เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๑๖


           เมื่อพัฒนาด้วยไตรสิกขา ชีวิตก็เป็นอริยมรรค เพราะชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ศึกษา

           ชีวิตต้องเป็นอยู่ดำเนินไปตลอดเวลา การที่ต้องเคลื่อนไหวพบประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งต้องรู้จัก ต้องเข้าใจ ต้องปฏิบัติ หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหาทางแก้ไขให้ผ่านรอด หรือลุล่วงไป ทั้งหมดนี้เรียกสั้นๆ คือ สิกขา หรือการศึกษา

           เพราะฉะนั้น การที่ชีวิตเป็นอยู่ได้ ต้องศึกษา หรือสิกขา ตลอดเวลา พูดสั้นๆ ว่า ชีวิตคือการศึกษา หรือ ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่มีการเรียนรู้ หรือมีการฝึกฝนพัฒนาไปด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การดำเนินชีวิตที่ดีจะเป็นชีวิตแห่งการสิกขาไปในตัว

           เราเคยได้ยินฝรั่งบางพวกพูดว่า ชีวิตคือการต่อสู้ ชีวิตเป็นความฝัน แต่ถ้าพูดตามหลักพระพุทธศาสนา "ชีวิตคือการศึกษา" ถ้าใช้ภาษาฝรั่งก็ต้องพูดว่า To live is to learn หรือ Life is Learning ตรงนี้เป็นการประสานระหว่างการพัฒนามนุษย์หรือการเรียนรู้ ฝึกฝนพัฒนามนุษย์ ที่เรียกว่า..... สิกขา/ศึกษา กับการดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์ที่เรียกว่า มรรค ให้เป็นอันเดียวกัน คือการดำเนินชีวิต ชนิดที่มีการศึกษาพัฒนาชีวิตไปด้วยในตัว จึงจะเป็นชีวิตที่ดี

           ศีล สมาธิ ปัญญา คือการพัฒนาพฤติกรรม จิตใจและปัญญา หรือ การศึกษา ๓ ด้านที่พูดไปแล้ว เมื่อขยายออกเป็น ข้อปฏิบัติ ก็มาเป็น มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง เมื่อสรุปก็เป็น ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

            ฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่าง ของไตรสิกขา กับมรรคมีองค์ ๘ ประการ จึงตรงกัน กล่าวคือ

           ด้านศีล กระจายออกเป็น สัมมาวาจา สัมมากัมนันตะ และ สัมมาอาชีวะ คือ การใช้กายวาจาให้ถูกต้องดีงาม ทั้งในการกระทำทั่วไป ในการสื่อสัมพันธ์ และในการเลี้ยงชีพให้ถูกต้อง

           ด้านจิตใจ มีมากมาย แต่ตัวนำสำคัญมี ๓ คือ
           - มีความเพียรพยายาม เรียกว่า สัมมาวายามะ
           - มีสติเป็นตัวคอยจับกำหนดให้ทำงานได้ เป็นตัวเตือนไม่ให้เผลอพลาด และให้เดินหน้า ตลอดเวลา เรียกว่า สัมมาสติ
           - มีสมาธิ ให้จิตแน่วแน่ มีความสงบ ดำเนินไปอย่างมั่นคง เรียกว่า สัมมาสมาธิ

           ด้านปัญญา แยกเป็น ๒ คือ
           - มีความเห็น ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
           - มีความดำริถูกต้อง วางแนวทางความคิดที่จะนำชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

           พอเริ่มกระบวนการโดยมี ความรู้ ความเข้าใจ ทำให้วางแนวความคิดถูกต้อง ทั้งเจตจำนง ความเพียรพยายาม และสติที่กำกับมาสนองแนวความคิดนี้ พฤติกรรมก็มาสนองเจตนำนงและความเพียรพยายามนั้น การดำเนินชีวิตจึงไปด้วยการเรียนรู้ ปฏิบัติต่อประสบการณ์และสถานการณ์ต่าง อย่างถูกต้องได้ผลดี ไตรสิกขา ก็มาประสานกับ มรรค

           ไตรสิกขา คือ การพัฒนามนุษย์ให้ดำเนินชีวิตดีงามถูกต้อง ทำให้มีวิถีชีวิตที่เป็น มรรค เป็นทางดำเนินชีวิต หรือ วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามของมนุษย์ ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน คือ สิกขา มรรคกับสิกขาจึงประสานเป็นอันเดียวกัน เมื่อมองในแง่อริยสัจสี่ ก็เป็น อริยมรรค คือ วิถีชีวิตอันประเสริฐเมื่อเป็นมรรค ก็ดำเนินก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย โดยกำจัดสมุทัยให้หมดไป ช่วยให้เรามีชีวิตที่พึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน น้อยลงไป ไม่อยู่ใต้อำนาจครอบงำของมัน พร้อมกับที่เรามีปัญญาเพิ่มขึ้น และดำเนินชีวิตด้วยปัญญามากขึ้น ทุกข์ก็น้อยลงไป สุขจะมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดพอ สมุทัยหมดทุกข์ก็หมด ก็บรรลุหมายเป็น นิโรธ โดยสมบูรณ์

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน