วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 16:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif
18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif [ 17.69 KiB | เปิดดู 9279 ครั้ง ]
4. วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา


วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา เรียกตามโวหารทางธรรมได้ว่า วิธีแห่งความดับทุกข์ จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่ง เพราะสามารรถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมด

บาลีที่พึงอ้างในข้อนี้ มีความสั้นๆ ดังนี้

“ภิกษุย่อมย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้

ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ ดังนี้

ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ความดับทุกข์คือดังนี้

ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์คือดังนี้

เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้

สังโยชน์ 3 อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพปรามาส ย่อมถูกละเสียได้”

(ม.มู.12/12/16)


วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ มีลักษณะทั่วไป 2 ประการคือ


1) เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล *

สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น 2 คู่คือ

คู่ที่ 1 ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสบซึ่งไม่ต้องการ

สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นจุดที่จะต้องกำจัดหรือแก้ไข จึงจะพ้นจากปัญหาได้

คู่ที่ 2 นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง

มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุจุดหมายคือภาวะ

สิ้นปัญหาอันได้แก่ความดับทุกข์

2) เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้อง

ของชีวิต ใช้แก้ปัญหา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัณหามานะทิฏฐิ

ซึ่งไม่อาจมาใช้ปฏิบัติ ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

วิธีคิดแบบนี้ รับกันหรือต่อเนื่องกันกับวิธีคิดแบบที่ 3 (วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์) กล่าวคือ

เมื่อประสบปัญหาได้รับความทุกข์ และเมื่อสามารถวางใจวางท่าทีต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง

ตามวิธีคิดแบบแบบที่ 3 ขั้นที่หนึ่งแล้ว ต่อจากนั้นเมื่อจะปฏิบัติด้วยปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหา

ตามวิธีปฏิบัติขั้นที่ 2 ของวิธีการคิดแบบที่ 3 นั้น พึงดำเนินความคิดในส่วนรายละเอียดขยายออกไป

ตามขั้นตอนอย่างที่แสดงในวิธีการคิดแบบที่ 4 นี้


หลักการหรือสาระ สำคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจจ์ก็คือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือความทุกข์

ที่ประสบ โดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหา คือ ความทุกข์นั้นให้ชัดเจน

แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไข

ในเวลาเดียวกันกำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่าคืออะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ และเป็นได้

อย่างไร

แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหาโดยสอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมาย

ที่กำหนดไว้นั้น

ในการคิดตามวิธีนี้ จะต้องตระหนักถึงกิจหรือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่ออริยสัจจ์แต่ละข้ออย่างถูกต้องด้วย

เพื่อให้มองเห็นเค้าความในเรื่องนี้


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* พึงระวังว่าเหตุและผล (Cause and effect) เป็นคนละอย่างกับเหตุผล (reason)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ค. 2010, 19:39, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะกล่าวถึงหลักอริยสัจจ์และวิธีปฏิบัติโดยย่อ ดังนี้


ขั้นที่ 1 ทุกข์ คือสภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง

ที่เกิดมีแก่ชีวิตหรือที่คนได้ประสบ ซึ่งเมื่อว่า อย่างกว้างที่สุดก็คือภาวะที่สังขารหรือนามรูป

หรือขันธ์ 5 หรือโลกและชีวิต ตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดา

เป็นของไม่เที่ยงแท้คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้นและขึ้นต่อเหตุปัจจัย

ไม่มีตัวตนที่จะอยู่ในอำนาจครอบครองบังคับได้จริงนั่นเอง สำหรับทุกข์นี้ เรามีหน้าที่เพียง

กำหนดรู้ คือทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตให้ชัด
เหมือนอย่างแพทย์กำหนดรู้

หรือตรวจให้รู้ว่า เป็นอาการของโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้เรียกว่า ปริญญา

เราไม่มีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิดมาแบกไว้หรือคิดขัดเคืองเป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์หรือห่วงกังวล

อยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้นมีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เราอยากแก้ทุกข์ได้

แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้

เราต้องแก้ด้วยรู้มันกำจัดเหตุของมัน

ดังนั้น จะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น

ข้อนี้นอกจากกำหนดรู้แล้ว ก็เพียงวางใจวางท่าทีแบบรู้เท่าทันคติธรรมดาอย่างที่กล่าวในขั้นที่ 1

ของวิธีที่ 3 เมื่อกำหนดรู้ทุกข์หรือเข้าใจปัญหา เรียกว่าทำปริญญาแล้วก็เป็นอันปฏิบัติหน้าที่

ต่อทุกข์หรือต่อปัญหาเสร็จสิ้น พึงก้าวไปสู่ขั้นที่สองทันที



ขั้นที่ 2 สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆ

ที่เข้าสัมพันธ์ขัดแย้งส่งผลสืบทอดกันมาจนปรากฏเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด

บกพร่อง ในรูปต่างๆแปลก ๆ กันไป อันจะต้องค้นหาให้พบ แล้วทำหน้าท่ต่อมันให้ถูกต้อง

คือ ปหาน ได้แก่ กำจัดหรือละเสีย ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้น หรือ ยืนโรงกำกับชีวิตอยู่ควบคู่

กับความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับหน้าโรงคือตัณหา * และระดับเต็มกระบวนหรือเต็มโรง

คือ การสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท ** เมื่อประสบทุกข์

หรือ ปัญหาจำเพาะแต่ละกรณี ก็ต้องพิจารณาสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

ใช้วิธีคิดแบบที่ 1 (วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย)

ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านมนุษย์ ก็พึงนำเอาตัวเหตุแกนกลางหรือเหตุยืนโรงมาพิจารณา

ร่วมกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย

เมื่อสืบค้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องกำจัดหรือแก้ไขได้แล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

การคิดขั้นที่สอง



ขั้นที่ 3 นิโรธ คือความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ ภาวะพ้นปัญหา

หมดหรือปราศจากปัญหา เป็นจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่สัจฉิกิริยา หรือประจักษ์แจ้ง

ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จ หรือบรรลุถึง

ในขั้นนี้ จะต้องกำหนดได้ว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้หรือจะปฏิบัติเพื่ออะไร

จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เป็นไปได้อย่างไร มีหลักการในการเข้าถึง

อย่างไร มีจุดหมายรอง หรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างไรบ้าง



ขั้นที่ 4 มรรค คือทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือวิธีแก้ไขปัญหา

ได้แก่ วิธีการและรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุด

หมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ ภาวนา คือ ปฏิบัติ หรือ ลงมือทำ
สิ่งที่พึงทำในขั้น

ของความคิด ก็คือ กำหนดวางวิธีการ แผนการและรายการสิ่งที่จะต้องทำ

ซึ่งจะช่วยให้แก้โขสาเหตุของปัญหาได้สำเร็จโดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ.



4.วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ (แบบที่ 4) จบ



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


* แสดงตัณหาเป็นทุกขสมุทัย เช่น วินย. 4/14/18 ฯลฯ

** แสดงกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทเป็นทุกขสมุทัย เช่น องฺ.ติก.20/501/227

และพุทธพจน์ แสดงหลักปฏิจจสมุปบาททุกแห่ง ซึ่งลงท้ายว่า เอวเมตสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย

โหติ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2012, 19:23, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(แบบที่ 3)


3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์


3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองอย่างรู้เท่าทันความเป็นไป

ของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันเอง ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิด

จากเหตุปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้น จะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ธรรมดาที่ว่านั้น ได้แก่

อาการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องดับไป ไม่เที่ยงแท้

ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ไม่คงอยู่ตลอดไป เป็นอนิจจัง ปัจจัยทั้งหลายทั้งภายใน และ ภายนอก

ทุกอย่าง ต่างก็เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเสมอเหมือนกัน เมื่อเข้ามาสัมพันธ์กันจึงเกิด

ความขัดแย้ง ทำให้สิ่งเหล่านั้น

มีสภาวะถูกบีบคั้นกดดัน ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ จะต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนสลาย

เป็นทุกข์

ในเมื่อต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็ไม่อาจเป็นของของใคร เช่นเดียวกับที่ไม่อาจเป็นตัวตน

ของมันเอง และ ไม่อาจมีอยู่โดยตัวของมันเอง มันไม่อาจเป็นตามความปรารถนาของใคร

ไม่มีใครคิดอยากบังคับมันได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองมันได้จริง เพรามันเป็นไป

ตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปตามใจอยากของใคร เป็นอนัตตา

รวมความว่า รู้เท่าทันว่าสิ่งทั้งหลายเป็นธรรมชาติ มีลักษณะความเป็นไปโดยทั่วไปเสมอ

เหมือนกันตามธรรมดาของมัน ในฐานะที่เป็นของปรุงแต่งเกิดจากเหตุปัจจัยและขึ้นต่อเหตุปัจจัย

ทั้งหลายเช่นเดียวกัน


วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์นี้แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน


ขั้นที่หนึ่งคือรู้เท่าทันและยอมรับความจริง

เป็นขั้นวางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ

เป็นท่าทีแห่งปัญญา ท่าทีแห่งความเป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว แม้เมื่อประสบสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนา

หรือมีเรื่องราวไม่น่าพึงใจเกิดขึ้นแล้ว คิดขึ้นได้ ว่าสิ่งนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ เป็นไปตามคติธรรมดา

เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คิดได้อย่างนี้ก็เป็นท่าทีแห่งการปลงตก ถอนตัวขึ้นได้

หายจากความทุกข์ หรือ อย่างน้อยก็ทำให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง หรือเมื่อประสบสถานการณ์

มีเรื่องราวเช่นนั้นเกิดขึ้น เพียงตั้งจิตสำนึกขึ้นได้ในเวลานั้นว่า เราจะมองตามความเป็นจริง

ไม่มองตามความอยากให้เป็นหรืออยากไม่ให้เป็น

การที่จะเป็นทุกข์ก็ผ่อนคลายลงได้ทันที เพราะเปลื้องตัวเป็นอิสระได้ ไม่เอาตัวเข้าไปให้ถูกกด

ถูกบีบ (ความจริงคือไม่สร้างตัวตนขึ้นให้ถูกกดถูกบีบ)


ขั้นที่สอง คือแก้ไข และทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย

โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน

เป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว กล่าวคือเมื่อรู้อยู่แล้วว่า

สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยขึ้นต่อเหตุปัจจัย เราต้องการให้มันเป็นอย่างไร

ก็ศึกษาให้รู้เข้าใจเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่จะทำให้มันเป็นไปอย่างนั้น แล้วแก้ไข

ทำการจัดการที่ตัวเหตุปัจจัยเหล่านั้น เมื่อทำเหตุปัจจัยพร้อมบริบูรณ์ ที่จะให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว

ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้น

เมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อมที่จะให้เป็น ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะไม่เป็นอย่างนั้น

กล่าวสั้นคือแก้ไขด้วยความรู้และแก้ที่ตัวเหตุปัจจัย

ไม่ใช่แก้ด้วยความอยาก เพียงแต่กำหนดรู้ความอยากของตน และกำหนดรู้เหตุปัจจัย แล้วแก้ไข

กระทำการที่เหตุปัจจัย เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ถอนตัวเป็นอิสระได้

ไม่ถูกความอยากพาตัว (ความจริง คือ สร้างตัว) เข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ

เป็นการปฏิบัติอย่างไม่ถูกมัดตัว

เป็นอันว่าทั้งทำการ และทั้งปล่อยให้สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นวิธีปฏิบัติ

ที่ทั้งได้ผลดีที่สุด และตนเองก็ไม่เป็นทุกข์

การปฏิบัติตามวิธีแบบที่ 3 ในขั้นที่สองนี้ สัมพันธ์กับวิธีคิดแบบที่ 4 กล่าวคือ

ใช้วิธีคิดแบบที่ 4 มารับช่วงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2012, 18:42, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความอ้างจากบาลี ซึ่งใช้วิธีคิดแบบที่ 3 ยกมาให้ดูเพียงเล็กน้อยพอเป็นตัวอย่าง


“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ซึ่งรูป

และจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งรูปตามความเป็นจริง...

จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งเวทนา และจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งเวทนาตามความเป็นจริง...

จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสัญญา และจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งสัญญาตามความเป็นจริง...

จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสังขาร และจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งสังขารตามความเป็นจริง...

จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งวิญญาณ และจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งวิญญาณตามความ

เป็นจริง...”


(สํ.ข.17/104/64)


“ภิกษุผู้มีสุตะ พึงมนสิการโดยแยบคาย ซึ่งอุปาทานขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง

โดยความเป็นของถูกปัจจัยบีบคั้น... โดยความเป็นของไม่ใช่อัตตา...”


(สํ.ข.17/315/205)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2012, 18:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ต่อไปนี้ แสดงการคิดแบบสามัญลักษณะเพื่อวัตถุประสงค์ แห่งการรู้เท่าทัน

ตามความเป็นจริง ให้ใจเป็นอิสระ มิให้เกิดทุกข์



“ภิกษุทั้งหลาย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย

เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด ? (พึงเข้าใจดังนี้)

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ขาดสุตะ (ไม่ได้เรียนรู้) มิได้พบเห็นอริยชนไม่ฉลาดในอริยธรรม

ไม่ได้รับการฝึกอบรมในอริยธรรม มิได้พบเห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม

ไม่ได้รับการการฝึกอบรมในสัปปุริสธรรม ย่อมมองเห็นรูปเป็นตน มองเห็นตนมีรูป

มองเห็นรูปในตน หรือมองเห็นตนในรูป

รูปของเขานั้นผันแปรไปกลายเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวัง

คับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะการที่รูปผันแปรไป กลายเป็นอื่น

เขามองเห็นเวทนา....สัญญา...สังขาร...วิญญาณ (เป็นอัตตาเป็นต้น อย่างที่กล่าวมาแล้ว) ....

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา

เพราะการที่เวทนา....สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ผันแปรไป กลายเป็นอื่น


“ส่วนภิกษุรู้ชัดว่า รูป...เวทนา....สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง แปรปรวนได้

จางหายดับสิ้นได้ มองเห็นตามเป็นจริงด้วยสัมมาปัญญาอย่างนี้ว่า รูป...เวทนา....สัญญา...

สังขาร...วิญญาณ ทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ทั้งในกาลก่อน ทั้งในบัดนี้ ก็เช่นเดียว

เธอย่อมละ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลายได้

เพราะละโสกะ เป็นต้น นั้นได้

เธอย่อมไม่ต้องหวั่นหวาดเสียวใจ เมื่อไม่หวั่นหวาดเสียวใจ ย่อมอยู่เป็นสุข

ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรียกได้ว่าตทังคนิพพานแล้ว”

(สํ.ข.17/87-88/53-55)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

ตทังคนิพพาน= นิพพานเฉพาะกรณี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2012, 18:43, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน พุทธพจน์ คห.บน มีกล่าวถึงโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาสด้วย

ดังนั้นพึงพิจารณาความหมายศัพท์เหล่านั้น ตามหลักปฏิจจสมุปบาทอีกสักหน่อย :b1:



โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ซึ่งเรียกรวมว่า ความทุกข์นั่นเอง

คำสรุปของปฏิจจสมุปบาทจึงมีว่า

"กองทุกข์ทั้งปวง จึงเกิดมีด้วยอาการอย่างนี้"

อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นวัฏฏะหรือวงจร

ความสิ้นสุดจึงไม่มี

แท้จริง องค์ประกอบช่วงนี้ กลับเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งอีกตอนหนึ่ง

ที่จะทำให้วงจรหมุนเวียนต่อไป กล่าวคือ

โสกะ (ความแห้งใจ)

ปริเทวะ (ความร่ำไร)

ทุกข์ โทมนัส (ความเสียใจ)

อุปายาส (ความผิดหวังคับแค้นใจ)

เป็นอาการสำแดงออก ของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักดองอยู่ในจิตสันดาน

ที่เรียกว่า อาสวะ อันได้แก่

ความใฝ่ใจในสิ่งสนองความอยาก ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ (= กามาสวะ)

ความเห็นความยึดถือต่างๆ เช่น ยึดถือว่า รูปเป็นเรา รูปเป็นของเรา เป็นต้น (= ทิฏฐาสวะ)

ความชื่นชอบอยู่ในใจว่า ภาวะแห่งชีวิตอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นสิ่งดีเลิศ ประเสริฐ มีความสุข

หวังใจใฝ่ฝันที่จะได้อยู่ครองภาวะชีวิตนั้น เสวยสุขให้นานแสนนาน หรือตลอดไป (= ภวาสวะ)

และความไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (= อวิชชาสวะ)


ชรามรณะ เป็นเครื่องหมายแห่งความเสื่อมสิ้นสลาย ซึ่งขัดกับอาสวะเหล่านี้ เช่น

ในด้านกามาสวะ ชรามรณะ ทำให้ปุถุชนเกิดความรู้สึกว่า ตนกำลังพลัดพราก หรือหมดหวัง

จากสิ่งที่ชื่นชอบที่ปรารถนา

ในด้านทิฏฐาสวะ เมื่อยึดถือยู่ว่า ร่างกายเป็นตัวเราเป็นของเรา พอร่างกายแปรปรวนไป

ก็ผิดหวังแห้งใจ

ในด้านภวาสวะ ทำให้รู้สึกตัวว่า จะขาด พลาด พราก ผิดหวัง หรือหมดโอกาสที่จะครองภาวะ

แห่งชีวิตที่ตัวชื่นชอบอย่างนั้นๆ

ในด้านอวิชชาสวะ ก็คือขาดความรู้ ความเข้าใจมูลฐานตั้งแต่ว่า ชีวิตคืออะไร ความแก่ชราคืออะไร

ควรปฏิบัติอย่างไร ต่อความแก่ชรา เป็นต้น

เมื่อขาดความรู้ ความคิดในทางที่ถูกต้อง

พอนึกถึงหรือเข้าเกี่ยวข้องกับชรามรณะ ก็บังเกิดความรู้สึกและแสดงอาการในทางหลงงมงาย

ขลาดกลัว และเกิดความซึมเซาหดหู่ต่างๆ

ดังนั้น อาสาวะ จึงเป็นเชื้อ เป็นปัจจัยที่จะให้ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เกิดขึ้นได้ทันที ที่ชรามรณะเข้ามาเกี่ยวข้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2012, 18:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส แสดงถึงอาการมืดมัวของจิตใจ

เวลาใดความทุกข์เหล่านี้เกิดขึ้น จิตใจจะพร่ามัวร้อนรนอับปัญญา

เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ก็เท่ากับพ่วงอวิชชา เกิดขึ้นมาด้วย อย่างที่กล่าวในวิทธิมรรคว่า

“โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ไม่แยกไปจากอวิชชา และธรรมดาปริเทวะ

ก็ย่อมมีแก่คนหลง เหตุนั้น เมื่อโสกะเป็นต้น สำเร็จแล้ว อวิชชาก็ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้ว”

(วิสุทธิ.3/192)

ว่า “ในเรื่องอวิชชา พึงทราบว่า ย่อมเป็นอันสำเร็จมาแล้วแต่ธรรม มีโสกะเป็นต้น”

(วิสุทธิ.3/193)

และว่า “อวิชชา ย่อมยังเป็นไปตลอดเวลา ที่โสกะเป็นต้นเหล่านั้น ยังเป็นไปอยู่”

(วิสุทธิ.3/124)

โดยนัยนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด”

(ม.มู.12/128/100)

และสรุปได้ว่า ชรามรณะของปุถุชน ซึ่งพ่วงด้วยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา หมุนวงจรต่อไปอีก สัมพันธ์กันไม่ขาดสาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suhee
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์(หรือนิพพานนั่นเอง)
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร