เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๘


            เมื่อคนไม่รู้ทันความจริงของธรรม เขาก็นำทุกข์ในธรรมชาติมาสร้างให้เป็นทุกข์ของตน

            สำหรับ ทุกฺขํ ในไตรลักษณ์นี้ เรามักมองคำว่าทุกข์เป็นความเจ็บปวด ที่จริงทุกข์เป็นสภาพตามธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือสภาวะตามธรรมชาติ คืออาการที่สิ่งทั้งหลายไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิม บางทีแปลว่า stress หรือ confict คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย หรือองค์ประกอบ
ต่างๆ ที่เกิดดับบีบคั้นขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา แล้วทุกข์ก็เป็นภาพรวมที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้น เมื่อองค์ประกอบแต่ละอย่างเกิดขึ้นดับไป เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์รวมนั้นไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ เกิดการขัดแย้งเป็นความกดดันภายในแล้วคงอยู่ไม่ได้

            สภาพที่ขัดแย้ง ฝืน กดดัน คงอยู่ไม่ได้ทั้งหมดนี้ เรียกว่า "ทุกข์" ซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติในสิ่งทั้งหลาย เมื่อเราใช้ศัพท์นี้กับภาวะในใจคน มีความหมายว่า เป็นภาวะที่จิตถูกกดดันบีบคั้น ก็มีความหมายคล้ายๆ กับทุกข์ในใจเรา คือ ภาวะที่ถูกบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ไม่สบาย ทนไม่ไหว ที่นี้ในสิ่งทั้งหลายทุกข์คือภาวะที่ต้องผันแปรเปลี่ยน เกิดความขัดแย้ง กดดัน ทนอยู่ไม่ได้

            ส่วน อนตฺตา คือไม่เป็นตัวตนที่ยั่งยืนมั่นคงตลอดไป เป็นเพียงภาพรวมของปรากฏการณ์แห่งกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงนั้น

            เรื่องนี้ทำนองเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ ไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่ ใครมีปัญญาสามารถค้นพบแล้วเอามาบอกกัน เรื่อง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มาค้นพบเปิดเผย อธิบาย วางเป็นระบบไว้ ตรงนี้แหละมาโยงกับอริยสัจ คือสิ่งทั้งหลายทั้งโลกรวมทั้งชีวิตคนเรา เป็นไปตามกฎธรรมชาติ มีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความกดดันขัดแย้งภายใน
คงสภาพเดิมไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กัน อย่างร่างกายเรานี้ก็เปลี่ยนไป ตอนเป็นเด็กหน้าตาอย่างหนึ่ง อายุมากขึ้นก็เปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องคือจะปฏิบัติ หรือ สัมพันธ์กับธรรมชาติ กับโลก กับชีวิต ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

            อวิชชา คือ ภาวะที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ
ตัณหา คือ ความอยาก ความปรารถนาต่อสิ่งต่าง ๆ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจ
อุปาทาน คือ การเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ให้เป็นอย่างที่ตัวต้องการเอาความปรารถนาของตนเป็นตัวกำหนด

            ถ้ามนุษย์เข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย หรือพูดง่ายๆ ว่าสัมพันธ์กับโลกและชีวิต ด้วยอวิชชา ตัณหา อุปทาน ก็จะเกิดปัญหาขึ้นกับชีวิตของตัวเองทันที ทุกข์ที่เป็นอยู่ในธรรมชาติตามธรรมดาของมัน คือเป็นความขัดแย้ง คงอยู่ไม่ได้ ในสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงคืบเคลื่อนนั้น ก็จะเกิดเป็นสภาวะที่กดดัน ขัดแย้งขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ตอนนี้ ทุกข์ในธรรมชาติที่มีอยู่ตามธรรมดา กลายมาเป็น ทุกข์ ปรุงแต่งในใจเรา ที่จริงทุกข์มีอยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ แต่เมื่อเราไปสัมพันธ์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูก จึงเกิดเป็นทุกข์ในใจของเราขึ้นมาและเมื่อสืบค้นดู ก็จะรู้ว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ของเราในกรณีนี้ ตัวนี้แหละที่ท่านว่าเป็น "สมุทัย" คือเหตุแห่งทุกข์ ตอนนี้สมุทัยมาแล้ว

            สมุทัย นี้ ถ้าตรัสแค่บทบาทหน้าโรง ก็เอาตัณหาเป็นตัวแสดง แต่ถ้าตรัสแบบเต็มโรง ทรงยกเอาอวิชชาเป็นตัวกำกับหลังโรง ขอให้ดูเวลาตรัสว่า อะไรคือสมุทัย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ แบบ

            แบบที่ ๑ ตรัสว่า สมุทัย ได้แก่ ตัณหา คืออธิบายง่ายๆ ว่า..... "สิ่งทั้งหลายมันไปเป็นไปตามใจอยากของคุณหรอก เมื่อคุณสัมพันธ์กับมันด้วยความอยาก คุณก็ต้องเป็นทุกข์เอง" แต่เบื้องหลังตัณหา คือความอยาก ความตามใจตัวนี้ ตัวการที่แท้คือความไม่รู้เท่าทันความจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขเปิดช่องให้ปัจจัยต่างๆ เข้ามาหนุนกันในการที่จะให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นเพราะฉะนั้น

            แบบที่ ๒ จึงตรัสแบบกระบวนการที่เริ่มต้นจาก อวิชชา ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของปัญหา หรือ ทุกข์ สมุทัยที่แท้จริงเป็นกระบวนธรรม (ธรรมปวัตติ) ตามกฎปฏิจจสมุปบาทว่า อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา….. ซึ่งประมวลว่าทั้งหมดนี้ คือ สมุทัยแห่งทุกข์

            ตอนนี้จะเห็นได้ว่า กฎธรรมชาติมาสัมพันธ์กับมนุษย์แล้ว ตอนแรกอาตมาพูดเริ่มจากฎธรรมฃาติก่อนว่า ความจริงของธรรมชาติ มันมีอยู่ตามธรรมดาของมัน สิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามกฎธรรมชาตินั้น เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ตอนนี้มาถึงคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นโดยมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกำหนด ก็จะเกิดปัญหา มีทุกข์ขึ้นมา

            อันนี้คืออริยสัจข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ คือการสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายซึ่งมีศักยภาพที่จะให้เกิดทุกข์ ด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมุทัยคือตัวเหตุ แล้วเกิดทุกข์ในตัวคนขึ้นมา คือก้าวจากทุกข์ในสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาเป็นทุกข์ในใจของเรา

            นี่คือวิธีพูดแบบย้อนกลับโดยเอากฎธรรมชาติเป็นจุดเริ่มต้นโดยเริ่มที่ สมุทัย คือมนุษย์ไปสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายไม่ถูกต้อง โดยสัมพันธ์ด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็เกิดเป็น ทุกข์ ขึ้นมา

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน