มีพ่อแม่เป็นอันมาก
ที่เคยลำบากมาก่อน ภายหลังพอมีกินมีใช้ก็เลยกลัวว่าลูกจะลำบาก
จึงพยายามเก็บออมทรัพย์สมบัติไว้ให้ลูก ถ้าเป็นสมัยก่อน
50 กว่าปีมาแล้ว ความคิดนี้ก็ถูกต้อง แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ถูกเสียแล้วเพราะสังคมมันเปลี่ยนไป
แล้วจะให้อะไรแก่ลูกดีล่ะ
?
ก็ให้ความรู้หรือวิชาสิ
เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ! วิชาความรู้และประสบการณ์เป็นมรดกชั้นเยี่ยมของลูก
วิชาความรู้
ลูกอาจหาได้จากโรงเรียน สถานศึกษาและสำนักวิชาชีพต่างๆ
ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนของพ่อแม่ และการที่ลูกหัดสังเกตเอาจากธรรมชาติหรือสังคมรอบๆ
ตัว
ส่วนประสบการณ์
เป็นสิ่งที่เกิดจากการฝึกหัดทำของลูกเอง อย่าให้ลูกกลัวความผิดพลาด
เพราะความผิดพลาดนอกจากจะเป็นครูที่ดีแล้ว ยังเป็นบทเรียนที่หาซื้อไม่ได้
ไม่ว่าในตลาดวิชาใดๆ ในโลก ยิ่งผิดพลาดบ่อยๆ นั่นแหละ
จะยิ่งทำให้ลูกเรายิ่งฉลาดและจะระมัดระวังยิ่งขึ้น ขออย่าได้ไปท้อใจเสียก่อน
เพราะคนที่ทำอะไรไม่ผิดนั้น ก็คือคนที่ไม่เคยทำอะไรมาก่อนเลย
และคนที่ไม่ยอมทำอะไรเลยนั้น มันจะทำอะไรเป็นหรือ ?
พ่อแม่ที่โง่เขลา
มักจะหวังให้ทรัพย์เป็นมรดกแก่ลูก ส่วนพ่อแม่ที่ฉลาดหรือมีปัญญา
ก็มักจะให้วิชาเป็นมรดกแก่ลูก โดยมีเหตุผล ดังนี้
การให้ทรัพย์สมบัติเป็นมรดกแก่ลูก
1.
ทำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของเงิน นอกจากเขาจะใช้เงินอย่างไม่ประหยัด
และไม่เป็นประโยชน์แล้วเขายังไม่มีปัญญาจะหาเงินมาเพิ่มเสียอีกด้วย
พอหมดเงินก็หมดปัญญาที่จะหาเลี้ยงปากท้อง ถ้าเขาไม่มรดกอื่นที่จะผลาญจากพ่อแม่อีกเขาก็จะต้องหากินในทางพึ่งคนอื่นหรือจนตรอกเข้าจริงๆ
ก็จะหากินในทางทุจริตเพราะเขาไม่มีความมั่นใจในฝีมือทางสัมมาชีพ
2.
ลูกจะไม่เกิดความพยายาม เพราะหวังพึ่งมรดกจากพ่อแม่
ไม่คิดที่จะพึ่งตนเอง แม้จะพยายามพึ่งตนเอง แต่พอเห็นงานหนัก
หรือเหนื่อยหน่อยก็ท้อถอยเสียแล้ว พ่อแม่ที่เก็บทรัพย์ไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกนั้นจะทำให้ลูกอ่อนแอ
เลี้ยงไม่รู้จักโต จะเป็นคนหนักก็ไม่เอาเบาก็ไม่สู้
อันเกิดจากพ่อแม่คอยถนอมมาแต่เล็ก
3.
ทรัพย์สมบัติวัตถุต่างๆ เป็นของไม่แน่นอน แม้ลูกจะรู้จักเก็บและรู้จักใช้จ่ายอย่างดี
มันก็ยังไม่ปลอดภัย ขึ้นชื่อว่าวัตถุทุกชนิด ไม่มีอะไรจะปลอดภัยแม้ร่างกายของเราเองก็ยังไว้ใจไม่ได้
ว่ามันจะพิการเจ็บไข้หรือแตกดับในวันไหน ? ยิ่งคนที่ไม่ได้หาทรัพย์มากับมือของตนเอง
ก็ยิ่งจะประมาทได้ง่าย เผลอใช้ไม่ระวัง วันหนึ่งก็อาจหมดโดยไม่ทันรู้ตัว
แต่ถ้าคนที่หาทรัพย์มาด้วยตัวเองก่อนใช้ก็ย่อมจะคิดหลายชั้น
ทรัพย์สินจึงหมดยากหรือแม้หมดไปเขาก็จะหามาเพิ่มได้ไม่ยากเลย
ก็คนมันเคยหามาเองกับมืออยู่แล้ว
4.
ทรัพย์สมบัติเป็นของกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วและไม่อาจจะทำให้คนดีหรือคนชั่วได้
ถ้าคนชั่วก็ย่อมจะใช้เงินไปในทางทำลายตนเอง ถ้าคนดีก็ย่อมจะใช้เงินให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุดเท่าที่ทรัพย์จะอำนวยให้ได้
5.
ลูกที่ร่ำรวยมาด้วยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่นั้น ลูกจะไม่เกิดความภูมิใจและจะไม่มีความมั่นใจในตนเอง
เพราะไม่เกิดจากสติปัญญาหรือความรู้ความสามารถของตนเอง
และคนทั่วไปก็ย่อมจะไม่ยกย่อง อีกประการหนึ่ง ถ้าเป็นลูกโง่
(บางคน) เขาก็อาจจะเก็บทรัพย์ไว้บูชา ไม่ยอมใช้ง่ายให้เกิดประโยชน์อันใด
แถมจะก่ออันตรายแก่ตนเสียด้วย
การให้วิชาเป็นมรดกแก่ลูก
1.
ทำให้ลูกต้องใช้วิชาหาเงินจนสุดความสามารถ ถ้าเขามีความรู้ดี
แล้วยังหาเลี้ยงตัวเองหรือครอบครัวไม่ได้ ยังต้องพึ่งพ่อแม่อยู่อีก
วิชาความรู้ของเขาก็ไร้ค่า แสดงว่าเขายังมีความบกพร่องในส่วนอื่นๆ
อยู่เช่น ขาดความเพียร ขาดความอดทน ขาดสัจจะ และขาดปัญญา
เป็นต้น
2. การให้วิชาแก่ลูก ควรแนะแนวให้ลูกเรียนวิชาที่จะพึ่งตัวเองได้
ไม่ควรให้ลูกฝากชีวิตไว้กับราชการหรือบริษัท แต่ควรที่จะให้เรียนหรือฝึกให้ลูกสร้างงานขึ้นมาได้เอง
ในโลกนี้ยังมีงานที่คนยังไม่คิดและไม่ทำกันอีกมากมาย
เหตุใดจึงจะไปคิดแย่งงานที่เขามีอยู่ก่อนแล้ว ขอให้มั่นใจเถิดว่า
มีคนที่ไหนงานก็ย่อมจะต้องมีอยู่ที่นั่น ขอให้ใช้ วิมังสา
หรือ ปัญญา เถิด แล้วงานมันจะออกมาจากสมองเองแหละอย่าคิดไปเที่ยวแย่งงานคนอื่นเขาอยู่เลย
3.
การที่พ่อแม่ให้วิชาแก่ลูกแล้ว ลูกก็ยังไม่รู้ว่าจะหางานอะไรทำดี
หรือหางานทำไม่ได้ก็ควรปล่อยให้เขาอดตายเสียเถิด จงดูแต่พ่อแม่สวนใหญ่สิปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพไม่ต้องพูดถึงบางคนจบแค่
ป.4 หรือไม่ได้ ป. เลย เขายังสร้างงานเป็นล้านร้อยล้านหรือพันล้านได้
ในเมืองไทยก็มีตัวอย่างอยู่แล้วมากมาย ก็ในเมื่อลูกเราเรียนจนได้ปริญญา
บางคนได้ถึงปริญญาเอก ถ้าเขายังเลี้ยงตัวไม่รอด ก็ควรจะปล่อยให้เขาอดตายเสียเถิด
อย่าได้ไปสงสารหรือช่วยเหลือเขาเลย อายตาแป๊ะขายเต้าฮวยเปล่าๆ
!
4.
วิชาความรู้เป็นสิ่งที่ไม่วิบัติ ส่วนทรัพย์สมบัติมีทางวิบัติได้ง่าย
แต่วิชาไม่มีการวิบัติแน่ และใช้ไม่รู้จักหมดด้วย การให้วิชาแก่ลูกจึงดีกว่าการให้อะไรทั้งหมด
แต่วิชาจะวิเศษก็ควรจะต้องมีธรรมะกำกับด้วย
5.
การให้วิชาเป็นการท้าทายความสามารถของลูกที่ดี ถ้าเขาสามารถใช้วิชาเลี้ยงตัวได้
เลี้ยงครอบครัวหรือพ่อแม่ได้ด้วยก็วิเศษ ถ้าเขาไม่อาจจะเลี้ยงตัวเองและผู้อื่นได้
แม้เราจะให้สมบัติเขาก็ย่อมจะรักษาไว้ไม่ได้ สรุปแล้วเป็นอันยุติว่า
การให้วิชาความรู้ย่อมดีกว่าการให้ทรัพย์สมบัติแก่ลูก
ชนิดไม่อาจจะเปรียบเทียบกันได้เลย
การกวดขันบังคับลูกเกินไป
ก็จะทำให้ลูกเครียด
การปล่อยตามใจลูกเกินไป ก็จะทำให้ลูกขี้เกียจ