เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ สารพันปัญญา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
1. สารพันปัญญา

ปัญญา

           เมื่อมองทางด้านวัตถุ ประเทศชาติกำลังเจริญก้าวหน้ามาก ถ้าต่างชาติมีของแปลกใหม่ เช่น รถยนต์ ในไม่ช้าบ้านเราก็มีบ้าง แต่มีโดยการนำเข้า ไม่ได้ผลิตเอง หรือผลิตภายใต้เทคโนโลยี (ปัญญา) ของต่างชาติ เพราะเรายังขาดแคลนปัญญา ต้องสั่งซื้อปัญญาจากต่างประเทศ เสียเงินปีละมากมาย (และปัญญานั้นก็อาจล้าสมัยแล้ว) จึงต้องรีบพัฒนาการศึกษา หมั่นฝึกฝนอบรมปัญญา แล้วบ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง ไม่ใช่เจริญแต่เพียงเปลือกนอก ถ้าเราไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา ไม่ฝึกฝนอบรมปัญญา ในไม่ช้าแม้แต่ปัญญาในทางธรรมก็คงต้องนำเข้าแทนส่งออกเป็นแน่

           ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักเหตุผล คือ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล รู้จักฐานะ (เช่น ความรู้ อายุ ตระกูล ทรัพย์) ของตนและผู้อื่น สามารถประพฤติตนให้เข้ากับสังคมได้ รู้จักประมาณ คือทำให้พอดี ไม่ขาด ไม่เกิน รู้จักกาลเทศะ ฯลฯ

           ในมิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวถึงลักษณะของปัญญา ๒ ประการ คือ

           ๑. ปัญญามีการตัดเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า ในการเกี่ยวข้าว ชาวนาจะจับกอข้าวด้วยมือข้างหนึ่ง จับเคียวด้วยมืออีกข้าง แล้วตัดให้ขาดด้วยเคียวที่ถือไว้ ฉันใด ในการเจริญภาวนา ผู้บำเพ็ญเพียรควบคุมใจไว้ด้วยโยนิโสมนสิการ แล้วตัดกิเลสด้วยปัญญา

           ๒. ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า เมื่อบุคคลส่องประทีปเข้าไปในที่มืด แสงประทีปย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดแสงสว่าง รูปทั้งหลายย่อมปรากฏชัด ฉันใด เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ก็กำจัดความมืด คืออวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือญาณ ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏขึ้น ฉันนั้น

           ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิเทศ กล่าวถึงปัญญา ๒ คือ

           ๑. โลกิยปัญญา ปัญญาของปุถุชนซึ่งยังวนอยู่ในโลก

           ๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาของพระอริยบุคคลผู้ข้ามพ้นจากโลก

           ในสังคีติสูตร (บาลีเล่ม ๑๑ ข้อ ๒๒๘ ย่อว่า ๑๑/๒๒๘) กล่าวถึง ปัญญา ๓ คือ

           ๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด (เองไม่ได้ฟังมาจากคนอื่น)

           ๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง (การอ่าน หรือการศึกษาเล่าเรียน)

           ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรมจิตใจ (ละกิเลสได้ด้วยปัญญาชนิดนี้)

           ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ

           ๑. อายโกศล รอบรู้ในความเจริญ (รู้เหตุที่ทำให้อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ)

           ๒. อปายโกศล รอบรู้ในความเสื่อม (รู้เหตุที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ)

           ๓. อุปายโกศล รอบรู้ในความเจริญและความเสื่อม

           ในอวกุชชิตสูตร (๒๐/๔๖๙) กล่าวถึงบุคคล ๓ จำพวก คือ

           ๑. ผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วก็ไม่เข้าใจ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำซึ่งไม่อาจรองรับน้ำที่เทลงมาได้เลย

           ๒. ผู้มีปัญญาดังหน้าตัก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วพอเข้าใจได้ แต่หลังจากนั้นก็ลืมหมด เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังนั่งเคี้ยวกินขนมต่างๆ ซึ่งวางอยู่บนหน้าตัก แต่เมื่อเขาเผลอตัวลุกขึ้น ขนมก็หล่นลงพื้นหมด

           ๓. ผู้มีปัญญามาก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วเข้าใจและจำได้ไม่ลืม เปรียบเหมือนหม้อหงายซึ่งรองรับน้ำที่เทลงมาได้หมด

           ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๔ คือ

           ๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์

           ๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด

           ๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในความดับทุกข์

           ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

           พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมบท (๒๕/๓๐) ว่า ปัญญาย่อมเกิดจากการประกอบความเพียร (ไม่ใช่เกิดเองโดยบังเอิญ) ปัญญาที่เกิดจากการประกอบความเพียรเรียกว่า โยคปัญญา แม้เชาวน์ หรือไหวพริบที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดซึ่งเรียกว่า สชาติกปัญญา ก็คือปัญญาบารมีที่เกิดจากการอบรมในชาติก่อน

           หลักธรรมสำหรับอบรมปัญญาให้เจริญขึ้น เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม (๒๑/๒๔๘) มี ๔ คือ

           ๑. คบสัตบุรุษ คือ หาแหล่งวิชาหรือครูที่มีความรู้และคุณธรรมดี

           ๒. ฟังสัทธรรม คือ ใส่ใจเล่าเรียนโดยฟังจากครูหรืออ่านจากตำรา

           ๓. คิดให้แยบคาย คือ พิจารณาให้ทราบถึงเหตุและผล คุณและโทษ ของสิ่งที่เรียนรู้

           ๔. นำสิ่งที่ได้ไตร่ตรองแล้วมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามความมุ่งหมาย

           ปัญญาหรือความรอบรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากราวกับแก้วสารพัดนึกประจำชีวิต เพราะเมื่อมีอุปสรรคหรือปัญหาเกิดขึ้น ผู้มีปัญญาย่อมวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำว่า สาเหตุเกิดจากอะไร เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังเรื่องราวต่างๆ ที่นำมา สาธก ดังต่อไปนี้

 

 

     
 

สารบัญ
คำนำ 11. ฉลาดพูด
1. ปัญญา 12. จันทร์พ้นเมฆ
2. เกลือจิ้มเกลือ 13. สตรีก็มีปัญญา
3. ขว้างงูไม่พ้นคอ 14. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
4. หนามบ่งหนาม 15. ชีวกโกมารภัจจ์
5. บัณฑิตแห่งมิถิลานคร 16. กุศโลบาย
6. ปราชญ์เถื่อนเผชิญปราชญ์... 17. มิตรดีเป็นศรี
7. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 18. นกรู้
8. ฉลาดใช้ 19. ศิษย์มีครู
9. เงินต่อเงิน 20. เขียนเสือให้วัวกลัว
10. ปราบพยศ   ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน