เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๑๕


           บนฐานแห่งหลักความสัมพันธ์ของชีวิตสามด้าน
ทรงตั้งหลักไตรสิกขาให้มนุษย์พัฒนาอย่างบูรณาการ

           เมื่อรู้เข้าใจหลักความสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันของชีวิต ๓ ด้านแล้ว ก็นำหลักนั้นมาใช้ในการพัฒนาชีวิต เริ่มตั้งแต่ พัฒนาพฤติกรรม ให้ดีขึ้น โดยฝึกด้วยความตั้งใจ และมีความเข้าใจ ให้เกิดพฤติกรรมที่ดีงาม เกื้อกูลขึ้นมาติดตัว หรือ ประจำตัว เรียกว่า ศีล ในการฝึกให้เกิดศีลเราจะใช้..... " วินัย" เป็นตัวกำหนดรูปแบบ เวลานี้สับสนกันระหว่างคำว่า วินัย กับ ศีล บางครั้งใช้เป็นอันเดียวกัน หรือไม่ก็แยกห่างกันไปคนละเรื่องเลย

           ขออธิบายว่า วินัย คือการจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผน รวมทั้งตัวลายลักษณ์อักษรที่เป็นข้อกำหนดว่า เราจัดวางระเบียบแบบแผนกำหนดพฤติกรรมกันไว้อย่างไร ส่วนคุณสมบัติของคนที่ตั้งอยู่ในวินัยนั้นเรียกว่า ศีล ก็แค่นี้เอง..... วินัยก็คือการจัดตั้ง วางระบบ กำหนดระเบียบแบบแผนในสังคมมนุษย์ ถ้าเราไม่มีระบบระเบียบแบบแผน พฤติกรรมของมนุษย์วุ่นวายมาก เราจึงใช้วินัยเป็นตัวกำหนด หรือ จัดระบบพฤติกรรม เมื่อพฤติกรรมของคนเป็นไปตามวินัยที่จัดตั้งวางกำหนดไว้ ก็เรียกว่า ศีล วินัยนั้นอยู่ข้างนอก เป็นเครื่องมือฝึกคนให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นตัวหนังสือ เป็นวาระแห่งความเป็นระเบียบ เป็นระบบแบบแผนที่กำหนดการฝึก ตลอดจนเป็นการปกครอง คือ การจัดการดูแลควบคุมคนให้ปฏิบัติ หรือฝึกตนตามระเบียบที่จัดตั้งไว้ เมื่อคนปฏิบัติตามวินัยจนกลายเป็นคุณสมบัติในตัวเขาแล้ว เราเรียกว่า ศีล เพราะฉะนั้น คำว่า "มีวินัย" ที่ใช้กันในสมัยนี้ ก็คือ "ศีล" นั่นเอง

           การฝึกพฤติกรรม และการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกของมนุษย์ให้เป็นไปในทางที่ดีงาเกื้อกูล จนเกิดเป็นคุณสมบัติขึ้นในตัวของเขา เรียกสั้นๆ ว่า..... "ศีล" คือ การมีพฤติกรรมและการสื่อสัมพันธ์ที่พึงปรารถนา เรียกเต็มว่า "อธิศีล สิกขา" เป็นอันว่า ศีล คือกระบวนการฝึกพฤติกรรมและการติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอก

           การพัฒนาด้านจิตใจ มีคุณสมบัติมากมายที่พึงต้องการ เช่น เมตตา กรุณา ศรัทธา กตัญญูกตเวที ความเคารพ ความเพียร ความเข้มแข็ง อดทน มีสติ มีสมาธิ ความร่าเริงเบิกบานผ่องใส ความสุข ฯลฯ เรียกว่า "อธิจิตตสิกขา" แต่เรียกให้สั้นและง่ายโดยเอาคุณสมบัติแกนสำคัญมาเป็นตัวแทน จึงเรียกการพัฒนาด้านจิตทั้งหมดว่า "สมาธิ"

           ทำไมจึงว่า "สมาธิ" เป็นคุณสมบัติแกน เป็นตัวแทน ที่ใช้เรียกชื่อการพัฒนาด้านจิตทั้งหมด

           ตอบว่า ในการพัฒนาจิตของคนนี้ มีคุณสมบัติสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าขาดไปเสีย คุณสมบัติอย่างอื่นก็จะต้องตั้งอยู่ไม่ได้และการพัฒนาด้านจิตใจก็จะดำเนินไปไม่ได้

           เหมือนกับว่าเรามีของมากมายจะจัดเก็บตั้งมันไว้ หรือเราจะทำงานกับมัน หรือจะให้ของเหล่านั้นเจริญงอกงามขึ้นไป หรืออะไรแล้วแต่ มีสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง คือฐานที่ตั้ง หรือที่รองรับที่มั่นคง เช่น จะวางของบนโต๊ะ โต๊ะก็ต้องมั่น ถ้าโต๊ะสั่นไหว ของอาจจะล้มหรือหล่นหายไปเลย หรือจะทำงานกับของเหล่านั้น ก็ไม่สะดวกหรือไม่สำเร็จ แต่ถ้าโต๊ะที่ตั้งที่วางหรือที่รองรับนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหว ของนั้นก็ตั้งอยู่ จัดทำอะไรกับมัน หรือจะให้เกิดการเคลื่อนไหวงอกงามเจริญขึ้น ก็ทำได้

           ในทางจิตใจก็เหมือนกัน คุณสมบัติที่เป็นแกนในการพัฒนาจิตใจ คือภาวะที่จิตใจอยู่ตัวได้ที่ ซึ่งช่วยให้คุณสมบัติอื่นๆ ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามได้ ตลอดจนช่วยให้ปัญญาทำงานได้ดี คุณสมบัติตัวแกนนี้เรียกว่า สมาธิ แปลว่า จิตตั้งมั่น จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ ไม่อยู่กับสิ่งที่ต้องการ หรืออยู่กับสิ่งที่ต้องการไม่ได้ เช่น อยู่กับหนังสือ อยู่กับงานไม่ได้เลยเดี๋ยวไปๆ

           สมาธินี่แหละเป็นตัวแทนของกระบวนการพัฒนาจิต เพราะฉะนั้นจึงเอาคำว่า สมาธิ มาเรียกแทนการพัฒนาคุณสมบัติด้านจิตทั้งหมด เรียกว่าเป็นวิธีเรียกแบบตัวแทน แต่ตัวแทนนี้เป็นตัวแกนด้วย

           ส่วนการพัฒนาปัญญา เรียกชื่อเต็มว่า "อธิปัญญาสิกขา" แต่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า..... "ปัญญา" คือกระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เป็นอันว่า การพัฒนามนุษย์อยู่ที่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน ซึ่งดำเนินไปด้วยกันอย่างเกื้อหนุนแก่กันเป็นระบบแห่งบูรณาการ

           การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ เริ่มตั้งแต่ การเรียนรู้ต่างๆ นี้ ศัพท์บาลีเรียกว่า " สิกขา" ฉะนั้นการฝึก ๓ ด้านที่พูดมาแล้วจึงเป็นสิกขา ๓ ด้าน คำว่า ๓ นั้น ภาษาบาลีคือ "ติ" ถ้าเป็นสันสกฤต ก็คือ "ไตร" ฉะนั้นจึงเป็น ไตรสิกขา

           ไตรสิกขาก็แยกเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา คือกระบวนการพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา เพื่อให้ชีวิตมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ คือภาวะที่เป็นผู้มีวิชาแล้ว มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่ต้องมีชีวิตอยู่โดยพึ่งพาอาศัย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของมันอีกต่อไป คือพ้น ทุกข์ โดยกำจัด สมุทัย ได้ บรรลุจุดหมาย คือ นิโรธ เพราะปฏิบัติตาม มรรค ได้ครบถ้วน จะเห็นว่าอริยสัจสี่มาครบหมดเลยทีเดียว

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน