เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 

   ธรรมจักร   สมาธิ แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา

รูปนามสำคัญที่สุด

ความรู้สึกนี่ ก็ต้องเอารูปนามที่เรียนมาแล้วนี่แหละ อาจารย์สอนรูป สอนนาม ให้เข้าใจกันแล้วทุกคน เข้าใจแล้วว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม อาจารย์ก็ต้องสอบที่สอนไปแล้วว่ายังจำได้ดีอยู่หรือเปล่า เวลานั้นอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม แล้วเวลานั้นจะกำหนดอะไร จะรู้อะไร เริ่มต้นใหม่ๆ ก็อาจจะลืม บางทีก็ได้ไปแต่ ๒-๓ อย่าง ที่อาจารย์สอนรูปนามนี่น่ะสอนทำไม ? สำคัญที่สุดเลย การทำวิปัสสนานี่ต้องรู้จักรูปนามเพราะรูปนามเป็นตัวกรรมฐาน เป็นตัวให้ความจริง วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญา ที่ต้องรู้รูปนามไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น รูปนามจึงสำคัญในการที่จะให้เห็น ไม่เที่ยงถ้าไม่ดูที่รูป ที่นาม แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่า รูปนามไม่เที่ยงสำคัญที่สุดเลย

ส่วนที่เขานั่งวิปัสสนากันแล้วก็เห็นพระอินทร์บ้าง เห็นเทวดาบ้างเห็นอะไรต่ออะไรบ้างมากมาย เขาก็บอกว่า วิปัสสนาธรรมเกิดแล้วถึงแล้วถึงแล้วอย่างนี้ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ใช่พระอินทร์ พระพรหมอะไร ต้องเห็นนามรูปที่ตัวเรานี่แหละไม่เที่ยง แล้วก็ไม่เป็นไปเพื่อความสุขแต่เป็นทุกข์ เวลานี้ท่านก็ยังไม่ได้เห็นว่า เป็นทุกข์อะไร ต้องไปดูแล้วถึงจะรู้ เพราะนามรูป นี่มันมีลักษณะ ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ ไปต่างๆ แล้วแต่ว่าลักษณะไหนมันจะปรากฎชัดเรากำหนดอันไหนมาก เราก็จะเห็นอันนั้นมาก

ทีนี้อาจารย์ก็สอนรูปนาม เพราะรูปนามมีความสำคัญที่จะต้องเอาไปใช้งาน เราจะทำกับข้าว เช่น จะแกงไก่ก็ต้องมีไก่ ไม่งั้นก็ไม่เป็นแกงไก่ จะตำข้าวเราก็ต้องมีข้าวละ ถ้าไม่มีข้าวเราจะตำยังไง เหมือนกับ รูปนามนี้เราต้องมีไปด้วย ไม่ใช่อาจารย์สอนเพียงแต่จะให้รู้ไว้เฉยๆ สอนไว้ เพื่อจะได้เอาไปใช้ เอาไปดู เวลาดู ท่านก็จะต้องดูรูป ดูนาม แต่ว่าขั้นต้นนี้ให้ดูรูปก่อน 4 อย่างเท่านั้นง่ายๆ ถ้ามากนักประเดี๋ยวจะจำไม่ได้ เอาไปใช้ด้วย เอาไปใช้เวลาไหน ใช้เวลาที่ไปดู ใช้เวลาทำงาน เอารูปนามไปทำงานด้วย ไปทำอย่างไร ? ใครเป็นคนทำงาน ? ใจ คือ นามที่เป็นตัวทำงาน จะกำหนดรูปนั่ง รูปนอน นี่เป็นการงานของใจที่จะต้องไปรู้รูปนั่ง รูปนอน หรือไปพิจารณารูปนั่ง รูปนอนแล้วก็เอารูปนามที่สอนไว้ให้นี่เอาไปทำงาน ไม่ใช่ว่าพออาจารย์สอนแล้ว จำได้แล้วก็อยู่ที่นี่ ถึงเวลาไปทำงานไม่เอาไปด้วย อันนี้สำคัญมาก

ความสังเกตในขณะทำงาน

ในเวลาที่กำหนด ท่านต้องมีความสังเกตว่า ถูกต้องตรงกับที่อาจารย์สอนไหมว่า เวลานั่ง ให้ทำ อย่างไร ? เวลานั่ง ให้ดู รูปนั่ง หรือให้พิจารณารูปนั่ง ดูรูปนั่งนี่ดูในท่าของกายที่ตั้งอยู่ในท่านั้นเรียกว่า นั่ง ยืนก็อีกท่าเดินก็อีกท่าหนึ่ง นอนก็อีกท่าหนึ่ง เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วก็ไปดูอาการที่นั่ง นอน ยืน เดิน ดูแล้วก็ต้องเอารูปนามที่อาจารย์สอนแล้วนี้ไปใช้ด้วย

เวลาดูนี่น่ะ ต้องรู้สึกด้วยว่า ดูรูปนั่ง คือ ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย ถ้านั่งเฉยๆ ไม่ได้ หรือดูว่า นั่งนี่ เวลานี้ นั่งเราก็รู้อยู่ว่านั่งเท่านั้นไม่ได้ ต้องมีรูปด้วย ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย รูปเฉยๆ ก็ไม่ได้ รู้ว่ารูปนั่งนี้เป็นรูป เราก็ดูรูปอย่างนี้ แต่ไม่มีนั่งก็ไม่ได้ เพราะว่า รูปนั่งกับรูปนอนนี้น่ะมันคนละรูป มันคนละอัน เช่น ตัวหนังสือนี้ เราเห็นเราก็บอกหนังสือ รู้แล้วว่า มันเป็นหนังสือ แต่ว่า ตัวอะไรเล่า ก. หรือ ข. เล่า มันไม่เหมือนกันนี่ ถ้าเราไม่รู้ว่า ก. ไก่ มีลักษณะอย่างไร ข.ไข่ มีลักษณะอย่างไร เราจะอ่านหนังสือไม่ออก เพราะว่ามันคนละตัวกัน เพราะฉะนั้น มีความสำคัญมากทีเดียว นี่ก็เหมือนกับอาจารย์ให้หนังสือไปดู ให้หนังสือไปอ่าน ไม่ใช้ให้ไปแล้วก็เอาไว้ที่อาจารย์ อาจารย์สอนเสร็จแล้วรูปนามก็คงอยู่ที่สอนนั่นแหละได้ ต้องเอาไปใช้

เพราะฉะนั้น ต้องคอยสังเกต สังเกตนี่เป็นตัวศึกษา พอกำหนดรูปนั่งลงไป ต้องสังเกตว่า ถูกตรงกับที่อาจารย์บอกไหมว่า ให้ทำความรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง ดูรูปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะว่า รูปนี่มีหลายอย่าง ดูรูปเฉยๆ นั่งก็เป็นรูป นอนก็เป็นรูป ประเดี๋ยวก็รูปมันจะเป็นอันเดียวกันอย่างนี้ไม่ได้ อันนี้ไม่ได้แน่ สำคัญมากทีเดียว สำหรับตอนใหม่ๆ นี้ก็ไม่มีอะไรสำคัญ สำคัญแต่เพียงว่า ทำความรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง เท่านั้นเอง


ฟุ้ง

ตามธรรมดาจิตเราไม่เคยอบรม มันก็เที่ยวกวัดแกว่งไป พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อะไรจะเร็วเท่ากับจิตใจไม่มี ไวที่สุดเลย เพราะฉะนั้น เป็นของอบรมยากและก็อยู่อยากด้วย ทีนี้เวลาที่เรากำหนดในรูปนั่งนี่ประเดี๋ยวมันก็ไปแล้ว ที่แรกก็รู้อยู่ว่าดูรูปนั่ง ประเดี๋ยวก็เผลอแพล็บไป ออกไปแล้ว ขณะนี้จิตใจมันก็เที่ยวอยู่ทั้งวันทั้งคืนเหมือนกัน แต่ว่า เราไม่ดูมันก็เหมือนกับว่า มันไม่ไปไหน แต่พอเราไปเข้ากรรมฐาน พอเราจะไปจับมันเท่านั้นแหละ ไปแพล็บ ไปแพล็บ นี่เพราะว่าเราดูเข้า เราจึงเห็นว่า มันไป ฟุ้งนี่เป็นอาการของจิตใจ เป็นนามธรรม เรียกว่า "นามฟุ้ง" ธรรมชาติของจิตย่อมคิดฟุ้งไปต่างๆ

เมื่อไปแล้วก็แล้วกัน ไม่ต้องไปสนใจ แล้วใจก็อย่าไปนึกว่า จะต้องอยู่ที่นี่ไม่ให้มันฟุ้ง ไม่ให้มันไป ไม่ให้มันฟุ้งไปที่อื่น จะให้มันอยู่ที่นี่ไม่ได้ ทำความรู้สึกอย่างนี้ไม่ได้ ทำความรู้สึกอย่างนี้มันเป็นที่อาศัยของกิเลสเหมือนกัน พอมันไปแล้วก็ให้ทำความรู้สึกอย่างเดียวว่า นี่หลุดไปแล้ว หลุดไปแล้วจากนั่ง ให้ดูก็ไม่ดูเมื่อไม่ดูก็กลับมาให้มันดูใหม่ ไปอีกก็ช่างก็กลับมาใหม่อย่าไปไม่พอใจมัน มันจะชักเกิดความไม่พอใจ พอเกิดความไม่พอใจแล้วยิ่งจะฟุ้งใหญ่ ทำอย่างนั้นไม่ได้ ไม่มีหน้าที่จะไปแก้ไขอะไรทั้งหมด เมื่อมันไม่อยู่ไม่ดูเราก็รู้สึกว่า อ้อ หลุดไปแล้ว กลับมาดูใหม่อีก เหมือนกับคนหัดถีบรถจักรยาน พอล้มแล้วท่านจะทำอย่างไร โกรธว่ามันล้มหรือมันไม่ควรจะล้มอย่างนั้นหรือๆ มันไม่ถูกใช่ไหม โกรธแล้วมันจะไม่ล้มอย่างนั้นหรือ ? เปล่า ! มันก็ล้ม แล้วล้มบ่อยด้วยใช่ไหม แล้วล้มบ่อยจะทำอย่างไรล่ะ จึงจะไม่ให้ล้ม มีวิธีไหนที่จะไม่ให้ล้ม ไม่มีต้องขึ้นอีกอย่างเดียวเท่านั้น ล้มแล้วขึ้นอีก ล้มแล้วขึ้นอีกจนกระทั่งชำนาญแล้ว

ทีนี้เข้าใจดีแล้ว ถูกอบรมดีแล้ว เข้าใจแล้ว ทีนี้ไปชั่วโมงสองชั่วโมงก็ไม่ล้ม อันนี้ก็อย่างเดียวกัน สิ่งที่ควรจะเข้าใจก็คือ พอมันไปแล้ว ถ้าเราไม่รู้มันจะไปนานเหลือเกิน ไปถึงตรงนั้น ไปโน่นต่อไปอีก ไปถึงบ้านต่อจากบ้านออกไปบ้านอื่นไปไหนๆ บางทีตั้งครึ่งชั่วโมง ถ้าเราสติไว พอมันไปเราก็รู้ พอรู้แล้วเราก็กลับมา เท่านั้นเอง ไม่มีหน้าที่อย่างอื่นเลย ไม่มีหน้าที่จะไปแก้ไข จะให้มันหยุด จะให้มันไปไม่ได้เลย นอกจากว่า ล้มแล้ว เราก็มากำหนดใหม่ ล้มแล้วก็มากำหนดใหม่ จนกว่าจะชำนาญรู้ท่าทาง อ้อ ถ้าอย่างนี้มันไม่ล้ม ถ้าอย่างนี้มันจะล้มอะไรอย่างนี้ แล้วทีนี้ก็จะสะดวก ขั้นแรกก็มีเพียงเท่านี้

หน้า 1 l 2 l 3 l 4 l 5 l 6 l 7 l 8 l 9 l 10 l 11 l 12 l 13 l 14 l 15 l 16 l 17

 

 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน