Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2008, 6:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
หรือในชื่อใหม่ว่า “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์”
ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑
โดยก่อตั้งครั้งแรกที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร
โดยนำแบบอย่างการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา
ที่จัดการเรียนการสอนแก่เด็กและเยาวชนในวันอาทิตย์
มาเป็นแนวทางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเด็กและเยาวชนไทยเรา
และก็ได้แพร่หลายขยายสาขาออกไปทั่วประเทศ

โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกา และประเทศไทยนั้น
มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มา
แต่มีความมุ่งหมายในแนวทางเดียวกัน
คือ ต้องการให้เด็กและเยาวชนได้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา
เรียนรู้หลักธรรมคำสอนแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ
เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีจริยธรรมและคุณธรรม
เป็นแบบอย่างในสังคม


ตามที่กล่าวว่า มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มานั้น
กล่าวคือ ประเทศศรีลังกาได้ถูกปกครองโดยประเทศนักล่าอาณานิคมมานานหลายสิบปี
พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ก็ถูกเบียดเบียนจากนักปกครองชาวต่างชาติต่างศาสนา
ที่ต้องการให้ผู้คนของศรีลังกาหันไปนับถือศาสนาของพวกเขา
วัดวาอารามหรือพุทธสถานบางแห่ง
จะถูกพวกต่างชาติที่เข้ามาปกครองยึดไปเป็นศาสนสถานของตน
ทำให้ชาวศรีลังกาที่หนักแน่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา ขมขื่นใจไม่ใช่น้อย

ครั้นเมื่อประเทศศรีลังกาได้รับอิสรภาพแล้ว
ก็มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่
จึงจัดให้มีโรงเรียนศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในวันอาทิตย์
ซึ่งเป็นวันหยุดเรียนของทางราชการ
ให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษากันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
กลับมามีบทบาทในสังคมศรีลังกาอย่างสำคัญอีกครั้ง
ซึ่งนับวันจะยิ่งมั่นคงแข็งแรงขึ้นตามลำดับ

สำหรับประเทศไทยที่ได้มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น
ก็โดยปรารภถึงเด็กและเยาวชนของชาติ
ที่นับวันจะเหินห่างพระพุทธศาสนามากขึ้นทุกที
เพราะโรงเรียนที่เคยมีอยู่ในวัดวาอารามต่างๆ
ก็ไปมีอยู่นอกวัด ทำให้เด็กห่างวัด
การศึกษาแผนใหม่แม้ไม่ขัดแย้งกับคำสอนในพระพุทธศาสนา
แต่ก็จะไม่เกื้อกูลต่อพระศาสนา
ถ้าครูผู้สอนไม่รู้จักนำธรรมะในพระพุทธศาสนา
ไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิชาการสมัยใหม่
อีกทั้งสังคมเมืองใหญ่ก็ล้วนมีสิ่งล่อสิ่งเร้า
ที่ทำให้เด็กและเยาวชนหันเหไปในทางผิดได้เสมอ
และก็มีตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนให้
เป็นข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนอยู่ไม่น้อย
ทำอย่างไรที่จะให้เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงคำสอนในพระพุทธศาสนา
แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ
เป็นภูมิคุ้มกันให้พวกเขาก้าวพ้นห้วงเหวของความไม่ดีไม่งามต่างๆ ไปได้
จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น

โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของไทยเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องพระพุทธศาสนาเท่านั้น
แต่ได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการต่างๆ เข้ามาเสริมด้วย
เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ดนตรี นาฏศิลป์ และวัฒนธรรมไทย เป็นต้น
เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มีใจรักในวิชาการเหล่านี้ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่
และเกื้อกูลกับวิชาที่เด็ก เรียนในโรงเรียนประจำ

แต่ปัญหาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ที่หนักอกผู้บริหารมาตลอด ก็คือขาดทุนทรัพย์ในด้านการจัดการศึกษา

ในสำนักเรียนใหญ่หรือวัดใหญ่ในเมืองที่มีฐานะดี
เพราะมีรายได้จากศาสนสมบัติของวัด
เช่น ค่าเช่าตึกอาคารพาณิชย์ และที่ดินของวัด (ที่กัลปนาสงฆ์)
ก็สามารถจัดการศึกษาได้อย่างยั่งยืนถาวร
แต่ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ หรือวัดเล็กๆ
ไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่สามารถจะจัดการศึกษาให้ดำเนินไปได้โดยตลอด
ต้องอาศัยกำลังศรัทธาของชาวบ้าน
และครูบาอาจารย์จากโรงเรียนภายนอกเข้ามาช่วยสอน
ซึ่งก็เป็นการเสียสละของพวกเขาที่น่าสรรเสริญ

นอกจากนั้น ก็จะมีปัญหาบุคลากร คือ พระที่สอน
ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ จะหาพระเป็นอาจารย์สอนยากอยู่
เพราะไม่ใช่ว่าเป็นพระแล้วจะสอนธรรมะได้ทุกรูปทุกองค์ไป
หรือสอนได้ แต่ไม่ค่อยดี เด็กไม่เข้าใจ ก็เกิดการเบื่อหน่าย
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในระยะแรกของการเปิดเรียน
จะมีเด็กมาสมัครเรียนจำนวนมาก
แต่เรียนไป 3-4 อาทิตย์ เด็กจะเริ่มถอยห่างออกมา
เพราะเกิดการเบื่อเรียนแล้วไม่เข้าใจ
จำนวนของนักเรียนก็จะลดลงไปเรื่อยๆ

หลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ
เพราะถ้าเขียนหลักสูตรยากไป การเรียนการสอนก็ยากตาม
เด็กไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะวุฒิภาวะไม่ถึงขั้นที่จะรู้ได้
ก็เรียนไปโดยท่องจำอย่างเดียว เด็กก็เบื่อหน่าย
กลายเป็นนกแก้วนกขุนทองที่พูดภาษาคนได้
แต่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงคืออะไร

ปัญหาที่หนักมากก็คือ
เรื่องงบประมาณในการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
โดยงานวิจัยโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปี 2548
ระบุว่า วัดที่จัดการเรียนการสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น
ได้รับเงินอุดหนุนเพียง 5 บาท ต่อเด็ก 1 คน
ซึ่งทางกรมกรมการศาสนากล่าวถึงสาเหตุที่งบประมาณมีน้อยว่า
เนื่องจากมีการนับจำนวนที่ซับซ้อน
และมีการประเมินในลักษณะธุรกิจ
คือ ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร


การที่วัดจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นมา
ก็มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า
ต้องการให้เด็กและเยาวชนของชาติได้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนา
เพื่อจะได้นำความรู้ คือหลักธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
เป็นการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน
ให้เป็นคนดีของสังคม ก็จะทำให้สังคมสงบสุขอยู่ได้

แต่ในทางตรงกันข้าม
ถ้าเราไม่ให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนอย่างถูกต้อง
เด็กและเยาวชนก็จะมีความคิดที่ไม่ดี
การพูดก็ไม่ดี การกระทำก็ไม่ดี สังคมเดือดร้อน
เป็นเรื่องที่รู้เห็นกันอยู่เป็นประจำ
เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรมองกันในด้านเศรษฐศาสตร์
ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุนิยมเพียงฝ่ายเดียว
ต้องมองถึงเรื่องศาสนาด้วย เพราะศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ
ถ้าจิตใจไม่ดีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะสร้างเศรษฐกิจ
หรือรักษาเศรษฐกิจให้ดำรงอยู่ได้
หลายคนล้มเหลวในทางเศรษฐกิจมีให้เห็นกันอยู่มากมาย
สงครามเล็กใหญ่ การก่อการร้าย ก็ล้วนเรื่องวัตถุนิยม
มุ่งผลที่เป็นวัตถุที่ตนจะได้รับเป็นที่ตั้ง
สังคมจึงเดือดร้อนกันจนทุกวันนี้
นั่นก็คือเราขาดการปลูกฝังด้านคุณธรรมให้เกิดขึ้นในใจนั่นเอง


เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า ถ้าลงทุนไปแล้วประชาชนจะได้อะไร
จึงเป็นคำถามของคนที่ไม่เข้าใจอะไรเลย
เหมือนกับตักบาตรพระแล้วถามว่าจะได้อะไร
และถ้าคนในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับวัตถุนิยม อย่างไม่ลืมหูลืมตาอย่างนี้
โอกาสที่จะพัฒนาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา
ไม่ว่าจะในชื่อของโรงเรียนหรือชื่อของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ก็ไม่มีโอกาสขยายให้กว้างขวางออกไปได้อย่างที่วาดฝันไว้ว่า
จะมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกตำบลทั่วประเทศ

เพราะที่ผ่านมาเห็นมีแค่การตั้งตัวเลขและจำนวนอย่างสวยหรูเท่านั้นเอง !!



(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)

คัดลอกจาก...ผู้จัดการออนไลน์


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 02 เม.ย.2008, 12:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ถ้าลงทุนไปแล้วประชาชนจะได้อะไร"

แลบลิ้น เศร้า ร้องไห้

ได้.... พลเมืองที่ดีมีคุณภาพ และตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม
ได้.....ประเทศชาติที่ผู้นำยึดมั่นใน "ธรรมาธิปไตย"
ได้.....ความสงบ...เป็นปกติสุขของบ้านเมือง


เป็น "กำไร" แห่งการลงทุน
ที่ไม่อาจวัดได้ในเชิงปริมาณ
และเห็นเป็นรูปธรรม...เพียงข้ามวัน


และเป็น "กำไร" แห่งการลงทุน
ที่มนุษย์ทุกชาติพันธุ์...ล้วน "แสวงหา"!!!


อนุโมทนาสาธุ...ด้วยนะคะคุณลูกโป่ง สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 02 เม.ย.2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง