เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 
จุดมุ่งหมายของคน หรือจุดมุ่งหมายของงาน ?
 

          จะเห็นว่าความหมายทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ เราจะสู้งานหรือจะคอยหนีจากงานก็อยู่ที่สภาพจิตใจอย่างที่ว่ามาแล้ว และในการที่จะมีสภาพจิตใจที่เอื้อต่อการทำงานนั้น สิ่งหนึ่งที่จะสนับสนุนให้คนทำงานได้ผลดีก็คือ กำลังใจ พอพูดถึงกำลังใจก็มีปัญหา อีกกำลังใจจะมาได้อย่างไร กำลังใจก็เป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงวงจรอีก มันย้อนไปย้อนมา ถ้าเรามีกำลังใจเราก็ทำงานได้ดี แต่ทำอย่างไรจึงจะมีกำลังใจ ถ้าทำงานแล้วได้ผลดีก็มีกำลังใจ พองานได้ผลดีมีกำลังใจ ก็ยิ่งทำงาน ยิ่งทำงานก็ยิ่งได้ผลดี ยิ่งได้ผลดีก็ยิ่งมีกำลังใจ อันนี้ก็เป็นเรื่องของการส่งผลย้อนไปย้อนมา

         กำลังใจ เป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน แต่การที่จะมีกำลังใจนั้นก็อยู่ที่การเข้าใจความหมายของงานนั้นแหละ คนที่เข้าใจความหมายของงานว่าจะทำให้ได้ผลตอบแทน หรือได้ผลประโยชน์มา ถ้าเขาได้ผลตอบแทนได้ผลประโยชน์มา เขามีกำลังใจแล้วก็ทำงาน แต่ถ้าไม่ได้ผลตอบแทนเป็นอัตราเป็นเงินทองก็ไม่มีกำลังใจ แต่อีกคนหนึ่งมองความหมายของงานว่าว่าเป็นการได้พัฒนาตน หรือเป็นการได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม เมื่อเห็นสังคมเจริญก้าวหน้ามีความสงบสุขยิ่งขึ้นเขาก็มีกำลังใจได้ แม้จะไม่ได้ผลตอบแทนเป็นวัตถุมากเท่าไร กำลังใจจึงไปสัมพันธ์กับผลตอบสนองจากงาน ไม่ว่าจะเป็นผลทางวัตถุหรือทางจิตใจ จะเป็นผลแก่ตนเองหรือผลแก่ส่วนรวมก็ตาม แล้วแต่จะมองความหมายของงานอย่างไร

         รวมความว่า กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ก็ไม่ใช่เครื่องกำกับที่แน่นอนว่าจะให้เกิดคุณค่าที่เป็นประโยชน์เสมอไป อย่างที่ว่าคนที่ทำงานมุ่งแต่ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินทองวัตถุ ถ้าผลตอบแทนน้อยไปไม่ได้มากมาย ก็จะเกิดปัญหาไม่มีกำลังใจในการทำงาน เพราะฉะนั้น เราจะต้องหาอะไรมาช่วยกำลังใจ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อให้งานเกิดคุณค่าอย่างแท้จริง สิ่งหนึ่งที่จะมาหนุนคุณค่านี้ได้ก็คือ ศรัทธา ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

         ศรัทธา คือ ความเชื่อ ซึ่งในความหมายอย่างหนึ่งก็คือ การเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น เมื่อเห็นคุณค่าของสิ่งใด ก็พอใจสิ่งนั้นและใจก็ยึดเหนี่ยวมุ่งไปหาและมุ่งไปตามสิ่งนั้น เมื่อมุ่งไปหาหรือมุ่งหน้าต่อสิ่งนั้นมุ่งจะทำและมุ่งจะตามไป ก็เกิดกำลังขึ้นมา ศรัทธาเป็นพลัง เมื่อเรามีศรัทธาต่อสิ่งใด เราก็จะสามารถอุทิศชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ อุทิศเรี่ยวแรงกำลังของเราให้แก่สิ่งนั้น เพราะฉะนั้น การที่จะให้เกิดกำลังใจในทางที่ดี จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นมา

         ศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเข้าใจความหมายนั่นแหละ เช่น ถ้าเราเข้าใจความหมายของงานในแง่ว่าเป็นสิ่งทีมีคุณค่า เป็นเครื่องสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม เป็นต้น เราก็เกิดศรัทธาในงานเพราะมองเห็นคุณค่าของงานนั้น พอมีศรัทธาอย่างนี้แล้วศรัทธานั้นก็จะส่งเสริมกำลังใจ ในลักษณะที่พ่วงเอาความเป็นคุณเป็นประโยชน์เข้ามาด้วย ไม่ใช่เป็นกำลังใจล้วนๆ ที่เพียงแต่เกิดจากความสมอยากในการได้วัตถุเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อมีศรัทธาแล้วกำลังใจทีเกิดขึ้นก็จะเป็นกำลังใจที่ทำให้เกิดสิ่งเรียกว่า ธรรม คือ มีความดีงาม มีคุณประโยชน์พ่วงมาด้วย

         นอกจากมีศรัทธาในงานแล้ว ก็ต้องมีศรัทธาในวิถีชีวิตด้วย เรื่องนี้จึงมีความหมายโยงไปหาชีวิตด้วย ว่าเรามองชีวิตอย่างไร คนที่มองความหมายของชีวิตในแง่ว่า วิถีชีวิตที่ดีก็คือ การหาความสนุกสนานให้เต็มที่ คนอย่างนั้นจะมาศรัทธาในความหมายของงาน ที่เป็นคุณประโยชน์แก่สังคมก็เป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้น ความหมายของงานที่จะทำให้เกิดศรัทธาจึงต้องโยงไปหาความหมายของชีวิตที่ดีด้วย พอมองว่าชีวิตที่ดี คือการที่เราได้ใช้ชีวิตให้เกิดคุณประโยชน์มีค่าขึ้นและการที่ได้พัฒนาตน เป็นต้น พอมองความหมายของงานในแนวเดียวกันนี้ ความหมายของงานนั้นก็มาช่วยเสริมในแง่ที่เกิดความสัมพันธ์อย่างสอดคล้องกัน คือ ความหมายของงานกับความหมายของชีวิต มาสัมพันธ์เสริมย้ำซึ่งกันและกัน แล้วศรัทธาก็จะเกิดขึ้นอย่างมั่นคง อันนี้ก็เป็นเรื่องของศรัทธา

         ทีนี้ มองต่อไปอีกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่อยู่แค่ศรัทธาเท่านั้น ถ้าเราวิเคราะห์จิตใจของคนที่ทำงานจะเห็นว่า แม้แต่ศรัทธาก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า แรงจูงใจ เมื่อมาทำงานเราก็ต้องมีแรงจูงใจทั้งนั้น ทั้งหมดที่พูดมาก็อยู่ในหลักการของเรื่องแรงจูงใจทั้งสิ้น คนเราจะทำกิจกรรมอะไรก็ต้องมีแรงจูงใจเมื่อมาทำงานเราก็ต้องมีแรงจูงใจให้มาทำงาน แรงจูงใจจึงเป็นหลักใหญ่ ในการแบ่งประเภทของการทำงานแรงจูงใจนั้นมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน

         แรงจูงใจด้านหนึ่งที่เป็นหลักใหญ่ๆ คือ ความต้องการผลตอบแทน ต้องการผลประโยชน์ต้องการเงินทอง อันนี้เป็นแรงจูงใจที่มุ่งเข้าหาตัวเองเป็นความปราถนาส่วนตัวหรือเห็นแก่ตัว ทางพระท่านเรียกว่า แรงจูงใจแบบตัณหา

         ทีนี้ ต่อจากตัณหายังมีอีกเราต้องการความสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จของตัวเรา โดยเฉพาะความสำเร็จของตัวเราในรูปของความยิ่งใหญ่ ในรูปของการได้ตำแหน่งได้ฐานะ เป็นต้น อันนี้ก็เป็นแรงจูงใจในแง่ของตัวเองเหมือนกัน คือ ความต้องการผลประโยชน์ตอบแทนส่วนตัว ในรูปของความสำคัญของตนเอง ความโดดเด่น เช่น มีตำแหน่งใหญ่โต มีฐานะสูง ข้อนี้เรียกว่า แรงจูงใจแบบมานะ มานะนั้นทางพระแปลว่าถือตัวสำคัญ คือ ความอยากให้ตนเองเป็นผู้โดดเด่นมีความสำคัญหรือยิ่งใหญ่ ไม่ใช่มานะในความหมายของภาษาไทยว่าความเพียรพยายาม

         ตกลงว่า แรงจูงใจพวกที่หนึ่งนี้เป็นเรื่องของตัณหาและมานะ ซึ่งสำหรับมนุษย์ปุถุชนก็ย่อมจะมีกันเป็นธรรมดา แต่จะทำอย่างไรให้ประณีต เช่นว่า ความต้องการผลตอบแทน ก็ขอให้อยู่ในขอบเขตเพียงว่าสำหรับให้เป็นอยู่ดีมีความสะดวกสบายพอสมควร ไม่ถึงกับขัดสนในปัจจัยสี่ และไม่ให้เป็นการเบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่คนอื่น หรือมานะก็อาจจะมาในรูปของความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงาน คือ เอาความสำเร็จมาโยงกับงาน ไม่ใช่เป็นเพียงความสำเร็จเพื่อความยิ่งใหญ่ของตน ถ้าหากว่าความสำเร็จไปโยงกับตัวงาน มันก็ยังเป็นเรื่องของความดีงามได้ เรื่องอย่างนี้ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธ ท่านยอมรับความจริงของปุถุชน แต่ทำอย่างไรจะให้โยงเข้าไปหาแรงจูงใจที่เป็นธรรมให้มากขึ้น

         ทีนี้ แรงจูงใจพวกที่สอง ก็คือ แรงจูงใจ เช่น อย่างศรัทธาที่มีต่องานที่มีคุณค่า เป็นแรงจูงใจที่ต้องการให้ความดีงามเกิดมีหรือปรากฏขึ้น ความต้องการความดีงาม ต้องการความจริง ต้องการสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์อะไรต่างๆ เหล่านี้ เป็นแรงจูงใจที่ท่านเรียกด้วยคำศัพท์ทางธรรมอีกคำหนึ่งว่าฉันทะ เช่น คนทำงานด้วยความต้องการให้เกิดความสงบสุขความเรียบร้อย ความเป็นระเบียบของสังคม ถ้าทำงานแพทย์ หรือทำงานเกี่ยวกับโภชนาการ ก็อยากให้มนุษย์ในสังคมนี้เป็นคนที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง อยากให้มีแต่อาหารที่มีคุณค่าแพร่หลายออกไปในสังคมนี้ แรงจูงใจหรือความปรารถนา อย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นแรงจูงใจแบบฉันทะ

         แรงจูงใจนี้สำคัญมาก ถ้ามองอีกแง่หนึ่งจะเห็นว่า แรงจูงใจนี้สัมพันธ์กับสัมฤทธิ์ผลหรือจุดมุ่งหมายซึ่งอาจแบ่งได้เป็น จุดหมายของคน กับ จุดหมายของงาน แรงจูงใจแบบที่หนึ่งที่ต้องการผลตอบแทนเป็นเงินเป็นทอง ต้องการเกียรติฐานะความยิ่งใหญ่นั้นโยงไปหาจุดหมายของคนที่ทำงาน ส่วนแรงจูงใจแบบที่สองจะมุ่งตรงไปยังจุดหมายของงาน

         ตามธรรมดาไม่ว่าเราจะทำงานอย่างไร งานนั้นย่อมมีจุดหมาย เช่นว่า การทำงานแพทย์ก็มีจุดหมายที่จำบำบัดโรค ทำให้คนไข้หายโรค ให้คนมีสุขภาพดีตัวงานนั้นมีความมุ่งหมายที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา ถ้าเราทำงานให้การศึกษา เราก็ต้องการผลที่เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา จุดหมายของงานในการให้การศึกษา ก็คือการที่เด็กและเยาวชนเป็นคนดี มีความรู้มีความประพฤติดี รู้จักดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ได้พัฒนาตนเองยิ่งขึ้นไป

         งานทุกอย่างมีจุดหมายของมัน แต่คนที่ไปทำงานก็มีจุดหมายของตัวเองด้วย ทีนี้ปัญหาก็อยู่ที่ว่าเมื่อเขาไปทำงานนั้น เขาจะทำงานเพื่อจุดหมายของคน หรือทำงานเพื่อจุดหมายของงาน ถ้าเขาทำงานด้วยแรงจูงใจแบบที่หนึ่ง จุดหมายที่อยู่ในใจของเขาก็จะเป็นจุดหมายของคน คือ ทำงานเพื่อจุดหมายของคน ให้ตนได้นั่นได้นี่ แต่ถ้าเขาทำงานด้วยแรงจูงใจแบบที่สอง เขาก็จะทำงานเพื่อจุดหมายของงาน ให้งานเกิดผลประโยชน์ตามคุณค่าของมัน

         ทีนี้ การเป็นปุถุชนเมื่อยังมีกิเลสก็ต้องประสานประโยชน์ คือ ต้องให้จุดหมายของคนไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับจุดหมายของงาน หมายความว่าต้องให้ได้จุดหมายของงานเป็นหลักไว้ก่อนแล้วจึงมาเป็นจุดหมายของคนทีหลัง คือ ให้จุดหมายจุดหมายของคนพลอยพ่วงต่อมากับจุดหมายของงาน ถ้าเอาแต่จุดหมายของคนแล้ว บางทีงานไม่สำเร็จ และเสียงานด้วย คือ คนนั้นมุ่งแต่จุดหมายคนอย่างเดียว จะเอาแต่ตัวได้เงินได้ทอง ไม่ได้ต้องการให้งานสำเร็จ ไม่ได้ต้องการเห็นผลที่ดีจะเกิดจากงานนั้น ไม่ได้มีความคิดที่จะเอาธุระ หรือเห็นความสำคัญเกี่ยวกับตัวงาน เพราะฉะนั้น จึงพยายามเลี่ยงงานหรือหาทางลัดที่จะไม่ต้องทำงาน ขอให้ได้เงินหรือผลตอบแทนมาก็แล้วกัน

         ตกลงว่า แรงจูงใจแบบหนึ่งสัมพันธ์กับจุดหมายของคน และแรงจูงใจอีกแบบหนึ่งสัมพันธ์กับจุดหมายของงาน ซึ่งจะมีจุดเชื่อมโยงต่อที่แตกต่างกันว่าเมื่อทำงานไปแล้วได้ผลสำเร็จขึ้นมา จะเป็นผลสำเร็จของคนหรือเป็นผลสำเร็จของงาน ถ้าจะทำงานให้ถูกต้องก็ต้องมองไปที่ผลสำเร็จของงาน ไม่ใช่มุ่งเอาแต่ผลสำเร็จของคน ถ้าจะเป็นผลสำเร็จของคนก็เพราะว่าเป็นผลสำเร็จของงานส่งทอดมาอีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่ว่างานเป็นเงื่อนไขที่จำใจต้องทำเพื่อผลสำเร็จของคน

         คนจำนวนไม่น้อยหวังผลสำเร็จ หรือผลประโยชน์ของคนอย่างเดียว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศชาติ การพัฒนาประเทศชาติ และการแก้ปัญหาของสังคมก็ยากที่จะบรรลุความสำเร็จ และจะส่งผลต่อไปถึงสภาพจิตใจดังที่ได้พูดมาแล้วว่า สภาพจิตใจกับการทำงานส่งผลย้อนกลับกันไปมา คือ สภาพจิตใจที่ดีส่งผลต่อการทำงานให้ทำงานได้ดี และการทำงานได้ดีมีผลสำเร็จ ก็ส่งผลย้อนกลับไปหาสภาพจิตใจทำให้มีกำลังใจเป็นต้นอีกทีหนึ่ง เช่น เรื่องสภาพจิตใจในด้านแรงจูงใจกับการมุ่งวัตถุประสงค์หรือจุดหมายของคน  หรือของงานซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของคนให้เป็นไปต่างๆ กัน

 

 

 

สารบัญ
งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข ชีวิตนี้เพื่องานงานนี้เพื่อธรรม
ชีวิตจะสุขสันต์ ถ้าทำงานมีความสุข เกิดมาแล้ว ควรใช้ชีวิตอย่างไร ?
เพราะรู้คุณจึงรักงาน และทำด้วยใจเบิกบานเป็นสุข ทำงานเพื่ออะไร ?
งานยิ่งเพิ่มคุณค่า เมื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาตัวคน ควรทำงานกันอย่างไร ?
ปรุงแต่งสิ่งอื่นได้หลายหลาย ทำไมไม่ปรุงแต่งใจตัวเองให้เป็นสุข จุดมุ่งหมายของคน หรือจุดมุ่งหมายของงาน ?
ตรวจสอบความเจริญก้าวหน้าให้แต่ละวันเวลา ได้ทั้งงานและความสุข ทำงานอย่างไร จึงจะได้ความสุข?
  ชีวิต งาน และธรรม : ความประสานสู่เอกภาพ
  ชีวิต งาน และธรรม : อิสรภาพภายในเอกภาพ
  ดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน