วันเวลาปัจจุบัน 07 ธ.ค. 2024, 00:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม กรุงเทพมหานคร ได้เลยครับ


เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร
http://bangkok.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร (วัดธรรมมงคล)
สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
เลขที่ 132 ถ.สุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 02-332-4145, โทรสาร 02-730-6335


สถาบันพลังจิตตานุภาพ โทร. 02-311-1387, 02-311-3903
ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ โทร. 02-741-7822


พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาส

วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันขึ้นกับกระทรวงวัฒนธรรม) เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2506 เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร วัดธรรมมงคลเป็นที่ตั้งของ สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) และศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ อันมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่หลักการบำเพ็ญสมาธิ ทั้งสมถะและวิปัสสนา

ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

เป็นอาคารเพื่อการบำเพ็ญสมาธิที่มีความเพียบพร้อมทุกประการ ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของวัด ในหมู่บ้านรังสิยา ใกล้พระมหาเจดีย์ฯ เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ 600 ตารางวา เพื่อช่วยให้ฆราวาสผู้มาปฏิบัติธรรม มีที่พักที่สัปปายะ ภายในมีห้องพักแบบโรงแรม 80 ห้อง จุผู้มาปฏิบัติได้ประมาณ 180 คน แบ่งห้องพักเป็นกลุ่มๆ เพื่อไม่ให้แออัดและไม่รบกวนกัน มีทั้งห้องเดียว ห้องคู่ และห้องรวมสำหรับครอบครัว ทุกห้องมีเตียง มีที่นอนสปริง หมอน ผ้าปูที่นอน ตู้เสื้อผ้า และติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องนั่งสมาธิเป็นคณะ บริเวณจงกรม มุมหนังสือธรรมะ ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ห้องสนทนาธรรม ห้องสุขา ห้องครัว และมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำวิธีการบำเพ็ญสมาธิ พร้อมทั้งโปรแกรมประจำวัน

จุดประสงค์ของศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

1. ต้องการเผยแพร่สมาธิอย่างกว้างขวางแก่ทุกๆ คนให้มีความสงบและสุขใจ
2. เพื่อความสะดวกแก่ผู้ประสงค์ทำสมาธิ เพราะว่าปัจจุบันมีคนจำนวนมากต้องการจะทำสมาธิ แต่ไม่ทราบจะไปที่ไหน จะหาครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ลำบากด้วยสถานที่ ทั้งไม่รู้จักใครบ้าง ไม่มีอิสระบ้าง เป็นต้น เมื่อมาที่ศูนย์สมาธิก็จะมีความสบายใจ
3. เพื่อพักผ่อนทางใจ เพิ่มพูนพลังจิต พร้อมเพิ่มสมรรถนะทางใจให้มีความแกร่งสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน
4. ให้บังเกิดความสุขพิเศษ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าไม่มีความสุขใดเท่าทำใจเราให้สงบสุขได้ เมื่อให้โอกาสแก่ทุกคนได้ศึกษาใจตนเองเพราะความสุขความทุกข์อยู่ที่ใจเรา

รูปภาพ

นครธรรมและสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute)

ระหว่างที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หลวงพ่อวิริยังค์ได้ทราบข้อเท็จจริงต่างๆ มากมาย ในด้านสมาธิ ทั้งสมาธิตื้น สมาธิลึก ตลอดถึงวิปัสสนา ซึ่งเมื่อเข้าใจทุกประการแล้ว หลวงพ่อวิริยังค์จึงมีความรักและหวงแหนในหลักการต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง ไม่อยากที่จะให้หลักการเหล่านั้นต้องสลายไป เพราะท่านมีวิธีทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูงสุด

หลวงพ่อวิริยังค์ถามหลวงปู่มั่นว่า “ต่อไปกระผมจะเขียนเป็นหลักการให้ชาวโลกเขาทำกันจะได้ไหม” หลวงปู่มั่นท่านตอบว่า “ต้องเอาแบบขั้นพื้นฐานสำหรับเป็นประโยชน์แก่มหาชน สำหรับขั้นสูงให้มีน้อย โอกาสที่เธอจะทำนั้นมีอยู่ แต่ต้องทำขั้นพื้นฐานเพื่อคนส่วนมากในโลกจะได้สงบ และเธอต้องไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะคนกรุงเทพฯ ที่มีวาสนาบารมี มีอยู่ไม่น้อย”

ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เป็นแรงสนับสนุนในใจของหลวงพ่อวิริยังค์อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2534 หลวงพ่อวิริยังค์ได้มีโอกาสไปพักผ่อนที่วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันเป็นบริเวณป่าไม้และภูเขาบนดอยอินทนนท์ ทำให้ท่านได้ทบทวนหลักการต่างๆ ที่เคยได้ไต่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นจนเต็มรูปแบบสามารถใช้ในการเรียนการสอนวิชาสมาธิได้ รวมเวลาที่ใช้ในการทบทวนและรวบรวมการเขียนตำรานั้น ใช้เวลาถึง 5 ปีจึงสำเร็จ เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ ท่านจึงจัดทำเป็นรูปเล่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง รวม 3 เล่ม ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติสมาธิเป็นยิ่งนัก

ในขณะเขียนตำราสมาธิ หลวงพ่อวิริยังค์ก็มาคำนึงว่าชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่างๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมณ์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลาย ทั้งที่อยู่อาศัย ทั้งรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ ไปมาได้ง่ายและสะดวก ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอีเมลล์ ก็ย่นระยะการติดต่ดสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเงินเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน เขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไม ? เราจะลงทุนสร้าง “นครธรรม” ให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่างๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ ?

หลวงพ่อวิริยังค์จึงได้คิดสร้างนครธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529 และได้ดำเนินการสร้างเมื่อ พ.ศ.2536 ซึ่งก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนส่วนมากเข้าใจแต่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ บวชพระ ถวายสังฆทาน เป็นต้น จึงจะได้บุญกุศล แต่จะมาสร้างนครธรรมสอนคนด้วยไฮเทคนี้ ไม่รู้ว่าจะได้บุญตรงไหน แต่ด้วยใจที่มีความมุ่งมั่นของผู้สร้าง จึงพยายามพูดให้สาธุชนทั้งหลายเข้าใจในการทำบุญกุศล

จนสามารถมีผู้บริจาคสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2539 จึงเป็นนครธรรมยุคไฮเทค แหล่งย่นระยะการศึกษาธรรมะล้ำยุคสุดอลังการ ในเนื้อที่ 4,800 ตารางเมตร ใต้ฐานพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมทันสมัย มีห้องเรียนภาคทฤษฎี มีห้องเรียนภาคปฏิบัติทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม มีห้องชมธรรมะด้วยสไลด์มัลติวิชั่น มีห้องสนทนาธรรม มีห้องสมุดธรรมะ มีห้องธุรการ มีห้องอาหารและเครื่องดื่ม มีห้องสำนักงานประทีปเด็กไทยเพื่อช่วยเหลือเด็กทั่วเมืองไทย มีห้องถ้ำวิปัสสนาไว้ให้ปฏิบัติธรรม เป็นต้น

ผู้ที่มาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะได้รับความสะดวกสบายในห้องแอร์คอนดิชั่นอย่างดี เป็นการลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยเพื่อสุขภาพใจโดยเฉพาะ จึงเหมาะแก่คนยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ทั้งจะได้รับความรู้และความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง นี้คือ นครธรรม สถานที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ในใจกลางกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุนี้จึงได้ประกาศเปิดสอน หลักสูตรครูสมาธิ ขึ้น ณ นครธรรม วัดธรรมมงคล และเปิดรับสมัครนักศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2540 มีบุคคลที่มีความรู้ตามกำหนดมาตรฐานมาสมัครเรียนถึง 200 กว่าคน เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2540 เป็นรุ่นแรกเรียกว่า รุ่นปฐโม (รุ่นพยัคฆ์) ดำเนินการสอนโดยหลวงพ่อวิริยังค์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม จึงจะจบครบตามหลักสูตร

ในหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 เทอมๆ ละ 40 วัน มีการปิดภาคเรียนเทอมละ 7-15 วัน เปิดเรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00 น.-20.20 น. วันละ 2 ชั่วโมง เริ่มชั่วโมงแรกเรียนภาคทฤษฎี 40 นาที, ถาม-ตอบเพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 20 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง หยุดพัก 20 นาที ต่อจากนั้นเรียนภาคปฏิบัติเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิอีก 30 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง เมื่อเรียนจบทั้ง 3 เทอมแล้ว มีการสอบข้อเขียนทั้งภาคทฤษฎีและสอบภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการสอบสัมภาษณ์ และในขั้นสุดท้ายจะต้องไปสอบปฏิบัติภาคสนามบนดอยอินทนนท์ สถานที่สูงที่สุดในเมืองไทย จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะมีสิทธิ์จบหลักสูตรครูสมาธิ 200 ชั่วโมง และสุดท้ายจึงจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้

พิจารณาจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาของนักศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ผลที่ออกมาจึงทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจ และได้ทั้งประสบการณ์ด้านการปฏิบัติเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง นับเป็นปรากฏการณ์ในการศึกษาสมาธิในยุคปัจจุบัน ทำให้ผลงานนี้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางทั่ววงการต่างๆ จะเห็นได้จากการมีผู้มาสมัครเรียนหลักสูตรครูสมาธิเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

รูปภาพ

นครธรรม อันเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิ ที่มีชื่อเรียกว่า “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” (Willpower Institute) นั้น เป็นสถานการศึกษาสมาธิที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน โดยเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนนักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูง ที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เรียนรู้มาจากพระอาจารย์ใหญ่มั่น และพระอาจารย์กงมา รวมทั้ง จากประสบการณ์ในชีวิตการปฏิบัติสมาธิของท่านเองกว่า 60 ปี นอกจากผู้เรียนจะเข้าใจการทำสมาธิทั้งสมถะ-วิปัสสนา อย่างถี่ถ้วนแล้ว ยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิให้แก่บุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องด้วย

เมื่อมีการเรียนการสอนตามระบบของหลักสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) คือ มีทั้งอาจารย์ผู้สอน มีนักศึกษา มีอาคารสถานที่ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์จากสถาบันแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นแก่โลกมากยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากนี้แล้ว สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) ยังได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ “การอบรมสมาธิภาคภาษาอังกฤษ” ให้กับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างสันติภาพและสันติสุขให้ชาวโลกโดยการปฏิบัติสมาธิ วัตถุประสงค์ของการเปิดหลักสูตรนี้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ที่มีความสนใจการทำสมาธิ ได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมพลังจิตและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถ่องแท้ โดยปราศจากอุปสรรคทางด้านภาษา เพื่อนำเอาไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ทั้งในด้านการทำงานและชีวิตในครอบครัว เพราะการทำสมาธิถือเป็นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่จะทำให้จิตใจของคนเราสงบ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและมีความสุข ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้โลกก็จะสงบสุขและเกิดสันติภาพ การทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมิได้จำกัดเฉพาะศาสนาหนึ่งศาสนาใด โปรแกรมการอบรมนี้จึงเปิดกว้างสำหรับคนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา หรือแม้แต่คนไม่มีศาสนาก็มาเรียนได้เช่นกัน

หลวงพ่อวิริยังค์ได้เปรียบเทียบระหว่างสมาธิกับการเรียน ไว้ว่า “คนเราได้ทำสมาธิมีพลังจิตแล้ว ก็เหมือนไปเรียนหนังสือ เมื่อไปเรียนทุกวันก็จะมีความรู้ เรียนจนจบมัธยมแล้วเป็นอย่างไร ความรู้เราก็ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนเลย ทุกอย่างจึงเป็นไปอัตโนมัติ พอมาเปิดหนังสือ จับปากกาก็รู้ ก็เข้าใจ แต่คนที่ไม่ได้ไปเรียนไม่มีความรู้ เปิดหนังสือเท่าไรก็ไม่รู้ จับปากกาก็เขียนไม่ได้ การมาเรียนจึงเป็นการสะสมความรู้ เช่นเดียวกับคนที่มาเรียนสมาธิก็เป็นการสะสมพลังจิต ทำทุกวันๆ ก็เป็นการสะสมโดยไม่รู้ตัว”

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเริ่มฝึกสมาธิให้ดีต้องทำอย่างน้อย 5 นาทีต่อวัน หรือ 6 ชั่วโมงต่อเดือน จะทำให้พลังจิตดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องทำให้ติดต่อกันทุกวันจึงจะได้ผล การฝึกทำสมาธิครั้งละ 5 นาทีวันละ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น รวมแล้วก็จะตกวันละ 15 นาที รวมทั้งเดือน 415 นาที เมื่อทำสมาธิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรจะจดบันทึกลงในสมุดทุกครั้ง เพื่อจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาที่ฝึกปฏิบัติสมาธิ และนับว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการทำสมาธิเพื่อสันติภาพของโลก เพราะโลกจะสงบสุขได้ด้วยใจของคนเราที่มีเมตตาธรรม

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในพระราชทินนามที่ “พระธรรมมงคลญาณ”

เว็บไซต์วัดธรรมมงคล
http://www.dhammamongkol.com
http://www.samathi.com
http://www.geocities.com/watdham
http://www.willpowerinstitute.com

รูปภาพ
พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3451

หลักสูตรการอบรมสมาธิ ณ วัดธรรมมงคล
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10702

โครงการอบรมสมาธิภาคภาษาอังกฤษ สถาบันพลังจิตตานุภาพ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=227

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20338

รวมคำสอน “หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร” วัดธรรมมงคล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43841

ศิษย์รุ่นสุดท้ายของ “หลวงปู่มั่น” ที่ยังดำรงขันธ์อยู่เวลานี้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=48343

ภาพเก่าๆ ของครูบาฯ สายหลวงปู่มั่น ที่หาดูได้ยากมากๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=42605

ประมวลภาพวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14046

“พระเจสัน ยัง” ศึกษาวิชาสมาธิชั้นสูง รุ่นที่ ๑ ณ วัดธรรมมงคล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=42505

ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี บวชชีหมื่นคน ณ วัดธรรมมงคล ปี ๕๖
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44059

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


ประมวลภาพ “วัดธรรมมงคล”
สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
สุขุมวิท 101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เสถียรธรรมสถาน
เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล (รามอินทรา 55)
แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 02-510-6697, 02-510-4756
โทรสาร 02-519-4633


ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ คือ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

เสถียรธรรมสถาน (Sathira Dhammasathan) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพฯ สาธุชนทุกท่านสามารถเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง

• กรณีปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง •

ลงทะเบียนเข้าที่พักช่วงบ่ายสองโมงเย็นถึงสี่โมงเย็น (14.00-16.00 น.) ของวันศุกร์ และร่วมปฏิบัติธรรมจนถึงเย็นวันอาทิตย์ ท่านสามารถ download file ระเบียบปฏิบัติ, วิถีชีวิตพักค้าง, สิ่งที่ต้องเตรียมมาและใบสมัครปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง และระเบียบการได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน กรอกใบสมัคร เตรียมเอกสารแนบให้เรียบร้อย แล้ว FAX เอกสารเข้าไปที่เสถียรธรรม หลังจากนั้นประมาณ 15-30 นาที รบกวนโทรศัพท์ไปตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าทางเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารของคุณ และเจ้าหน้าที่หรือแม่ชีท่านใดท่านหนึ่งจะแจ้งให้ทราบว่า คุณจะได้เข้าปฏิบัติธรรมแบบพักค้างหรือไม่

รูปภาพ

รูปภาพ

การปฏิบัติธรรมอานาปานสติภาวนา นอกจากท่านผู้ปฏิบัติธรรมจะได้เรียนรู้วิธีการภาวนาแบบอานาปานสติแล้ว ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ท่านจะได้เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท, อุปกิเลส 16, นิวรณ์ 5, อริยมรรค ฯลฯ ร่วมภาวนากับบทเพลง เจริญสมาธิในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน และโยคะสมาธิ ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะร่วมสมาทานศีล 8 ในเย็นวันศุกร์และรักษาศีล 8 ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ

ศีล 8
1. เว้นจากทำลายชีวิต
2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
4. เว้นจากพูดเท็จ
5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

วันแรกของการเข้าอบรม
14.00 น.-16.00 น. ลงทะเบียน
16.00 น โยคะสมาธิ
17.30 น. ปฐมนิเทศและทำวัตรเย็น
19.00 น. สมาทานศีล 8/ส่งอารมณ์กรรมฐาน
21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

รูปภาพ

รูปภาพ

วิถีชีวิตของชุมชน
04.00 น. ระฆังแห่งสติ
05.00 น. ทำวัตรเช้า
06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
16.00 น. น้ำปานะ
18.00 น. ทำวัตรเย็น
19.00 น. ธรรมบรรยาย/สมาธิภาวนา
21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

วันสุดท้ายของการเข้าอบรม
04.00 น. ระฆังแห่งสติ
05.00 น. ทำวัตรเช้า
06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
16.00 น. จบกิจกรรมการเข้าอบรม

รูปภาพ
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต


• กรณีปฏิบัติธรรมแบบไม่พักค้าง •

เชิญได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ มาได้เลยไม่ต้องสมัคร โดยสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ ธรรมศาลา เพื่อร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ “สาวิกา” ออกอากาศสด โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

วิถีแห่งสติ
05.00 น. ทำวัตรเช้า ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
09.00 น. วิทยุชุมชน
10.00 น. ฟังเสียงธรรมะตามสาย
11.00 น. พิจารณาอาหารเพล
18.00 น. ทำวัตรเย็นและตามประทีป ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
(ระหว่างวัน ภาวนากับการทำงานและทำความเพียรโดยส่วนตัว)

หมายเหตุ : หากท่านต้องการมาทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะในวันธรรมดา กรุณาติดต่อมาที่โทรศัพท์ 02-509-0085, 02-510-6697 กด 6 และผู้สนใจมาสนทนาธรรม สอบถามปัญหากับคณะแม่ชีเป็นการส่วนตัว เชิญได้ในวันธรรมดา เวลา 09.00-11.00 น. และ 13.30-16.00 น.

รูปภาพ

รูปภาพ

• การเดินทาง •

การเดินทาง ถ้ามาจากบางเขน มีรถเมล์จากอนุสาวรีย์ สาย ปอ. 26, ปอ.พ. 2 และ ปอ.พ. 8 มีรถเมล์จากปากเกร็ด สาย 150 มาจากบางเขน รถเมล์จะผ่านป้ายกองบินตำรวจก่อน แล้วให้ลงรถเมล์ป้ายถัดไป จะเป็นปากซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

ถ้ามาจากรามคำแหง มีรถเมล์จากรังสิต สาย 95, ปอ. 520 และ ปอ. 512 มาจากรามคำแหง ให้ลงป้ายแรกหลังจากที่รถเมล์ลอดใต้สะพานทางด่วน จะเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

สำหรับท่านที่มีรถส่วนตัว เสถียรธรรมสถาน ตั้งอยู่เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล รามอินทรา 55 สุดทางด่วนอาจณรงค์-รามอินทรา จาก ถ.รามอินทรา เข้ามาประมาณ 400 เมตร มีจุดสังเกตคือรั้วก่ออิฐสีส้ม ตรงข้ามกับร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ท่านสามารถจอดรถได้ที่ด้านหลังตลาดวัชรพล

รูปภาพ

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่เสถียรธรรมสถาน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2351

สถานที่ปฏิบัติธรรม ‘เสถียรธรรมสถาน’ (วีดิโอ youtube)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=37&t=18409

เว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
http://www.sdsweb.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระวิหาร ซึ่งมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ด้านหลัง
................................................................



วัดโสมนัสวิหาร (วัดโสมนัสราชวรวิหาร)
เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100


พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส

วัดโสมนัสวิหาร มีการฝึกอบรมกรรมฐาน ซึ่งดำเนินการอบรมตลอดรายการโดยพระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส เป็นระยะเวลา ๗ วัน ทั้งนี้หลักสูตรชั้นต้นจะฝึกในกรุงเทพฯ (ที่วัด) โดยมาเช้ากลับเย็น เป็นเวลาประมาณ ๖-๗ ชั่วโมงต่อวัน (๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.) เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ไม่อาจจะทิ้งบ้านไปค้างคืนที่วัดได้ อย่างไรก็ดี ทางวัดก็มีที่พักค้างคืนให้จำนวนหนึ่ง

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายธรรมยุต ในราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ

รูปภาพ
ภายในพระระเบียง


ผู้จะเข้าฝึกอบรมกรรมฐานในชั้นนี้ควรปฏิบัติดังนี้

๑) ทำตนให้ว่างจากการทำงาน โดยทำธุระให้เสร็จก่อนหรือเลื่อนธุระให้พ้นช่วงจะอบรม เพื่อไม่ให้กังวล

๒) ตั้งใจมาทุกวันให้ตรงเวลา อย่าขาดหรือมาสาย เพื่อไม่รบกวนผู้อื่นที่ปฏิบัติ

๓) รับประทานอาหารเช้าแต่พอประมาณ

๔) ทุกท่านต้องแต่งชุดขาวสุภาพ ไม่ควรใส่เสื้อยืด สำหรับสตรีห้ามนุ่งกระโปรงสั้นหรือกางเกง

๕) ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ไม่คุยขณะปฏิบัติ สำรวมกาย วาจา ใจให้มาก

๖) หากมีข้อสงสัยให้เรียนถามอาจารย์ได้ตลอดเวลา

๗) ควรเตรียมตัวและใจให้พร้อมเพื่อเข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง จริงจังตลอด ๗ วัน

๘) ไม่ควรใช้นาฬิกาที่มีเสียงปลุกหรือบอกนาทีและชั่วโมง เพราะจะรบกวนผู้นั่งใกล้เคียง

๙) สุภาพสตรี หากต้องการพักที่สำนักชีวัดโสมนัสวิหาร ก็ติดต่อได้ไม่เกิน ๕๐ คน โดยการบวชเนกขัมมะ
ส่วนสุภาพบุรุษถ้าต้องการพักที่วัด ก็พักได้ไม่เกิน ๑๐ คน เพราะสถานที่มีจำกัด

๑๐) ไม่ควรนำเด็กมาด้วยเพราะจะทำให้เป็นภาระ

รูปภาพ
พระอุโบสถ วัดโสมนัสวิหาร

รูปภาพ
ภายในพระอุโบสถ ที่เต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมสวยงาม

รูปภาพ
ภาพจิตรกรรมเนื้อสัตว์ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามกิน


กำหนดการฝึกอบรมประจำวัน

๙.๐๐ - ๙.๒๐ น. บูชาพระรัตนตรัย สวดมนต์และสมาทานศีล
๙.๒๐ - ๙.๕๐ น. บรรยายธรรม
๙.๕๐ - ๑๒.๐๐ น. ฝึกจิตตภาวนา (นั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม)
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
(มีอาหารเลี้ยงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งแบบธรรมดาและมังสวิรัติ)
๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. บรรยายธรรม
๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ฝึกจิตตภาวนา (นั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม)
มีช่วงพักระยะเวลาประมาณ ๑๕ นาที และช่วงท้ายสุดมีการสวดอุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตาประจำวัน

การสมัครเข้ารับการอบรมอบรมกรรมฐาน

สมัครได้ที่วัดโสมนัสวิหาร ก่อนการอบรม ๑๕ วัน
จำนวนผู้เข้าอบรมที่รับสมัคร รุ่นละไม่เกิน ๒๕๐ คน ไม่รับผู้ที่อายุต่ำกว่า ๑๔ ปี
วันเวลาและสถานที่รับสมัคร กรุณาติดต่อที่

๑) กุฏิพระสาสนโสภณ ข้างพระอุโบสถ โทร. ๐๒-๒๘๑-๗๙๔๔
๒) สำนักชี วัดโสมนัสวิหาร โทร. ๐๒-๒๘๑-๓๐๒๔


รูปภาพ
ขวามือ : พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รายละเอียดตารางอบรมกรรมฐาน
http://www.watsomanas.com/thai/samati.php

เสียงธรรมบรรยายพระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/mongkol/

โปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ๘๖ รูป ปี ๒๕๕๒
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=27437

เว็บไซต์วัดโสมนัสวิหาร
http://www.watsomanas.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระเทพวิมลญาณ วิ. (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร)
................................................................



วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
“ศาลาพระราชศรัทธา” ถ.พระราม 1
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02-253-8822, 02-255-2271,
02-251-6469 โทรสาร 02-255-5429


พระเทพปัญญามุนี (อมร ญาโณทโย) เจ้าอาวาส

พระเทพวิมลญาณ วิ. (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส


วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแด่ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2400

วัดปทุมวนาราม ตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ อยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอน และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า หากเดินทางโดยรถประจำทางธรรมดา มีรถผ่าน สาย 2, 15, 16, 25, 40, 45, 48, 54, 73, 79, 204, 79 ฯลฯ หรือสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสยาม แล้วเดินมาทางที่จะไปแยกเฉลิมเผ่า วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-18.00 น.

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2555 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ “พระเทพวิมลญาณ วิ.”

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.tv2495.com/
http://www.thavorn2495.com/
http://www.watpa.info/
http://www.watpa.us/
http://www.watthainyc.com/
http://www.thaitemplenyc.com/

รูปภาพ
พระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ
ศาลาพระราชศรัทธา มีพลายไม้อยู่โดยรอบศาลา

รูปภาพ
พระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ ณ สวนป่าพระราชศรัทธา

รูปภาพ
พระประธานในศาลา ณ สวนป่าพระราชศรัทธา


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

“วัดปทุมวนาราม” แดนสงบงามกลางป่าคอนกรีต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19688

พระเสริม พระแสน และพระสายน์ วัดปทุมวนาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47732

“พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล” วัดปทุมวนาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47372

โปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ๖๖ รูป ปี ๒๕๕๕
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43853

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
............................................................................



วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ท่าพระจันทร์ เลขที่ 3
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02-222-6011, 02-222-4981


พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) อธิบดีสงฆ์หรือเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

-- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาณ เดินจงกรม
ตามแนวของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
อดีตพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย คณะ 5

-- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม
ตามโครงการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวของคุณแม่สิริ กรินชัย

โดยมี พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) เป็นประธานจัดงาน

สำนักงานพระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) เจ้าอาวาส คณะ 1
โทรศัพท์ 02-226-4102, 02-221-1962, 081-582-8242

สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระ คณะ 5
โทรศัพท์ 02-222-4981


รูปภาพ
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)

รูปภาพ
พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19975

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=25026

โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สังคมที่มีแต่ ‘ให้’
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19606

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15420

เว็บไซต์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
http://www.watmahathatu.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
..............................................................................



ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นานาชาติ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ท่าพระจันทร์ เลขที่ 3
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02-222-6011, 02-222-4981


พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)
อธิบดีสงฆ์หรือเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์รูปปัจจุบัน


สถานที่ปฏิบัติธรรมใจกลางเมือง สะดวกสบาย
พร้อมเปิดโอกาสให้สาธุชนทุกท่านสร้างบารมี

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

fb. ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นานาชาติ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

https://www.facebook.com/meditation.retreatcenter

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
ภาพในพิธีเปิดคอร์สปฏิบัติธรรมแบบเข้ม เดือนกันยายน ประจำปี 2555
ณ ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นานาชาติ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สวนแสงธรรม
ถ.พุทธมณฑลสาย 3 แขวงบางไผ่
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
โทรศัพท์ 02-444-2812


“สวนแสงธรรม” เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนา ณ ชานเมืองกรุงเทพมหานคร ขอเชิญสาธุชนทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนาภาคจิตตภาวนา ปฏิบัติธรรมภาวนา และถาม-ตอบปัญหาธรรม ณ กุฏิกลางน้ำ สวนแสงธรรม

การเดินทาง : หากมาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าวิ่งขึ้น “ทางคู่ขนานลอยฟ้า”
จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 3 จะสะดวกที่สุด

รถเมล์สายที่ผ่านสวนแสงธรรม : สาย 91 ก วิ่งจากอู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ผ่านศิริราช-ท่าพระ-บางแค-ถ.พุทธมณฑลสาย 3 จอดหน้าสวนแสงธรรม และสิ้นสุดที่วัดศาลาแดง

ศึกษารายละเอียดได้จากที่นี่
http://www.luangta.com/

รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สวนแสงธรรม ถ.พุทธมณฑลสาย 3
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2833

ประวัติและปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24738

ภาพเก่าๆ ของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ที่หาดูได้ยากมากๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=42605

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ศูนย์ 1 สำนักงานใหญ่ เพชรเกษม 54
เลขที่ 58/8 หมู่ 7 เพชรเกษม 54
แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ 02-805-0790-4, โทรสาร 02-413-1706


นายอนุรุธ ว่องวานิช นายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย จดทะเบียนเป็นยุวพุทธิกสมาคมแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2493 ในเวลาต่อมาจึงมียุวพุทธิกสมาคมจังหวัดต่างๆ เกิดขึ้น บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ประจำ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรต่างๆ เช่น บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2509 เป็นองค์กรสาธารณกุศล ที่มีศูนย์วิปัสสนากรรมฐานเปิดให้ผู้ประชาชนทั่วไปเข้าอบรมปฏิบัติธรรมทุกเดือนตลอดปี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นเวลาร่วม 20 ปี มีหลักสูตรอบรมวิปัสสนากรรมฐานและปฏิบัติธรรมหลากหลาย ทั้งหลักสูตรระยะสั้น 1 วัน, หลักสูตร 2 วัน, หลักสูตร 3 วัน, หลักสูตร 8 วัน, หลักสูตร 15 วัน จนถึงหลักสูตร 1 เดือน และหลักสูตร 3 เดือน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกเข้าอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการต่างๆ ตาม ที่เวลาของตนจะอำนวย โดยปฏิบัติตามแนวปฏิปทาของธรรมาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย

รูปภาพ

ขั้นตอนการสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม
กับยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ


ขั้นตอน ๑ : ทำประวัติ รับ Ybat Card

ผู้สนใจจะสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม จะต้องทำทะเบียนประวัติกับสมาคมเพื่อรับบัตรประจำตัว YBAT Card ก่อน โดยดำเนินการดังนี้คือ เขียนจดหมายแจ้งความประสงค์ขอรับใบกรอกทะเบียนประวัติ และใบสมัคร พร้อมทั้งรายละเอียดโครงการ/หลักสูตร (กรุณาระบุให้ชัดเจน) พร้อมแนบซองเปล่าจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งจดมายขอเอกสารไปยัง

ฝ่ายกิจกรรม ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
๕๘/๘ ซอยเพชรเกษม ๕๔ ถ.เพชรเกษม
แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐

หรือติดต่อขอรับเอกสารด้วยตนเอง ณ ที่ทำการสมาคม
หรือดาวน์โหลดเอกสาร จากเว็บไซต์ http://www.ybat.org/

* ทำทะเบียนแล้วท่านจะได้รับ บัตร YBAT Card หรือท่านที่เป็นสมาชิกของสมาคมอยู่แล้ว จะได้รับ Ybat Member Card โปรดแสดงบัตรของท่านทุกครั้งที่ติดต่อยุวพุทธ เพื่อรับบริการที่รวดเร็ว ท่านไม่ต้องกรอกประวัติอีก ยกเว้นกรณีที่ท่านต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือที่ทำงาน

* ใบสมัครเข้ารับการอบรมสามารถถ่ายเอกสารเก็บไว้ใช้สมัครในครั้งต่อๆ ไปได้
จนกว่าสมาคมจะประกาศเปลี่ยนแบบฟอร์ม

รูปภาพ

ขั้นตอน ๒ : ส่งใบสมัคร รับใบตอบรับเข้าอบรม

* ก่อนส่งใบสมัคร โปรดตรวจสอบว่าหลักสูตรที่ท่านสนใจ มีผู้รับสมัครเต็มหรือไม่ เมื่อได้รับเอกสารแล้วให้ท่านอ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด/ระเบียบการ ระเบียบฏิบัติและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรมแต่ละรุ่น หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุในแต่ละโครงการ และสามารถปฏิบัติตามระเบียบโครงการได้ ให้ทำดังนี้

กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน ชัดเจน อาจจะเขียนด้วยลายมือ หรือใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ได้ ใบสมัคร ๑ ใบท่านระบุเลือกสมัครได้ ๒ หลักสูตร แต่จะได้สิทธิ์เข้าอบรมเพียงหลักสูตรเดียว กล่าวคือ สมาคมจะพิจารณาหลักสูตรแรกที่ท่านระบุ หากเต็มแล้ว สมาคมจะพิจารณาสิทธิ์ให้ท่านได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรลำดับที่ ๒ ส่งใบสมัคร และเอกสารอื่นๆ ที่โครงการระบุ พร้อมแนบสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งใบสมัครไปยังสมาคมโดยทางไปรษณีย์ หรือนำส่งด้วยตัวท่านเอง ที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ซอยเพชรเกษม ๕๔ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น สมาคมจะให้สิทธิ์ผู้ที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วน ได้เข้าอบรมก่อน

สมาคมสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับใบสมัครทางแฟกซ์
เนื่องจากเอกสารอาจสูญหายระหว่างการส่ง และเอกสารจากเครื่องแฟกซ์ไม่ชัดเจน

เมื่อสมาคมได้รับเอกสารการสมัครของท่าน สมาคมจะพิจารณาตามลำดับ หากสามารถรับท่านเข้าอบรมได้สมาคมจะส่งเอกสารใบตอบรับการสมัครถึงท่านทันที โดยทางไปรษณีย์ หากท่านไม่ได้รับการติดต่อจากสมาคมหลังจากส่งใบสมัครแล้วเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ กรุณาโทรสอบถาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรม โทรศัพท์ ๐-๐๘๐๕-๐๗๙๐-๓ ต่อ ๒๐๒-๒๐๕

สมาคมขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้สมัครแต่ละท่าน เข้าอบรมโครงการต่างๆ
ได้ไม่เกิน ๓ รุ่น ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสผู้อื่นได้เข้าอบรมด้วย

ขั้นตอน ๓ : ส่งยืนยันการเข้าอบรม

ผู้สมัครที่ได้รับใบตอบรับของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องส่งใบยืนยันการเข้าอบรมกลับไปยังสมาคมก่อถึงวันเข้าอบรมประมาณ ๒ สัปดาห์ (ระบุในใบตอบรับแล้วอย่างชัดเจน) เพื่อเป็นการยืนยันความประสงค์ของท่านในการเข้าอบรมรุ่นนั้นๆ หากพ้นกำหนดระยะเวลาการยืนยัน แล้วท่านไม่ทำการยืนยัน สมาคมจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ อนึ่ง ท่านไม่สามารถจะส่งผู้อื่นเข้าอบรมแทนได้ เนื่องจากแต่ละรุ่นสมาคมได้รับสมัครผู้เข้าอบรมสำรองไว้แล้ว

รูปภาพ

ขั้นตอน ๔ : ลงทะเบียนเข้าอบรม

ในวันเปิดการอบรม ให้ท่านเดินทางไปรายงานตัวตามสถานที่ ที่จัดการอบรม (ศูนย์ ๑ บางแค หรือศูนย์ ๒ ปทุมธานี) พร้อมกระเป๋าสัมภาระของท่าน เอกสารที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่คือ

(๑) ใบตอบรับส่วนที่ ๑
(๒) บัตรประจำตัวประชาชน
(๓) บัตร Ybat Card หรือ บัตร Ybat Member Card

ท่านที่ไม่นำเอกสารไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้รับความสะดวก หรืออาจเสียสิทธิ์ในการเข้าอบรม หากไม่นำบัตร YbatCard หรือ บัตร Ybat Member Card ไปด้วย จะต้องเสียค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ ๒๐ บาท และท่านจะเสียเวลาบ้างในระหว่างรอทำบัตร

เมื่อท่านลงทะเบียนล้ว ท่านจะได้รับป้ายชื่อ ซึ่งระบุชื่อของท่านและหมายเลขห้องพัก ให้ท่านนำสัมภาระไปเก็บในห้องพัก เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดปฏิบัติธรรมและรอสัญญาณเรียกเข้าห้องปฏิบัติธรรมเพื่อปฐมนิเทศต่อไป

รูปภาพ
คุณแม่สิริ กรินชัย


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติธรรมครบวงจร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9231

คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย ละสังขารแล้ว วันเสาร์ที่ ๓ ธ.ค. ๒๕๕๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40315

พระราชทานเพลิงคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย 20 พฤษภาคม 2555
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42081

เว็บไซต์ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
http://www.ybat.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
เลขที่ 42/660 หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม
ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก
เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510
โทรศัพท์ 02-993-2711, 081-8436467
โทรสาร 02-993-2700


ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานีแห่งนี้ อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สอนตามแนวปฏิบัติของ “ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า” (S.N. Goenka) วิปัสสนาจารย์ชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ซึ่งท่านจึงได้ก่อตั้งและเป็นประธานสถาบันวิปัสสนานานาชาติศูนย์แรกชื่อ “ธรรมคีรี” ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก

มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร 10 วัน
สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน
เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี


คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ

วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง “การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง” อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากลคือ ได้เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน

กฎระเบียบ

พื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ ศีล ศีลจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมาธิ และกระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นจากปัญญา คือการรู้แจ้งเห็นจริง

ตารางเวลา

04:00 น. ระฆังปลุก
04:30 น. - 06:30 น. นั่งปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
06:30 น. - 08:00 น. อาหารเช้า
08:00 น. - 09:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
09:00 น. - 11:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวม หรือในที่พักส่วนตัวตามที่อาจารย์กำหนด
11:00 น. - 12:00 น. อาหารกลางวัน
12:00 น. - 13:00 น. พักผ่อน
13:00 น. - 14:30 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
14:30 น. - 15:30 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
15:30 น. - 17:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักตามที่อาจารย์กำหนด
17:00 น. - 18:00 น. พักดื่มน้ำปานะ
18:00 น. - 19:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
19:00 น. - 20:15 น. ฟังธรรมบรรยายในห้องปฏิบัติรวม
20:15 น. - 21:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
21:00 น. - 2130 น. สอบถามข้อสงสัยกับอาจารย์เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
21:30 น. พักผ่อน

การเดินทาง

โดยรถประจำทาง : มี 2 เส้นทางคือ

1. ทางลำลูกกา ให้ขึ้นรถโดยสารสายลำลูกกาตรงแยกลำลูกกา (ใกล้สนามกีฬาธูปเตมีย์) ไปลงหน้าตลาดใหญ่ คลอง 7 แล้วต่อรถตู้สายลำลูกกา-มีนบุรี ในตลาด

2. ทางรามอินทรา ให้ขึ้นรถสองแถว หรือรถตู้สายมีนบุรี–ลำลูกกา ที่ตลาดมีนบุรี เมื่อถึงหน้าหมู่บ้านแล้ว ให้ท่านเดินเข้าไปตรงป้อมยามเพื่อต่อรถสองแถวที่วิ่งภายในหมู่บ้าน โดยบอกให้ไปส่งที่
ศูนย์ฯ

โดยรถส่วนตัว : มี 2 เส้นทางคือ

1. ทางลำลูกกา ตรงที่จะให้ออกจากถนนวิภาวดี จะเห็นป้ายที่เขียนว่า ลำลูกกา-สะพานใหม่ ให้ชิดซ้าย เลี้ยวขึ้นทางที่โค้งมาลงยังถนนพหลโยธิน แล้วเลี้ยวซ้ายทันทีที่ลงเพื่อเข้าสู่ถนนลำลูกกา (ถ้าตรงไปคือไปสะพานใหม่) จากนั้นให้แล่นตรงมาเรื่อยๆ จะเห็นสัญญาณไฟจราจรอันแรก (จากแยกลำลูกกามาประมาณ 10.6 ก.ม.) พอผ่านถนนวงแหวน ซึ่งมีสัญญาณไฟจราจรอยู่ใกล้ๆ (ที่ระยะประมาณ 11.5 ก.ม.) ไปสักพัก จะเห็นป้ายซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท อยู่ทางด้านซ้าย (ที่ระยะประมาณ 14.4 ก.ม.) จากนั้นจึงเป็นสัญญาณไฟจราจร ให้ขับต่อไปจนกระทั่งเห็นป้ายบอก นครนายก-มีนบุรี เป็นสามแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร จึงค่อยเลี้ยวขวาเข้าถนนนิมิตใหม่ แล้วขับข้ามสะพาน 3 สะพาน ผ่านโรงเรียนสตรีวิทยาทางด้านซ้าย พอลงสะพานที่สี่ ให้ชิดซ้าย ขับมาเรื่อยๆ จะเห็นหมู่บ้าน เค.ซี.การ์เด้นโฮม ให้เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้าน (จากหัวถนนนิมิตใหม่ถึงทางเข้าหมู่บ้านประมาณ 6.2 ก.ม.)

2. ทางรามอินทรา ขับตรงมาเรื่อยๆ จนถึงประมาณ ซ.รามอินทรา 127 ซึ่งเป็นสี่แยกไฟแดงใหญ่ เขียนว่าซ้ายไปฉะเชิงเทรา ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวินทวงศ์ ตรงไปจนเห็นปั๊มป.ต.ท. แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายที่บอกว่าไปลำลูกกา เพื่อเข้าสู่ถนนนิมิตใหม่ เมื่อแล่นผ่านคลองสาม จะเห็นป้ายหมู่บ้านเค.ซี. อยู่ทางขวา ให้ยูเทิร์นรถกลับเพื่อเข้าหมู่บ้าน หลังจากที่เข้าไปในหมู่บ้านแล้ว ให้ตรงไปจนสุด แล้วเลี้ยวซ้ายจนเจอวงเวียน จากนั้นจึงเลี้ยวขวาวิ่งไปเรื่อยๆ จนเห็นป้ายหมู่บ้านธรรมธานีทางด้านขวา จึงเลี้ยวซ้ายเข้าไป จะเห็นศูนย์ฯ อยู่ทางขวามือ

หมายเหตุ :

กรุณาเตรียมเสื้อผ้าให้ครบพอที่จะใช้ได้ตลอดการอบรม เนื่องจากทางศูนย์ฯ ไม่มีที่ตากผ้า และไม่มีบริการซักผ้า นอกจากนี้ควรนำรองเท้าแตะสำหรับใส่ในเรือนพัก รวมทั้งเสื้อกันหนาวบางๆ ติดตัวไปด้วย เพราะศูนย์ฯ ใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนเรื่องการใช้รถส่วนตัวนั้น ทางศูนย์ฯ ไม่สามารถอำนวยความสะดวกเรื่องที่จอดรถให้แก่ท่านได้ เนื่องจากสถานที่จำกัด

รายละเอียดเพิ่มเติมนอกจากนี้ สามารถสอบถามได้ที่
สำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์
โทร. 0-2993-2711
โทรสาร 0-2993-2700 (ในเวลาราชการ)

ศึกษาตารางการอบรมและการเดินทางจากเว็บไซต์

http://www.thai.dhamma.org/

ใบสมัคร
http://www.thai.dhamma.org/application/lay.rtf

คำแนะนำ
http://www.thai.dhamma.org/ns/code%20.html

มีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ทั้งหมด 5 ศูนย์ ดังนี้

1. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
2. ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
3. ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
4. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
5. ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ

ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา จ.ปราจีนบุรี และศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา จ.พิษณุโลก เป็นศูนย์ใหญ่ที่สุด ใครติดสบายหน่อยก็ลองไปดู มีความสะดวกเหมือนอยู่โรงแรมชั้นดี

ถ้าคนกรุงเทพฯ ไป ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี กรุงเทพฯ ก็จะใกล้ สะดวกดี ที่พักสบาย แต่ถ้าชอบเดินเหิน สูดอากาศธรรมชาติหน่อยก็อาจจะอึดอัดได้เพราะสถานที่ปฏิบัติอยู่ในตึก เปิดแอร์เกือบตลอด ศูนย์นี้จะสงบเงียบที่สุดเพราะตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร

ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา จ.ขอนแก่น และศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา จ.กาญจนบุรี ก็เหมาะสำหรับคนที่ชอบธรรมชาติ บรรยากาศดี แต่ที่ จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์ที่เล็กที่สุด รับผู้ปฏิบัติได้ไม่เกิน 50 คน ความหรูอาจจะสู้ศูนย์อื่นไม่ได้ แต่ก็สะดวกและสงบทีเดียว ชาวต่างชาติชอบมาปฏิบัติกัน

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกศูนย์วิปัสสนาฯ ก็มีการจัดการ มีระเบียบ ข้อปฏิบัติ และคำสอนอย่างเดียวกัน ท่านจะเข้าศูนย์ไหนท่านก็จะได้ธรรมะเช่นกัน อยู่ที่ความตั้งใจจริงในการปฏิบัติของแต่ละบุคคลเป็นหลักสำคัญ ถ้าคนที่มีความเข้าใจหลักธรรมะแล้วมักจะไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสถานที่เท่าไหร่ ดังนั้น ขอให้พิจารณาจากศูนย์ไหนเดินทางใกล้สะดวก หรือตารางปฏิบัติตรงกับที่เราว่างเป็นหลักในการเข้าไปปฏิบัติ


รูปภาพ
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3702

ประวัติและปฏิปทาท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22204

เว็บไซต์ไทย http://www.thai.dhamma.org

เว็บไซต์ต่างประเทศ http://www.dhamma.org

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมวิปัสสนา
viewtopic.php?f=1&t=21043
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1727.0

วิปัสสนาในเรือนจำ
http://www.dhammabrothers.com/letters.html
http://www.youtube.com/watch?v=zA8XFEyeMi8

สัมภาษณ์ อ.โกเอ็นก้า นิตยสาร Shambhala
http://www.shambhalasun.com/index.php?o ... ew&id=1739

ประวัติท่าน อ.โกเอ็นก้า
http://www.dhamma.org/en/goenka.shtml

เหมียว-วรัตดา ในรายการเจาะใจ
http://www.meowwarattada.com/interview.php

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
................................................................



วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ)
เลขที่ 300 ถ.รัชมงคลประสาธน์
แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ สำนักงานประชาสัมพันธ์ 02-467-0811,
02-457-9042 โทรสาร (Fax.) 02-869-0482
โทรศัพท์ หอเจริญวิปัสสนา 02-457-4001
โทรสาร (Fax.) 02-869-0272


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ รูปปัจจุบัน

พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาส


วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) เป็นวัดปฏิบัติสายพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)

วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทำการบูรณะวัดปากน้ำครั้งใหญ่เกือบทั้งอาราม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง และขาดเจ้าอาวาสประจำวัด ทางเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์จึงได้ส่ง พระสมุห์สด จนฺทสโร (หรือที่เรียกกันว่าหลวงพ่อสด) จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งหลวงพ่อสด จนฺทสโร มีชื่อเสียงมากในเรื่องการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงเป็นผู้ดูแลเรื่องการศึกษา การอบรมปฏิบัติธรรม จนกลายเป็นที่เคารพนับถือของสาธุชนทั่วไป กระทั่งหลวงพ่อสดได้มรณภาพลง จึงได้นำร่างของท่านมาบรรจุในโลงตั้งไว้ที่วัดปากน้ำ และทำหุ่นขี้ผึ้งขนาดองค์จริงให้ประชาชนได้สักการบูชา

เนื่องจากหลวงพ่อสด จนฺทสโร เป็นผู้ปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นแรกๆ โดยทำจากเนื้อดินเผา พระเครื่อง พระผง ในการทำพระผงจะนำดินที่เป็นมงคลจากสถานที่ต่างๆ หลายๆ ที่เอามารวมกัน แล้วทำพิธีกรรมประกอบขึ้นมา จึงมีเรื่องเล่ากันว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งนั้น ท่านจะเลือกผู้ที่มาเป็นเจ้าของด้วยตัวเอง ถ้าผู้นั้นมีบุญพอหลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งก็จะไปปรากฏหรือทำให้ผู้นั้นพบเจอ แต่ถ้าผู้ที่ได้เป็นเจ้าของหมดบุญหรือทำผิดศีลผิดธรรม หลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งจะเดินทางกลับมาหาหลวงพ่อสดท่านเอง เรื่องนี้จะจริงหรือเท็จอย่างไรไม่อาจรู้ได้ รู้แต่ว่าไม่ลบหลู่เป็นดีที่สุด

รูปภาพ
ประชาชนมาไหว้พระปิดทองหลวงพ่อสดองค์จำลองกันเป็นจำนวนมาก

รูปภาพ
รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อสดขนาดเท่าองค์จริง
และด้านหลังเป็นโลงบรรจุร่างของหลวงพ่อสด



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

มุทิตาอายุวัฒนมงคล 82 ปี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13629

ประมวลภาพ “สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=26854

เว็บไซต์วัดปากน้ำภาษีเจริญ
http://www.watpaknam.net/
http://www.watpaknam.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในวัดพุทธบูชา
................................................................



วัดพุทธบูชา
เลขที่ 181 หมู่ 3 ถ.พุทธบูชา ซอย 30
ริมคลองบางมด แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ 02-426-3667, 02-874-8108


พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เจ้าอาวาส

วัดพุทธบูชา เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขอเชิญสาธุชนทุกท่านอบรมภาวนาและทำบุญตักบาตร
พระกรรมฐาน (สายหลวงปู่มั่น) ทุกวันเสาร์แรกของเดือน
เวลา 07.00-10.30 น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดพุทธบูชา


วัดพุทธบูชา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 กำหนดเขตกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มี พระพุทธวิริยากร (เพิ่ม กตปุญโญ) เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชารูปแรก พระประธานประจำอุโบสถของวัดพุทธบูชา คือ พระพุทธชินราชจำลอง มีขนาดเท่าองค์จริง มีหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว (2.875 เมตร) หล่อด้วย ทองสัมฤทธิ์ น้ำหนักประมาณ 3 ตัน มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก ปัจจุบัน พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา รูปที่ 5 (ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบัน)

วัดพุทธบูชา เป็นที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) สาขาที่ 2 แห่งวัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิที่เปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน

การเดินทาง

- ขึ้นทางด่วนไปทางดาวคะนอง เมื่อถึงสะพานแขวนให้ชิดซ้ายลงถนนสุขสวัสดิ์ วิ่งไป 100 เมตร ถึงจุดกลับรถหน้าวัดสน จากนั้นวิ่งไปประมาณ 300 เมตร ถึงทางเข้าถนนประชาอุทิศ วิ่งไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพุทธบูชา

- ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ ถึงทางเข้าถนนประชาอุทิศ ประมาณ 9 กิโลเมตร

รถเมล์ที่ผ่าน สาย 75 ปอ. 75 ต้นทางหัวลำโพง ผ่านวัดมหาพฤฒาราม บางรัก ถนนตก สะพานกรุงเทพ ดาวคะนอง บางปะแก้ว บางปะกอก ราษฎร์บูรณะ เข้าถนนประชาอุทิศ ผ่านเทคโนบางมด สวนธนบุรีรมย์ ปลายทางวัดพุทธบูชา

- ถ้านั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเรือราษฎร์บูรณะ (ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาราษฎร์บูรณะ) ขึ้นรถซูบารุจากหน้าห้างบิ๊กซี ไปสุดสายหน้าวัดพุทธบูชาได้โดยตรง ขอให้สังเกตหน้ารถจะเขียนปลายทางไว้ว่าวัดพุทธบูชา ก็ให้ขึ้นได้เลย ราคา 5 บาท

รูปภาพ
พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดพุทธบูชา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2231

ประวัติและปฏิปทาพระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20990

เว็บไซต์วัดพุทธบูชา
http://www.watphut.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

กระทรวงศึกษาธิการ
ถ.ราชดำเนินนอก แขวงวังจันทรเกษม
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-280-1104-9, โทรสาร 02-280-1180


ทุกวันศุกร์ เวลา 12.00 น.-14.00 น.
ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก


แสดงธรรมโดย
1. พระอาจารย์ธวัชชัย ธัมมฺทีโป
2. พระอาจารย์สุรพจน์ สทฺธาธิโก


รูปภาพ
พระอาจารย์ธวัชชัย ธัมมฺทีโป

รูปภาพ
พระอาจารย์สุรพจน์ สทฺธาธิโก


“ธรรมะ” (ดวงประทีปแห่งธรรม) คนที่ฝึกสติปัฏฐานสี่ ของนั้นดีใครไม่รู้ดูไม่เห็น การปล่อยวางขันธ์ห้านั้นสำคัญ ปล่อยไม่เป็นจิตตกฐานฌานตกลง ปฏิบัตินั้นต้องทิ้งสิ้นทุกสิ่ง เห็นของจริงเป็นสมมุติไม่มั่นหมาย จิตเริ่มดิ่งญาณเริ่มเกิดทิ้งรูปกาย สมดังหมายเห็นจิตลงภวังค์ แล้วจากนั้นเห็นจิตเจ็ดขณะ ขันธ์ห้าละออกจากจิตหรือไฉน กายก็ละจากขันธ์ห้าปิติใจ รู้ภายในเห็นจิตวิมุตติพลัน แล้วจากนั้นเห็นจิตหลุดจากจิต เพ่งพินิจว่าอะไรไฉนนั่น เหมือนพระจันทร์ทอแสงผ่องอําพัน จิตดวงนั้นเป็นวิมุติหลุดพ้นเอย

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.metta.8m.com/
http://www.mettachit.8m.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

บ้านซอยสายลม (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
เลขที่ 9 ถ.พหลโยธิน ซอย 8 ซอยสายลม
(ระหว่างตึกชินวัตร 1 และตึกพหลโยธินเพส)
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02-616-7177, 02-272-6759


บ้านซอยสายลม หรือบ้านสายลม เจ้าของบ้านคือท่านเจ้ากรมเสริม สุขสวัสดิ์ เป็นสถานที่ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อจะลงมารับสังฆทานที่บ้านสายลมทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน และจะมีการฝึกมโนมยิทธิในวันเสาร์อาทิตย์ทุกต้นเดือนด้วย ปัจจุบันพระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ได้เดินทางมาที่บ้านสายลม เหมือนสมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือนเช่นเดิม ปัจจุบันบ้านสายลมได้สร้างตึกกรรมฐานใหม่ 3 ชั้น โดย

- ชั้น 1 จำหน่ายวัตถุมงคล หนังสือ เทป วีซีดี นิตยสารธัมมวิโมกข์ (เปิดทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ 9.00-17.00 น. บ้านสายลมหลังเก่าไม่มีจำหน่ายวัตถุมงคลแล้ว กรุณาไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ที่เดียวในวันธรรมดา)
- ชั้น 2 เป็นห้องฝึกญาน 8
- ชั้น 3 เป็นห้องไว้ฝึกมโนมยิทธิสำหรับผู้มาฝึกใหม่ มีจำนวนหลายห้อง

การปฏิบัติธรรม : นั่งสมาธิภาวนาแบบนะมะพะทะ (มโนยิทธิ) จะปฏิบัติที่อาคารปฏิบัติด้านหน้าทางเข้าซึ่งเป็นอาคารใหม่ โดยจะสอนนั่งสมาธิ-ฝึกมโนมยิทธิ และญาณ 8 วันละรอบเดียว เวลาฝึกตั้งแต่ 12.00-15.00 น. ของทุกวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือน

การเตรียมตัว : ท่านที่จะมาฝึก ควรจะมาถึงที่บ้านสายลมอย่างน้อยตั้งแต่ 11.00 น. เพื่อทานอาหาร ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เมื่อพร้อมให้ไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ โดยตรงทางขึ้นบันไดให้หยิบดอกไม้ธูปเทียนบูชาครู ใส่เงินเหรียญบูชาครูสลึงนึงขึ้นไป แล้วแต่ศรัทธาของท่าน และเดินขึ้นไปชั้นสาม จะมีครูผู้สอนคอยจัดกลุ่มให้นั่งเป็นวงๆ ตามที่ครูเห็นเหมาะสม จะมีแบ่งวงชายและหญิง นั่งทำใจให้สงบ หรือซ้อมภาวนา นะมะพะธะ ไปสบายๆ ลืมเรื่องวุ่นวายปัญหาส่วนตัวไปซักชั่วโมง รอครูผู้สอนให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่ามาสายเกิน 12.00 น. เพราะจะไม่อนุญาตให้เข้ามาฝึก ประตูห้องฝึกจะล็อค

ถวายสังฆทาน : ต้องเข้าที่บ้านสายลมด้านใน กำหนดการรับสังฆทานของบ้านสายลม คือ
วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-11.00 น., 12.00-15.30 น. , 20.00-21.00 น.
วันจันทร์ 10.00-11.00 น. , 12.00-15.30 น. , 20.00-21.00 น.

การเดินทาง : ท่านที่ไปโดยรถเมล์ ถ้ามาจากสวนจตุจักร ให้ลงที่ป้ายรถเมล์ที่หน้าธนาคารเอเชีย ซึ่งจะมีป้ายรถเมล์อยู่..... ถ้ามาจากสะพานควาย ให้ลงป้ายตรงข้ามสถานีรถไฟฟ้าซอยอารีย์ แล้วเดินมาที่ซอยสายลม..... ท่านที่มาโดยรถไฟฟ้า BTS ให้ลงสถานีซอยอารีย์ แล้วเดินมาที่ซอยสายลม สังเกตได้จากธนาคารเอเชีย เมื่อถึงซอยสายลมแนะนำให้ขึ้นมอเตอร์รับจ้างหน้าปากซอย บอกเขาว่าไปบ้านซอยสายลม ราคาค่าโดยสาร 5-10 บาท หรือเดินเข้ามาเองก็ได้ประมาณ 10 นาที

รถเมล์ : สาย 8, 26, 29, 34, 39, 59, 77 ปอ. 3, ปอ.9, ปอ.10, ปอ. 29 และ ปอ.77

โทรศัพท์ : 02-616-7177 (เฉพาะวันจันทร์-เสาร์ ในเวลาราชการ เบอร์นี้คือเบอร์ของอาคารกรรมฐานตึกใหม่) หรือ 02-272-6759 เป็นระบบตอบอัตโนมัติ แจ้งกำหนดการของคณะพระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ที่จะเดินทางมาบ้านสายลมครั้งต่อไป

รูปภาพ
พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดท่าซุง
http://www.watthasung.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร