เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๑๔


           แก่นธรรมเพื่อชีวิต

           การดำเนินชีวิตทั้งสามด้าน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันในการศึกษา

           เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย และธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ก็เอาความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้นมาใช้ประโยชน์

           สาระของพระพุทธศาสนา คือการนำเอาความรู้ในธรรมชาติและกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ สนองจุดหมายที่เราต้องการ คือการพัฒนามนุษย์จนสามารถเป็นอยู่ โดยไม่ต้องพึ่งพา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

           กระบวนการของชีวิตที่เคลื่อนไหว นั้นแยกเป็น ๓ ด้าน คือ พฤติสัมพันธ์ ที่เรียกโดยอนุโลมว่า พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา เราพัฒนาชีวิตทั้ง ๓ ด้าน ให้ทำอะไรต่ออะไรได้สำเร็จตามต้องการ จนมีชีวิตที่สมบูรณ์ ข้อสำคัญที่สุดต้องพัฒนาปัญญาขึ้นไป เพราะในที่สุด ทุกอย่างจะอยู่ในขอบเขตของปัญญา อย่างที่ว่า รู้เท่าใด ทำได้เท่านั้น

           แต่ในทางกลับกัน คนจะพัฒนาปัญญาไม่ได้ ถ้าไม่มีการสื่อสัมพันธ์ การทำพฤติกรรม และการทำงานของจิตใจมาเกื้อหนุน หลักการมีอยู่ว่า องค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านแห่ง กระบวนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แม้ว่าจุดยอดจะอยู่ที่การพัฒนาปัญญา แต่ปัญญานั้นจะเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยจิตใจ พร้อมด้วยพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการใช้อินทรีย์สัมพันธ์

           ปัญญาอาศัยพฤติสัมพันธ์ (อินทรีย์สัมพันธ์ และพฤติกรรม) เช่น อย่างง่ายๆ เราจะได้ความรู้ เราต้องอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กายของเรา สื่อความรู้จากโลกภายนอกเข้ามา เราต้องเคลื่อนไหว เดินไปหาข้อมูล ใช้มือหยิบ ฉวย ค้น แยก เลือก เก็บข้อมูล ต้องใช้วาจาพูดสอบถาม รู้จักปรึกษา เริ่มตั้งแต่รู้จักตั้งคำถาม ถ้าถามไม่เป็น พูดกับเขาไม่รู้เรื่องว่าถามอะไร หรือถามด้วยคำพูดไม่ดี เขาก็เกลียดเอา ไม่ร่วมมือ ไม่อยากตอบ เพราะฉะนั้นจึงต้องพัฒนาพฤติกรรมให้รู้จักพูด รู้จักตั้งคำถามให้ชัดเจน รู้จักพูดให้น่าฟัง ใช้ถ้อยคำสละสลวย พัฒนาพฤติกรรมให้สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์อย่างได้ผลดี ให้เขามีไมตรีชื่นชม เต็มใจที่จะร่วมมือ

           ปัญญาอาศัยจิตใจ เช่น จิตใจต้องเข้มแข็งอดทน มีความเพียรพยายาม แน่วแน่มั่นคง มีสติ มีสมาธิ ถ้าจิตใจเกียจคร้าน ท้อถอย ไม่สู้ พอเจอปัญหาก็ถอย ความคิดไม่ก้าว ปัญญาก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าใจสู้เข้มแข็ง เดินหน้าต่อไปก็สามารถพัฒนาปัญญาได้ หรือถ้าไม่มีสมาธิ ใจฟุ้งซ่าน คิดอะไรสับสนไม่ชัดเจน ต้องให้ใจมีสมาธิด้วยจึงจะเกื้อหนุนต่อการพัฒนาของปัญญา

           จิตใจเป็นฐานของพฤติกรรม อย่างที่พูดแล้วว่า การเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมของคนเรา เกิดจากความตั้งใจ มีเจตนา ซึ่งประกอบด้วยแรงจูงใจและความตั้งใจที่ดี พฤติกรรมที่แสดงออกไปก็จะดี จิตใจก็ต้องอาศัยพฤติกรรม เป็นเครื่องมือสนองความต้องการของจิตใจอยากได้โน่นได้นี่ อยากเห็น อยากดู อยากฟัง หรือเกลียดชัง อยากหนี อยากทำลาย อยากไปให้พ้นจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็อาศัยพฤติกรรม ต้องสำเร็จด้วยพฤติกรรมทั้งนั้น ปัญญาเป็นตัวชี้นำ บอกทาง ให้แสงสว่าง กำกับ ควบคุม ดูแล จัดปรับ แก้ไข ขยายขอบเขต พัฒนา และทำหน้าที่ปลดปล่อยช่วยให้เกิดอิสระภาพ ทั้งแก่พฤติกรรม และแก่จิตใจ

           ปัญญาชี้นำพฤติกรรม ควบคุม กำกับ ขยายขอบเขต และปลดปล่อยพฤติกรรม อย่างที่พูดไปแล้วว่า พฤติกรรมจะทำอะไรได้แค่ไหน ก็ได้แค่เท่าที่มีปัญญารู้เท่าใด ถ้าไม่รู้เลย ก็ติดขัด ถ้ารู้เข้าใจ พฤติกรรมก็เดินหน้าต่อไป ยิ่งรู้เข้าใจมองเห็นกว้างไกลลึกซึ้ง พฤติกรรมก็ยิ่งกว้างขวาง ซับซ้อน และทำได้ผลมากขึ้นๆ

           ปัญญาบอกทางแก่จิตใจ รวมทั้งชี้นำ กำกับ จัดปรับ แก้ไข ขยายขอบเขต ตลอดจนปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เช่น พอเจออะไร ถ้าไม่รู้เรื่อง ก็ติดขัดอัดอั้นตันทันที ทำอะไรไม่ถูก เกิดทุกข์เป็นปัญหา แต่พอปัญญามา รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไรเอามาใช้ทำอะไรได้ ก็โล่ง โปร่งสบายใจ หมดปัญหา ไม่บีบคั้นติดขัดคับข้องใจ เพราะฉะนั้น ปัญญามา ก็ทำจิตใจให้เป็นอิสระ มีความสุขโล่งโปร่ง แก้ปัญหาได้ เรียกว่าเป็นตัวปลดปล่อย คือ liberate จิตใจ

           เพราะฉะนั้น ชีวิตทั้ง ๓ ด้านของมนุษย์ คือ พฤติกรรม จิตใจ ปัญญา จึงคืบเคลื่อนไปด้วยกันเป็นระบบแห่งกระบวนการ ที่อาศัยซึ่งกันและกัน มนุษย์จึงต้องพัฒนาไปด้วยกันพร้อมทั้ง ๓ อย่าง

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน