เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๒


            แต่ต้องระวัง อันไหนก็ได้ จะทำให้พุทธศาสนาง่อนแง่น
ชาวพุทธต้องมีหลักที่แน่ชัด ให้ปฏิบัติเด็ดแน่วเป็นหนึ่งเดียว

            แต่การพูดว่า "อันไหนก็ได้" ก็ไม่ดีเหมือนกันเพราะทำให้ชาวพุทธเหมือนว่าไม่มีอะไรลงตัวแน่นอน แล้วกลายเป็นคนที่เอาอย่างไรก็ได้ โงนเงนง่อนแง่นหรือแกว่งไปแกว่งมา เหมือนไม่มีหลัก ก็จะกลายเป็นไม่ได้เรื่อง เราต้องชัดเจนว่า ที่อันไหนก็ได้นั้น ทั้งหมดคืออันเดียวกัน เพราะการพูดถึงหลักคำสอนเหล่านี้นั้น เป็นการพูดโดยจับแง่มุมต่างๆ กันของคำสอน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกันโยงถึงกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

            ถ้าพูดว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคือ "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส" หัวใจที่ว่านี้เป็นหลักในเชิงปฏิบัติเป็นเรื่องการดำเนินชีวิตว่า เราจะไม่ทำชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส

            ทีนี้ลองไปดูหลักอริยสัจสี่ ซึ่งมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะเห็นว่าข้อที่ ๔ คือ "มรรค" เป็นข้อปฏิบัติ

            มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย องค์ทั้ง ๘ นี้ ก็จำยาก จึงย่อง่ายๆ เหลือ ๓ เท่านั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

            ศีล คือ เว้นชั่ว….. สมาธิ คือ ทำความดีให้ถึงพร้อม….. ปัญญา คือ ชำระจิตใจให้ผ่องใส พอแยกแยะอย่างนี้แล้วก็เห็นว่า เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ ที่ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา นั้น ก็อยู่ใน มรรค นี่เองเป็นอริยสัจ ข้อที่ ๔ คือ ข้อสุดท้าย

            ทุกข์ คือ ตัวปัญหา เป็นสิ่งที่เราไม่เอา ยังไม่ต้องปฏิบัติ เราต้องรู้ให้ชัดว่าอะไรเป็นปัญหาที่เราจะต้องพ้นไป….. สมุทัย คือ ตัวเหตุแห่งทุกข์ ต้องสืบสาวให้รู้ตามหลักความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยว่า ทุกข์เกิดจากเหตุ และเหตุนั้นคืออะไร เหตุนั้นเรารู้ว่าจะต้องกำจัด แต่เรายังไม่ได้ทำอะไร จากนั้นเราก็รู้ว่าเมื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเข้าถึงจุดหมายคือ….. นิโรธ แต่ทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำในข้อสุดท้ายคือ มรรค ฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ สามอย่างนี้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อมัน แต่เราปฏิบัติมันไม่ได้ สิ่งที่จะปฏิบัติได้คือ ข้อที่ ๔ ได้แก่….. มรรค เมื่อเราปฏิบัติตาม มรรค เราก็กำจัด สมุทัย แก้เหตุแห่งทุกข์ได้เราก็พ้นทุกข์ หมดปัญหา และเราก็บรรลุนิโรธ เข้าถึงจุดหมายได้สามารถทำให้สำเร็จงานสำหรับ ๓ ข้อแรกทั้งหมด เป็นอันว่า สิ่งที่เราต้องปฏิบัติมีอยู่ข้อเดียวคือ ข้อ ๔ แต่เราต้องรู้ ๓ ข้อข้างต้นด้วย

            ถึงตอนนี้กลับไปดูหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ จะเห็นว่าเป็นหลักในภาคปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ใน มรรค คือ ข้อที่ ๔ ของอริยสัจ เพราะมรรคเป็นฝ่ายลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ ในแง่ของหลักความจริงตามสภาวะว่าเป็นอย่างไร จุดหมายคืออย่างไร ก็อยู่ในข้อ ๑ - ๒ - ๓ ของอริยสัจ

            เพราะฉะนั้น อริยสัจ กว้างกว่าและครอบคลุมหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย สำหรับชาวพุทธทั่วไป เริ่มต้นก็ให้เห็นก่อนว่าจะปฏิบัติอะไร เมื่อปฏิบัติไปได้ระดับหนึ่งก็จะต้องรู้หลักความจริงทั่วไปด้วย มิฉะนั้นการปฏิบัติก็ไปไม่ตลอด ถึงตอนนั้นต้องรู้หลักอริยสัจสี่

            อย่าลืมว่า ได้หลักแน่ชัดแล้วนะ เริ่มด้วย "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส" นี่แหละเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ก่อน แล้วก้าวต่อไปให้ครบ อริยสัจทั้ง ๔ ให้ได้จึงจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงและสมบูรณ์

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน