เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ หัวใจพระพุทธศาสนา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หน้า ๑๑


            ธรรมชาติของมนุษย์นั้นพิเศษในแง่ดี คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ศึกษาให้มีปัญญาได้

            เราต้องศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ คือ นอกจากรู้ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ทั้งโลก ทั้งระบบ ก็มารู้ธรรมชาติของตัวมนุษย์เองด้วย ซึ่งต้องพูดเป็น ๒ ระดับ

            ระดับที่ ๑ มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติทั้งหมด เพราะฉะนั้น ชีวิตมนุษย์จึงต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติเช่นเดียวกับธรรมชาติอย่างอื่น ๆ ถ้าเราแยกเป็นโลกและชีวิต ชีวิตเราเป็นไปตามกฎธรรมชาติใหญ่ อันเดียวกับกฎธรรมชาติที่ครอบงำโลกคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเปลี่ยนแปลงไปคงอยู่สภาพเดิมไม่ได้และปรากฎรูปขึ้นมาตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กันนั้น นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ด้านหนึ่งที่เป็นชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

            ระดับที่ ๒ ธรรมชาติพิเศษที่เป็นส่วนเฉพาะจุดสำคัญของมนุษย์ที่จะก้าวไปสู่ขั้นที่สามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ คือ มนุษย์สามารถมีปัญญาที่จะมีชีวิต โดยไม่พึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ได้หรือไม่ ธรรมชาติของมนุษย์ตรงนี้ถือเป็นฐานของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ธรรมชาติส่วนพิเศษของมนุษย์ คือเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ พูดอย่างสมัยใหม่ก็ใช้คำว่า..... "เป็นสัตว์ที่พัฒนาได้" ไม่จมอยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงได้ในเชิงคุณภาพ หรือเรียกว่าเป็นสัตว์พิเศษก็ได้ คำว่า..... "ฝึก" นี้พูดอย่างสมัยใหม่คือคำว่า เรียนรู้และพัฒนา พูดตามหลักคำแท้ๆ คือ ศึกษา หรือสิกขา พูดรวมๆ กันไปว่า เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนา หรือเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนา พูดสั้นๆ ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก ถือเป็นแง่เด่นคือ พอฝึก เริ่มเรียนรู้ คราวนี้มนุษย์ก็เดินหน้า มีปัญญาเพิ่มพูนขึ้น พูดได้ สื่อสารได้ มีความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์อะไรๆ ได้สามารถพัฒนาโลกของวัตถุ เกิดเทคโนโลยีต่างๆ มีความเจริญทั้งในทางนามธรรม วัตถุธรรม

            ศิลปวิทยาการ เกิดเป็นวัฒนธรรม อารยธรรม จนกระทั่งเกิดเป็นโลกของมนุษย์ซ้อนขึ้นมาท่ามกลางโลกของธรรมชาติ พระพุทธศาสนาจับความจริงของธรรมชาติข้อนี้เป็นหลักสำคัญ จึงให้กำลังใจกับมนุษย์ว่า มนุษย์ที่ฝึกแล้วนั้น เลิศประเสริฐจนกระทั่งแม้แต่เทวดาและพรหมก็น้อมนมัสการ ดังคาถาว่า.....

            "มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ เทวาปิ นํ นมสฺสนฺติ … … … … … … "

            แปลว่า "พระพุทธเจ้า ทั้งที่เป็นมนุษย์นี่แหละ แต่ทรงฝึกพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยที่อบรมมาอย่างดี แม้เทพทั้งหลายก็น้อมนมัสการ"

            คาถานี้เป็นการเตือนมนุษย์และให้กำลังใจว่า ความดีเลิศประเสริฐของมนุษย์นั้น อยู่ที่การเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนาตนขึ้นไป มนุษย์จะเอาดีไม่ได้ ถ้าไม่มีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน เพราะฉะนั้น เราจึงพูดเต็มว่า..... " มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก" และฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด

            สัตว์อื่นแทบไม่ต้องฝึก เพราะมันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ พอเกิดมาปั๊บเรียนรู้จากพ่อแม่นิดหน่อย เดี๋ยวเดียวมันก็อยู่รอดได้ เรียนรู้ได้นิดเดียว แค่กินอาหารเป็น แต่ต่อจากนั้นฝึกไม่ได้ เรียนรู้ไม่ได้ อยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณตลอดชีวิต เกิดมาอย่างไรก็ตายไปอย่างนั้น หมุนเวียนกันต่อไป

            ฉะนั้นความประเสริฐเลิศของมนุษย์จึงอยู่ที่การฝึกฝนพัฒนาตนได้ และฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความเลิศประเสริฐที่สัตว์ทั้งหลายอื่นไม่มี สัตว์อื่นอย่างดีฝึกได้บ้างเล็กน้อย เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น มันฝึกตัวเองไม่ได้ ต้องให้มนุษย์ฝึกให้..... ฝึกได้ในขอบเขตจำกัด เรียนรู้ได้ไม่มาก

 

 
หน้า l l l l l l l l l ๑๐
๑๑ l ๑๒ l ๑๓ l ๑๔ l ๑๕ l ๑๖ l ๑๗ l ๑๘ l ๑๙ l ๒๐ l ๒๑ l ๒๒ l ๒๓ l ๒๔ l ๒๕
หน้าแรก l ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน