เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๒๐


           การพัฒนามนุษย์มีแหล่งใหญ่อยู่ในมโนกรรม จุดสำคัญนี้ถ้าพลาดไป ก็คือช่องทางใหญ่สู่หายนะ

           ได้พูดแล้วว่า ทวาร คือ ช่องทางของการกระทำ การแสดงออกทางกายวาจาใจ เมื่อเกิดมีปัญญาและมีเจตจำนงที่ดีมากขึ้น เราก็พัฒนาการกระทำของเราทั้ง ๓ ทางนั้นให้ดียิ่งขึ้น คือ
           - มโนกรรม ความคิดของเราก็ดีขึ้น
           - วจีกรรม การพูดของเราก็ดีขึ้น
           - กายกรรม การกระทำทางกายของเราก็ดีขึ้น
           กรรม ๓ ทางนี้ก็เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่ครบวงจร

           จำไว้อย่างหนึ่งว่าพระพุทธศาสนาถือว่า มโนกรรมสำคัญที่สุด คนทั่วไปมักเห็นว่ากายกรรมสำคัญที่สุด เพราะถึงขั้นลงมือลงไม้ เอาอาวุธไปฟันไปฆ่าเขาได้ แต่ขอให้พิจารณาดูหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ กมฺมุนา วตฺตตี โลโก ” ..... โลก (สังคมมนุษย์) เป็นไปตามกรรมนั้น เงื่อนไขนี้มาจากมโนกรรมเป็นสำคัญ ทั้งโลกนี้ไม่ใช่ถูกขับเคลื่อนด้วยกายกรรมเป็นใหญ่ แต่มันมาจากมโนกรรม กระบวนการรู้สึกนึกคิดเชื่อถือในใจของคนนี่แหละเป็นปัจจัยสำคัญ เจตจำนง แรงจูงใจมาจากไหน มาจากแนวความคิด ความเชื่อ ความยึดถือในค่านิยมหลัก อุดมการณ์ เป็นต้น ตรงนี้แหละสำคัญที่สุด

           เมื่อมีความเชื่อ แนวความคิด การยึดถืออุดมการณ์ หรือแม้เพียงค่านิยม ซึ่งทางพระใช้ศัพท์เดียวง่ายๆ ว่า..... “ ทิฏฐิ ” ถ้าทิฏฐิ เป็นอย่างไรแล้ว แรงจูงใจจะมาสนอง แล้วต่อไปกระบวนการของกรรมก็ดำเนินไป โดยแสดงออกมาทางกายวาจา ซึ่งเป็นไปตามที่เชื่อหรือยึดถือนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์เชื่อ หรือยึดถือ หรือมีแนวความคิดว่า..... มนุษย์จะประสบความสำเร็จ สุขสมบูรณ์ต่อเมื่อมีวัตถุพรั่งพร้อม หรือมีเศรษฐกิจมั่งคั่งที่สุด ถ้ามีความเชื่อ หรือ แนวความคิดแบบนี้ กระแสวัฒนธรรมอารยธรรมจะไปตามทั้งหมด สังคมจะเดินไปตามนี้

           ด้วยอิทธิพลของความเชื่อนี้ มนุษย์จะมุ่งทำการทุกอย่างเพื่อสร้างความพรั่งพร้อมทางวัตถุ กระแสวัตถุนิยมจะรุนแรงขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นบริโภคนิยม

           สังคมบริโภคนิยม คือ            สังคมซึ่งมีฐานความคิดที่เชื่อว่ามนุษย์จะมีความสุขสมบูรณ์เมื่อวัตถุมีเสพพรั่งพร้อม กระแสวัฒนธรรมอารยธรรมปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นบริโภคนิยมเช่นนี้ เพราะมี ทิฏฐิ ที่เป็นฐานความคิด หรือ ความเชื่อ ซึ่งสืบมาจากตะวันตก ที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญทางวัตถุขึ้นมา โดยเฉพาะที่เด่นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมารับใช้สนองอุตสาหกรรม ทำการผลิตให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ

           ตัวการสำคัญในกระบวนการนี้คืออุตสาหกรรม ซึ่งเดิมที่ฝรั่งมุ่งระดมกำลังทำการผลิตเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลน ( scarcity ) แต่พออยู่ในวิถีชีวิตของการผลิสร้างวัตถุไปนานๆ และจิตใจครุ่นคิดมุ่งหมายที่จะมีความพรั่งพร้อมทางวัตถุไปๆ มาๆ โดยไม่ต้องรู้ตัว ฝรั่งทั่วๆ ไปก็กลายเป็นวัตถุนิยม หรือมีแนวคิดทิฏฐิวัตถุนิยมเป็นกระแสหลัก กลายเป็นแนวคิดทิฏฐิว่าคนจะมีความสุขมากที่สุด เมื่อมีวัตถุเสพบริโภคมากมายพรั่งพร้อมที่สุด แล้วก็เปิดทางแก่ลัทธิบริโภคนิยม

           ความเป็นไปทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มที่โยงกับฐานความคิดใหญ่ คือ ความมุ่งหมายที่จะพิชิตธรรมชาติ Encyclopaedia Britannica เขียนไว้ในหัวข้อ “ History of Science ” (ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์) บอกว่า..... เมื่อถอยหลังไปพันปีก่อนโน้น ตะวันตกล้าหลังตะวันออกในด้านการปฏิบัติจัดการกับธรรมชาติ คือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ด้วยความมุ่งหมายที่จะเอาชนะธรรมชาติ จึงทำให้ตะวันตกสามารถล้ำหน้าตะวันออกไปได้ในด้านวิทยาศาสร์และเทคโนโลยีนั้น

           มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า A Green History of the World เขียนโดย Clive Ponting ได้พยายามขบคิดในเรื่องการแก้ปัญหาธรรมชาติแวดล้อมเสีย หนังสือนั้นได้วิเคราะห์แนวคิดของตะวันตกให้เห็นว่า อารยธรรมที่ทำให้ธรรมชาติแวดล้อมเสียนี่เป็นมาอย่างไร มีบทหนึ่งเขาได้สืบสาวความคิดของชาวตะวันตกตั้งแต่ Socrates, Plato, Aristotle จนมาถึงนักจิตวิทยาอย่าง Frseud รัฐบุรุษอย่าง Francis Bacon นักปรัชญาผู้นำที่เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ด้วยอย่าง Rene Descartes ตลอดจนนักคิดฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ล้วนมีวาทะที่พูดถึงความใฝ่ฝัน หรือความกระหายที่จะพิชิตธรรมชาติ

           นักประวัติศาสตร์โซเวียตคนหนึ่งถึงกับเขียนไว้ว่า ต่อไปเมื่อมนุษย์เจริญด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมชาติจะเป็นเหมือนขี้ผึ้งอันอ่อนเหลวในกำมือที่เราจะปั้นให้เป็นอย่างไรก็ได้ Descartes ก็พูดไว้แรงมาก Plato, Aristotle ก็พูดแนวนี้ทั้งนั้น

           นี่คือจุดมุ่งหมายที่นำทางความคิดความเชื่อของตะวันตกมาตลอดเวลาสองพันกว่าปี คือ..... ความเชื่อและมุ่งหมายใฝ่ฝันว่า เมื่อไรมนุษย์พิชิตธรรมชาติได้สำเร็จ โลกมนุษย์จะพรั่งพร้อมสุขสมบูรณ์เป็นโลกที่เป็นสวรรค์บนดิน จึงทำให้มนุษย์ชาวตะวันตกได้เพียรพยายามแสวงหาความรู้ในความเร้นลับของธรรมชาติ แล้วพัฒนาวิทยาศาสตร์และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา มโนกรรมคือแนวคิด ความเชื่อที่ว่านี้ อยู่เบื้องหลังอารยธรรมปัจจุบันทั้งหมด นี่คือตัวอย่างความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามโนกรรมสำคัญที่สุด

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน