เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร สมาธิ สมาธิ (ท่านธรรมรักษา) ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
สมาธิประยุกต์

         สมาธิ มีคุณอนันท์สารพัดอย่าง ใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ควรแนะนำและฝึกหัด ให้ทุกคนรู้ถึงคุณของสมาธิ ตั้งแต่พอพูดกันรู้เรื่อง จนถึงปัจฉิมวัยเลย

          เพราะสมาธินอกจากช่วยเสริม ให้เกิดประสิทธิภาพในทุกรูปแบบแล้ว ยังเป็นสื่อให้เกิดความคิด และสติปัญญาที่สุขุมคัมภีรภาพอีกด้วย


          ในหนังสือเล่มน้อยนี้ ไมีอาจจะนำเอาสาระของสมาธิ มาลงไว้ได้หมด และแม้วิธีทำสมาธิปลีกย่อยก็ไม่อาจจะลงรายละเอียดได้ เพียงเท่าที่ลงไว้นี้ ก็ออกจะเป็น “ส่วนเกิน” สำหรับบางท่านไปแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องทำทุกแบบให้ครบ เพียงแต่ว่าควรอ่านผ่านไปให้ครบทุกแบบก่อน

          เมื่อเห็นว่าวิธีไหนถูกกับจริต ทำง่ายและทำได้ทุกที่ ก็จงทำตามแบบนั้นเถิด ถ้าทำครบทุกวิธีแล้ว แต่ไม่ทำจริงจัง และให้เวลาพอสมควรแล้ว การทดลองเพียงผิวเผินมันได้ความรู้จริง แต่ก็จะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้กลายเป็น “ไอ้บ้าหอบฟาง” ไป เข้าทำนอง “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” ก็เสียเวลาเปล่า

          การที่ต้องนำมาลงไว้หลายแบบ ก็เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่มีรสนิยมหรือจริตต่างๆ กัน และจะได้ไม่ต้องไปค้นหาตำราเป็นตู้ ๆ ให้เสียเงินและเวลาโดยไม่จำเป็น แต่ก็ขอ “ออกตัว” ไว้ก่อนว่า หนังสือเล่มนี้ยังไม่ใช่หนังสือคู่มือฝึกสมาธิสมบูรณ์แบบ เป็นแต่เพียงแนวทางช่วย “ปูพื้นฐานสมาธิขั้นต้น” ให้เท่านั้น แต่ประโยชน์ที่ได้ จากสมาธิขั้นพื้นฐานนี้ ท่านอาจจะเอาไปใช้สารพัดอย่าง ขอแต่ว่าให้ท่าน “ประยุกต์” เอามาใช้ให้ถูกต้องเถิด เพื่อรับรองผลประสงค์ จึงขอนำเอาประสบการณ์ตรงมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

          1. การนอนหลับง่าย ต้นเหตุที่คนนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก เกิดจากความคิดฟุ้งซ่าน แล้วไม่มีอุบายที่จะระงับมัน ขอให้ทำดังนี้

          ก. ปรับสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศ เสียง แสง อุณหภูมิ อาหาร เสื้อผ้า รวมถึงบุคคลต่าง ๆ ให้ถูกกับจริตนิสัย และความเคยชิน

          ข. ปรับความคิด เช่น จัดและทำ ในสิ่งที่ต้องห่วงและกังวลต่าง ๆ อย่าให้เกิดความข้องใจ หรือสงสัยได้

          ค. ปรับจิตใจ เมื่อลงนอนแล้ว จงคลายประสาททุกส่วน อย่าให้ส่วนใดแกร็ง ท่านอนหงาย เป็นท่าที่สะดวกแก่การทำสมาธิ ถ้าท่านี้หลับยากไม่ถนัด เมื่อทำจนง่วงแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนไปนอนในท่าที่ถนัด

          วางมือทั้งสองซ้อนหรือประสานไว้บนอก หลับตา หายใจเข้า-ออกลึกๆ 3 ครั้ง เริ่มเอาจิตจับไว้ที่ลมหายใจ ไม่ควรตามลมเข้า – ออก ลองทำดูสักพักหนึ่ง ถ้าจิตยังไม่สงบ ให้เพิ่มเลขนับเข้าไปด้วย หรือจะใช้พุท-โธเข้าร่วมด้วยก็ได้ ถ้าจิตเริ่มสงบก็ให้ปล่อยเลขที่นับทันที

          ถ้าจิตยังไม่ยอมสงบอีก ให้ใช้วิธีนับเป็นคาบ ทุ สะ นิ มะ วิธีนี้ต้องสงบแน่ๆ ถ้าเราไม่ขี้เกียจทำเสียก่อน เมื่อนับเป็นคาบจนจิตเริ่มจะสงบ ให้เปลี่ยนมากำหนดลมหายใจ หรือใช้พุท-โธแทน

          2. รักษาโรค สมาธิสามารถกัน และแก้โรคต่างๆ ได้มาก เช่น โรคประสาทอันเกิดจากความเครียด โรคหัวใจ โรคความดันเลือด โรคกระเพาะ เป็นต้น

          ก่อนอื่น ควรศึกษาสมุฏฐานของโรคต่าง ๆ ให้รู้สาเหตุก่อนว่า เกิดจากการบกพร่องทางกายล้วน ๆ หรือมีต้นเหตุมาจากจิตและประสาท โรคที่สมาธิแก้ได้ต้องเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับจิตและประสาทโดยตรง โรคทางกายแก้ได้โดยอ้อม มีวิธีปฏิบัติดังนี้

          ก. เพ่ง คือ รวมจิตให้เป็นสมาธิขั้นพื้นฐานนั่นแหละ แล้วเพ่งไปที่จุดของความเจ็บปวด เอาความเจ็บปวดนั้นเป็นอารมณ์ เพ่งให้นานราว 3 ถึง 5 นาทีแล้วก็หยุด ให้ทำวันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้าสมาธิแรงมาก ก็จะหายไปในทันที

          เรื่องสมาธิ เป็นเรื่องจริงที่ลึกลับ และประหลาดมาก ผู้ที่ยังไม่เคยประสบด้วยตนเอง อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องหลอกเด็ก ผู้เขียนเคยเห็นผิดดังว่า มาก่อนแล้ว

          ข. พราก คือ ไม่สนใจ ไม่เอาใจใส่ ไม่นึก ไม่คิดถึงความเจ็บปวดนั้น ๆ เมื่อปวดเจ็บขึ้นมา ก็เบนความสนใจไปคิดเรื่องอื่น ให้มันลืมไปเสีย แกล้งไม่สนใจมัน ทำใจให้สดชื่น ร่าเริง เป็นต้น

          ถ้าจะรักษาทางยา ก็ให้รักษาไปได้ แต่ต้องถอนความยึดมั่นผูกพัน ความกังวลออกให้หมด ให้มีแต่หน้าที่ล้วน ๆ ที่ต้องทำไป บางโรคจะเห็นว่า มันไม่น่าหายเอง มันก็หายไปเอง โดยไม่ได้รักษาเลย

          3. ส่งโทรจิต คือ เมื่อเราคิดถึงใคร อยากให้เขาคิดถึงเราหรือมาหาเรา จงกะเวลาที่เขาว่าง หรือเขากำลังนาน (ยังไม่หลับ) สำรวมใจให้เป็นสมาธิ แล้วส่งไปจี้บ่อย ๆ ในที่ที่เราคิดว่าเขาจะอยู่ตรงนั้น แล้วให้จำวันและเวลานั้นไว้ เมื่อพบกันให้ถามดู ส่วนมาในวันนั้นและเวลานั้น เขาก็จะคิดถึงเราเช่นกัน

          4. ส่งเมตตา คือ เอาสมาธิผสมกับเมตตา ส่งไปที่สัตว์ต่าง ๆ ส่งบ่อย ๆ เป็นประจำ สัตว์นั้น ๆ ก็จะเชื่อง เช่น นกประปูด นกกางเขนดง นกแซงแซว หมา* เป็นต้น บางประเภทที่สื่อยากมันก็ไม่เชื่อง

เวลาและชีวิตเป็นของมีค่า เมื่อศึกษาเรื่องใดๆ แล้ว ก็ควรจะประยุกต์เอามาใช้ให้คุ้มค่าด้วย การติดในรูปแบบว่า การทำสมาธิจะต้องนั่งหลับตาเสมอไปนั้น มันเป็นเรื่องล้าสมัยเกิน “เต่าล้านปี” ไปแล้ว.

* สัตว์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นสัตว์ที่มี อาศัยอยู่บริเวณถ้ำสติของผู้เขียน

 

   

สารบัญ
  บทนำ   สมาธิจากเสียงเพลง
  ประโยชน์ของสมาธิ   สมาธิประยุกต์
  สมาธิในชีวิตประจำวัน   ลืมตาทำสมาธิ
  สมาธิคืออะไร?   สมาธิรุ่งอรุณของปัญญา
  สมาธิทำยากจริงหรือ?   เคล็ดลับการทำสมาธิ
  แบบกำหนดลมหายใจ   ส่งท้ายสมาธิ
  แบบใช้วัตถุกำกับ   คำแผ่เมตตา
  แบบนับเป็นคาบ   คำกรวดน้ำ
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน