เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

อ. - ไม่ต้องมีเก้าอี้ รู้รูปนั่งรู้ที่ไหน ? คือ รู้ในท่าที่นั่ง นี่เวลานี้ท่านก็นั่งแล้ว ไม่ต้องไปมีเก้าอี้ ถ้ามีเก้าอี้ก็จะไม่ได้ปัจจุบันอารมณ์ ที่ต้องการแน่ๆ จะไม่รู้ว่า นั่งอยู่ที่ไหน ต้องรู้อยู่ที่ท่าเวลานี้ท่านนั่ง ก็อยู่ที่ท่านั่งนั่นเอง คือ ท่านตั้งกายอยู่ในท่าไหน ท่านก็รู้อยู่ในท่านั้น รู้อยู่ในท่าที่นั่งไม่ใช่ไปรู้ตรงแขน ตรงขา รู้อย่างนั้นไม่ถูก เวลานั่งทำความรู้สึกดูรูปนั่ง คือ รู้สึกอยู่ในท่านั่ง ท่านยืนก็รู้สึกอยู่ในท่ายืน นอนก็รู้สึกอยู่ในท่านอน เวลาเดินก็รู้สึกอยู่ในรูปเดิน เวลาที่เท้าก้าวไปๆ รูปเดินก็ไม่ใช่อยู่ที่เท้า เพราะเวลานี้ ท่านก็มีเท้า แต่เดินมีไหม เท้ามี แต่เดินไม่มี ยืนก็มีเท้า แต่เดินไม่มี เพราะยังไม่ได้ก้าวไป เพราะฉะนั้นรูปเดินเราก็ดูในขณะที่ยกเท้าก้าวไป ข้างไหนก้าวไปก็รู้ข้างนั้น รู้รูปก้าวข้างนั้นๆ ไม่ต้องมีซ้ายไม่ต้องมีขวา เพราะซ้ายขวานี้เป็นบัญญัติ อาการที่แท้จริงก็คือ อาการที่ก้าวไปเท่านั้นแหละ ข้างไหนก้าวไปก็รู้ข้างนั้น

ในการดูก็ดูด้วยความรู้สึก ไม่ใช่นึก นึกกับรู้สึกต่างกันอย่างไร ? เวลาดูรูปนั่งก็นึกว่า รูป นั่ง รูปนั่ง รูปนั่ง ท่านต้องสังเกตว่า นึกหรือรู้สึก ต้องใช้ความรู้สึกถ้านึกเอาแล้วมันไม่ได้อารมณ์ปัจจุบัน ถ้ารู้สึกถึงจะได้ อารมณ์ปัจจุบัน เวลานี้ท่านกำลังทำอะไรอยู่

น. - เวลานี้กำลังนั่ง

อ. - ไม่ใช่ค่ะ นั่งไม่ใช่เป็นอธิบดีแล้ว เวลานี้ท่านนั่งเพื่ออะไร ? กำลังฟังอยู่ใช่ไหม ? นั่งฟังโยมแล้วต้องนึกหรือเปล่าว่า ฟังโยม ฟังโยม ฟังโยม ท่านก็ไม่ต้องนึก ท่านกำลังฟังโยมอยู่ ก็ต้องฟังว่า โยมจะพูดว่าอย่างไร ถ้ามันไปมัวนึกเสีย ท่านก็ฟังไม่รู้เรื่อง หรืออีกนัยหนึ่ง เวลาเอามือจับของร้อน ท่านก็รู้สึกว่า ร้อน ท่านก็ไม่ต้องนึกอะไร ความรู้สึกนั้น จะต้องมีอารมณ์ปรากฎเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันนี้สำคัญมากในการทำวิปัสสนา ท่านรู้สึกว่า ร้อนก็ไม่ต้องนึกอะไร ร้อนเอง ทีนี้เอามือออกแล้วก็นึกถึงร้อน ท่านจะร้อนไหม ท่านก็ไม่ร้อน อันนี้ท่านจะต้องใช้ความสังเกตให้มากสักหน่อย เพราะว่าเรายังไม่คล่อง

เพราะฉะนั้น เวลานั่งใจก็รู้สึกตัวอยู่ว่า ดูรูปนั่ง แล้วก็คอยสังเกตพอเวลาดูไป ดูไป ดูไป ถ้าไม่ฟุ้งประเดี๋ยวก็สมาธิเข้ามาแล้ว รูปก็จะหลุดไป เหลือแต่ นั่ง รูปมันจะหลุดไปก่อน อย่างนี้ก็ไม่ได้ เพราะว่ารู้แต่ นั่ง อย่างเดียว ใครนั่ง ถึงแม้ว่า จะไม่รู้ว่า เรานั่ง แต่ว่า เรานั่ง ที่มันเคยฝังสันดาน ทีนี้ เมื่อรูปมันหลุด ความรู้สึกว่า เรานั่งมันไม่ออก เพราะความรู้สึกใหม่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นแต่เพียงว่า เราพิจารณาอยู่ แต่ว่า ความรู้สึกว่า เป็นรูปแท้ๆ ยังไม่เกิดขึ้น ต้องเกิดขึ้นแล้ว เราจึงจะหลุดออกไปได้ ต้องเป็นรูปอย่างชัดเจน แต่ว่าเวลานี้เรากำลังพยายามกำหนดรูปอยู่ ทำไมจึงต้องกำหนดรูปด้วย เวลานี้ท่านก็รู้ว่า นั่งมันเป็น รูป แต่เวลานั่งจริงๆ ไม่รู้ว่า มันเป็นรูป มันก็จะเป็น "เรานั่ง" ขึ้นมา เพราะฉะนั้น ท่านต้องพยายามกำหนด จนกระทั่งรู้สึกว่าเป็น "รูปนั่ง" จริงๆ อย่างนี้แหละ เรานั่ง มันจึงจะเข้ามาไม่ได้ เพราะเรารู้ว่าเป็น "รูป" แล้ว เมื่อเรารู้แน่ชัดแล้วว่า คนนี้ไม่ใช่คน แต่เป็นรูป พอมาเห็นเข้าอีกทีจะไปรู้สึกว่าเป็นคนอีกไม่ได้

เพราะฉะนั้น เราจะทิ้งไม่ได้เลย รูป กับ นาม เพราะว่า มันเป็นตัวกรรมฐาน เป็นตัวถูกพิจารณาให้รู้แน่ว่ามันมีรูปกับนามจริงๆ เพราะฉะนั้น เวลาดูนั้น ดูรูป หรือนาม ดูเฉยๆ ไม่ได้ เวลาดูนั้นดูรูปนั่งหรือรูปนอนดูรูปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะเป็นรูปคนละรูปไม่เหมือนกัน คือ รูปนั่งหรือรูปนอน เพราะถ้ากำหนดเป็นรูปอย่างเดียวกัน ประเดี๋ยวนั่งก็รูปนั้น นอนก็รูปนั้น ยืนก็รูปนั้น เดินก็รูปนั้น รูปจะเกิดเป็นอันเดียวกันขึ้น ทีนี้รูปก็เลย เที่ยง อีก เพราะว่ารูปนั่งก็เปลี่ยนมาเป็นรูปเดินเท่านั้นเอง ตกลงนั่ง กับ เดินก็เป็นอันเดียวกัน รูปก็เลยเที่ยงขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราจะ รู้สึกรูปเฉยๆ ไม่ได้ จะต้องดู รูปนั่ง หรือ รูปนอน ไม่ใช่ ดูรูปเฉยๆ นั่งเฉยๆ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวเราก็เข้ามากลายเป็น เรานั่ง เราจึงทิ้งไม่ได้เลยว่า ดูรูปอะไร ท่านจะต้องมีอยู่ในความรู้สึกเสมอ จนกระทั่งจำท่า จำทาง จำอะไรต่ออะไรได้ จำหน้า จำตาได้ดีแล้ว

พอกำหนดปุ๊บลงไปเกือบไม่ต้องกำหนดก็รู้ พอดูปั๊บมันก็รู้ขึ้นมา เราก็จะต้องหัดดูจนให้ชำนาญ ทีหลังเมื่อวิปัสสนาเกิดแล้ว มันมีความรู้สึกคนละอย่างท่านก็จะทราบเองว่า ท่านจะเห็นแล้วหรือยัง ? ทั้งๆ ที่ท่านกำหนดรูปน่ะ ท่านเห็นรูปแล้วหรือยัง ต่อเมื่อท่านเห็นรูปท่านก็จะรู้สึกเองว่า ท่านเห็น พอรู้แล้ว บอกเองรู้เอง ไม่ต้องมีใครบอกให้ทราบ

เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญคือว่าดูรูปอะไรหรือว่าดูนามอะไร ? รูปเฉยๆ นามเฉยๆ ไม่ได้ นั่งเฉยๆ นอนเฉยๆ ก็ไม่ได้ จะต้องดูรูปกับนั่งดูรูปนั่ง เหมือนกับอย่างนี้เวลานี้ดูอะไร ดูกาน้ำ ถึงจะไม่นึกว่า กาน้ำ แต่ว่าความรู้สึกว่า เป็นกาน้ำ มันก็อยู่ในใจอยู่แล้วว่า ดูอะไร แต่ว่า ใหม่ๆ อาจจะต้องนึกเพราะว่า จำไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลาดูจึงสำคัญมาก แล้วก็ต้องได้ปัจจุบัน ขาดปัจจุบันแล้ว วิปัสสนาไม่มีโอกาสเกิด เหมือนกับอย่างนี้ ดิฉันเอามือแตะถ้วยน้ำร้อน ร้อนนี่เป็นรูป รูปร้อนเราก็รู้ ไม่ใช่ เราร้อนนะ เมื่อเรารู้สึกว่า รูปร้อน ความรู้สึกว่า เราร้อน ก็ไม่มี เกิดไม่ได้

ทีนี้ร้อนก็ไม่เที่ยง สมมุติว่าอย่างนั้น ร้อนไม่เที่ยงท่านก็จะเห็นว่า รูปทุกอย่างก็ต้องไม่เที่ยง นี่มีร้อนเป็นอารมณ์ และอารมณ์นี้ไม่เที่ยง ต้องไม่เที่ยงเวลาร้อน ความจริงที่ไม่เที่ยงนั้นมันไม่เที่ยงเวลาร้อน ร้อนนี่น่ะ ไม่เที่ยง แต่ว่าเราไม่เห็น แต่พอเราออกไปแล้ว เราก็ไปนึกอีกทีว่า มันไม่เที่ยง คือ มันหายร้อนแล้ว อันนี้ก็ขั้นหนึ่ง แต่ถ้าพูดถึงวิปัสสนาจริงๆ แล้วไม่ได้ เห็นอะไรไม่เที่ยง ต้องไม่เที่ยงกำลังมีอยู่ ไม่ใช่ว่า รูปทั้งหมดไปแล้วจึงจะรู้ว่าไม่เที่ยง ถ้าปัจจุบันแท้ๆ จะเห็นว่า รูปไหนไม่เที่ยง ต้องรูปนั้นกำลังยังอยู่ กำลังบอกให้รู้ถึงอาการไม่เที่ยง อันนี้ ก็ต้องเป็นขั้นที่สติเราดีแล้ว พอเห็นเข้าก็จะทราบเองนั่นแหละ

เพราะฉะนั้น ขณะดูรูปนั่ง บางคนก็ดูเรื่อยไป ตั้งแต่ตรงนั้นๆ เรื่อยไปก็ไม่รู้ว่า รูปนั่งอยู่ที่ไหน ปัจจุบันก็ไม่มีจะไปเอาตรงไหนที่เป็นรูปนั่ง เราจะเห็นว่าไม่เที่ยง ก็ต้องไม่เที่ยงทั้งหมด จะเห็นตรงนั้นตรงนี้ไม่เที่ยงได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เวลาดูท่านก็จะต้องสังเกตแล้วก็จำ เมื่อเวลาไปทำงานว่าตรงกันไหมกับที่ได้ยินมา เช่น เวลาพอกำหนดลงไป ต้องสังเกตทีเดียวว่า ตรงไหม ดูรู้ว่า นั่ง นั่งเฉยๆ รูปไม่มี นี่ท่านก็ต้องรู้ ถ้าสังเกตก็รู้ว่าขาดรูปไป ก็เติมรูปลงไป ต้องคอยสังเกตเสมอ เราต้องคอยสังเกตของเราเองคนอื่นจะไปช่วยดูให้ก็ไม่ได้

แต่ว่าก่อนอื่นที่เรียนให้ทราบนี้ ท่านก็ต้องเข้าใจก่อน เข้าใจแล้วว่า เวลานั้น เขาให้เรารู้อย่างนั้น ทำความรู้สึกอย่างนั้น ทีนี้เมื่อเวลาไปทำงาน ก็ต้องคอยสังเกตว่า ตรงกันไหม ถ้าขาดความสังเกตไม่ได้เลย เพราะคนที่ไม่ชำนาญ ถ้าไม่สังเกตจะทำไม่ถูก ต้องคอยสังเกต ถ้าสังเกตแล้วผิดก็รู้ ถูกก็รู้ พอผิดเราก็ทำความรู้สึกให้ถูก เพราะว่า เราเคยได้ฟังอธิบายมาแล้ว เพราะว่า เราไม่ชำนาญ บางทีมันก็หลุดไปบ้าง อะไรไปบ้าง บางทีดูรูปเดิน ประเดี๋ยว รูป มันก็หมดไปแล้ว เหลือแต่เดิน เดิน เดิน อย่างนี้เราก็ต้องคอยสังเกต มิฉะนั้น เสียเวลา เพราะว่า วิปัสสนาเป็นงานของใจ เวลากำหนดลงไป รู้อารมณ์เมื่อไร นั่นแหละ เป็นงานของใจ

หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน