เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นประโยชน์ต่อปัญญาทั้งสิ้น

ทุกอย่างย่อมเป็นประโยชน์แก่ปัญญาทั้งนั้นในโลกนี้ ถ้าคนมีปัญญา แม้แต่เห็นผีที่ตายแล้วเน่าน้ำเหลืองไหล ย่อมเป็นประโยชน์แก่ปัญญา ปัญญาย่อมเป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง แต่ว่า เราจะเข้าใจโยนิโส ทำความรู้สึกให้เป็นปัจจัยแก่ปัญญา หรือ ทำความรู้สึกให้เป็นปัจจัยแก่กิเลส มันมี ๒ อย่าง ความรู้สึกที่เป็นปัจจัยแก่กิเลส เช่น เราไปเห็นผีตายเน่า หมาเน่าลอยมา หรือ ศพลอยมาในน้ำ ถ้าเราทำความรู้สึกไปในทางเป็นปัจจัยของกิเลส กิเลสมันก็เกิดขึ้น เราก็ไม่พอใจที่จะเห็นอย่างนั้น เราก็เกลียด เราก็ไม่พอใจ

ทีนี้ถ้าคนมีปัญญา พอเข้าไปเห็นเข้าแล้วแทนที่เขาจะเกิดกิเลส คือ ความไม่พอใจ หรือสะอิดสะเอียนอะไรอย่างนี้ ไม่เป็นเพราะเขามีโยนิโสดี เขาก็ทำความเข้าใจให้เป็นปัจจัยแก่ปัญญาเขาก็รู้สึกว่า อ๋อ นี่สังขารทั้งหลาย มันไม่เที่ยงอย่างนี้ มันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ มันไม่ใช่เป็นของสวยงามเลยอย่างนี้ มันไม่เป็นอารมณ์ที่น่ายินดีเลย ไม่น่ารักเลย แต่ว่า เพราะความไม่รู้ ความไม่เข้าใจก็หลงกันไป

ทีนี้เขาเห็นแล้วเขาก็น้อมถึงจิตใจร่างกายของเขา ก็จะต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน ทีนี้ความพอใจ ความรักในร่างกายที่เข้าใจว่าดี เข้าใจว่าสวยว่างามด้วยอำนาจของกิเลสก็หมดไป ปัญญาที่เข้าไปรู้ความจริงนั้นก็เกิดขึ้น อ้อ นี่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่าง ทุกอย่างในร่างกายจะหาสาระอะไรที่เป็นที่พึ่ง ที่เป็นสรณะไม่มีเลย เขาก็เกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้น เพราะฉะนั้น กิเลสหรือความที่หลงไหลเข้าใจผิดอยู่ในร่างกาย ในรูป ในนาม ก็หมดไป กลับเกิดปัญญาขึ้นในอารมณ์อันเดียวกัน ในที่เดียว ถ้าหากไม่มีโยนิโสก็จะเกิดปัญญาไม่ได้

เพราะฉะนั้น ในเวลาที่เราปฏิบัติ จะมีอารมณ์อะไรก็ตาม ก็ต้องคอยสังเกตดู บางทีเรามีเหมือนกัน โยนิโสเราเข้าใจ แต่ขาดความสังเกตว่า อารมณ์นั้นเป็นอย่างไร ผิดไปด้วยเรื่องอะไรเกิดขึ้น อารมณ์นี้เป็นปัจจัยแก่กิเลส มันไม่ใช่เป็นปัจจัยของปัญญา แต่ว่า ก่อนที่จะได้เอาโยนิโสมาใช้นี้ก็จะต้องได้จากการฟังด้วย ฟังอธิบายแล้วก็เข้าใจเหตุผล เก็บความเข้าใจเหตุผลเอาไว้ในใจก่อน เวลาไปปฏิบัติก็อาศัยความสังเกตว่า เวลานั้นเราทำความรู้สึกอย่างไร ตรงกันไหมที่อาจารย์บอกว่า เวลานั้นต้องทำความรู้สึกอย่างนั้นๆ อย่าทำความรู้สึกอย่างนั้นๆ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจในเวลาที่อธิบายให้ฟัง ผิดก็ไม่รู้ ถูกก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ว่าผิด แล้วจะเอาจิตมาตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ถูกก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่า ที่ถูกนั้นจะต้องทำความรู้สึกอย่างไร ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ทำไม่ได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น โยนิโส เป็นสิ่งสำคัญมาก การฝึกการสังเกตก็สำคัญ ขั้นแรก จึงต้องมีความเข้าใจในเวลาที่อธิบายให้ฟังว่า เขาห้ามอะไร จำได้ไหม ถ้าเราเข้าใจถึงเหตุผลเราก็จำได้ เพราะว่า ความเข้าใจจะเป็นสิ่งที่ช่วยความจำของเรา เช่น เขาห้ามไม่ให้ทำกรรมฐาน เวลานั่งอย่ารู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน เวลาเดินก็อย่ารู้สึกว่า เดินเพื่อทำกรรมฐาน ทุกท่านเคยจับได้ไหมว่านั่งกรรมฐาน เวลามานั่งแล้วก็จะรู้สึกว่า นั่งกรรมฐานทุกที เพราะเราไม่ได้สังเกต ทีนี้ถ้าเราจำได้และเข้าใจแล้วว่า เขาสั่งไม่ให้ทำความรู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน พอรู้สึกว่า นั่งกรรมฐานเกิดขึ้น ก็รู้ทันทีว่า ผิดแล้ว อันนี้ผิดแล้ว เพราะเขาห้ามไม่ให้ทำความรู้สึกอย่างนั้น

การที่จะผิดหรือถูกนั้นอยู่ที่ตรงความรู้สึก เพราะว่าปัญญาก็อยู่ที่ใจ อวิชชา ความโง่ก็อยู่ที่ใจ สติ ก็อยู่ที่ใจ วิริยะ ก็อยู่ที่ใจด้วย เพราะฉะนั้น ใจ มีความรู้สึกอย่างไร ความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอารมณ์ของใคร เป็นอารมณ์ของ ปัญญา หรือ อวิชชา เช่น ที่เขาห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐานนั้น เพราะอะไร เพราะว่า ถ้ารู้สึกว่า นั่งกรรมฐานแล้ว ในเวลาที่นั่งอยู่นั้นกิเลสจะต้องเข้าอาศัย คือว่า นั่งเพื่อจะเห็นอะไรสักอย่างหนึ่ง นั่งเพื่อธรรมะจะได้เกิดขึ้น เวลาเดินก็เดินกรรมฐาน เดินกรรมฐานก็เพื่อจะได้เห็นธรรม ถ้ารู้ว่าทำกรรมฐานแล้วจะต้องรู้สึกอย่างนี้ติดตามมา ความรู้สึกอย่างนี้เป็นกิเลส มันเป็นความต้องการที่จะได้อะไรสักอย่างหนึ่ง ความต้องการก็เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง มีชื่อมากมาย กิเลสตัวนี้ คือ เป็น "โลภะ" ก็เรียก หรือเป็น "ตัณหา" ก็เรียก เมื่อกิเลสความต้องการเข้าไปอยู่ในจิตใจเสียแล้ว จิตดวงนั้นก็มีกิเลส แล้วปัญญาจะเกิดได้อย่างไร จิตที่เป็นอกุศลอยู่ ปัญญาจะเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงห้ามไม่ให้นั่งกรรมฐาน ไม่ให้เดินกรรมฐาน

เมื่อห้ามไม่ให้นั่งกรรมฐาน ไม่ให้เดินกรรมฐานแล้วให้นั่งทำไม ? ให้เดินทำไม ? เช่น เดินอยู่แล้วเวลาจะนั่งห้ามไม่ให้รู้สึกว่า จะนั่งกรรมฐาน แล้วจะให้รู้สึกว่าอย่างไร ? ต้องรู้สึกอย่างนี้ ว่า พอปวดเมื่อยขึ้น ปวดขึ้นมา เมื่อยขึ้นมา แล้วความรู้สึกก็ว่า จะต้องเปลี่ยนไป เพราะทุกข์ปรากฏขึ้นมาแล้ว ทุกข์นี้เป็นตัวอริยสัจเป็นของจริง ทุกข์ปรากฏขึ้นมาก่อนเราก็จะต้องเปลี่ยนละ ทีนี้พอจะต้องเปลี่ยนเราจะมนสิการว่าอย่างไร จำได้ไหม ? ให้มนสิการว่าอย่างไร ? ให้ทำความรู้สึก ทำความเข้าใจว่าอย่างไร ? ในการที่จะต้องเปลี่ยน

ทุกข์นั้นรู้แล้วว่า มันเมื่อย แต่ถ้าเป็นคนไม่สังเกตก็จะรู้ไม่ได้เหมือนกัน เพราะจิตมัวไปอื่น พอเมื่อยขึ้นมาก็พลิกไปเลย ความเมื่อยนี่ เราไม่ได้ต้องการเลย มีกิเลสของใครจะต้องการเมื่อยบ้าง ? ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัยของเขา ไม่ใช่ว่าคนมีกิเลสเท่านั้นจึงจะเมื่อย คนไม่มีกิเลสก็่เมื่อย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ท่านก็เมื่อย ท่านก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถเหมือนกัน

ทุกข์นี่น่ะไม่ใช่กิเลส แต่เป็นวิบากของเบญจขันธ์ ที่จะต้องถูกบีบคั้นให้เกิดเปลี่ยนแปลง ให้กระสับกระส่ายอยู่เรื่อย เพราะท่านเห็นอย่างนี้ ท่านถึงได้เห็นว่า ตัวเบญจขันธ์นี้เป็นทุกข์เหลือเกิน เป็นภาระอันหนัก สังขิตเตน ปัญจุปาทา นักขันธา ทุกขา ทุกข์ทั้งหมด ตั้งแต่ชาติความเกิดขึ้นมาจนกระทั่งชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส ตามที่เราทำวัตร นี่เพราะสังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาทุกข์ทั้งหมดที่เรามีอยู่นี่มาจากเบญจขันธ์ ถ้าเบญจขันธ์นี้ไม่มีแล้ว ทุกข์ทั้งหมดนี่ไม่มี เป็นอันว่า ไปถึงธรรมที่สิ้นทุกข์

เพราะฉะนั้นท่านจึงใช้คำว่า สิ้นทุกข์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงหรือ ที่สุดแห่งทุกข์ ทีนี้บางคนไม่เข้าใจก็ไปเข้าใจว่า คำว่า พ้นจากทุกข์หมายความว่า ต้องมี ความสุข ทุกข์ไม่มีแล้วต้องมีความสุข เพราะฉะนั้น ขออย่าเข้าใจว่า พระนิพพานเป็นสุข บางทีก็เกิดความเข้าใจผิดในเวลาที่ปฏิบัติ พอจิตได้สมาธิเข้าพอสงบเข้าก็รู้สึกว่า เป็นสุขเยือกเย็นจริง นี่แหละจะต้องเป็นพระนิพพาน เพราะเราพ้นจากทุกข์แล้ว อันนี้ไม่ใช่ อันนี้ก็เป็นเพียง สุขเวทนา เท่านั้น แล้วก็ไม่เที่ยงด้วย สิ่งใดที่ ไม่เที่ยง นั่นแหละสิ่งนั้นเป็น ทุกข์ และสิ่งที่ ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ นั่นแหละสิ่งนั้นเป็น อนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เพราะฉะนั้น ที่เราไปเห็นว่า มีความสุขจริง สบายจิตใจสงบเยือกเย็น นี่แหละคงจะเป็นพระนิพพาน อันนี้เข้าใจผิดแล้ว

เพราะอันที่จริง ความสุขนั้นเที่ยงไหม ? สุขอยู่อย่างนั้นตลอดไปหรือเปล่า เปล่า ไม่ตลอดเวลา หากแต่จิตมันไม่เพ่นพ่านไป คล้ายๆ กับว่ามันหลับ จิตน่ะมันหลับไป มันก็เลยไม่ฟุ้งซ่านไปที่ไหน ถ้ามันฟุ้งซ่านไปมากๆ เราก็รำคาญ พอกิเลสมันเกิดขึ้นแล้วก็เร่าร้อน จิตใจเศร้าหมองเร่าร้อน ถึงแม้ว่า จะไม่ได้ไปฆ่าใคร ด่าใคร ตีใครก็ตาม พอกิเลสเกิดขึ้นแล้วใจนี่ไม่มีความเยือกเย็นเลย ถ้าเกิดมาก ก็ร้อนมาก เกิดน้อย ก็ร้อนน้อย แล้วความสุขที่เราเห็นว่า เป็นของดีมากนั้น จะเที่ยงอยู่ได้ไหม ไม่เที่ยง พักเดียว ประเดี๋ยวเดียวก็หายแล้ว



หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน