เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
ชีวิต งาน และธรรม : ความประสานสู่เอกภาพ
 

           ในสภาพอย่างนี้ เราจะมองเห็นพัฒนาการของคนในการทำงาน มองเห็นพัฒนาการของชีวิต ในลักษณะที่ว่า ตอนต้นคนจำนวนมากมองแบบปุถุชนว่า งานเพื่อชีวิต คือ เราทำงานเพื่อจะได้ผลตอบแทนมาเลี้ยงชีวิต ชีวิตของเราอาศัยงาน คือ เราอาศัยงานเพื่อให้ชีวิตของเราเป็นอยู่ได้ ต่อมาจะเห็นว่ามีการก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งคือ กลายเป็นงานเพื่องาน ตอนนี้งานก็เพื่องานนั่นแหละ คือ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จด้วยดี เพื่อจุดมุ่งหมายของงาน ตรงไปตรงมา ที่ว่างานเพื่อชีวิตนั้นเป็นเรื่องของเงื่อนไข ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัย จะต้องมองความเป็นเหตุปัจจัย และการเป็นเงื่อนไขว่าเป็นคนละอย่าง แต่งานเป็นเงื่อนไข

           งานเพื่อเพื่อชีวิตนั้นแท้จริงแล้ว ไม่ใช่ความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยงาน ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยของชีวิต แต่งานเป็นเงื่อนไขเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมาเลี้ยงชีวิต แต่งานเพื่องานแล้วก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยโดยตรงงานอะไรก็เพื่อจุดหมายของงานอันนั้น เช่น งานของแพทย์คือการรักษาโรค ก็เพื่อจุดมุ่งหมายของงาน คือ ทำให้คนหายโรค ทำงานโภชนาการก็เพื่อให้คนได้กินอาหารดีแล้วคนก็จะได้มีสุขภาพดี เป็นจุดหมายของงานโดยตรง งานก็เพื่องาน เมื่อเราทำงานเพื่องานแล้ว ไปๆ มาๆ งานที่ทำนั้นก็กลายเป็นกิจกรรมหลักของชีวิตของเรา กลายเป็นตัวชีวิตของเรา งานเพื่องานก็กลายเป็นชีวิตเพื่องาน ชีวิตของเราก็กลายเป็นชีวิตเพื่องาน ทำงานไป ทำงานมา ชีวิตของเรากลายเป็นชีวิตเพื่องาน

           อนึ่ง พร้อมกับทีว่าเป็นงานเพื่องานนั่นแหละมันก็เป็นธรรมไปในตัว เหมือนอย่างที่บอกว่าทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม หรือว่าแพทย์ทำให้คนไข้มีสุขภาพดี การให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม และการช่วยให้คนมีสุขภาพดีก็เป็นตัวธรรม การที่ครูให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน ทำให้นักเรียนมีการศึกษามีสติปัญญา การมีสติปัญญา การที่มีชีวิตที่ดีงามก็เป็นธรรม เพราะฉะนั้น งานนั้นก็เพื่อธรรม

           เมื่อเราเอาชีวิตของเราเป็นงาน เอางานของเราเป็นชีวิตไปแล้ว ก็กลายเป็นว่าชีวิตของเราก็เพื่อธรรม งานก็เพื่อธรรม ซึ่งมองกันไปให้ถึงที่สุด ไม่ใช่แค่เพื่อเท่านั้น คือ ที่ว่างานเพื่องาน งานเพื่อธรรม ชีวิตเพื่องาน ชีวิตเพื่อธรรม อะไรต่างๆ นี้ ในที่สุดทั้งหมดนี้ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อถึงขั้นนี้ก็ไม่ต้องใช้คำว่า “เพื่อ“ แล้ว เพราะทำไปทำมา ชีวิตก็คืองาน งานก็คือชีวิต และงานก็เป็นธรรมไปในตัว เมื่องานเป็นธรรมชีวิตก็เลยเป็นธรรมด้วย ตกลงว่า ทั้งชีวิตทั้งงานก็เป็นธรรม ไปหมด พอถึงจุดนี้ก็เข้าถึงเอกภาพที่แท้จริงแล้วทุกอย่างก็จะถึงจุดที่สมบูรณ์ในแต่ละขณะอย่างที่กล่าวแล้ว

           ในภาวะแห่งเอกภาพที่ชีวิต งาน และ ธรรม ประสานกลมกลืนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น คนที่ทำงานก็จะมีชีวิตและงานและธรรมสมบูรณ์พร้อมในแต่ละขณะที่เป็นปัจจุบัน และจะมีแต่ชีวิตและงานที่มีความสุข ไม่ใช่ชีวิตและงานที่มีความเศร้านี้เป็นประการที่หนึ่ง ประการที่สอง ชีวิตนั้นมีคุณค่าเป็นประโยชน์ ไม่มีโทษ และประการที่สาม ชีวิตนี้และงานนั้นดำเนินไปอย่างจริงจัง กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา ไม่ประมาท ลักษณะของงานอย่างหนึ่งที่เป็นโทษก็คือ ความเฉื่อยชา ความท้อแท้ ขาดความกระตือรือร้น ซึ่งโยงไปถึงสภาพจิตด้วย เมื่อเราได้คุณลักษณะของการทำงาน และชีวิตอย่างที่ว่ามานี้ เราก็ได้คุณภาพที่ดีทั้งสามด้าน คือ ได้ทั้งความสุข ได้คุณประโยชน์ หรือคุณค่า และได้ทั้งความจริงจัง กระตือรือร้น ซึ่งเป็นเนื้อแท้ในตัวงานด้วย

           ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว ชีวิตนั้นก็เป็นชีวิตที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งในแง่ของงานก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน แล้วก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประโยชน์ สุขที่จะเกิดแก่ชีวิต และสังคมของมนุษย์ด้วย ชีวิตอย่างนี้จึงมีความหมายเท่ากับประโยชน์สุขด้วย หมายความว่า ชีวิตคือประโยชน์สุข เพราะการเป็นอยู่ของชีวิตนั้น หมายถึงการเกิดขึ้น และการดำรงอยู่ของประโยชน์สุขด้วย

           คนผู้ใดมีชีวิตอยู่อย่างนี้ การเป็นอยู่ของเขาก็คือ ประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นแก่เพื่อนมนุษย์ แก่ชีวิต แก่ สังคมตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ถ้าผู้เป็นอย่างนี้มีชีวิตยืนยาวเท่าไร ก็เท่ากับทำให้ประโยชน์สุขแก่สังคม แก่มนุษย์ แผ่ขยายไปได้มากเท่านั้น ดังนั้น อายุที่มากขึ้นก็คือประโยชน์สุขของคนที่มากขึ้น แพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้นในสังคม

           ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอัครสาวกฝ่ายขวาของพระพุทธเจ้าถูกถามว่า ถ้าพระพุทธเจ้ามีอันเป็นอะไรไป ท่านจะมีความโศกเศร้าไหม พระสารีบุตรตอบว่า “ถ้าพระพุทธเจ้ามีอันเป็นอะไรไป ข้าพเจ้าจะไม่มีความโศกเศร้า แต่ข้าพเจ้าจะมีความคิดว่า ท่านผู้ทีมีคุณความดีมาก มีประโยชน์มาก ได้ลับล่วงไปเสียแล้ว ถ้าหากท่านดำรงอยู่ในโลกไปได้นานเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมากเท่านั้น” ท่านตอบอย่างนี้ก็หมายความว่า เป็นการตั้งท่าทีที่ถูกต้องต่อกันทั้งต่อตัวของท่านเอง และต่อชีวิตของท่านผู้อื่นด้วย ก็อย่างที่ว่ามาแล้วว่า ชีวิตที่ยืนยาวอยู่ในโลกของคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ก็คือ ความแพร่หลายของประโยชน์สุขมากยิ่งขึ้น

 

 

 

สารบัญ
งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข ชีวิตนี้เพื่องานงานนี้เพื่อธรรม
ชีวิตจะสุขสันต์ ถ้าทำงานมีความสุข เกิดมาแล้ว ควรใช้ชีวิตอย่างไร ?
เพราะรู้คุณจึงรักงาน และทำด้วยใจเบิกบานเป็นสุข ทำงานเพื่ออะไร ?
งานยิ่งเพิ่มคุณค่า เมื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาตัวคน ควรทำงานกันอย่างไร ?
ปรุงแต่งสิ่งอื่นได้หลายหลาย ทำไมไม่ปรุงแต่งใจตัวเองให้เป็นสุข จุดมุ่งหมายของคน หรือจุดมุ่งหมายของงาน ?
ตรวจสอบความเจริญก้าวหน้าให้แต่ละวันเวลา ได้ทั้งงานและความสุข ทำงานอย่างไร จึงจะได้ความสุข?
  ชีวิต งาน และธรรม : ความประสานสู่เอกภาพ
  ชีวิต งาน และธรรม : อิสรภาพภายในเอกภาพ
  ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน