เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ กรรมลิขิต ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
อานิสงส์ศีล

              พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลคนหนึ่ง มีอุปการะเป็นอันมากแก่พระราชา เป็นผู้จัดกิจทั้งปวงให้สำเร็จ พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์นี้มีอุปการะแก่เรามาก จึงประทานยศใหญ่โตแก่อำมาตย์นั้น อำมาตย์พวกอื่นทนไม่ได้ ก็ยุยงพระราชาให้ทำลายอำมาตย์นั้น พระราชาทรงเชื่อคำยุยง มิได้ทรงพิจารณาให้รอบคอบ รับสั่งให้จองจำอำมาตย์ผู้มีศีลผู้หาโทษมิได้ ด้วยโซ่ตรวน แล้วนำไปขังไว้ในเรือนจำ อำมาตย์นั้นตัวคนเดียวอยู่ในเรือนจำ อาศัยศีลสมบัติทำจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์เดียว พิจารณาสังขารทั้งหลายได้บรรลุโสดาบัน

              ในกาลต่อมา พระราชาทรงทราบว่า อำมาตย์นั้นไม่มีโทษ จึงรับสั่งให้พ้นจากจองจำ แล้วได้พระราชทานยศอันยิ่งใหญ่กว่าครั้งแรก
                                                                            (อรรถกถาเสยยชาดก ติกนิบาต)


              ชนจำนวนมากได้ไปค้าขายทางทะเล ในวันที่เจ็ดเรือถูกคลื่นใหญ่ซัด จึงเต็มไปด้วยน้ำ เมื่อเรือกำลังจะจมลง มหาชนตกใจกลัวพากันคร่ำครวญถึงเทวดาที่ตนนับถือ อ้อนวอนขอให้มาช่วย

              บุรุษผู้หนึ่งไม่ร้องไห้คร่ำครวญเมื่อประสบภัยร้ายแรงเช่นนี้ เพราะระลึกถึงสรณะและศีลอันบริสุทธิ์ของตน จึงนั่งขัดสมาธิดุจพระโยคี คนทั้งหลายถามว่า ทำไมไม่กลัว บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นตอบว่า เราได้ถวายทานแก่หมู่ภิกษุในวันที่ขึ้นเรือ ได้รับสรณะ (ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง) และศีล ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่กลัว ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ก็สรณะและศีลสมควรแก่คนอื่นบ้างหรือไม่ บัณฑิตนั้นตอบว่า ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่าน ชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า ขอท่านจงให้แก่เราบ้าง บัณฑิตนั้นจึงให้คนเหล่านั้นรับศีลห้า แล้วประกาศด้วยเสียงกึกก้องว่า ที่พึ่งอื่นของพวกท่านไม่มี พวกท่านจงรักษาศีลให้ดี

              บุคคลทั้งหมดจมน้ำตายในทะเล ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะอาศัยศีลที่ตนรับในเวลาใกล้ตาย วิมานของเทวดาเหล่านั้นจึงเกิดเป็นหมู่เดียวกัน วิมานทองของอาจารย์เกิดในท่ามกลางและใหญ่กว่าวิมานทั้งหมด
                                                              (อรรถกถาสัพภิสูตร สารัตถปกาสินี ภาค ๑)


              ชายไทยสูงอายุมาซื้อเครื่องถวายพระที่เขาจัดไว้เป็นถาดแล้ว ได้เกิดโต้เถียงกับจีนเจ้าของร้านซึ่งสูงอายุพอๆ กัน ทั้งสองถกเถียงกันอย่างหน้าดำหน้าแดง ด้วยเรื่องที่ออกจะแปลกผิดจากที่คนทั่วไปถกเถียงกัน

             เถ้าแก่ : อาพี่ชาย ลื้อคิดดูดี ๆ นา ลื้อซื้อของ ๘ บาท เอาแบงก์ใบละ ๒๐ มาให้อั๊ว อั๊วก็ทอนให้ลื้อ ๑๒ บาทไม่ถูกหรือ อั๊วไม่ต้องการเงินลื้อเกินหรอกน่า

              ชายไทย : อั๊วให้ลื้อใบละ ๑๐ บาทไม่ใช่ ๒๐ ทอนให้อั๊วเพียง ๒ บาทเท่านั้น ลื้อทอนให้อั๊วมากไป อั๊วไม่อยากได้ของใคร เงินที่ลื้อทอนเกินเอาคืนไป อั๊วถือศีล ๕ เงินจะมาทำลายศีล ๕ ให้ อั๊วเกิดความโลภไม่ได้ (สมัยนั้นค่าเงินสูง ค่าครองชีพต่ำ มีสิบสตางค์ไปโรงเรียนก็เหลือ)

              เถ้าแก่ : พี่ชาย อั๊วว่าเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อั๊วขอมอบเงิน ๑๐ บาทนี้ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นของใครให้ลื้อ ช่วยเอาไปถวายพระที่พี่ชายเอาของไปถวายด้วย คิดว่าเป็นเงินของเราทั้งสองทำบุญ ร่วมกันก็แล้วกัน

              ชายไทย : เถ้าแก่ ลื้อพูดอย่างนี้น่าฟังมาก อั๊วไม่นึกว่าจะมาพบคนดีๆ อย่างลื้อ ทำให้อั๊วดีใจมาก พระที่อั๊วจะเอาของไปถวายองค์นี้ ท่านเคยเป็นอุปัชฌาย์บวชให้อั๊วมาก่อน อั๊วเคารพ ท่านมาก ก่อนเข้าพรรษาอั๊วก็นำของไปถวายท่านทุกปี แต่ท่านอายุมากแล้วไม่ยอมรับ เงิน ฉะนั้นอั๊วก็รับไปถวายท่านไม่ได้ พระองค์อื่นก็ไม่รู้จักดีเท่าท่าน

              เถ้าแก่ : ไม่เป็นไร อั๊วจะจัดการให้ลื้อนำของไปถวายท่านอีกให้ครบ ๑๐ บาท คิดว่าเราทำบุญ ร่วมกัน พี่ชาย อั๊วขอให้ลื้อเข้ามานั่งกินน้ำชาคุยกันก่อน ลื้อเป็นคนดีมาก อั๊วนับถือ

              ร้านนั้นเถ้าแก่ชื่อ “เอ็ง” เถ้าแก่ผู้นี้ ต่อมามีชื่อเสียงว่าเป็นคนดี มีสัตย์ เป็นที่น่าไว้วางใจ ทั้งพระทั้งชาวบ้านต่างก็แนะนำกันให้ไปติดต่อหาซื้อของที่ร้าน จนเถ้าแก่เอ็งร่ำรวย เห็นจะเป็นเพราะความดีของเถ้าแก่เอ็ง ทำให้ชายไทยสูงอายุนั้น ไปเที่ยวบอกเล่าให้พระและชาวบ้านทั่วไปรู้
                                                                (กฎแห่งกรรม ของ ท. เลียงพิบูลย์ เล่ม ๔)


              คืนหนึ่ง บ้านหลังหนึ่งถูกขโมยของไปหลายสิ่ง มีสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านรักและเสียดายมาก เพราะเป็นของเก่าตกทอดมาหลายชั่วคน แม้จะมีราคาน้อยกว่าสิ่งอื่นที่หายพร้อมกัน แต่เจ้าของไม่สนใจสิ่งอื่น อยากได้คืนสิ่งเดียวเท่านั้น เพื่อนบ้านแนะนำให้ไปหาเจ้าถิ่น เมื่อไปถึงเจ้าถิ่นก็ออกมาต้อนรับอย่างดี กิริยาสุภาพ พูดจาไพเราะ เจ้าถิ่นบอกว่ารู้จักเจ้าของบ้านดี เพราะเป็นคนน่านับถือคนหนึ่งในตำบล ถ้ามีอะไรรับใช้ได้ขอให้บอก เจ้าของบ้านจึงเล่าเรื่องให้ฟัง ขอให้เจ้าถิ่นช่วยจัดการด้วย

              เมื่อทราบเรื่องเจ้าถิ่นก็แสดงความเสียใจว่า เคยสั่งพวกเด็กอย่าไปรบกวนคนดีมีศีลธรรมอย่างเจ้าของบ้านผู้นี้ ถ้าเป็นคนไม่ดีก็ไม่ห้าม ตัวเขาเองก็ไม่ใช่คนชั่ว รับเป็นหัวหน้าเพื่อหาทางชักจูงให้เด็กเป็นคนดีเลิกประพฤติชั่ว นอกจากที่ชั่วโดยสันดานก็ปล่อยตามเรื่อง แต่อย่าไปรบกวนคนดี ถ้าเป็นเด็กของเขาก็จะจัดการให้เรียบร้อย

              หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ก็ได้ของคืนครบถ้วน และเจ้าถิ่นไม่ยอมรับสิ่งตอบแทนเลย นี่เป็นเรื่องนานหลายสิบปีแล้ว สมัยที่มีโปลิศเป็นคนผิวขาว มีพลโปลิศเป็นแขกส่วนมาก
                                                                (กฎแห่งกรรม ของ ท. เลียงพิบูลย์ เล่ม ๑)

              ประเด็นที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
             ๑. แม้อำมาตย์ถูกใส่ความจนต้องติดคุก ก็ไม่เดือดร้อนใจ เพราะไม่ได้ทำความผิด จึงไม่กลัวว่าจะถูกพระราชาสอบสวน ไม่กลัวว่าคนอื่นจะขุดคุ้ยเบื้องหลังการกระทำของตนไปเปิดเผย เมื่อไม่กลัวจิตใจ ก็สงบสุข เป็นการเข้าถึงสุคติในชาติปัจจุบัน (เป็นสวรรค์ในอก) ส่วนพวกที่รับศีลแล้วจมน้ำตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ที่เป็นปรโลก เป็นการเข้าถึงสุคติในชาติหน้า ตรงกับอานิสงส์ของศีลที่ว่า “ศีลย่อมยังบุคคลให้ถึงสุคติ”

              ๒. การที่อำมาตย์ได้รับพระราชทานยศสูงขึ้นกว่าเดิม การที่เถ้าแก่เอ็งค้าขายจนร่ำรวย และการที่เจ้าของบ้านผู้มีศีลได้รับของที่ถูกขโมยคืน ตรงกับอานิสงส์ของศีลที่ว่า “ศีลทำให้ถึงพร้อมด้วยโภคะ”

              ๓. โภคสัมปทา คือ การถึงพร้อมด้วยโภคะ หมายถึง มีของกินของใช้และได้กินได้ใช้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องรับผลของบาปกรรมในอนาคตด้วย เพราะได้มาโดยสุจริต ถ้ามีรถยนต์ แต่ขโมยเขามา ย่อมไม่กล้าใช้ ทั้งยังต้องรับผลของบาปกรรมในชาตินี้หรือชาติหน้า จึงไม่เป็นโภคสัมปทา

              ๔. การที่อำมาตย์อาศัยศีลสมบัติ ทำจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์เดียว แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายจนบรรลุโสดาบัน ตรงกับอานิสงส์ของศีลที่ว่า “ศีลย่อมยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน”

             ๕. พระโสดาบัน หมายถึง ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน คัมภีร์อังคุตตรนิกาย (๒๐/๕๒๗) กล่าวว่า พระโสดาบันมี ๓ จำพวก คือ เอกพีชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุปรมะ พระโสดาบันเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ก็จักบรรลุอรหัต นี้เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่า ชาติหน้ามีจริง

              ๖. เจ้าถิ่นให้ความเคารพนับถือเจ้าของบ้าน ไม่ใช่เพราะเห็นว่าร่ำรวย แต่เพราะเห็นว่ามีศีล

              ๗. อำมาตย์นี้เป็นผู้มีปัญญา รู้จักทำประโยชน์ (บรรลุโสดาบัน) จากสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ (ราชทัณฑ์)

 

     
 

สารบัญ
ความนำ ๒๒. ตาต่อตา
๑. กรรมลิขิต ๒๓. คดไม่คุ้ม
๒. นิยาม ๕ ๒๔. ร้อนไม่จริง
๓. กรรมชั่วและกรรมดี ๒๕. สายเกินไป
๔. ผลของกรรม ๒๖. ดวงจะช่วยอะไรได้
๕. วิบัติและสมบัติ ๒๗. พลั้งปากเสียเงิน
๖. กรรม ๑๒ ๒๘. เสียสัตย์เสียชีพ
๗. มรณสมัย ๒๙. ปากมีสี
๘. นรกสวรรค์ ๓ ประเภท ๓๐. บทเรียนจากชีวิตเพื่อน
๙. ภูมิ ๓๑ ๓๑. คบคนชั่วปราชัย
๑๐. หลักฐานเรื่องนรกสวรรค์จากพระไตรปิฎก ๓๒. อานิสงส์เมตตา
๑๑. เหตุการณ์ปัจจุบันที่พิสูจน์ว่าตายแล้วเกิด ๓๓. พ้นเพราะบุญ
๑๒. ผู้เห็นผิด ๓๔. มาร้ายไปดี
๑๓. ที่ลับไม่มีในโลก ๓๕. ผู้โชคดี
๑๔. หนีไม่พ้น ๓๖. อานิสงส์ศีล
๑๕. หลาวนั้นคืนสนอง ๓๗. ทรชนคนบาป
๑๖. กรรมที่ตามราวีท่านนายพล ๓๘. ปลาเป็นเหต
๑๗. นกก็มีหัวใจ ๓๙. บุญมาวาสนาช่วย
๑๘. คู่เวร ๔๐. เข็ดจริงๆ
๑๙. ธุลีทวนลม ๔๑. บั้นปลายของวายร้าย
๒๐. มนุษย์เปรต ๔๒. นานาทัศนะจากผู้อ่าน
๒๑. ห่วงหนี้ ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
   
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน