เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สารพันปัญญา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
15. ชีวกโกมารภัจจ์

             สมัยพุทธกาล ในกรุงราชคฤห์ กุมารีชื่อ สาลวดี เป็นสตรีทรงโฉมสะคราญตาน่าเสน่หา ได้รับการคัดเลือกจากพวกเศรษฐีในกรุง ราชคฤห์ให้เป็นหญิงงามเมือง ต่อมานางได้ตั้งครรภ์ จึงแกล้งทำเป็นป่วยและงดรับแขก เมื่อครบกำหนดก็คลอดบุตรเป็นชาย นางสั่งให้คนใช้ เอาทารกใส่กระด้งไปทิ้งที่กองขยะ

             ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัย โอรสของพระเจ้าพิมพิสาร กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ทอดพระเนตรเห็นทารกอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ จึงตรัสถามมหาดเล็กว่า

             อ : ฝูงการุมกันตอมอะไร
             ม : ทารก พ่ะย่ะค่ะ
             อ : ยังเป็นอยู่หรือ
             ม : ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ
             อ : ถ้าเช่นนั้นจงนำทารกไปยังวังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้

             อาศัยคำว่า ยังเป็นอยู่ (ชีวติ) เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก (ผู้มีชีวิตอยู่) เนื่องจากเจ้าชายสั่งให้เลี้ยงดู เขาจึงตั้งนามสกุลให้ว่า โกมารภัจจ์ (ผู้ที่เจ้าชายชุบเลี้ยง)

             เมื่อชีวกโกมารภัจจ์รู้เดียงสาขึ้น เวลาเล่นกับเด็กหลวงคนอื่นๆ แล้วเกิดทะเลาะกันจะถูกเรียกว่า เจ้าลูกไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ ในเวลาที่มีงานรื่นเริงหรือในเทศกาลต่างๆ เด็กอื่นๆ จะได้รับของขวัญจากพ่อแม่หรือ ญาติ ส่วนชีวกโกมารภัจจ์ไม่เคยได้รับอะไรเลย ชีวกโกมารภัจจ์จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัยทูลถามถึงพ่อแม่ของตน

             เจ้าชายรับสั่งว่า แม้ตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้เลี้ยงเจ้าไว้

             เมื่อทราบอย่างนี้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงเกิดความคิดว่า ในราชสกุลนี้ คนไม่มีความรู้จะเข้าพึ่งพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ความรู้บางอย่าง เช่น ความรู้เกี่ยวกับช้างม้าหรือธนู เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ความรู้ทางแพทย์เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ดังนั้น เราควรศึกษาความรู้ทางแพทย์

             ชีวกโกมารภัจจ์ได้ทราบจากพวกพ่อค้าชาวเมืองตักกสิลาว่า มีแพทย์ที่เป็นทิศาปาโมกข์อยู่ ณ เมืองตักกสิลา เมื่อพ่อค้ากลับเมือง ตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์จึงลอบเดินทางไปกับพ่อค้าเหล่านั้นโดยไม่ได้บอกลาเจ้าชายอภัย เมื่อถึงเมืองตักกสิลาก็ไปหานายแพทย์ผู้นั้น แพทย์ถามว่า

             พ : พ่อหนุ่มเป็นใคร
             ชี : ผมเป็นนัดดาของพระเจ้าพิมพิสารมหาราช เป็นบุตรของเจ้าชายอภัย
             พ : ก็เหตุไรเล่า พ่อหนุ่มจึงมาที่นี่
             ชี : ท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาวิชาแพทย์
             พ : ถ้าเช่นนั้น จงศึกษาเถิด

             ชีวกโกมารภัจจ์ไม่มีค่าเล่าเรียนให้อาจารย์ จึงทำงานรับใช้อาจารย์และเรียนไปด้วย ไม่ได้เรียนเต็มที่เหมือนศิษย์อื่นที่มีค่าเล่าเรียน แต่กระนั้นเขาก็เรียนได้เร็วและมาก ทั้งเข้าใจได้ดีและจำได้แม่นยำไม่ลืม

             ครั้นเรียนไปได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปถามอาจารย์ว่า เมื่อไรจึงจะสำเร็จ

             นายแพทย์ตอบว่า เธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา ระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา

             ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสียมเดินรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ตามคำสั่งอาจารย์ เสร็จแล้วก็กลับมารายงานว่า ไม่พบสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง

             นายแพทย์จึงบอกว่า เรียนสำเร็จแล้ว จากนั้นดำริว่า ชีวกนี้เป็นบุตรของมหาสกุล เมื่อกลับไปถึงบ้านเมือง จะได้สักการะใหญ่จากสำนักบิดาและปู่ เหตุนั้นเขาจะไม่รู้จักคุณของเรา ถ้าเขาสิ้นเสบียงกลางทางก็จำต้องใช้ความรู้ที่ร่ำเรียน เมื่อนั้นเขาจักรู้คุณของเรา คิดแล้วจึงมอบเสบียงเดินทางจำนวนเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์

             ชีวกโกมารภัจจ์ออกเดินทางมุ่งไปกรุงราชคฤห์ เสบียงจำนวนเล็กน้อยได้หมดลงที่เมืองสาเกต ดำริว่า การเดินทางไปตามทางที่อัตคัต น้ำและอาหารโดยไม่มีเสบียง ทำได้ยาก จำเราจะต้องหาเสบียง คิดแล้วจึงเข้าไปในเมืองสาเกตก็ได้ข่าวว่า ภรรยาเศรษฐีปวดศีรษะ ๗ ปีแล้ว ยังไม่มีแพทย์คนไหนรักษาได้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงเดินทางไปบ้านเศรษฐี คนเฝ้าประตูเข้าไปรายงานภรรยาเศรษฐีว่า มีหมอหนุ่มมาขอทำการรักษา ภรรยาเศรษฐีปฏิเสธว่า หมอหนุ่มจักทำอะไรได้ แม้นายแพทย์ใหญ่หลายคนยังรักษาไม่หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก

             เมื่อคนเฝ้าประตูนำความมาบอก ชีวกโกมารภัจจ์ให้คนเฝ้าประตูไปรายงานว่า อย่าเพิ่งให้อะไรๆ ต่อเมื่อรักษาหายแล้วจึงค่อยให้ ภรรยาเศรษฐียอมรับข้อเสนอของชีวกโกมารภัจจ์

             ชีวกโกมารภัจจ์ตรวจอาการของภรรยาเศรษฐีแล้ว ก็ขอเนยใสซองมือหนึ่ง แล้วหุงเนยใสนั้นกับยาต่างๆ ให้ภรรยาเศรษฐีนัตถุ์ ขณะนั้นเนยใสได้ออกมาทางปาก ภรรยาเศรษฐีจึงถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน แล้วสั่งให้สาวใช้เอาสำลีซับเนยใสนั้นไว้ ชีวกโกมารภัจจ์เห็นเข้าดำริว่า แม่บ้านคนนี้ช่างสกปรก เนยใสนี้จำเป็นต้องทิ้ง ยังใช้สำลีซับไว้ แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราหนอ

             ภรรยาเศรษฐีเห็นอาการของชีวกโกมารภัจจ์ จึงถามว่า อาจารย์ท่านแปลกใจอะไร

             ชีวกโกมารภัจจ์จึงเล่าความนั้นให้ทราบ

             ภรรยาเศรษฐีกล่าวว่า พวกดิฉันเป็นคนมีเหย้าเรือน จำต้องรู้จักสิ่งควรสงวน เนยใสนี้ยังใช้เป็นยาทาเท้าพวกทาสกรรมกรก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้วิตกไปเลย ค่าขวัญข้าวของท่านจักไม่ลดน้อย

             โรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐีที่เป็นมา ๗ ปีได้หายด้วยการนัตถุ์ยาเพียงครั้งเดียว ภรรยาเศรษฐีให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรและสะใภ้ให้รางวัลอีกคนละ ๔,๐๐๐ กษาปณ์ เศรษฐีให้อีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์ และให้ทาส ทาสี รถม้าด้วย

             เมื่อถึงนครราชคฤห์ ชีวกโกมารภัจจ์เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย กราบทูลว่า ขอฝ่าพระบาททรงรับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ทาส ทาสี และรถม้า เพื่อเป็นค่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า

             เจ้าชายอภัยรับสั่งว่า อย่าเลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้าคนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด

             ในสมัยนั้น เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ใหญ่หลายคนมารักษา ก็ไม่อาจรักษาให้หาย นายแพทย์บางพวกก็ไม่ยอมรับรักษา บางพวกทำนายไว้ว่า เศรษฐีจักถึงอนิจกรรมในอีก ๕ วัน บางพวกทำนายว่า จักถึงอนิจกรรมใน ๗ วัน

             เนื่องจากเศรษฐีมีอุปการะมากแด่พระเจ้าอยู่หัวและชาวเมือง พวกคนร่ำรวยจึงพากันไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ขอให้มีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวกให้รักษาเศรษฐีนั้น พระราชาได้ทรงอนุญาตตามคำขอ ชีวกโกมารภัจจ์จึงไปหาเศรษฐี เมื่อตรวจดูอาการแล้ว ได้ถามเศรษฐี

             ชี : ถ้าฉันรักษาท่านหาย จะมีรางวัลอะไรแก่ฉันบ้าง
             ศ : ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสของท่าน
             ชี : ท่านนอนตะแคงข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม
             ศ : ข้าพเจ้านอนตะแคงข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้
             ชี : ท่านนอนตะแคงข้างที่ ๒ ตลอด ๗ เดือนได้ไหม
             ศ : ข้าพเจ้านอนตะแคงข้างที่ ๒ ตลอด ๗ เดือนได้
             ชี : ท่านนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม
             ศ : ข้าพเจ้านอนหงายตลอด ๗ เดือนได้

             ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมา ๒ ตัว ตัวหนึ่งเล็ก ตัวหนึ่งใหญ่ แล้วกล่าวกับมหาชนว่า พวกอาจารย์ที่ทำนายว่า เศรษฐีจะถึงอนิจกรรมใน ๕ วัน เพราะได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ พวกอาจารย์ที่ทำนายว่า เศรษฐีจะถึงอนิจกรรมใน ๗ วัน เพราะได้เห็นสัตว์ตัวเล็กนี้ เป็นอันว่าอาจารย์ทั้ง ๒ พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว จากนั้นก็ปิดกระโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะแล้วทายาสมานแผล

             เมื่อล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีกล่าวกับชีวกโกมารภัจจ์

             ศ : ข้าพเจ้านอนตะแคงข้างเดียวตลอด ๗ เดือนไม่ได้
             ชี : ท่านรับคำว่าจะนอนตะแคงข้างเดียวตลอด ๗ เดือน มิใช่หรือ
             ศ : จริง แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ถ้านอนตะแคงข้างเดียวตลอด ๗ เดือน
             ชี : ถ้าเช่นนั้นท่านจงนอนตะแคงข้างที่ ๒ ตลอด ๗ เดือนเถิด

             โดยนัยนี้ เศรษฐีได้นอนอยู่บนเตียง ๓ สัปดาห์ เมื่อครบ ๓ สัปดาห์ ชีวกโกมารภัจจ์กล่าวว่า

             ชี : ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนถึง ๓ สัปดาห์ไม่ได้ แต่ฉันทราบก่อนแล้วว่า ท่านจักหายโรคใน ๓ สัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจะให้รางวัลอะไรแก่ฉัน
             ศ : ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสท่าน
             ชี : อย่าเลย ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉันเลย และท่านก็ไม่ต้องเป็นทาสฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอ

             เศรษฐีก็ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์แสนกษาปณ์
                                                                              (วินัย. มหาวรรค. ๕/๑๒๘)

             สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
             ๑. ความเจ็บไข้เป็นของสาธารณะสำหรับมนุษย์ทุกคน เมื่อเจ็บป่วย แม้มีทรัพย์มากก็ช่วยไม่ได้ ดังนั้น ความไม่มีโรคจึงเป็นลาภอย่างยิ่ง

             ๒. คนดีทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก ชีวกโกมารภัจจ์เป็นคนมีเมตตา การเบียดเบียนคนไม่ใช่สิ่งที่ท่านทำได้ง่าย จึงเลือกเรียนวิชาแพทย์เพื่อช่วยเหลือคนอื่น ไม่เรียนวิชาที่เบียดเบียนคนอื่น เมื่อรักษาเศรษฐีให้หาย ก็ไม่เรียกร้องเอาทรัพย์ทั้งหมด แม้เศรษฐีจะยอมยกให้

             ๓. ชีวกโกมารภัจจ์มีใจรักในวิชาที่เรียน ประกอบกับเป็นคนมีปัญญา เมื่อมี ๒ สิ่งนี้ก็เท่ากับมีอิทธิบาท ๔ ครบถ้วน จึงเรียนได้ไว นักศึกษาบางคนไม่ได้ชอบวิชาหรือคณะที่เรียน ทำให้เรียนไม่ได้ดี

     

สารบัญ
คำนำ 11. ฉลาดพูด
1. ปัญญา 12. จันทร์พ้นเมฆ
2. เกลือจิ้มเกลือ 13. สตรีก็มีปัญญา
3. ขว้างงูไม่พ้นคอ 14. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
4. หนามบ่งหนาม 15. ชีวกโกมารภัจจ์
5. บัณฑิตแห่งมิถิลานคร 16. กุศโลบาย
6. ปราชญ์เถื่อนเผชิญปราชญ์... 17. มิตรดีเป็นศรี
7. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 18. นกรู้
8. ฉลาดใช้ 19. ศิษย์มีครู
9. เงินต่อเงิน 20. เขียนเสือให้วัวกลัว
10. ปราบพยศ   ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน