เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   สมาธิ สมาธิ (ท่านธรรมรักษา) ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
สมาธิจากเสียงเพลง

           เสียงเพลง ที่จะมีส่วนเสริมให้เกิดสมาธิ ควรจะเป็นเพลงที่ฟังแล้วทำให้จิตใจสงบ เย็น ไม่ปลุกหรือเร้า ให้เกิดอารมณ์ โดยเฉพาะเพลงไทยที่ไม่มีเนื้อร้อง หรือมีเนื้อร้อง แต่ฟังแล้วบรรเทาราคะ เกิดใจผ่องใส น้อมไปในความดีงาม หรือความสังเวช สลดจิต เกิดเบื่อหน่าย คลาย ปล่อย วาง จากความยึดมั่นลงได้

           แต่ในที่นี้ มุ่งเฉพาะให้จิตสงบเท่านั้น ผู้ฟังจึงจำเป็นต้องเลือกเพลงให้ถูกกับจริตของตนด้วย มิฉะนั้นบางเพลงนั่นแหละจะยิ่งยั่วยุให้จิตฟุ้งซ่านมากขึ้น

           จากประสบการณ์พบว่า เพลงไทยส่วนมากไม่ว่าเดี่ยวหรือผสม มีส่วนเสริมให้จิตสงบได้มากในบางโอกาส ขอเน้นว่า “บางโอกาส” ไม่ใช่เสมอไป และในบางคนด้วย ไม่ใช่ทุกคน

           เราต้องยอมรับความจริงว่า ผู้ที่เป็น “ปุถุชนเต็มขั้น” นั้น ย่อมมีกิเลสตัณหาหนาแน่น ในบางครั้งบางโอกาส ไม่ว่าชาวบ้านหรือนักบวช ถ้าไม่รู้จัก “มายาจิต” เอาแต่หลับตาเคร่งศีลและสมาธิ ข่มและบังคับอย่างงมงาย ไม่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ให้กิเลสอย่างกลางได้เสวยบ้างแล้ว ก็มักจะไม่แคล้วโรคประสาทหรือถึงกับ “ตามทั้งเป็น” ก็เห็นมามากแล้ว

           เสียงเพลง จึงเป็นหนึ่งในหลายๆ อย่าง ในอุบาย “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดี” ที่ผู้เขียนใช้ได้ผลดีมาตลอด แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็อย่าลืม “กำพืด” เดิม คือสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมมาแต่เด็กด้วย

           เรื่องของจิต เป็นเรื่องสึกสับซับซ้อนซ่อนเงื่อน มีบางครั้งและบ่อยครั้ง ที่ “ค้นหาต้นเหตุ” ไม่พบเลยจริง ๆ ว่าจิตเกิดหงุดหงิด เศร้าหมอง ขุ่นมัว เหงา ซึม และเซ็ง ด้วยเหตุใด ?

           แต่ต้องนับว่า “โชคดี” ที่ผู้เขียนสนใจเรื่องสติและปัญญาเป็นพิเศษ เมื่อเกิดเหตุดังกล่าว แล้วค้นหาสาเหตุไม่พบ ก็ไม่ต้องไปค้นมัน คอยเอา “สติ” ระลึก และ “สัมปชัญญะ” รู้สึกอยู่เสมอ ระลึกรู้ดูมันไป ดูลูกเดียว ไม่ต้องทำอะไรไม่นานนักมันก็หายไปหรือเปลี่ยนไปตามกฎ “อนิจจัง” อย่าได้วิตกกังวลเลย

           เมื่อเกิดเหตุดังว่า จะหวังพึ่งสมาธิน่ะหรือ ? ขอไว้ชาติหน้าตอนดึก ๆ ก็ยังไม่เจอ เพราะถ้าจิตมีสมาธิตั้งมั่นจริง อารมณ์ดังว่ามันก็เกิดไม่ได้

           ดังนั้น ผู้ที่มีจิตไม่สงบ และยังมีบารมีไม่พอที่จะทำสมาธิ หรือเห็นว่าสมาธิเป็นเรื่องของคนแก่หรือของคนโบราณล้านปี จะหันมาใช้เพลงบางประเภทช่วยกล่อมจิตให้เกิดความสงบได้ในบางครั้งบางโอกาส ก็ไม่น่าจะว่ากันมิใช่หรือ ?

           เขียนอย่างนี้ อาจจะมีบางคนที่เคร่งศีลแบบหลับตา แย้งได้ว่า
           “เอ๊ะ ! เป็นเพราะเถรเณรชี ฟังเพลงได้หรือ ?”

           ก็ขอตอบด้วยความมั่นใจว่า
           “ได้ !” ไม่ผิดศีลหรอก แต่ว่า “ควรหรือไม่ควร” นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เพราะในกฎของศีล 8 ก็ระบุไว้แล้วว่า “ดูการเล่น ชนิดที่เป็นข้าศึกต่อกุศล” การฟังเพลงที่ไม่ทำให้เกิดกุศล แต่ทำให้จิตใจดีงานนั้น นอกจากไม่ผิดศีลแล้ว ท่านว่าเป็นสิ่งสมควรด้วยซ้ำ

           แต่ทั้งนี้ จะต้องขึ้นอยู่กับกับกาละ เทศะ ด้วย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็น “ทางออก” ที่ “ควรปิด” ของบางคนไป ผลเสียก็ย่อมจะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมอย่างไม่ต้องสงสัย

           บรรดาของทุกสิ่งในโลกนี้ ย่อมจะมีทั้งคุณและโทษ เป็นสองด้านเสมอไป ผู้มีปัญญาย่อมจะใช้ในด้านที่เป็นคุณ ส่วนผู้ที่อ่อนปัญญา ก็มักจะพอใจใช้ในด้านที่เป็นโทษ

           แม้ในตัวสมาธิเอง ผู้ที่ขาดปัญญาก็อาจใช้ให้เกิดโทษ ที่เรียกว่า “มิจฉาสมาธิ” ได้ แต่ถ้ามีปัญญากำกับในการเจริญสมาธิ ผลก็ย่อมจะออกมาในรูปของ “สัมมาสมาธิ” มีแต่คุณเพียงส่วนเดียว ไม่มีโทษเลย.

การปฏิบัติธรรมทางจิต เช่น การเจริญสติ
สมาธิ และวิปัสสนา เป็นต้น ที่จะให้เกิดผลดีโดยรวมเร็วนั้น
ต้องทำให้ต่อเนื่องเป็นสายให้มากที่สุด
ในทุกอิริยาบทของชีวิตประจำวัน
ถ้าทำเพียงเช้าหนเย็นหน แบบเช้าชามเย็นชาม
ก็ย่อมปรากฎผลช้า
เพราะช่วงที่ละเว้นหรือหลงลืมปฏิบัติมีมากกว่า
แต่ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำเสียเลย

โสตสมาธิ
           โสตสมาธิ คือ สมาธิทางเสียง จะเป็นเสียงอะไรก็ได้ที่เราได้ยินแล้ว เกิดความสงบใจ เช่น เสียงพระเทศน์ เสียงสวดมนต์ เสียงลมพัด เสียงเพลง เสียงดนตรี ….

           ผู้ที่มีกายห่างวัด ใจห่างธรรมะ เสียงประเภทนี้ก็จะช่วยให้จิตสงบได้บ้าง แต่ความสงบนั้น ยังไม่ใช่ความสงบอย่างแท้จริง ยังเป็นความสงบที่เคลือบด้วยอามิสหรือกามคุณ ทำให้จิตขาดความเป็นอิสระ

           ดังนั้น ผู้ที่ติดอยู่กับโสตสมาธิ ควรพยายามเลื่อนชั้นให้ขึ้นมาสู่ “สุญญสมาธิ” คือ สมาธิที่ว่างจากความยึดถือ เพราะนอกจากจะได้สัมผัสกับความสุขที่แท้จริงแล้ว ยังใช้เป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนาได้อีกด้วย.

* โสตสมาธิ เป็นศัพท์ที่ผู้เขียนตั้งขึ้นเอง

 

   

สารบัญ
  บทนำ   สมาธิจากเสียงเพลง
  ประโยชน์ของสมาธิ   สมาธิประยุกต์
  สมาธิในชีวิตประจำวัน   ลืมตาทำสมาธิ
  สมาธิคืออะไร?   สมาธิรุ่งอรุณของปัญญา
  สมาธิทำยากจริงหรือ?   เคล็ดลับการทำสมาธิ
  แบบกำหนดลมหายใจ   ส่งท้ายสมาธิ
  แบบใช้วัตถุกำกับ   คำแผ่เมตตา
  แบบนับเป็นคาบ   คำกรวดน้ำ
   
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน