เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
เกิดมาแล้ว ควรใช้ชีวิตอย่างไร ?
 

         ความจริงชีวิตก็เริ่มด้วยการเกิด การเกิดเป็นการเริ่มต้นของชีวิต ผู้ที่เห็นความสำคัญของชีวิตก็ย่อมเห็นว่าการเกิดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่มีการเกิด ชีวิตก็เริ่มต้นและเจริญต่อมาไม่ได้ วันเกิดนั้นในแง่หนึ่งจึงถือว่าเป็นวันของชีวิตและเป็นวันที่เตือนใจเราว่า การเกิด คือ การที่เราได้ชีวิตมา เมื่อเราได้ชีวิตมาแล้วเราจะใช้ชีวิตกันอย่างไรดี วันเกิดอย่างน้อยก็เตือนเราอย่างนี้ เตือนว่าเมื่อเราได้ชีวิตมาแล้วด้วยการเกิดนี้และเมื่อเราเป็นอยู่นี้ เราจะใช้ชีวิตกันอย่างไรดี

         ในเรื่องการใช้ชีวิตนี้คนก็มีความคิดเห็นกันต่างๆ หลายคนก็หลายทัศนะ แต่พูดกว้างๆ ก็อาจจะมีสัก ๕ - ๖ อย่าง

         แบบที่หนึ่ง หลายคนบอกว่า เออ... เราเกิดมาทั้งทีชาตินี้ไม่ยืดยาวนักอยู่กันชีวิตหนึ่ง ในเวลาที่ยังแข็งแรงหาความสุขได้ก็รีบหาความสนุกสนานใช้ชีวิตสำเริงสำราญกันให้เต็มที่ เพราะไม่ช้าไม่นานก็จะตาย ชีวิตก็จะหมดไป นี้คือ ทัศนะของคนพวกหนึ่งซึ่งมีมาแต่โบราณในสมัยพุทธการก็มี ถึงกับจัดเป็นลัทธิเลยทีเดียวเรียกว่า ลัทธิจารวาก ซึ่งจัดเป็นพวกวัตถุนิยมอย่างหนึ่ง

         บางคนมีทัศนะต่างออกไปอีก เขาบอกว่า คนเราเกิดมาเพื่อใช้หนี้กรรม เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตนี้จึงเป็นเพียงการคอยรับผลของกรรมที่ทำมาในปางก่อน ทัศนะแบบนี้แทบจะตรงข้ามกับทัศนะแรก ทัศนะแรกให้หาความสนุกสนานกันเต็มที่ แต่ทัศนะที่สองมองไปในแง่การใช้หนี้กรรม เลยค่อนข้างจะสลดหดหู่หน่อย แต่จะเป็นการมองที่ถูกหรือผิดตอนนี้จะยังไม่วิจารณ์

         ทัศนะแบบที่สาม ถือหลักแบบพระพุทธศาสนาตามคติอย่างหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นคำอุปมาท่านบอกว่า เปรียบเหมือนช่างร้อยดอกไม้หรือเรียกง่ายๆ ว่า นายมาลาการผู้ฉลาด เก็บเอาดอกไม้สีสรรวรรณะต่างๆ จากกองดอกไม้กองหนึ่งมาร้อยเป็นพวงมาลามาลัยบ้าง จัดแจกันบ้าง จัดเป็นพานบ้าง ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ที่สวยงามอย่างหลากหลายได้ฉันใด คนเราเกิดมาแล้วชาติหนึ่งก็ควรใช้ชีวิตนี้ทำความดีให้มากฉันนั้น

         อันนี้เป็นคติที่มองดูชีวิตของคนเรานี้ ว่าเป็นที่ประชุมของส่วนประกอบต่างๆ มากมาย ซึ่งทางพระเรียกว่าขันธ์ห้า และขันธ์ห้าก็ยังแยกย่อยออกไปอีกมากมาย รวมแล้วโดยสาระสำคัญ ก็คือ ส่วนประกอบต่างๆ มากมายทั้งด้านวัตถุและทางจิตใจมารวมกันเข้าเป็นชีวิตของเรา สิ่งเหล่านี้ก็คล้ายๆ กับกองดอกไม้ คือ ยังไม่ดีไม่สวยงาม ไม่ปรากฏคุณค่าอะไรออกมา มันกองอยู่ตั้งอยู่อย่างนั้น จะมองเป็นกองขยะก็ได้ จะมองเป็นกองดอกไม้ที่มีคุณค่าอยู่ในตัวก็ได้ แต่ยังไม่สำเร็จประโยชน์ชัดเจนอะไรออกมามันก็กองอยู่อย่างนั้น

         ทีนี้เราเอาชีวิตของเราที่ตั้งอยู่อย่างนี้ ที่เป็นกลางๆ ไม่ชัดเจนว่าจะมีคุณค่าอย่างไรนี้ เอามาทำความดี ถ้าเราเอาชีวิตนี้มาใช้ทำความดีก็ทำได้มากมาย หรือในทางตรงข้ามจะทำความชั่วก็ทำได้มากมายเช่นเดียวกัน เพราะมนุษย์มีศักยภาพมาก แต่ในทางธรรมถ้าเอาชีวิตนี้มาทำความดีก็จะทำความดีได้มากมาย เราจะเห็นว่า คนที่มีความมุ่งหมายในชีวิตแน่นอนแน่วแน่ในการทำความดี สามารถใช้ชีวิตชาติหนึ่งที่มองเห็นเป็นร่างกายยาววาหนาคืบกว้างศอกเท่านี้นี่เอง ทำสิ่งที่ดีงามได้มากมายมหาศาล สร้างสังคม สร้างชุมชน สร้างประเทศชาติ ตลอดจนสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก เป็นความดีงามมากมายเหลือเกิน ก็สามารถทำได้

         ในกรณีนี้เรามองว่ามนุษย์มีศักยภาพในการที่จะทำความดี ตามคตินี้ซึ่งเป็นคติทางพระพุทธศาสนาในธรรมบท ท่านสอนว่า คนเราเกิดมาแล้วควรใช้ชีวิตทำความดีให้มาก ถ้ามองในแง่นี้เราก็จะต้องขวนขวายพยายามทำความดีให้มากที่สุด

         ทีนี้อีกแง่หนึ่ง เป็นความหมายในทางที่ดีเหมือนกัน มองว่าชีวิตของคนเรานี้เป็นเรื่องของการพัฒนาตนเอง การใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตก็คือการฝึกฝนพัฒนาตนเอง หรือพัฒนาชีวิตนี้ให้มีความดีงามถึงความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามทัศนะแบบนี้ถือว่าคนเราเกิดมาไม่มีความสมบูรณ์ในตัวชีวิต คือ คนเรานี้เมื่อเกิดมาเริ่มต้นก็มีอวิชชา มีความไม่รู้และยังไม่มีความสามารถอะไรต่างๆ แต่เราสามารถพัฒนาชีวิตของเราได้ ฝึกฝนตนเองได้ อันนี้ก็เป็นคติในทางพระพุทธศาสนาอีกนั่นแหละ

         พระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และเป็นสัตว์ที่ฝึกได้เป็นพิเศษยิ่งกว่าสัตว์ชนิดใดๆ สัตว์อื่นๆ เช่น ช้าง ม้า และสัตว์ใหญ่น้อยทั้งหลายมากมาย สามารถนำมาฝึกและใช้ทำงานต่างๆ ก็ได้ เล่นละครต่างๆ ก็ได้ แต่ก็ได้แค่ที่มนุษย์จะฝึกให้ ต่างจากมนุษย์ซึ่งถ้าฝึกแล้วจะทำอะไรได้มากมายแสนวิเศษอัศจรรย์ ตามคตินี้ ความวิเศษของมนุษย์อยู่ที่การฝึก คือ ถือว่ามนุษย์เกิดมายังไม่สมบูรณ์ ความสามารถก็ยังไม่สมบูรณ์ สติปัญญาก็ยังไม่สมบูรณ์ คุณธรรมก็ยังไม่สมบูรณ์ เราจึงพยายามพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

         คติอย่างนี้ในระดับสูงสุดเรียกว่าเป็น คติพระโพธิสัตว์ สำหรับคติที่กล่าวก่อนหน้านี้ที่ว่า คนเราเกิดมาควรใช้ชีวิตทำความดีนั้นเป็นคติของชาวพุทธแบบทั่วไป แต่เมื่อจะฝึกฝนตนให้สมบูรณ์ก็เข้าแนวคติพระโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ย่อมพัฒนาตนให้สุดให้เต็มที่แห่งศักยภาพ
ศักยภาพของมนุษย์เมื่อพัฒนาเต็มที่ ก็คือ การถึงโพธิ คือ ตรัสรู้เป็นพุทธ ท่านบอกว่ามนุษย์นี้ถ้าไม่ฝึกแล้ว อาจจะต่ำทรามหรือด้อยกว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายยังอาศัยสัญชาตญาณได้มากว่ามนุษย์ จะเห็นได้จากการที่สัตว์หลายอย่างพอเกิดมาก็เดินได้ ว่ายน้ำได้ หากินได้ แต่มนุษย์นี้ในขณะที่เกิดมานั้นทำอะไรไม่ได้เลย ทิ้งไว้ก็ตาย สู้สัตว์อื่นไม่ได้ แม้แต่การดำเนินชีวิตก็ต้องสอนทุกอย่างไม่เหมือนสัตว์อื่นๆ ที่มีสัญชาตญาณช่วย

         ถ้ามนุษย์ไม่มีการฝึกก็แพ้สัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าฝึกดีแล้วก็ไม่มีสัตว์ชนิดใดสู้ได้เลย ฝึกได้จนกระทั่งเป็นพุทธถึงที่สุดแห่งศักยภาพ ซึ่งแม้แต่พระพรหมก็เคารพบูชา เรียกว่ามนุษย์สูงสุดกว่าสัตว์ใดๆ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการฝึกฝนพัฒนา เป็นอันว่ากรณีนี้เป็นคติโพธิสัตว์ คือ ใช้ชีวิตนี้พัฒนาศักยภาพกันให้เต็มที่

         ต่อมามีอีกคติหนึ่งว่า ชีวิตนี้ควรจะเป็นอยู่ให้ดีที่สุด เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในแต่ละขณะ ทุกขณะ หมายความว่า ทำชีวิตให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ในแต่ละขณะ ข้อนี้เป็นคติสำคัญ เป็นคติพุทธศาสนาเหมือนกัน

         ความจริงคติทั้งสามอย่างหลัง เป็นคติทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น อย่างที่บรรยายมาเมื่อกี้ว่าการใช้ชีวิตทำความดีให้มากเป็นคติที่ชาวพุทธทั่วไปถือเป็นหลัก การพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่เป็นคติธรรมแนวพระโพธิสัตว์ พอมาถึงข้อนี้ว่าทำชีวิตให้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ในแต่ละขณะทุกขณะไปเลย ก็เป็นคติพระอรหันต์และก็เป็นคติของพระพุทธเจ้าด้วย

         ที่ว่ามานี้ก็เป็นเรื่องของการใช้ชีวิตกันต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็สืบเนื่องจากการที่ได้มาคำนึงถึงว่า คนเราเกิดมานี้ เมื่อเกิดมาแล้วก็มีการสิ้นสุด ชีวิตนี้มีช่วงเวลาจำกัดไม่ยืนยาว เพราะฉะนั้นจึงควรคิดว่าจะใช้ชีวิตกันอย่างไร แต่ทั้งหมดนั้นก็มามองกันที่ว่ามีการเกิดและมีการตายอยู่หัวท้าย แล้วในระหว่างนั้นจะทำอย่างไร ยกเว้นแต่ข้อสุดท้ายซึ่งเป็นคติที่พิเศษ คือ เลยไปถึงขั้นที่ไม่เกิดไม่ตาย เพราะว่าเมื่อใช้ชีวิตเต็มเปี่ยมในแต่ละขณะแล้ว การเกิด การตายก็ไม่มี นั่นเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ เรียกว่า เป็นอมตะอยู่ในตัวเองเลยเพราะคนนั้นจะไม่นึกถึงเรื่องเกิดเรื่องตายอีกต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นคติที่ควรจะนำมาใช้ปฏิบัติได้ใครจะเลือกอย่างไร ก็พิจารณาได้ด้วยตนเอง

 

 

 

สารบัญ
งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข ชีวิตนี้เพื่องานงานนี้เพื่อธรรม
ชีวิตจะสุขสันต์ ถ้าทำงานมีความสุข เกิดมาแล้ว ควรใช้ชีวิตอย่างไร ?
เพราะรู้คุณจึงรักงาน และทำด้วยใจเบิกบานเป็นสุข ทำงานเพื่ออะไร ?
งานยิ่งเพิ่มคุณค่า เมื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาตัวคน ควรทำงานกันอย่างไร ?
ปรุงแต่งสิ่งอื่นได้หลายหลาย ทำไมไม่ปรุงแต่งใจตัวเองให้เป็นสุข จุดมุ่งหมายของคน หรือจุดมุ่งหมายของงาน ?
ตรวจสอบความเจริญก้าวหน้าให้แต่ละวันเวลา ได้ทั้งงานและความสุข ทำงานอย่างไร จึงจะได้ความสุข?
  ชีวิต งาน และธรรม : ความประสานสู่เอกภาพ
  ชีวิต งาน และธรรม : อิสรภาพภายในเอกภาพ
  ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน