เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๑๘


           เมื่อคนเริ่มศึกษา การพัฒนาก็เริ่มทันที ความต้องการอย่างใหม่ก็มี ความสุขอย่างใหม่ก็มา

           ตอนนี้พึงทราบว่ามีแรงจูงใจ ๒ แบบ
           - แรงจูงใจแบบที่ ๑ คือ แรงจูงใจในการเสพ เรียกว่า ตัณหา ซึ่ง มากับเรื่องของความรู้สึก
           - แรงจูงใจแบบที่ ๒ คือ แรงจูงใจในการศึกษา (และสร้างสรรค์) เรียกว่า ฉันทะ ซึ่งมากับเรื่องของความรู้

           ตัณหา เป็นความต้องการประเภทความรู้สึก คือมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ ถ้าชอบใจสิ่งใดก็จะเกิด ตัณหา ปรารถนาจะได้เสพสิ่งนั้นอีก ถ้าไม่ชอบใจก็จะเกิด วิภวตัณหา อยากจะหนี อยากจะหลบ อยากจะทำลาย คนที่เป็นนักเสพก็วนเวียนอยู่กับแรงจูงใจที่เรียกว่า ตัณหา

           แต่พอเราใช้อินทรีย์เพื่อศึกษา ก็เกิดการเรียนรู้ พอได้ความรู้มาก็เกิดความอยากรู้ยิ่งขึ้นไปว่าอะไรเป็นอะไร พอได้สนองความอยากรู้ก็เกิดความสุข จากการสนองความต้องการในการรู้ ความสุขจะพัฒนาขึ้น ตอนนี้จะมีความสุขจาการสนองความใฝ่รู้ ยิ่งกว่านั้น พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เขาจะเริ่มแยกได้ว่า เออ….. สิ่งนี้มันอยู่ในภาวะที่ควรจะเป็นไหม ปัญญาที่รู้ที่แยกได้จะทำให้เกิดความอยาก หรือ ความต้องการคืบเคลื่อนก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คืออยากให้สิ่งนั้น ๆ อยู่ในภาวะที่มันควรจะเป็น ซึ่งเป็นธรรมดาของการศึกษาที่จะเป็นอย่างนั้นเอง เพราะความรู้ทำให้เราแยก หรือจำแนกได้ เราเห็นโต๊ะตัวนี้สมบูรณ์เรียบร้อย เราก็พอใจ พอเห็นตัวนั้นไม่สมบูรณ์บกพร่อง เราก็อยากให้มันสมบูรณ์

           เมื่อความรู้แยกแยะได้แล้ว ก็จะเกิดความต้องการ หรือเกิดความอยากชนิดใหม่ คืออยากให้มันอยู่ในภาวะที่ควรจะเป็น ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า อยากให้มันดี ถ้ามันยังไม่ดีก็อยากให้มันดี แล้วก็ก้าวไปสู่การอยากทำให้มันดี แล้วก้าวไปสู่พฤติกรรมในการกระทำเพื่อให้มันดี ตอนนี้แหละพฤติกรรมในการกระทำ (เพื่อให้มันดี) ก็เกิดขึ้น

           พอทำให้ดีได้ก็เกิดความสุข เพราะความสุขเกิดจากการสนองความต้องการ เมื่อเราพัฒนาความต้องการอย่างใหม่ขึ้นได้ ความสุขก็พัฒนาไปด้วย ถ้าเราไม่พัฒนาความต้องการ ความสุขของเราก็จำกัดอยู่กับการเสพ คือต้องการสิ่งชอบใจ และ ไม่ต้องการสิ่งไม่ชอบใจ แล้วก็วนเวียนอยู่กับ ตัณหา

           พอเราพัฒนาในด้านความรู้ เราใช้อายตนะในเชิงศึกษาเรียนรู้ ก็เกิดความอยากรู้ซึ่งเป็นความต้องการใหม่ เมื่อหาความรู้เพื่อสนองความต้องการที่จะรู้ ก็ได้ความสุขจากการเรียนรู้ เมื่อต้องการให้มันดี อยากให้มันดี และได้ทำเพื่อสนองความต้องการที่อยากให้มันดีนั้นได้ ก็เกิดความสุขจากการทำให้มันดี

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน