เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สารพันปัญญา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
14.น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

             สมัยหนึ่ง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี นางวิสาขาถวายอาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ พระเถระรูปหนึ่งพร้อมด้วยภิกษุหนุ่มได้ไปฉันในเรือนของนางวิสาขา พระเถระฉันข้าวต้มแล้ว ก็ให้ภิกษุหนุ่มนั่งที่เรือนนางวิสาขา ส่วนตนไปที่อื่น

             ในเวลานั้น หลานสาวซึ่งเป็นธิดาของบุตรนางวิสาขากำลังกรองน้ำให้ภิกษุหนุ่ม นางเห็นเงาหน้าตนในตุ่มน้ำจึงหัวเราะ ภิกษุหนุ่มมองดูนางก็หัวเราะ นางเห็นภิกษุหนุ่มกำลังหัวเราะจึงกล่าวว่า คนหัวขาดย่อมหัวเราะ ภิกษุหนุ่มจึงด่านางว่า เธอก็หัวขาด ถึงมารดาบิดาเธอก็หัวขาด นางร้องไห้แล้วไปหาย่าที่โรงครัวเล่าเรื่องให้ฟัง นางวิสาขาจึงมาชี้แจงให้ภิกษุหนุ่มฟังว่า คำที่กล่าวนั้นไม่หนักหนาอะไร ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ควรหรือที่หลานของท่านมาด่าอาตมาว่า ผู้มีหัวขาด

             ขณะนั้นพระเถระกลับมาถึง เมื่อทราบเรื่องที่เกิดขึ้นจึงกล่าวกับภิกษุหนุ่มว่า เธอจงหลีกไป หญิงนี้ไม่ได้ด่าเธอ เธอจงนิ่งเสีย ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ท่านไม่คุกคามอุปัฏฐายิกาของตน จักคุกคามกระผมทำไม การที่นางด่าผมว่า ผู้มีหัวขาด จักควรหรือ

             ขณะนั้นพระศาสดาเสด็จมา นางวิสาขาจึงกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ พระองค์ทรงดำริว่า เราควรคล้อยตามภิกษุหนุ่มนี้เสียก่อน ดำริแล้วตรัสกับนางวิสาขาว่า ควรหรือที่หลานสาวของท่านมาด่าสาวกของเราว่าเป็นผู้มีศีรษะขาด ภิกษุหนุ่มลุกขึ้นประคองอัญชลีแล้วกราบทูลว่า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานี้ดี อุปัชฌาย์ของข้าพระองค์และมหา อุบาสิกาย่อมไม่ทราบ พระศาสดาทรงเห็นเป็นโอกาสอันดีจึงแสดงธรรมให้ภิกษุหนุ่มฟัง เมื่อจบพระธรรมเทศนา ภิกษุหนุ่มก็ได้บรรลุโสดาบัน
                                                            (อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ เรื่องภิกษุหนุ่ม)

             อธิบดีมักมีความคิดเห็นไม่ตรงกับท่านรัฐมนตรีบ่อยๆ แม้อธิบดีจะชี้แจงเหตุผลข้อเท็จจริงต่างๆ ให้ฟัง ท่านรัฐมนตรีก็ไม่รับฟัง ลงท่านได้แสดงความเห็นออกไปแล้วเป็นไม่ยอมกลับ บางครั้งมีผู้ออกความเห็นสนับสนุนอธิบดี บางครั้งถึงอ้างระเบียบแบบแผนให้ท่านฟัง ท่านก็ไม่ยอมแพ้อยู่นั่นเอง อธิบดีหนักใจมาก เมื่อคิดหาทางแก้ไข ก็ระลึกได้ว่า ทุกครั้งเป็นการขัดกันในที่ประชุม ท่านรัฐมนตรีน่าจะมีนิสัยไม่ยอมแพ้ต่อหน้าคน ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ใหญ่ บางคนเห็นว่าเป็นการเสียหน้า และถ้าผู้น้อยขืนโต้เถียงดื้อรั้นก็ต้องเกิดเรื่องเสียหายขึ้น เมื่อระลึกได้ อย่างนี้ อธิบดีจึงเริ่มดำเนินกุศโลบาย โดยนำเรื่องที่เคยขัดกัน ซึ่งถ้าไม่แก้ไขจะเสียหายมาก เข้าไปชี้แจงต่อท่านรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะ

             อธิบดี : เรื่องนี้ผมทำคำสั่งเสนอให้ท่านรัฐมนตรีลงนามแล้ว แต่เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ทราบเหตุการณ์ดีแต่ต้น ก็รู้สึกว่าถ้าสั่งการ ไปดังนี้จะมีผลเท่ากับได้นกตัวเดียว แต่ถ้าสั่งการไปตามที่เคยปรึกษากันครั้งก่อนแล้ว ก็อาจจะได้นก ๒ ตัว ผมจึงทำบันทึกมาเสนอเพื่อโปรดพิจารณาอีกครั้ง

             รัฐมนตรี : (อ่านบันทึกแล้ว) ทำไมครั้งแรกคุณไม่บันทึกข้อความให้ละเอียดเช่นนี้ ถ้าผมทราบข้อเท็จจริงดังนี้แล้ว ผมจะสั่งคุณในที่ประชุมเช่นนั้นทำไม

             อธิบดี : วันนั้นดูเหมือนผมจะได้เรียนข้อความเหล่านี้แล้ว หรืออย่างไรก็จำไม่ได้แน่ แต่ขอรับว่าเป็นความบกพร่องของผม

             รัฐมนตรี : ถ้าคุณพูดแล้ว ผมก็ต้องเข้าใจและจำได้ นี่ดีว่ายังมิได้ออกคำสั่งไป และคุณก็รอดตัวไปที่เอากลับมาพูดใหม่ หาไม่จะเกิดความเสียหายมากทีเดียว

             อธิบดี : ครับ เป็นความบกพร่องของผมเอง

             แล้วท่านรัฐมนตรีก็สั่งการใหม่ตามคำเสนอของอธิบดี และอธิบดีก็ดำเนินกุศโลบายนี้กับท่านรัฐมนตรีในเรื่องที่สำคัญๆ ต่อไป ราชการในความรับผิดชอบของอธิบดีก็ดำเนินไปด้วยดี

(ลักษณะผู้ปกครอง โดย พระยาสุนทรพิพิธ)

             สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
             ๑. โบราณว่า น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ หมายถึง อย่าขัดขวางเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปอย่างรุนแรง ดังนั้น เมื่อพระศาสดาทรงเห็นภิกษุหนุ่มกำลังโกรธ จึงตรัสเอาใจเสียก่อน ถ้าพระองค์ไม่ทรงคล้อยตามภิกษุหนุ่มเสียก่อน ไม่ว่าจะตรัสอย่างไร ภิกษุหนุ่มย่อมไม่ยอมฟัง เพราะจิตใจยังขุ่นมัวด้วยความโกรธ เมื่อภิกษุหนุ่มหายโกรธพร้อมที่จะรับฟังแล้ว ก็ทรงแสดงธรรม ทำให้ภิกษุหนุ่มบรรลุโสดาบัน

             ๒. แม้คำพูดดีก็ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ พระเถระพูดในเวลาที่ภิกษุหนุ่มยังโกรธ ไม่พูดในเวลาที่สมควร (คือเมื่อหายโกรธ) จึงไม่อาจ พูดให้ภิกษุหนุ่มยินยอมได้ ในทำนองเดียวกัน คำพูดที่มีเหตุผลของอธิบดี ก็ไม่อาจกลับใจรัฐมนตรีต่อหน้าที่ประชุมได้ เพราะผิดกาลเทศะเช่นกัน

             ๓. คำพูดเป็นเพียงคลื่นเสียง เป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป ถ้าไม่นำมาตีความก็ไม่มีความหมายอะไร หรือถ้าพูดเป็นภาษาอื่นซึ่งฟังแล้วไม่เข้าใจ ความโกรธก็เกิดขึ้นไม่ได้

     

สารบัญ
คำนำ 11. ฉลาดพูด
1. ปัญญา 12. จันทร์พ้นเมฆ
2. เกลือจิ้มเกลือ 13. สตรีก็มีปัญญา
3. ขว้างงูไม่พ้นคอ 14. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
4. หนามบ่งหนาม 15. ชีวกโกมารภัจจ์
5. บัณฑิตแห่งมิถิลานคร 16. กุศโลบาย
6. ปราชญ์เถื่อนเผชิญปราชญ์... 17. มิตรดีเป็นศรี
7. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 18. นกรู้
8. ฉลาดใช้ 19. ศิษย์มีครู
9. เงินต่อเงิน 20. เขียนเสือให้วัวกลัว
10. ปราบพยศ   ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน