เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

อารมณ์ปัจจุบัน

ต้องให้ได้อารมณ์ปัจจุบัน คือ ต้องจับอารมณ์ "รูปนั่ง" ที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า โดยที่อารมณ์นั้นเกิดขึ้นเอง ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความปรารถนาของผู้ปฏิบัติ อย่าบังคับจิต ให้ติดอยู่ในอารมณ์ด้วยความปรารถนาจะเป็นไปตามอำนาจของตัณหา ซึ่งเป็นตัวกิเลส เพียงแต่สำรวม ไว้ อย่างให้จิตนี้ออกไปจากอารมณ์ คือ ท่าที่นั่ง ถ้าจิตออกไปแล้ว ดูไปมันก็ไม่เห็น เหมือนกับเราอ่านหนังสือมันฟุ้งซ่าน เดี๋ยวจิตก็ส่ายไปทางโน้น วิ่งไปทางนี้ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่องรำคาญ มันต้องที่เงียบสงัด แล้วเราก็จะต้องสำรวมในร่างกายของเรา ในจิตของเรา ด้วยว่าสิ่งที่ไม่จำเป็นแล้วอย่าปล่อยให้จิตของเราตกไป อย่างให้มันไป เราต้องคอยคุมไม่ให้มันไป ถ้ามันไปมันก็เที่ยวได้เพริดไป ดูมันก็ไม่เห็น และปัญญาก็เกิดไม่ได้ ต้องจำกัดอารมณ์ ต้องมีปัจจุบันดูรูปนั่ง เวลานั่งดูรูปนั่ง


หลับตา หรือลืมตา

จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้แล้วแต่ถนัด บางคนไม่ชอบหลับตา เพราะหลับตาแล้วง่วง หลับตาแล้วก็ฟุ้งไป จิตใจก็ฟุ้งไป ตาก็หลับ บางคนก็ลืมตาไม่ได้ ลืมตาแล้วไม่ถนัด ลืมตาแล้วเห็นโน่นเห็นนี่ มันไม่ได้อยู่ที่รูปนั่ง อันนี้ก็แล้วแต่อัธยาศัย และก็แล้วแต่ความสังเกตของเรา คนอื่นก็รู้ไม่ได้ว่าอัธยาศัยของท่านชอบหลับหรือลืม เวลาหลับเป็นอย่างไร เวลาลืมตาเป็นอย่างไร อันนี้อยู่ในความสังเกตของเรา ใช้ได้ทั้งนั้น จะหลับหรือลืมก็ได้


ดูนั่ง นอน ยืน เดิน ทำไม

นั่ง นอน ยืน เดินนี้น่ะ ทุกคนต้องมี แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็มี ทุกคนก็มี เข้ากรรมฐานหรือไม่เข้ากรรมฐานก็มี ทำไมจึงต้องให้ดูนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่เห็นมันน่าจะมีกิเลสอะไร นั่งมันมีโกรธหรือเปล่า ? เปล่า ! มีโลภไหม ? ไม่มี ! ร่างกายนี้ไม่มีโลก รัก โกรธ หลง อยู่กับใจอยู่กับนาม ไม่มีแล้วจะไปดูมันทำไม ?

ทำวิปัสสนาเพื่อจะละกิเลส กิเลสอันนั้นที่อาศัยการนั่ง การนอน การยืน การเดิน เวลานั่งตามธรรมดาเรานั่งนี้ก็ต้องมีความรู้สึกว่า เรานั่ง เรานอน เรายืน เราเดิน อย่างนี้ตัว นั่ง น่ะ มันไม่มี แต่ว่าใจอาศัย รูปนั่ง ทำให้เกิดเข้าใจผิดว่า "เรานั่ง" อาศัยรูปนั่งทำให้เกิดเข้าใจผิดคิดว่า เรานั่ง เราก็เข้าใจผิดอยู่อย่างนี้ตั้งแต่เกิดมา จนอายุเท่าไรก็ตาม ก็รู้ว่าเรานั่ง เรานอน เรายืน เราเดิน อยู่อย่างนี้เรื่อยไป

ทีนี้หลักของวิปัสสนาให้เข้าไปรู้ความจริงว่า นั่ง นี่เป็น รูป และ นาม ที่มัน รู้ว่านั่ง ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีผู้หญิง ผู้ชาย มีแต่สภาวะของรูปเท่านั้น เราไม่เคยเข้าใจอย่างนี้เลย เขาจึงให้เข้าไปดู เข้าไปดูตรงที่เราเข้าใจผิด ที่จริงเราเข้าใจผิดอยู่มากมายเหลือเกิน แต่ให้เข้าไปดูอันนี้ก่อน เรียกว่า "เจริญปัญญา" ปัญญานี้รู้อะไร รู้เหตุ รู้ผล เรียกว่า ปัญญา ถ้ารู้ไม่ตรงกับเหตุผลแล้วไม่เรียกว่าปัญญา เรียกว่า "มิจฉาทิฏฐิ" แปลว่าเห็นผิด เห็นผิดจากใคร เห็นผิดจากพระพุทธเจ้าหรือ หรือว่า เห็นผิดจากอาจารย์ ไม่ใช่ทั้งนั้น เห็นผิดจากเหตุผล เราไปเห็นผิดจากที่เขาเป็นอยู่ ถ้าเห็นถูกสัมมาทิฏฐิก็เป็นปัญญา เวลานั่งรู้สึกว่า เรานั่ง อย่างนั้นไม่จริง ที่จริงไม่มี เรา มีแต่รูปกับนาม เราที่ไหนมีความรู้สึกว่า เรานั่ง นี่มัน ผิด มันไม่ตรงกับความจริงความจริงมันไม่มี ผู้หญิงนั่ง ผู้ชายนั่งก็ไม่มี ท่าที่นั่งจะเป็นผู้หญิง ผู้ชายได้ยังไง เห็น ก็เหมือนกัน นี่ เราเห็น ผู้หญิงเห็น เห็น ไม่เป็นทั้งผู้หญิง ผู้ชาย สภาวะของมันทำหน้าที่ เมื่อได้ปัจจัยก็ทำหน้าที่ เห็น ทำหน้าที่ได้ ยิน แต่ไม่ใช่ผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย


นั่ง นอน ยืน เดิน ดูที่ไหน

การดูรูปนั่งต้องรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง ไม่ใช่ไปนึกถึงว่า ประเดี๋ยวพอ เวลาไปนั่งแล้ว เขาให้ดูรูปนั่งก็เลยนึกถึง รูปนั่ง รูปนั่ง อย่างนี้ไม่ได้ คือว่า บางคนดูรูปนั่ง พอ เอาเข้าจริงๆ ดูที่ไหนรูปนั่ง รูปนั่งมันอยู่ที่ไหน ถ้าหากว่าไม่เข้ากรรมฐานท่านก็รู้ ลุกขึ้นยืนก็ยืนได้ นั่งลงก็นั่งได้ แต่พอเข้ากรรมฐาน บอกให้ไปดูนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่รู้ว่าดูที่ไหน นั่งอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ที่จริงตัวก็รู้ ถ้าไม่รู้ก็นั่งไม่ถูก นอนไม่ถูก

เขาก็ไม่ได้ให้ดูอะไรแปลกๆ วิปัสสนานี่ไม่ได้ให้ดูอะไรที่ไม่มีอยู่ในตัว สิ่งที่มีอยู่ในตัวเป็นของจริงสิ่งที่ไม่มีอยู่ในตัวเป็นของไม่จริง เขาไม่ได้ดู ให้ดูเฉพาะที่มีอยู่ในตัวเท่านั้น เพราะอันนี้เป็นของจริง

รูปนั่ง นี่น่ะ ดูที่ไหน ดูที่ท่า เช่นอย่างเวลานี้ถ้าถามทุกคนว่า นั่งหรือนอน ก็ต้องตอบว่า นั่ง ทำไมท่านถึงรู้ว่านั่ง ท่านอาศัยที่ท่านี้ตั้งกายไว้ในท่านี้ เขาเรียกว่า นั่ง ยืนก็อยู่ในท่ายืน เวลายืนก็ดูรูปยืน คือรู้อยู่ในท่าที่ยืน

เวลาเดินก็ดู รูปเดิน รูปเดินอยู่ที่ไหน ไม่ได้อยู่ที่เท้า อยู่ที่อาการที่ก้าว เวลานี้ท่านก็มีเท้า แต่ยังไม่มีเดิน เวลานี้ไม่มีรูปเดิน ดูรูปเดินไม่ได้ ยืนก็ไม่ใช่เดิน แต่เมื่อมีอาการของเท้าที่ก้าวไป คำว่าเดินจึงจะมีขึ้น ความหมายว่า เดินถึงจะเกิดขึ้น ทีนี้เราดู เราก็ต้องดูให้ถูก รูปนี้อยู่ที่ไหน เดินก็ต้องดูขณะที่ก้าวเท้า อย่าเอาสติไปตั้งไว้ที่เท้า หรือที่ขา หรืออะไรมันไม่ถูก เดินแท้ๆ ต้องอยู่ที่การก้าว ถ้าไม่มีการก้าวคำว่าเดินก็ไม่มี อันนี้ก็เข้าใจกันแล้ว คนที่เคยเข้าวิปัสสนาก็เข้าใจกันแล้วว่า เดินอยู่ที่ไหน

เวลานอน ก็อยู่ที่ท่าอีกนั่นแหละ นอนก็มีหลายท่า เหยียดขาก็ได้ นอนตะแคงก็ได้ นอนหงายก็ได้ทั้งหมดรวมอยู่ในอิริยาบทใหญ่ เรียกว่านอน นั่งก็นั่งได้หลายท่า แต่ก็เรียกว่า นั่ง ทั้งหมดก็เรียกว่า นั่ง

รู้สึก กับนึก

ทีนี้เวลาเราดูนั่ง เราก็ดู เราก็รู้สึกอยู่ในท่าที่เรานั่ง เวลานอน, ยืน, เดิน ก็รู้สึกอยู่ในท่าที่นอน, ยืน, เดิน ๔ อันเท่านี้แหละ แล้วก็ต้อง รู้สึก ตัวด้วยว่าเวลานี้ดูอะไร เดี๋ยวเวลานั่งแล้วจะไป นึก ว่า รูปนั่ง นั่งอันนี้ไม่ได้ เพราะว่าใจ นึก เอา มันไม่ได้ออกมารู้อยู่ในอาการที่นั่ง ที่นอน ท่านบอกว่า ตั้งกายอยู่ด้วยอาการอย่างไร ก็ให้รู้อาการเป็นไปของกายที่ตั้งอยู่ในอาการนั้นๆ ว่าอย่างนี้ในสติปัฏฐาน ทีนี้เราก็คอยดู รู้สึก ว่าดูรูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน เพราะตามธรรมดาถ้าเราไม่ได้ศึกษาและไม่ได้เคยเข้าวิปัสสนาเลยจะไม่รู้ว่าใครเดิน ไม่รู้เลยว่า เดินน่ะ อะไรมันเดิน ก็ต้องเราน่ะซิเดิน ใครนั่งก็ เรานั่ง แต่ความเป็นจริงไม่มีเรามันมี รูป กับ นาม ๒ อย่างเท่านั้นแหละ อาการนั่งจึงปรากฏขึ้น มีแต่รูปน่ะ ผีตาย นามดับแล้วมีไหม อิริยาบท ? ไม่มี ! นั่งก็นั่งไม่ได้ เพราะว่าวิญญาณไม่มีแล้วก็นั่งไม่ได้ ทีนี้มีแต่นาม รูปไม่มี นั่งมีไหม ? ไม่มี !

เพราะฉะนั้น อาการนั่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมีรูปนามพร้อมแล้ว ทีนี้เมื่อเราดูก็ต้องดูด้วยความรู้สึก รู้สึกอยู่ในท่าทีนั่ง รู้สึกอยู่ในท่า แล้วก็รู้สึกว่าดูรูปนั่งเช่นอย่างเวลานี้ คุณรู้ไหมว่า เวลานี้คุณพูดกับใครรู้สึกไหม รู้ เวลานี้คุณฟังใครพูดอยู่ รู้ว่า ฟังอาจารย์ นี่ต้องรู้อย่างนี้ รู้ว่า ฟัง ฟังอะไร พูดเรื่องอะไร สอนอะไร เราจึงจะเข้าใจ ถ้าเราได้ยินเหมือนกันได้ยินแต่ว่าไม่ได้ฟัง ฟังแล้วไม่เข้าใจ ทั้งๆ ที่เรานั่งฟังกันอยู่อย่างนี้แหละ แต่ฟังแล้วไม่เข้าใจ

หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน