เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๒๔


            ถ้าคนไทยตั้งอยู่ในหลักสี่ จะไม่ตกหลุมวิกฤติ ถึงแม้ถลำไป ก็จะถอนตัวขึ้นสู่วิวัฒน์ได้โดยพลัน

            หลักธรรม ๔ ประการต่อไปนี้ เป็นหลักการใหญ่ขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสย้ำอยู่เสมอ แต่ตามปกติตรัสไว้เป็นอิสระจากกัน เพราะมีนัยโยงถึงกัน หรือครอบคลุมกัน ในที่นี้ขอยกมาย้ำไว้ในที่เดียวกัน ถือว่าเป็นแก่นแท้ที่ปฏิบัติได้ทันทีและเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย

            หลักสำคัญเหล่านี้จะต้องใช้ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในการแก้วิกฤติของสังคมไทย และสร้างสรรค์ประเทศชาติต่อไปข้างหน้า คนไทยต้องอยู่กับหลักการ ๔ อย่างต่อไปนี้ให้ได้ คือ

            ๑. หลักการกระทำ คือ มุ่งทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายาม โดยเฉพาะความเพียรของตนเอง หลักนี้เรียกว่า หลักกรรมและความเพียร พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นกรรมวาที เราเป็นวิริยวาที พระองค์ไม่ได้ตรัสอย่างเดียว แต่ตรัสคู่กันว่า กรรมวาที และ วิริยวาที "เราเป็นผู้กล่าวหลักการกระทำ เราเป็นผู้กล่าวหลักความเพียร" คนจะทำต้องมีความเพียร ถ้าไม่มีความเพียรก็ก้าวไปในการทำไม่ได้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งกรรมและวิริยะ ให้หวังผลสำเร็จจากการกระทำด้วยเรี่ยวแรงกำลังของตน
ไม่มัวหวังผลจากการอ้อนวอนนอน รอผลดลบันดาลจากลาภลอย จากการรวยทางลัด การทุจริต การเสี่ยงโชค การพนัน เป็นต้น

            สรุปว่า ต้องถือหลักการกระทำให้สำเร็จด้วยความเพียร ขอยกพุทธพจน์มาย้ำไว้ว่า..... “ ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแม้ที่ได้มีแล้วในอดีตกาล... พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย แม้ที่จักมีในอนาคตกาล….. แม้เราเองผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะในบัดนี้ ก็เป็นกรรมวาท (ตรัสหลักกรรม) เป็นกิริยวาท (ตรัสหลักการที่จะต้องทำ) เป็นวิริยวาท (ตรัสหลักความเพียร)” ( องฺ.ติก.๒๐/๕๗๗/๓๙๖)

            ๒. หลักการศึกษาพัฒนาตน คือ ต้องถือเป็นหน้าที่โดยมีจิตสำนึกที่จะฝึกตนให้ก้าวหน้าต่อไปในการทำกุศลกรรมต่างๆ ที่จะให้ชีวิตและสังคมดีงมยิ่งขึ้น นี่เรียกว่า หลักไตรสิกขา

            ตามหลักเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก ดังนั้น ในการที่จะก้าวไปสู่ความดีงาม ความประเสริฐสมบูรณ์นั้น ชีวิตต้องพัฒนาด้วยไตรสิกขาเพื่อก้าวไปข้างหน้า ชีวิตจะต้องดีขึ้น ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝน ต้องศึกษา ต้องพัฒนาเสมอไป จะต้องไม่มัวหยุดอยู่กับที่ ขอยกคาถาพุทธพจน์แห่งหนึ่งมาไว้เตือนใจว่า..... "เพราะฉะนั้นแล เป็นคนอยู่ในโลกนี้ พึงศึกษาตามหลักไตรสิกขาเถิด สิ่งใดก็ตามที่พึงรู้ได้ในโลกว่าเป็นสิ่งผิดร้ายไม่ดี ไม่พึงประพฤติผิดร้ายไม่ดี เพราะเห็นแก่มัน ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าชีวิตนั้นน้อยนัก" ( ขุ.สุ.๒๕/๔๐๙๔๘๕ )

            พร้อมทั้งพุทธภาษิตว่า..... "ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐ" ( ขุ.ธ.๒๕/๓๓/๕๗ )

            ๓. หลักไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไรๆ ด้วยความเพียรและในการที่จะพัฒนาตนนั้น จะต้องไม่ประมาท ต้องตระหนักในความสำคัญของกาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงว่า ในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและชีวิตของเราล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่ผิดเพี้ยน ไม่นอนใจ

            หลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเหมือนกับ รอยเท้าช้าง ที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมด แล้วก็เป็น ปัจฉิมวาจา ของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง

            ในความไม่ประมาทนี้ แม้สังคมก็จะหยุดนิ่งไม่ได้ เพราะสังคมมีแนวโน้มว่า เมื่อไรมีความสำเร็จ เมื่อไรเจริญดีมีความพรั่งพร้อม เมื่อไรมีความสุขสบาย คนจะเริ่มเฉื่อยลงและเริ่มอ่อนแรงแล้วก็เริ่มประมาท

            สังคมมักจะเป็นอย่างนั้น คือ พอสบายก็ประมาท หันไปฟุ้งเฟ้อมัวเมาหลงระเริง ติดในความสุขสบาย เพลิดเพลิน สำเริง สำราญ ลุ่มหลงในการบันเทิง ไม่เร่งรัดขวนขวายทำกิจหน้าที่ ผัดเพี้ยนเฉื่อยชา

            เพราะฉะนั้น ผู้บริหารสังคมจะต้องคอยกระตุ้นเตือนปลุกเร้าประชาชนให้ไม่ประมาทมัวเมาทุกเวลา เครื่องพิสูจน์การพัฒนามนุษย์อย่างหนึ่งคือ ทั้งที่สุขสบายก็ไม่ประมาท ถ้าใครทำได้สำเร็จอย่างนี้เมื่อไรก็มีคุณสมบัติที่จะเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเดียวที่จะไม่ประมาทเลยเป็นอันขาด คือพระอรหันต์ นอกจากนั้น แม้แต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ก็ยังประมาทได้ คือพอประสบความสำเร็จไปเท่านี้ ก็พอใจว่าเราได้ก้าวหน้ามามีความดีเยอะแล้ว ก็ชักเฉื่อย พอเฉื่อยลง
พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเธอประมาทแล้ว

            ในพระพุทธศาสนานี้ ท่านไม่ให้หยุดในการสร้างสรรค์กุศลธรรม ตราบใดยังไม่ถึงจุดหมาย ก็ต้องก้าวไปในไตรสิกขาโดยไม่ประมาท ต้องก้าวต่อไป ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า..... “ เราไม่สรรเสริญแม้แต่
ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย ” ( องฺ.ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑ ) ..... พุทธพจน์นี้แสดงหลักเดียวกัน คือความไม่ประมาท

            ๔. หลักพึ่งตนได้ซึ่งทำให้มีอิสรภาพ การพึ่งตน คือ ต้องทำให้แก่ตัวเราด้วยตนเอง จึงต้องพัฒนาตัวเอง คือ เราพัฒนาตนเองเพื่อให้ทำได้ด้วยตนเอง เมื่อเราทำได้ด้วยตนเองเราก็พึ่งตนได้ ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ เราต้องพยายามพึ่งตนให้ได้ แต่เราจะทำได้ด้วยตนเองและพึ่งตนได้ เราต้องทำตนให้พึ่งตนได้ โดยฝึกตนขึ้นไปให้ทำได้ทำเป็น

            พระพุทธเจ้าเน้นเรื่องการทำตนให้พึ่งตนได้ หรือทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ มากกว่าเน้นการพึ่งตน ถ้าพูดว่าให้พึ่งตน แต่เขาไม่มีความสามรถที่จะพึ่งตนแล้ว เขาจะพึ่งตนได้อย่างไร ก็ได้แต่ซัดกันว่า..... นี่เธอยากจน เธอก็พึ่งตนสิว่าอย่างนั้น มันจะพึ่งตนอย่างไรในเมื่อไม่มีความสามารถที่จะพึ่งตนนั้น

            เพราะฉะนั้น อย่าพูดแค่พึ่งตนซึ่งเป็นเพียงคำเตือนเริ่มต้นแต่ต้องก้าวต่อไปสู่การฝึกฝนปฏิบัติซึ่งเป็นคำสอนที่แท้ว่า จงพยายามพึ่งตนด้วยการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ แล้วทำอย่างไรจะให้ตนเป็นที่พึ่งได้ก็ต้องฝึกต้องศึกษาพัฒนาตน

            พอพัฒนาตนก็เข้าไตรสิกขา ซึ่งทำให้ตนเองมีคุณสมบัติคุณภาพดีมากขึ้นสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น ได้ผลดียิ่งขึ้น ก็พึงตนเองได้ พอพึ่งตนเองได้ ก็ไม่ต้องพึ่งคนอื่น ก็เป็นอิสระ กลายเป็นว่าสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่น

            ความเป็นอิสระนี้ มิใช่เฉพาะการไม่ต้องคอยพึ่งพาขึ้นต่อคนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึงการไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุมากเกินไปด้วย ดังนั้นอิสรภาพที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง จึงหมายถึงการมีความสามารถที่จะมีความสุขในตัวเองได้มากขึ้น โดยพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุเสพบริโภคน้อยลง คือเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเอาชีวิตไปขึ้นต่อวัตถุ ไม่ต้องเอาความสุขไปฝากไว้กับสิ่งเสพบริโภค ซึ่งจะทำให้ลดความแย่งชิงเบียดเบียนกันในสังคม

            พร้อมกันนั้น เมื่อได้พัฒนาตนเองให้มีความสามารถมากขึ้นทั้งในการที่จะมีความสุขที่เป็นอิสระ และในการที่จะทำการสร้างสรรค์ต่างๆ ก็จะทำให้ทั้งชีวิตของตัวเองก็ดีขึ้น และสามารถเกื้อกูลแก่ผู้อื่นหรือแก่สังคมได้มากขึ้น พร้อมไปในคราวเดียวกัน ขอยกพุทธภาษิตมาย้ำเตือนอีกว่า..... “ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน โดยแท้จริงคนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ มีตนที่ฝึกดีแล้วนั้นแหละ คือ ได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก” ( ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๖ )

            หลัก ๔ ประการนี้สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน แต่แยกในเชิงปฏิบัติให้ใช้ได้เหมาะสม และได้ผลจริงจัง การปฏิบัติจากทุกหลักจะมาบรรจบประสานเป็นอันเดียวกัน ขอทวนอีกครั้งว่า หลัก ๔ ประการนี้ต้องย้ำอย่างที่สุด เพราะเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา และเหมาะสมยิ่งกับยุคปัจจุบัน

            ๑. ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายาม
            ๒. เรียนรู้ ฝึกศึกษาพัฒนาตน ให้ชีวิตและสังคมก้าวหน้าไปสู่ความดีเลิศประเสริฐยิ่งขึ้น
            ๓. มีความไม่ประมาท กระตือรือร้น ขวนขวายสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ไม่ปล่อยเวลาให้ เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
            ๔. พึ่งตนได้ มีอิสรภาพ พร้อมที่จะเผื่อแผ่ความสุข เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้

            มีสี่ข้อนี้พอแล้ว ประเทศไทยพัฒนาได้แน่

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน