เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๑๗


           จุดเริ่มของการศึกษา มีช่องทางชีวิตเตรียมไว้ให้ แต่ต้องใช้เป็น จึงจะเกิดการพัฒนา

            เรื่องไม่จบเท่านี้ เมื่อแยกแยะออกไป ก็ถึงองค์ประกอบที่เราต้องการสุดยอดคือ ปัญญา ซึ่งมนุษย์จะตั้งจิตจำนงในใจ และจะทำพฤติกรรมได้แค่ไหน ก็อยู่ในขอบเขตของปัญญา และปัญญาเป็นตัวแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่ปัญญาจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เราต้องรู้กระบวนการพัฒนาของปัญญา การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปพูดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ใหม่อีก

            หันมาดูที่ตัวมนุษย์เองว่า มนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร และพร้อมกันนั้น มนุษย์สัมพันธ์กับโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ก็ต้องดูที่เครื่องมือสื่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ

            ๑. มนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยสิ่งที่เรียกว่า อินทรีย์ หรือ อายตนะ ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์เหล่านี้เป็นทาง หรือ ประตูเข้ามา ของความรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่า การรับรู้ เพราะฉะนั้น อินทรีย์พวกนี้ทั้งหมดเรียกว่า ทวาร ๖ ซึ่งแปลว่าประตูหรือช่องทาง

            การที่เรียกว่า อายตนะ เพราะเป็นแดนต่อระหว่างชีวิตของเรากับโลก และที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะทำงานเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตัว เช่น ตาเป็นอินทรีย์ในการเห็น หูเป็นอินทรีย์ในการฟัง และเชื่อว่าทวาร เป็นประตู หรือ ช่องทางเชื่อมต่อระหว่างชีวิตกับโลก เป็นช่องทางเข้ามาของข้อมูลต่าง ๆ เป็นทางสัมพันธ์ซึ่งมี ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

            ๒. เราติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก ด้วยพฤติกรรมที่แสดงออกทาง ประตู หรือ ทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ เราสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดย
            - เคลื่อนไหวจับโน่นจับนี่ ด้วยกาย
            - ติดต่อสัมพันธ์สื่อสารกับโลกมนุษย์ภายนอก ด้วยวาจา คือถ้อยคำพูดจา
            - และมีเจตจำนงตั้งเจตนา ด้วยใจ ว่าจะเอาอย่างไรกับมัน

            สรุปว่า การเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในโลก ทั้งหมดมีช่องทางติดต่อ คือ ทวาร ๒ ชุด
            - ทวารประเภทช่องทางที่จะรู้ ๖ ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
            - ทวาร ประเภทช่องทางที่จะทำ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ

            การเกี่ยวข้องกับโลกหรือสิ่งแวดล้อมในด้านการกระทำนี้เรียกว่า กรรม ซึ่งแยกเป็นการ กระทำทางกายเรียกว่า กายกรรม..... การกระทำทางวาจาเรียกว่า วจีกรรม..... การกระทำทางใจเรียกว่า มโนกรรม

             เมื่อจับหลักนี้ได้ เราก็เข้าสู่กระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะต้องอาศัย ประตู หรือทวารทั้ง ๙ (๖+๓)

            เริ่มด้วยทวารชุด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่า อินทรีย์ หรืออายตนะ ๖ นั้น เราใช้มันเพื่ออะไร ทำหน้าที่อะไร ถ้าเราไม่รู้หน้าที่ หรือ การทำงานของมัน เราก็ใช้สะเปะสะปะ เรื่อยเปื่อย ใช้ไม่เป็น ไม่มีประสิทธิภาพ เราก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าเรารู้เข้าใจและใช้มันให้ถูกต้อง เราก็จะพัฒนาได้อย่างดี

            โดยสรุป หน้าที่ของอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกได้ ๒ อย่าง คือ
            ๑) หน้าที่รู้ คือรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น ตาดู รู้ว่าเป็นอะไร เป็นนาฬิกา กล้องถ่ายรูป ดอกไม้ ใบไม้สีเขียว สีแดง สีเหลือง รูปร่างยาวสั้นใหญ่เล็ก หูได้ยินเสียงดัง เบา เป็นถ้อยคำ สื่อสารว่าอย่างไร เป็นต้น ทำให้ได้ data และ information

            ๒) หน้าที่รู้สึก หรือ รับความรู้สึก พร้อมกับรับรู้ข้อมูลเราก็มีความรู้สึกด้วย บางทีตัวเด่นกลับเป็นความรู้สึก เช่น เห็นแล้วรู้สึกสบาย หรือ ไม่สบาย ถูกตาไม่ถูกตา สวยหรือน่าเกลียด ถูกหูไม่ถูกหู เสียงนุ่มนวลไพเราะ หรือ ดังแสบแก้วหู รำคาญ เป็นต้น

            จะเห็นว่า อินทรีย์ หรือ อายตนะ หรือทวาร ๖ นี้ ทำหน้าที่ ๒ อย่างพร้อมกัน ทั้งรับรู้ข้อมูลด้วย และรับความรู้สึกด้วย พร้อมกัน
            - การรับด้านรู้ข้อมูล เรียกว่า ด้านศึกษา
            - การรับด้านความรู้สึก เรียกว่าด้านเสพ
            เป็นอันว่า อายตนะทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ ศึกษา กับ เสพ

            ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ถ้าจะให้มนุษย์พัฒนา มนุษย์จะต้องใช้อินทรีย์เพื่อรู้ หรือศึกษาให้มาก ส่วนมนุษย์ที่ไม่พัฒนา จะใช้อินทรีย์เพื่อเสพเป็นส่วนใหญ่ บางทีแทบไม่ใช้เพื่อการศึกษาเลย เอาแต่หาเสพสิ่งชอบใจ ไม่ชอบใจ ถูกหู ถูกตา เอาสวยงาม สนุกสนานบันเทิงเข้าว่า

            กุญแจสำคัญที่จะตัดสินว่ามนุษย์จะให้ชีวิตของตัวเองเป็นอย่างไร จะพัฒนาหรือไม่ จะช่วยให้โลกหรือสังคมไปทางไหน ก็อยู่ที่การใช้อินทรีย์นี้แหละ คนที่ไม่พัฒนาก็จะ ใช้อินทรีย์เพื่อเสพสนองความรู้สึก อยู่กับความรู้สึกสบายไม่สบาย สุขทุกข์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ แล้วก็วนเวียนอยู่อย่างนั้น สุขทุกข์ของเขาอยู่ที่ความชอบใจ ไม่ชอบใจ เจอสิ่งชอบใจก็เป็นสุข เจอสิ่งไม่ชอบใจก็เป็นทุกข์ แล้วก็หาทางหนีสิ่งที่ไม่ชอบใจ หาแต่สิ่งชอบใจวนเวียนอยู่แค่นี้

            แต่ถ้าใช้อินทรีย์เพื่อศึกษาสนองความต้องการรู้ ก็จะใช้ตา หู ไปในทางการเรียนรู้ และพัฒนาไปเรื่อย ๆ ปัญญาจะเกิด รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วต่อไปก็ถึงจุดแยก คนที่อยู่กับการใช้อินทรีย์เพื่อเสพความรู้สึก ความสุขของเขาก็จำกัดอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ แต่คนที่ใช้อินทรีย์เพื่อศึกษา จะพัฒนาความสุขให้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไป พร้อมกับแรงจูงใจที่เกิดขึ้นใหม่

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน