เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ทีนี้หากว่าคนที่ยังไม่เข้าถึงความไม่เที่ยงก็อาจเห็นไปได้ว่า อันนี้แหละ ต้องเป็นพระนิพพาน อันนี้แหละ คือ เป็นความสุขที่ได้มา อาจจะเข้าใจอย่างนี้ แต่ความจริง ถ้าคนที่เขาเห็นแล้วว่า สัพเพ สังขารา ทุกขา ความสุขอันนั้นก็เป็นสังขารเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ต้องอาศัยเราทำสมาธิ เราปฏิบัติ ความสุขอันนั้นจึงเกิดขึ้น สัพเพ สังขารา ทุกขา สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้วจากเหตุ จากปัจจัย สิ่งนั้นต้องมีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเรารู้แน่ รู้ตลอดไปหมดอย่างนี้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับ ถ้าเข้าไปรู้จนถึงอย่างนี้แน่แล้ว เหตุไรเขาจะมานิยมชมชื่นในสิ่งที่ไม่เที่ยง ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เขารู้อยู่แล้วเขาจะไปนิยมอะไรว่า สิ่งนี้ดีจริง รูปร่างมันสวย แต่ว่าใช้ไม่ทน ประเดี๋ยวก็แตก เราจะชอบไหม ? สักหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะใช้ทนดี

เหมือนดังท่านปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าให้ดูรูปก็เห็นว่า รูปไม่เที่ยง ท่านให้ดูเวทนาก็เห็นว่าเวทนาไม่เที่ยง ให้ดูสัญญาก็เห็นว่า สัญญาไม่เที่ยงท่านก็ชี้ให้ดู ท่านเข้าใจภาษากัน ท่านกู้รู้ว่า ดูรูป นั้นดูอะไร ดู เวทนา นั้นดูอะไร ดู สัญญา นั้นดูอะไร เมื่อให้ดู สังขารขันธ์ ท่านก็ดู ท่านกู้รู้ว่า สังขารขันธ์นั้นลักษณะอย่างไร มีอาการปรากฏขึ้นในจิตใจอย่างไรท่านก็รู้ท่านก็ดู ท่านก็เห็นว่า ไม่เที่ยงให้ดูวิญญาณ วิญญาณขันธ์ท่านก็รู้ว่า ให้ดูอะไรท่านก็ดูในอดีต ท่านมีปัญญาบารมีมา ท่านมีตัวกิเลสที่จะมาบังน้อยแล้วไม่ใช่หนาเหมือนปุถุชน คำว่า ปุถุชน แปลว่า กิเลสหนามากเหมือนแผ่นดิน เพราะว่า กิเลสหนาเหมือนแผ่นดิน จึงเรียกว่า ปุถุชน ถ้าคนกิเลสมากแล้วไปบวชอยู่อย่างนั้นไม่ได้

ทีนี้พอท่านพระปัญจวัคคีย์ พยายามดูครบหมดแล้วทั้ง ๕ ขันธ์ หมดแล้วในโลกนี้ก็มีแต่ขันธ์ ๕ เท่านั้น ท่านก็ประกาศขึ้นมาว่า "ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง" แปลความว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นต้องมีการดับไปเป็นธรรมดาทีเดียว เห็นอย่างนี้ ก็ย่อมจะเกิดความหน่ายไม่ยินดีในอัตภาพ แม้ว่า ความรักตัวจะมากที่สุดก็ตาม ใครจะรักมากเท่ารักตัวเราเป็นไม่มี เพราะว่าเรารักตัวเรา แล้วเราก็รักไปถึงคนอื่นที่มาเป็นประโยชน์แก่ตัวเรา เป็นอารมณ์ที่เป็นประโยชน์ให้ตัวเรามีความสุข

เมื่อเรารักใคร เราก็จะบำรุงคนนั้นให้มีความสุข ไม่อยากให้เขาเดือดร้อน ทีนี้ตัวของเรานี่เรารักมากที่สุด ทุกอย่างที่เอามาบำรุงบำเรอ เพื่อจะให้ร่างกายนี่มีความสุข อารมณ์อะไรที่จะมาเป็นประโยชน์ให้เรามีความสุข เราก็รักอารมณ์นั้นด้วย ทีนี้เมื่อแลเห็นแล้วว่า ตัวนี่ไม่มีของดี ชิวิตเป็นไป หรือเบญจขันธ์เป็นไปเพื่อความทุกข์ ต้องมีการปรุงแต่งแก้ไขธรรมดาเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็ต้องดับ ต้องฉิบหายไปเป็นธรรมดา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว จะไปยินดีอะไร ความที่รักมั่นอยู่เป็นอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่า เป็นตัวเรา เป็นของเราก็คลายออกอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ถึงจะคลายออกได้

เพราะฉะนั้น ถ้าสมาธิแล้วไม่สามารถจะเห็นว่า มันไม่เที่ยงได้ ทำไมจึงไม่เห็นเพราะว่า ตามธรรมดา ถ้าจิตจ่ายไปในอารมณ์ที่หยาบๆ มันเปลี่ยนไปช้าๆ ก็อาจจะเห็นได้ ท่านกล่าวว่า ถ้าสันตตินี้สืบเนื่องอยู่อย่างไม่ขาด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่สามารถเห็นอนิจจังได้ ทีนี้ก็เวลาที่จิตอยู่ในสมาธิ อยู่ในอารมณ์เดียว เกิดดับเร็วที่สุดอยู่ในอารมณ์นั้น จนไม่สามารถจะเห็นว่า อารมณ์นั้นมันไม่เที่ยงเหมือนพัดลมนี้ ถ้าหมุนเร็วๆ ก็จะไม่เห็น ไม่รู้ว่าใบพัดลมมีกี่อัน และรูปร่างเป็นอย่างไรก็ไม่เห็นเลย ถ้าหมุนช้าก็เห็นได้ว่า มี ๓ อัน เพราะว่า จังหวะที่ขาดว่างของมัน จะมาตัดให้เห็นได้ว่า เป็นคนละอัน หรือลูกข่างที่หมุนนอนวัน เวลาหมุนนอนวันแล้ว มันหมุนเร็วเหลือเกิน เราก็ไม่เห็นมันได้ เพราะมันนิ่งอยู่อย่างนั้น

เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นสมาธิจึงรู้ยากมาก คือ จะไปเห็นจิตที่เป็นสมาธิว่ามันเกิดแล้วมันดับ ไปนี่ ไม่มีหวังเลย ต้องเป็นคนที่มีปัญญาเฉียบแหลมสามารถได้ "ฌาน" และสามารถจะทำ "วสี" ในฌาน ให้คล่องแคล่วก็อาจจะยกองค์ฌานขึ้นเพ่ง เขาก็ไม่ได้เอาจิตขึ้นเพ่ง เขาเององค์ฌานขึ้นมาเพ่ง อย่างนี้ก็อาจสามารถที่จะเห็นได้

อย่างของเรานี่ เพียงแต่ทำสมาธิให้จิตเข้าถึงฌานก็ยังทำไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น เวลามีสมาธิเข้าก็ไม่รู้ว่าอะไรก็ดูจิตไปเฉย จิตจะเที่ยงหรือไม่เที่ยงก็ไม่มีรู้หรอก

เพราะฉะนั้น จึงห้ามว่า ถ้าสมาธิเข้ามากแล้ว ก็จะปิดความจริงอันเป็นอารมณ์ของปัญญา จะต้องให้ สมาธิเป็นไปร่วมกับอารมณ์ของปัญญา ที่ได้ปัจจุบัน ในที่นั้น มีศีล มีสมาธิ และปัญญาก็มีในที่เดียวกันจึงจะเกิดได้

ถ้าไปทำสมาธิเสียก่อน ก็จะนิ่งไปใช้ไม่ได้ ทีนี้พอจะยกขึ้นสู่ปัญญา นั่งประเดี๋ยวเดียวความนิ่งก็เข้า พอลุกขึ้นเดิน เดินไปหน่อยสมาธิก็เข้า เดินเรื่อยไม่เหน็ด ไม่เหนื่อย เวลาเดินใจก็นิ่ง ไม่ออกมาดูให้รู้ว่ารูปอะไร เวลานั้นก็ไม่รู้สึก ไม่มีรูป ไม่มีนาม นิ่งก็ไม่เป็นปัจจัยแก่ปัญญา เพราะฉะนั้น จะต้องใช้ความสังเกตมากที่สุดเลย ใช้ความสังเกตมากแล้ว ก็ระวังความรู้สึกอย่าให้มันตกไปในอารมณ์ที่เป็นปัจจัยแก่กิเลส ถ้าเราตกไปในอารมณ์ที่เป็นปัจจัยแก่กิเลสแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้ เป็นโอกาสของกิเลส เกิดขึ้น คือ เป็นโอกาสของกิเลสเกิดขึ้น คือ เป็นโอกาสของอกุศลเกิด แต่กุศลไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น
ทีนี้หากว่าคนที่ยังไม่เข้าถึงความไม่เที่ยงก็อาจเห็นไปได้ว่า อันนี้แหละ ต้องเป็นพระนิพพาน อันนี้แหละ คือ เป็นความสุขที่ได้มา อาจจะเข้าใจอย่างนี้ แต่ความจริง ถ้าคนที่เขาเห็นแล้วว่า สัพเพ สังขารา ทุกขา ความสุขอันนั้นก็เป็นสังขารเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ต้องอาศัยเราทำสมาธิ เราปฏิบัติ ความสุขอันนั้นจึงเกิดขึ้น สัพเพ สังขารา ทุกขา สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้วจากเหตุ จากปัจจัย สิ่งนั้นต้องมีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเรารู้แน่ รู้ตลอดไปหมดอย่างนี้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับ ถ้าเข้าไปรู้จนถึงอย่างนี้แน่แล้ว เหตุไรเขาจะมานิยมชมชื่นในสิ่งที่ไม่เที่ยง ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เขารู้อยู่แล้วเขาจะไปนิยมอะไรว่า สิ่งนี้ดีจริง รูปร่างมันสวย แต่ว่าใช้ไม่ทน ประเดี๋ยวก็แตก เราจะชอบไหม ? สักหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะใช้ทนดี

เหมือนดังท่านปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าให้ดูรูปก็เห็นว่า รูปไม่เที่ยง ท่านให้ดูเวทนาก็เห็นว่าเวทนาไม่เที่ยง ให้ดูสัญญาก็เห็นว่า สัญญาไม่เที่ยงท่านก็ชี้ให้ดู ท่านเข้าใจภาษากัน ท่านกู้รู้ว่า ดูรูป นั้นดูอะไร ดู เวทนา นั้นดูอะไร ดู สัญญา นั้นดูอะไร เมื่อให้ดู สังขารขันธ์ ท่านก็ดู ท่านกู้รู้ว่า สังขารขันธ์นั้นลักษณะอย่างไร มีอาการปรากฏขึ้นในจิตใจอย่างไรท่านก็รู้ท่านก็ดู ท่านก็เห็นว่า ไม่เที่ยงให้ดูวิญญาณ วิญญาณขันธ์ท่านก็รู้ว่า ให้ดูอะไรท่านก็ดูในอดีต ท่านมีปัญญาบารมีมา ท่านมีตัวกิเลสที่จะมาบังน้อยแล้วไม่ใช่หนาเหมือนปุถุชน คำว่า ปุถุชน แปลว่า กิเลสหนามากเหมือนแผ่นดิน เพราะว่า กิเลสหนาเหมือนแผ่นดิน จึงเรียกว่า ปุถุชน ถ้าคนกิเลสมากแล้วไปบวชอยู่อย่างนั้นไม่ได้

ทีนี้พอท่านพระปัญจวัคคีย์ พยายามดูครบหมดแล้วทั้ง ๕ ขันธ์ หมดแล้วในโลกนี้ก็มีแต่ขันธ์ ๕ เท่านั้น ท่านก็ประกาศขึ้นมาว่า "ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง" แปลความว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นต้องมีการดับไปเป็นธรรมดาทีเดียว เห็นอย่างนี้ ก็ย่อมจะเกิดความหน่ายไม่ยินดีในอัตภาพ แม้ว่า ความรักตัวจะมากที่สุดก็ตาม ใครจะรักมากเท่ารักตัวเราเป็นไม่มี เพราะว่าเรารักตัวเรา แล้วเราก็รักไปถึงคนอื่นที่มาเป็นประโยชน์แก่ตัวเรา เป็นอารมณ์ที่เป็นประโยชน์ให้ตัวเรามีความสุข

เมื่อเรารักใคร เราก็จะบำรุงคนนั้นให้มีความสุข ไม่อยากให้เขาเดือดร้อน ทีนี้ตัวของเรานี่เรารักมากที่สุด ทุกอย่างที่เอามาบำรุงบำเรอ เพื่อจะให้ร่างกายนี่มีความสุข อารมณ์อะไรที่จะมาเป็นประโยชน์ให้เรามีความสุข เราก็รักอารมณ์นั้นด้วย ทีนี้เมื่อแลเห็นแล้วว่า ตัวนี่ไม่มีของดี ชิวิตเป็นไป หรือเบญจขันธ์เป็นไปเพื่อความทุกข์ ต้องมีการปรุงแต่งแก้ไขธรรมดาเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็ต้องดับ ต้องฉิบหายไปเป็นธรรมดา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว จะไปยินดีอะไร ความที่รักมั่นอยู่เป็นอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่า เป็นตัวเรา เป็นของเราก็คลายออกอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ถึงจะคลายออกได้

หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน