เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

เพราะฉะนั้น เราจะต้องมีวิธีกันไม่ให้กิเลสเข้า ทำอย่างไรเล่า ? จิตเราต้อง รู้สึกอยู่ในปัจจุบัน ไม่เอื้อมไป อนาคตกับอดีตกิเลสก็เข้าไม่ได้ อารมณ์ปัจจุบันมันก็กั้นไม่ให้กิเลสเข้า ถ้าเอื้อมไปอดีตกับอนาคตก็จะเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่ เวลาไม่จำเป็นไม่ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เวลาจะเปลี่ยนก็ต้องรู้เหตุเสียก่อนว่าเปลี่ยนเพราะเหตุใด คนเราไม่เปลี่ยนอิริยาบถก็ไม่ได้เพราะว่าเมื่อยเป็นทุกข์ แต่เราไม่ได้พิจารณาว่า ความจริงนั้นเราจะต้องเปลี่ยน ถ้าไม่พิจารณาให้ถูกต้องเข้าถึงความจริงแล้ว ต้องอยากเปลี่ยน นั่งเมื่อยแล้วก็อยากนอน เมื่ออยากนอนแล้วปัญญาจะเข้าไปสอนธรรมเราในที่นั้นก็ไม่ได้ เพราะว่ากิเลสมันเข้าไปสอนแทนเสียแล้วอยากนอนนี้ ผิดหรือถูก ?

น. - ไม่ถูก

อ. - ถ้าถูกจะเป็นอย่างไร ?

น. - ดูทุกข์มันเสียก่อน

อ. - ตอนนั้นมันยังไม่ได้เปลี่ยน พูดถึงว่า ตอนที่เราจะเปลี่ยนถ้าเราจะทำความรู้สึกให้ถูก เวลาจะเปลี่ยน เราจะทำอย่างไร ?

น. - เมื่อมีทุกข์เราก็เปลี่ยน

อ. - นั่นซิ แล้วจะทำอย่างไร เวลาจะเปลี่ยนจะทำอย่างไร ? จะเปลี่ยนทำไม ? เมื่อมีทุกข์แล้วจะเปลี่ยนทำไม ?

น. - เปลี่ยนเพราะเราเห็นว่า รูปนั้นมันเป็นทุกข์ จึงเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์

อ. - นั่นซิ ทีนี้ตรงนี้แหละที่เราจะต้องเปลี่ยน นั่งแล้วเมื่อยก็จะต้องนอน นอนทำไม นอนให้สบาย ทำความรู้สึกอย่างนี้ไม่ได้ ถ้านอนให้สบาย สุขวิปลาสก็เข้าทันที เข้าในความรู้สึกนั้นทันที ความรู้สึกนั้นเป็นสุขวิปลาสแล้ว อันนี้ไม่ได้ มันต้องละเอียดลออหน่อย อย่าไปนึกว่า ทำวัน ๒ วัน ๓ วันก็ได้ ๓ วันนี่เข้าใจหรือเปล่าก็ไม่รู้ ทำถูกหรือยังก็ยังไม่รู้ ๓ วัน ๗ วันนี่ บางทียังไม่รู้ว่าทำถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ต้องสอบทุกวันๆ ค่อยยังชั่วหน่อย แต่ก็เสียเวลาหน่อย แต่ว่ามันก็ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียเวลาในการฟังก็จริง แต่ไม่เสียเวลาในเวลาทำ

เราก็ต้องทำความรู้สึกว่า ต้องเปลี่ยน ไม่ใช่ว่า อยากเปลี่ยน ถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนแล้วไม่เปลี่ยนจะได้ไหม ? เพราะฉะนั้น ที่เราทำความรู้สึกว่า อยากนั่ง อยากนอน อยากยืน อยากเดินนี่น่ะ ผิด ความรู้สึกนี้ผิดเสียแล้ว ความจริงไม่อยากนั่งก็ต้องนั่งใช่ไหม ? ไม่อยากนั่งล่ะ ฉันจะนอนอยู่อย่างนี้แหละตลอดไปได้ไหมไม่ได้ เราไม่ได้พิจารณาให้ถึงเหตุผล ก็ไม่เป็นปัจจัยแก่ปัญญาที่จะเข้าไปรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เราจำเป็นต้องนั่ง แต่ไม่ได้พิจารณาให้ถูกต้องกับเหตุผล กิเลสก็เข้าอาศัยเลยเข้าใจว่า อยากนั่ง อยากนอน อยากกิน อยากหมดทุกอย่าง ไม่พิจารณาแล้ว มันก็อยากหมดทุกอย่าง กิเลสมันก็เข้าไปเรื่องๆ แล้วปัญญาจะมีโอกาสเข้าไปทำงานอย่างไรได้ กิเลสมันเข้าไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ใช่อยากนอนนะ ความจริงต้องนอน ถ้าไม่นอนไม่ได้ หลับก็เหมือนกัน ไม่หลับก็ไม่ได้

น. - ต้องนอนนี่กิเลสเข้ามาไหม ?

อ. - ไม่เข้า, ต้องนอนนี่ เขาต้องถูกบังคับ ถ้าไม่บังคับจะเปลี่ยนทำไมกันเล่า ใครบังคับให้เปลี่ยน ? เปลี่ยนเพราะเหตุอะไร ? ทำไมต้องเปลี่ยน ?

น. - เปลี่ยนเพราะมีทุกข์เข้ามา

อ. - เห็นไหมล่ะ ? เพราะทุกข์นั่นแหละมันบังคับ ทุกข์นั่นแหละมันบีบคั้น เราทนไม่ได้ เราถึงต้องเปลี่ยน แต่เราไม่ได้พิจารณาให้ถึงเหตุผล กิเลสก็เลยหลอกเราว่า อยากเปลี่ยน ซึ่งไม่ตรงกับความจริงเลย ทีนี้เมื่อเราเอาของที่เป็นเท็จ ที่ไม่มีเหตุผลตรงกับความจริงมาเสนอปัญญาแล้วปัญญาจะได้ความจริงอะไร ก็ได้แต่ของไม่จริงเรื่อยไป เราจะต้องเอาความจริงที่ถูกต้องตามเหตุผลเสนอปัญญา ปัญญาจึงจะมีโอกาสพิจารณาเหตุผลถูกต้องได้มากปัญญาจึงจะเห็นถูกขึ้นมาได้ถึงจะตัดสินว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราถึงจะได้ความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา คือ ความรู้สึกที่ประกอบด้วยปัญญา ปัญญาก็รู้ถูกแล้วว่า รูปอะไรที่เป็นทุกข์ ทุกข์เกิดแล้วในรูปอะไร ทุกข์เฉยๆ ก็ไม่ได้ รูปอะไรที่เป็นทุกข์ก็ต้องรู้ ถ้าไม่อย่างนั้น ประเดี๋ยว เราเป็นทุกข์อีก เรา ก็ไปอยู่กับ รูป แล้ว แต่พอเกิดทุกข์เราไปอยู่กับ ทุกข์ อีก ฉะนั้นต้องรู้ว่า รูปอะไรเป็นทุกข์

น. - เช่นอย่างกับรูปนั่งเวลานี้ นั่งมานานแล้วรู้สึกเมื่อย แล้วทำอย่างไร ?

อ. - รูปนั่งเป็นทุกข์นี่ เรารู้แล้วใช่ไหม เพราะเราดูรูปนั่งอยู่ เมื่อรูปนั่งเกิดทุกข์ เราก็ต้องรู้ว่า รูปนั่งเกิดทุกข์แล้วจะต้องเปลี่ยน

น. - ตอนนี้ปัญญาเกิดแล้วหรือยัง ?

อ. - ยังไม่เกิด แต่ว่าเราให้เหตุผล เราหาเหตุผลให้ตรงกับความเป็นจริง ให้ปัญญาพิจารณา ถ้าเราเอาความไม่จริงมาเสนอแล้ว ปัญญาจะพิจารณาได้ความจริงได้อย่างไร ? เป็นการนำเหตุผลที่ถูกให้ปัญญาพิจารณาว่า ต้องเปลี่ยน ต้องเปลี่ยน นี่เขาบังคับ ใช่ไหม ท่านชอบไหม เขาบังคับให้นั่ง ชอบไหม ?

น. - ไม่ชอบ

อ. - เมื่อไม่ชอบ กิเลสจะเข้าอาศัยรูปนั่งได้อย่างไร, กิเลสก็ไม่เข้า รูปเก่าน่ะ กิเลสไม่ชอบละ แต่อยากได้รูปใหม่ใช่ไหม ? ถ้าอยากได้รูปใหม่ กิเลสก็เข้าอาศัยทันที โลภะเข้าอาศัย แต่ถ้าถูกบังคับให้นั่งจะไม่พอใจเลย รูปนั่งนี่เหมือนกับนักเรียนที่ถูกลงโทษให้ยืน ๕ นาที แหมไม่ชอบเลย ไม่อยากยืนเลย แต่ว่า ต้องยืนเพราะครูบังคับ รูปนั่งนี่ก็เช่นกัน ทุกข์ บังคับยิ่งกว่าครูเสียอีก ความทุกข์นี่ บังคับข่มขี่เราอยู่เรื่อยทุกอิริยาบถเลย

น. - โปรดอธิบาย ตอนที่จะให้ปัญญามันเข้าหน่อยเถอะ

อ. - ก็นี่แหละปัญญาละ ! ความจริงนี่แหละเป็นความจริงไหมเล่า ?

น. - มันก็รู้อยู่แล้วละ ถ้าอย่างนั้นความรู้อันนี้ก็เป็นปัญญาแล้ว ที่เรารู้สึกอย่างนี้น่ะ

อ. - ยังซิ ยังพิจารณาอยู่ พิจารณาเพื่อให้รู้ความจริง แต่ทีนี้เราจะต้องเอาความจริงนี้ขึ้นมาเสนอให้เขารู้อยู่เสมอ ให้พิจารณาอยู่เสมอ

น. - ก็รู้อยู่แล้วว่า เป็นทุกข์

หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน