เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

อย่าคิดว่า นั่งกรรมฐาน เดินกรรมฐาน

เพราะเหตุนี้ จึงห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน อย่าไปรู้สึกว่า เราจะต้องนั่งท่านี้ถึงจะแก้ทุกข์ได้ อันนี้ห้าม ห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน เวลาจะลุกขึ้นเดิน ไม่ให้รู้สึกว่า เดินกรรมฐาน อันนี้เป็นความสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งเป็นของน่าแปลก ใครๆ เขามาทำกรรมฐานแล้ว ไม่ให้นั่งกรรมฐาน ไม่ให้ทำกรรมฐาน สำหรับวิปัสสนานี่ ห้ามรู้สึกว่านั่งกรรมฐาน อันนี้เรานั่ง เพื่อจะเอากรรมฐาน นั่งเพื่อจะได้กรรมฐาน จะได้เห็นธรรมอะไรมันจะโผล่ขึ้นมา มันกลายเป็นอย่างนี้ไป ไม่ใช่นั่งกรรมฐาน แต่นั่งเพื่อแก้ทุกข์ นอนเพื่อแก้ทุกข์ เดินเพื่อแก้ทุกข์

ถ้ายังไม่ทุกข์ไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าทุกข์จะเปลี่ยนเมื่อไรก็ได้ ๕ นาที ๑๐ นาที ตามใจ แต่ให้มีเหตุผลที่จะพิจารณาได้ ทีนี้ถ้าเราไปนั่งกรรมฐานเดินกรรมฐาน ก็กลายเป็นว่า เราอยากนั่ง อยากเดิน เพื่ออยากจะเห็นธรรม เขาว่าเดินมากๆ แล้วจะเห็นรูปเดินก็เลยเดิน เพราะอยากเห็นรูปเดิน กิเลสก็ปิดบังอิริยาบถเดิน ไม่รู้ว่าใครเดิน ในที่สุด ก็จะคิดเหมาเอาว่าเราเดินก็ไม่ได้ความจริง เพราะฉะนั้น ต้องทำไปตามความจริง

ที่จริงน่ะ ขอให้ไปพิจารณาดูเถอะ ถ้าทำจริงๆ แล้ว ๗ วันนี่ ท่านจะพบสิ่งที่ท่านไม่เคยพบเลยในชีวิต "ธรรม" ต้องพบแน่ แต่ขอให้ได้อารมณ์ปัจจุบันมากๆ ที่ว่ามากๆ ก็หมายถึงว่า มันไม่ฟุ้งไปอื่น แต่มันต้องฟุ้งห้ามไม่ได้ ฟุ้งก็ฟุ้งไป แล้วเราก็รู้ว่า มันฟุ้ง ก็กลับมาดูใหม่เท่านั้นแหละ ขอให้ทำใจเพียงแค่นี้ อย่าไปทำความไม่พอใจ ก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ขอให้ดูแต่ว่า เราจะต้องแก้ทุกข์นะ เราแก้ทุกข์ เรารู้ตัวเราไหมว่า ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมานี่ เราแก้ทุกข์อะไรบ้าง ทุกข์อะไรก็ตาม ถ้าแก้ไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ต้องตาย ที่เราอยู่มาได้ทุกวันนี้เพราะเราแก้ได้เอง การที่เราแก้เองได้เลยกลายเป็นคนดี ถ้าคราวไหนเราแก้เองไม่ได้ต้องเอาหมอมาช่วยแก้ นั่นแหละถึงจะรู้ว่า เจ็บ นี่มันเมื่อย เราก็เปลี่ยนอิริยาบถได้ เราก็นอนได้ เราก็เดินได้ เขาก็ว่าเราเป็นคนดีอย่างนี้ ถ้าเผื่ออยากจะนอนก็นอนไม่ลง นอนไม่ได้แล้ว ไปเอาหมอมาช่วย ตอนนี้ก็ว่าเจ็บแล้ว แต่ที่จริงเจ็บอยู่เรื่อย ต้องแก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา

ขอให้ไปดูเถอะ ตื่นนอนขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป หลับก็แก้ทุกข์ ถ้าไม่หลับได้ไหม ไม่ได้ มันไม่สบาย เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยไป เราก็ต้องทำอยู่เรื่อยไป แก้ทุกข์ทั้งนั้น แต่เราไม่รู้ เวลานอนต้องแก้ทุกข์กี่ครั้ง เปลี่ยนอิริยาบถพลิกไปพลิกมากี่หน พอลงนอนท่าไหนก็ตามแล้วก็หลับเลย ไม่มีมันต้องแก้ทุกข์ท่านั้นท่านี้ ยิ่งคนแก่ๆ ด้วยละก็มีมาก ถ้าเด็กๆ อาจมีน้อย เพราะไม่ค่อยจะเมื่อยจะขบ แต่คนแก่นี่กว่าจะหลับได้ ก็ต้องหลายทอด ครั้นพอลืมตาขึ้นก็แก้เรื่อยมา ต้องล้างหน้า ต้องสีฟัน ถ้าไม่ทำมันไม่สบาย ถ่ายอุจจาระ ถ้าไม่ถ่ายก็ตาย ไม่ถ่ายปัสสาวะได้ไหม ตาย ไม่กินข้าวได้ไหม ตาย ไม่นอนหลับได้ไหม ตาย

ท่านบอกว่าทุกข์นี้มันข่มขี่ มันบีบคั้น มันทำให้เร่าร้อน มันต้องปรุงแต่งเนืองๆ นี่ลักษณะของทุกข์มันเป็นอย่างนี้ ขอให้ไปดูเถอะ กินข้าวนี่เข้าใจว่า อยากกินเท่านั้นหรือ ? ไม่อยากกินก็ต้องกิน คนเจ็บนี่ไม่อยากจะกินเลย ยิ่งไปโรงพยาบาลแล้ว เขาเอาสายยางใส่เข้าไป เพราะคนเจ็บไม่ยอมกิน กินไม่ได้แล้ว หายใจนี่ท่านก็แก้ทุกข์อยู่ทุกลมหายใจ รู้หรือเปล่าหายใจเข้าไปได้ก็ยังอยู่ ถ้าหายใจไม่เข้าก็เจ็บแล้ว หายใจออกได้ก็ยังอยู่ ชีวิตของคนเรานี่ ตั้งอยู่เพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ท่านถึงบอกว่า นักปราชญ์ ย่อมเห็นชีวิตไม่เป็นสาระ ชีวิตเป็นไปเพื่อความทุกข์ ท่านถึงได้ไม่เสียดมเสียหายอะไร ไม่ใช่ว่า จะต้องคอยบำรุงบำเรอชีวิตเอาไว้ แต่ว่า ทำบาปสร้างอกุศล ขึ้นมาเพื่อความเป็นอยู่ของชีวิต นักปราชญ์ไม่ทำอย่างนั้นเลย

ขอให้ท่านพิจารณาเถิด ก็จะประสบความจริง จะเข้าถึงอริยสัจได้ อะไรเป็นอริยสัจ ทุกข์ เป็นอริยสัจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรอีก แม้คนจะเอาขนจามรีที่ละเอียดที่สุด มาผ่าให้ได้ ๗ ส่วน การเห็นทุกข์นั้นยากยิ่งกว่า

ขอให้ไปดู ดูจริงๆ ๗ วันเท่านั้นแหละ ท่านจะต้องพบในสิ่งที่เราไม่เคยพบเลย ความรู้สึกอันนั้นไม่ใช่ว่า ได้มาจากการคิดเอานึกเอา ได้มาจากความจริงทีเดียว สภาวะเขาเป็นอยู่อย่างนั้น หากแต่ว่า เราไม่ได้ดูเท่านั้นเอง

ถ้าเราดูอยู่แล้ว ๗ วันเท่านั้นแหละ ไม่ต้องทำอะไรมาก ไม่ต้องทำอะไรอื่น ดูเฉพาะเท่านี้แหละ ดูรูปนามตามอิริยาบท แล้วเวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ขอให้รู้ว่า อิริยาบถเก่ามันเกิดทุกข์แล้ว อย่าไปเปลี่ยนโดยยังไม่ทันมีเหตุผล ยังไม่ทันรู้เหตุผลจากความจริงเสียก่อน กิเลส คือ อวิชชา จะเข้าปิดบังเลยไม่เห็นความจริง

ทีนี้คนที่ดูแล้วไม่ค่อยจะได้ผลน่ะ เพราะอะไร ? เพราะเห็นว่า เหตุผลเหล่านี้ไม่สำคัญ

วิปัสสนาต้องรู้กฎธรรมดาตามความจริง ส่วนกิเลสนั้นก็ไม่ใช่ว่าเราไปสร้างกิเลสขึ้นมา หรือเราไปสร้างอารมณ์ให้กิเลสมัน กิเลสมันก็อยู่กับรูปนามตามอิริยาบถเหล่านี้นั่นแหละ ไม่ต้องไปสร้างมาให้มัน เช่น เวลาเดิน ไม่ต้องบริกรรมว่า ยกหนอ-ย่างหนอ ไม่ต้องทำอย่างนี้นะ เพราะไม่รู้ว่าอะไรยก อะไรย่าง ไม่มีนามมีรูปเป็นตัวอารมณ์ที่ใช้กำหนด นามรูปปริจเฉทญาณ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ วิปัสสนา ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อเราก้าวไปเรารู้ตั้งแต่ก้าวไป ไปจนถึงเหยียบลงมานี่ รู้รูปเดิน อันเดียวเท่านั้นพอแล้ว ยกขึ้นมาแล้วก็ก้าวไปเท่านั้นพอแล้ว เรามีสติรู้ครั้งเดียวพอ ตั้งแต่ยกถึงก้าวไม่ต้องรู้ยกแล้วก็ทำให้ผิดปกติไป อันนั้นตัณหามันก็เข้าแล้ว มันอยากจะได้มากๆ อะไรอย่างนี้ เราจะทำให้มันผิดปกติไม่ได้ เพราะเราจะละกิเลส กิเลสมันไม่ได้ปิดตอนที่ทำอย่างนั้น กิเลสมันปิดตอนที่ทำช้าๆ ค่อยๆ น้อยๆ อย่างนั้นหรือ จึงจะได้ไปละกิเลสตรงนั้น ที่จริงแล้ว กิเลสมันมีอยู่ ตามอาการปกติธรรมดา นี่เอง

เพราะฉะนั้น เวลาเดินก็ไม่ต้อง คอยย่องย่าง แล้วก็อย่าให้เร็วเกินไปเหมือนกับเดินไปธุระ ต้องเดินเหมือนอย่างกับเดินแก้เมื่อย เดินแก้เมื่อยกับเดินไปธุระมันผิดกัน เดินแก้เมื่อยเราก็เดินไปตามธรรมดา เราไม่มีธุระอะไรรีบร้อน เดินตามธรรมดา หรือช้ากว่าธรรมดาหน่อยหนึ่งก็ได้

ความจริงนี่มันก็ไม่ยาก แต่มันยากตรงที่เรา ไม่เข้าใจ เท่านั้นเอง ของอย่างนี้มันก็มีให้ดูตลอด ๒๔ ชั่วโมง จนกระทั่งเราดูไม่ไหว แต่ทีนี้เรานี่น่ะคิดว่าไม่เห็นจะเป็นธัมมะ ธัมโมอะไรเลย ดูอิริยาบถนี่ไม่เห็นจะเป็นประโยชน์ หรือเป็นธัมมะธัมโมอะไรเลย ถ้าเราจะบริกรรมภาวนาว่า พุทโธ-พุทโธ ก็ยังจะดีเสียกว่า เพราะเป็นการเรียกชื่อของพระพุทธเจ้า นี่ก็ของธรรมดา ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไรที่คิดว่า จะต้องมีอะไรที่เป็นพิเศษขึ้นมา เป็นเครื่องล่อ เป็นเครื่องติดอะไรอย่างนั้น ก็นี่เราจะทำเพื่อละความคิดเห็นผิดๆ คือ กิเลส กิเลสอยู่ที่ไหนก็ยังไม่รู้ โน่นไปดูอยู่ตรงคนอื่นโน่น ไปเพ่งโทษของคนอื่น และคิดจะไปละกิเลสของคนอื่น กิเลสของตนมองไม่เห็น จึงคิดว่า กิเลส ที่ตัวนี่ไม่มี

ฉะนั้น ในการปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อจะละกิเลสนี่ต้องดูนามรูปที่ตัวเราเอง ไปดูนอกตัวเราไม่ได้

ทีนี้ดูที่ตัวเรานี่ ดูที่ไหน ? เราก็จะต้องเข้าใจในมหาสติปัฏฐาน บอกไว้แล้วว่า ดูที่ กาย, เวทนา, จิต และ ธรรม คือ ให้ทำความรู้สึกตัวดูนามรูปที่กำลังปรากฏอยู่ตามทวารทั้ง ๖ ที่ตัวเรานี่แหละ ซึ่งดิฉันสันนิษฐานไว้ก่อนว่า พวกเรานี่น่ะ ส่วนมากแล้วเป็นพวกกิเลสหนา ปัญญาน้อย คือ เป็นพวก มัณฑบุคคล ที่มี ตัณหาจริต เพราะอะไร ? เพราะว่า ทุกวันนี้รอบๆ ตัวนี่น่ะ เต็มไปด้วยอารมณ์ของกิเลสมากมายก่ายกองจนไม่มีเงินจะซื้อ อยากดูหนัง ดูละคร ก็หาไปแสดงที่บ้านเรา บางทีบ้านเดียวมีตั้งหลายโรง โทรทัศน์ไงล่ะคะ ทั้งสีดำ สีขาวหรือสีต่างๆ ล้วนเป็นอารมณ์ให้แก่กิเลสได้เป็นอย่างดี จึงว่า พวกเราส่วนมากนี้กิเลสหนา

ส่วนปัญญาน้อย นี่ก็เห็นได้ง่ายค่ะ เราจะหาคนที่เข้าใจในเหตุผล ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่หาได้ยากเหลือเกิน เห็นบ้างไหมคะว่า ที่ไหนเขามี สะเดาะเคราะห์ กัน บางทีก็เรียกว่า "เสริมมงคลชีวิต" หรือ "ตัดกรรม" หรือเขาบอกว่า จะทำพิธีรื้อสัตว์ ขนสัตว์ พาไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน แหม ! ผู้คนแห่กันไปล้นหลามแน่นขนัดทีเดียว เขาไปด้วยความมีเหตุผลหรือเปล่า ?

ส่วนคนที่ไปหาเหตุผล พิสูจน์สัจธรรม คำสอน ของพระพุทธเจ้า ด้วยการเจริญสติปัฎฐานมีสักกี่คน ขอฝากให้พิจารณาดูก็แล้วกันว่า คนสมัยนี้มีปัญญามากหรือ ปัญญาน้อย

ด้วยเหตุนี้ จึงได้เสนอให้พิจารณาอิริยาบถเพราะเป็นอารมณ์ที่ปรากฏชัด และมีอยู่เป็นประจำนะคะ เอาละค่ะ ที่พูดมานี้มีใครสงสัยอะไรก็ถามได้ค่ะ

หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน