เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ พระอานนท์พุทธอานุชา ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ
 
๑๒. สุทัตตะสร้างอารามเชตวัน

           พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยแล้ว ทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า

           "ดูก่อนสุทัตตะ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบมาสู่โลก"

           "ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" พระอานนท์กล่าวต่อไป 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มือ เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้"

           อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาเสด็จไป

           เมื่อถึงสาวัตถีแล้ว อนาถปิณฑิกะก็มองหาสถานที่จะสร้างอารามถวายพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ เห็นที่อยู่แห่งหนึ่งเป็นสวนของเจ้าชายในราชตระกูล ผู้ทรงพระนามว่า "เชตะ" ได้ลักษณะควรเป็นอารามสำหรับพุทธนิวาส คืออยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้าน มีทางเข้าออกได้สะดวก ไม่อึกทึกในเวลากลางวัน และเงียบสงัดในเวลากลางคืน ห่างจากหมู่บ้าน เหมาะสำหรับเป็นที่สำราญพระอิริยาบถของพระตถาคตเจ้า และเป็นที่ตรึกตรองธรรมอันลึกซึ้งสำหรับภิกษุสงฆ์

           อนาถปิณฑิกะได้เข้าเฝ้าเจ้าชายเชตะขอซื้อสวนสร้างอาราม เบื้องแรกเจ้าชายทรงปฏิเสธ แต่เมื่อเศรษฐีขอร้องวิงวอนหนักเข้า ก็ทรงยอม แต่ทรงโก่งราคาแพงเหลือหลาย ถึงกับว่าถ้าจะซื้อให้ได้ก็ต้องให้ราคาเท่ากับเอาทองไปปูลงให้เต็มสวนนั้น ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงดำริว่าถ้าราคาแพงเกินไป เศรษฐีคงไม่ซื้อ แต่พระองค์ทรงเข้าพระทัยผิดไป เศรษฐียอมตกลงซื้อ เมื่อตกลงแล้วก็วัดเนื้อที่ชำระเงินเป็นตอนๆ ไป เหลือเนื้อที่อยู่อีกนิดหน่อยซึ่งเศรษฐีกำหนดไว้ว่า จะทำซุ้มประตูตรงนั้น พอดีเงินหมด เศรษฐีกำลังจะไปยืมเพื่อนที่สนิทไว้ใจกันคนหนึ่งมา เจ้าชายเชตะทรงเห็นใจและสงสารเศรษฐี จึงทรงยกเนื้อที่ตรงนั้นให้ เมื่อสร้างอารามเสร็จแล้วก็ถึงเวลาทำซุ้มประตู เศรษฐีดำริว่าเจ้าชายเชตะมีคนเคารพนับถือมากในพระนครสาวัตถี ถ้ามีชื่อเจ้าชายอยู่ด้วยจะเป็นประโยชน์มาก จึงให้ยกป้ายขึ้นว่า "เชตวัน" แต่คนทั้งหลายมักจะต่อท้ายว่า "อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี" ด้วยประการฉะนี้

           อันว่าเชตวันนี้เป็นอารามที่สวยงามที่สุด และใหม่ที่สุด อนาปิณฑิกะให้สร้างกุฏิวิหาร ห้องประชุม ห้องเก็บของ ขุดสระใหญ่ปลูกบัวขาว บัวขาบ บัวหลวง บัวเขียว บานสะพรั่ง ชูดอกไสว ปลูกมะม่วง เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังมีพันธุ์ไม้หลายหลากเป็นทิวแถว ที่ทำเป็นซุ้มเป็นพุ่มก็มี สะอาด สวยงาม และร่มรื่น ต้นไม้ส่วนมากมีผลอันจะเป็นประโยชน์แก่ภิกษุสามเณร รวมความว่าเชตวันเป็นอารามที่น่าอยู่น่าอาศัย มีสัปปายธรรมพร้อมทั้ง ๔ ประการคือ

           ๑. เสนาสนสัปปายะ ที่อยู่อาศัยสบาย

           ๒. ปุคคลสัปปายะ มีมิตรสหายดี มีผู้เอาใจใส่พอควร

           ๓. อาหารสัปปายะ มีข้าวปลา อาหารบริบูรณ์

           ๔. ธัมมสัปปายะ มีธรรมเป็นที่สบาย ข้อนี้หมายความว่า ธรรมที่จะปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณเบื้องสูงเหมาะแก่จริตอัธยาศัย และมีเรื่องราวต่างๆ โน้มน้อมใจไปเพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อพยายามมิให้อกุศลที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น เพื่อทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดมี และเพื่อรักษากุศลที่เกิดแล้วให้คงอยู่และเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

           ดูก่อนอาคันตุกะ! กล่าวเฉพาะอย่างยิ่งประการที่ ๒ คือ ปุคคลสัปปายะนั้น ท่านอนาถปิณฑิกะ นอกจากจะถวายอารามแล้วยังบำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยปัจจัยอื่นๆ อีกเช่น จีวร อาหาร และยารักษาโรค ท่านจะไปเฝ้าพระศาสดาทั้งเช้าและเย็น เมื่อไปตอนเช้าก็จะนำอาหาร เป็นต้นยาคูและภัตต์ เมื่อไปในเวลาเย็นก็จะนำปานะชนิดต่างๆ ไป เป็นต้นว่า น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย ท่านไม่เคยไปมือเปล่าเลยด้วยละอายว่าภิกษุหนุ่มและสามเณรจะดูมือ เมื่อไปเฝ้าก็ไม่เคยทูลถามปัญหาพระศาสดาเลย เพราะท่านคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เคยเป็นกษัตริย์สุขุมมาลชาติและบัดนี้ก็เป็นพระพุทธเจ้าสุขุมมาล ถ้าจะถามปัญหาพระองค์ก็จะทรงดำริว่า เศรษฐีเป็นผู้มีอุปการะมากต่อเรา แล้วจะทรงแก้ปัญหาด้วยความตั้งพระทัย จะทำให้พระองค์ทรงลำบาก

           "ดูก่อนอาคันตุกะ! พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยอันนี้ของเศรษฐีแล้วทรงดำริว่า เศรษฐีนี้เกรงใจเราในฐานะที่ไม่ควรจะเกรง ก็เราบำเพ็ญบารมีมาเป็นเวลายืดยาวนาน เคยควักลูกนัยน์ตา เคยตัดศีรษะอันประดับประดาแล้วด้วยมงกุฎ และเคยสละอวัยวะอื่นๆ ตลอดถึงชีวิต ให้เป็นทาน บารมี ๑๐ เราบำเพ็ญมาแล้วอย่างเข้มงวดและบริบูรณ์ ก็ด้วยจุดประสงค์ที่จะขนสัตว์ในสังสารสาครขึ้นสู่ที่อันเกษม คือ พระนิพพาน ทรงดำริเช่นนี้ก็แสดงธรรมแก่เศรษฐีพอสมควรทุกครั้งที่เขาไปเฝ้า

           "ดูก่อนพงค์พันธุ์แห่งอารยะ! นอกจากท่านอนาถปิณฑิกะแล้วยังมีคนอื่นๆ อีกมากที่เคารพเลื่อมใสในพระศาสดาแลภิกษุสงฆ์ ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นกำลังสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา ช่วยบำรุงรักษา และการเผยแผ่คำสอนของพระตถาคตเจ้า เป็นต้นว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกา นางสุปปวาสา นางสุปปิยา ตลอดไปถึงพระราชาธิบดีปเสนทิโกศล และพระนางมัลลิกาอัครราชชายา"

           "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรตอันประเสริฐ!" พระกัมโพชะกล่าวขึ้น "ข้าพเจ้าเคยได้ยินชื่อเสียงของท่านเหล่านี้บ้างเป็นบางท่าน แต่ไม่ทราบรายละเอียด ถ้าท่านจะกรุณาอนุเคราะห์เล่าแก่ข้าพเจ้าบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง".

 

 

สารบัญ
๑. ในที่ประชุมสงฆ์ ณ เชตวันมหาวิหาร ๑๘. ปฏิกิริยาแห่งธัมโมชปัญญา
๒. ๑๙.
๓. พุทธุปฐากผู้เป็นบัณฑิต ๒๐. ปุพพูปการของพระพุทธอนุชา
๔. ๒๑.
๕. ๒๒.
๖. ความรัก - ความร้าย ๒๓. คราวเมื่อทรงปลงพระชนมายุสังขาร
๗. ๒๔.
๘. โกกิลาผู้ประหารกิเลส ๒๕. ปัจฉิมสาวกอรหันต์และพวงดอกไม้มาร
๙. ๒๖.
๑๐. ณ ป่าประดู่ลาย ๒๗. อุปกาชีวกกับพระอนันตชิน
๑๑. ๒๘.
๑๒. สุทัตตะสร้างอารามเชตวัน ๒๙. วันหนึ่งก่อนวันประชุมสังคายนา
๑๓. ๓๐.
๑๔. มหาอุบาสิกานามวิสาขา ๓๑. จุตรงคพลและวิมลมาน
๑๕. ๓๒.
๑๖. นางบุญและนางบาป ๓๓. ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ
๑๗.  
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน