธีรักษาทั้งหมดมาอยู่ในข้อ ๔ คือ มรรค เป็นขั้นที่ต้องลงมือทำ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มีรายละเอียดมากมาย

            เพราะฉะนั้น อริยสัจสี่ จึงเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์ จะใช้ในการสอนก็ได้ ในการรักษาโรคก็ได้ แพทย์ก็ใช้วิธีการนี้ สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ไว้สำหรับปัญญารู้ แต่สอนเรื่องสุขสำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนั้น พูดอย่างสั้นว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้การอยู่เป็นสุข หรือให้สั้นกว่านั้นอีกว่า พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์ แต่ให้เป็นสุข คือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น

            เพราะฉะนั้น ต้องมองพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาแห่งความสุข ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน