เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สารพันปัญญา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
7. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

            ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชย์ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในสกุลพราหมณ์ในแคว้นกาสี ได้นามว่า โสมทัต ครั้นเจริญวัยเรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา สำเร็จแล้วกลับมาเรือน รู้ว่าบิดา มารดายากจน จึงลาบิดามารดาไปรับราชการในกรุงพาราณสีเพื่อกอบกู้สกุลที่ตกต่ำ โสมทัตเป็นที่รักโปรดปรานของพระราชา

            ต่อมา โค ๒ ตัวที่บิดาโสมทัตใช้ไถนาได้ตายไปตัวหนึ่ง บิดาจึงไป หาโสมทัตบอกให้ขอพระราชทานโคจากพระราชาสักตัวหนึ่ง แต่โสมทัตเพิ่งรับราชการได้ไม่นาน ยังไม่สมควรที่จะทูลขอโค จึงบอกให้บิดา ทูลขอเอง พราหมณ์กล่าวว่า พ่อเป็นคนประหม่าครั่นคร้าม ต่อหน้าคน ๒-๓ คน พ่อไม่อาจจะพูดได้ถูกต้องนัก หากไปทูลขอโค พ่ออาจจะถวายโคตัวนี้เสียก็ได้ โสมทัตกล่าวว่า จะอย่างไรก็ตามลูกไม่อาจจะทูลขอโคได้ แต่ลูกจะซักซ้อมให้พ่อเอง พราหมณ์ก็รับคำ

            โสมทัตพาบิดาไปป่าช้า มัดฟ่อนหญ้าไว้เป็นแห่งๆ สมมุตินามแสดงแก่บิดาตามลำดับว่า นี้พระราชา นี้อุปราช นี้เสนาบดี เมื่อพ่อไปเฝ้าพระราชาแล้ว จงกราบถวายพระพรว่า ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วกราบทูลขอโคว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้ามีโคสำหรับไถนา ๒ ตัว ในโค ๒ ตัวนั้นตายเสียตัวหนึ่ง ขอพระองค์โปรดพระราชทานโคตัวที่ ๒ เถิด พระเจ้าข้า

            กว่าพราหมณ์จะฝึกหัดว่ากล่าวได้คล่องก็ใช้เวลาถึงหนึ่งปี จากนั้นพราหมณ์ก็คุยอวดให้โสมทัตฟังว่า บัดนี้พ่อสามารถจะกล่าวได้ไม่ว่าในสำนักใดๆ ลูกจงนำพ่อไปเฝ้าพระราชาเถิด โสมทัตจึงจัดหาเครื่อง บรรณาการแล้วพาบิดาไปเฝ้าพระราชา พราหมณ์กราบทูลว่า ขอมหาราช จงทรงพระเจริญ แล้วทูลถวายเครื่องบรรณาการ พระราชาตรัสถามว่า โสมทัต พราหมณ์ผู้นี้เป็นอะไรกับเจ้า โสมทัตกราบทูลว่า เป็นบิดาของข้าพระพุทธเจ้า พระราชาตรัสถามว่า มาธุระอะไร พราหมณ์จึงกราบทูลขอโคว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้ามีโคสำหรับไถนา ๒ ตัว ในโค ๒ ตัวนั้นตายเสียตัวหนึ่ง ขอพระองค์โปรดรับโคตัวที่ ๒ ไปเถิด พระเจ้าข้า

            พระราชาทรงทราบว่าพราหมณ์พูดผิด ทรงพระสรวลแล้วตรัสว่า โสมทัต ในเรือนเจ้าเห็นจะมีโคหลายตัวซินะ โสมทัตกราบทูลว่า ข้าแต่ มหาราช พระองค์พระราชทานแล้วก็จักมีมาก พระเจ้าข้า พระราชาทรงโปรดปรานโสมทัต พระราชทานโค ๑๖ ตัว กับเครื่องประดับและบ้านส่วยสำหรับเป็นรางวัลด้วย แล้วทรงส่งพราหมณ์ไปด้วยยศอันยิ่งใหญ่
(อรรถกถาโสมทัตตชาดก ทุกนิบาต)

            เมื่อซีซ่าร์ยกกองทัพเรือกรุงโรมไปตีเกาะอังกฤษ มีเรื่องเล่าว่า พอก้าวขึ้นฝั่ง ซีซ่าร์ก็สะดุดอิฐคะมำลงไป แต่เพื่อไม่ให้พวกโรมันเห็นว่าเขาพลั้งพลาดและถือว่าเป็นลางร้าย เขากลับกอบเอาทรายขึ้นมา โยนขึ้นไปบนอากาศ พร้อมกับเปล่งเสียงแสดงความยินดีว่าเขาชนะแล้ว ด้วยไหวพริบเพียงเท่านี้ ซีซ่าร์ก็สามารถป้องกันได้ทั้งความละอาย และการถือลางร้ายของพวกทหาร
(สร้างตนเอง โดย ไชยวัฒน์)

สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
            ๑. เรื่องที่เกิดกับโสมทัตและพราหมณ์ผู้บิดาตรงกับธรรมภาษิต (๒๗/๑๒๐) ที่ว่า คนโง่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดเรื่องใดก็ถูกผูกมัด ในเรื่องนั้น ส่วนคนมีปัญญา แม้ถูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใด ก็หลุดได้ในเรื่องนั้น

            ๒. พราหมณ์ทำความเพียรอยู่ในป่าช้าถึง ๑ ปี ฝึกกล่าวคำพูดเพื่อขอโค เมื่อกราบทูลขอโคจากพระราชากลับกล่าวให้ผิดพลาดไปได้ แสดงว่า ความเพียรที่ปราศจากปัญญา หรือความเพียรในทางที่ผิด ไม่อาจก่อให้เกิดความสำเร็จได้ ท่านอุปมาเหมือนการรีดนมจากเขาโค แม้จะพยายามสักเพียงไร ก็ไม่มีทางได้นมโค

            ๓. การสะดุดอิฐจนล้มคะมำนั้น ถ้าเกิดกับทหารผู้อื่นก็เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ต้องสนใจ แต่จะเกิดกับแม่ทัพซึ่งเป็นผู้นำไม่ได้ ทหารจะเสียกำลังใจเพราะถือว่าเป็นลางร้าย แต่อาศัยไหวพริบของซีซ่าร์ สิ่งที่ดูเหมือนเป็นลางร้ายก็กลายเป็นลางดี พลิกสถานการณ์จากหน้ามือเป็นหลังมือ


     

สารบัญ
คำนำ 11. ฉลาดพูด
1. ปัญญา 12. จันทร์พ้นเมฆ
2. เกลือจิ้มเกลือ 13. สตรีก็มีปัญญา
3. ขว้างงูไม่พ้นคอ 14. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
4. หนามบ่งหนาม 15. ชีวกโกมารภัจจ์
5. บัณฑิตแห่งมิถิลานคร 16. กุศโลบาย
6. ปราชญ์เถื่อนเผชิญปราชญ์... 17. มิตรดีเป็นศรี
7. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 18. นกรู้
8. ฉลาดใช้ 19. ศิษย์มีครู
9. เงินต่อเงิน 20. เขียนเสือให้วัวกลัว
10. ปราบพยศ   ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน