วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




30.jpg
30.jpg [ 87.61 KiB | เปิดดู 11286 ครั้ง ]
(พุทธธรรม หน้า 264 )


ก่อนนำคำอธิบาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


พึงทราบคำสรุปนิพพานก่อน

สรุปความว่า นิพพานมีอย่างเดียว แต่แบ่งออกเป็นสองด้าน

ด้านที่หนึ่ง

คือนิพพานในแง่ของความหมายสิ้นกิเลส ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก

หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน


ด้านที่สอง

คือ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆ แท้ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้บรรลุ

ไม่อาจหยั่งถึงด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์ทั้ง 5

เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์ 5 ทั้งหมด

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายของนิพพานเองแท้ๆ ล้วนๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5)

สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติ เมื่อสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต

ประจำวัน


พูดอีกอย่างหนึ่ง

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็นอารมณ์

สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์



ตามภาวะแท้จริงแล้ว นิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น

แต่ที่แยกประเภทออกไป ก็เพื่อแสดงอาการของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิพพานบ้าง

พูดถึงนิพพานโดยปริยาย คือ ความหมายบางแง่บางด้านบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 พ.ย. 2009, 18:29, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2008, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆๆ ท่านกรัชกายกล่าวดีแล้วครับ :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2008, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของนิพพานธาตุสองอย่าง ดังนี้



1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่เป็นไปกับด้วยอุปาทิเหลืออยู่

หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5

ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า นิพพานท่ามกลางกระบวนการรับรู้ทางประสาททั้ง 5 ซึ่งเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5

โดยฐานเป็นอารมณ์ หรือ สิ่งที่ถูกรับรู้
*

นิพพานในข้อนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงผลซึ่งปรากฏออกมาในการรับรู้ หรือการเกี่ยวข้องกับโลก

คือสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินชีวิตตามปกติของพระอรหันต์

ดังนั้น จึงเล็งไปที่ความหมายในแง่ของความสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ * ซึ่งทำให้การรับรู้หรือเสวย

อารมณ์ต่างๆ เป็นไปความจิตใจที่เป็นอิสระ

ขยายความออกไปว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะจิตของพระอรหันต์ซึ่งปลอดโปร่ง

เป็นอิสระไม่ถูกปรุงแต่งบังคับด้วยราคะ โทสะ และโมหะ ทำให้พระอรหันต์นั้น ผู้ยังมีอินทรีย์สำหรับรู้

อารมณ์ต่างๆ บริบูรณ์ดีอยู่ตามปกติ เสวยอารมณ์ทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทัน

ธรรมชาติของมัน

การเสวยอารมณ์ หรือเวทนานั้น ไม่ถูกกิเลสครอบงำหรือชักจูง จึงไม่ทำให้เกิดตัณหาทั้งในทางบวก

และทางลบ (ยินดี-ยินร้าย ชอบ-ชัง- ติดใจ-ขัดใจ)


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ไม่มีตัณหาที่จะปรุงแต่งภพหรือชักนำไปสู่ภพ (ภวเนตติ) ภาวะนี้มีลักษณะ

ที่มองได้ 2 ด้าน

ด้านหนึ่งคือการเสวยอารมณ์นั้นเป็นเวทนาอย่างบริสุทธิ์ในตัว เพราะไม่มีสิ่งกังวลติดข้องค้างใจ

หรือเงื่อนปมใดๆ ภายในที่จะมารบกวน

และอีกด้านหนึ่ง เป็นการเสวยอารมณ์ อย่างไม่สยบ ไม่อภินันท์ ไม่ถูกครอบงำหรือผูกมัดตัว ไม่ทำให้เกิด

การยึดติดหรือมัวเมาเป็นเงื่อนงำต่อไปอีก

ภาวะเช่นนี้ ย่อมเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในการดำเนินชีวิตตามปกติของพระอรหันต์ เป็นเรื่องปัจจุบันเฉพาะหน้า

แต่ละเวลาแต่ละขณะ ที่รับรู้อารมณ์ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเรียกว่า ทิฏฐธรรม

(แปลว่า อย่างที่เห็นๆ กัน หรือทันตาเห็น ในเวลานั้นๆ)

ตามความหมายดังที่กล่าวมานี้

นิพพานธาตุอย่างที่หนึ่ง จึงเป็นกระบวนภาวะของพระอรหันต์ที่ยังทรงชีพและดำเนินชีวิตเกี่ยวข้อง

กับโลกภายนอกอยู่ตามปกติ อย่างที่เห็นๆ กันและทันตาเห็นเป็นปัจจุบัน


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

* ขันธ์ 5 โดยฐานเป็นอารมณ์ หรือ สิ่งที่ถูกรู้


* ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน

(สํ.สฬ. 18/497/310; 513/321)

ความบำราศราคะ ความบำราศโทสะ ความบำราศโมหะ นี้เป็นชื่อของนิพพานธาตุ

(สํ.ม.19/31/10) [/size]

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 18:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1244385199.gif
1244385199.gif [ 15.09 KiB | เปิดดู 11284 ครั้ง ]
2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่

หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ได้แก่

นิพพานของพระอรหันต์พ้นจากเวลาเสวยอารมณ์ด้วยอินทรีย์ 5

หรือนิพพานของพระอรหันต์ที่นอกเหนือจากความเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ในกระบวนการรับรู้เสวย

อารมณ์


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะของนิพพานเองล้วนๆ แท้ๆ ซึ่งประจักษ์แก่พระอรหันต์ในเมื่อประสบการณ์

ในกระบวนการรับรู้ทางประสาททั้ง 5 สิ้นสุดลง หรือในเมื่อไม่มีการรับรู้ หรือในเมื่อไม่เกี่ยวข้อง

กับการรับรู้อารมณ์ทางประสาททั้ง 5 เหล่านั้น

(รวมทั้งอารมณ์ผ่านทางประสาททั้ง 5 นั้น ที่ยังค้างอยู่ในใจ)

ขยายความออกไปว่า

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะนิพพานที่พระอรหันต์ประสบอันเป็นส่วนที่ลึกซึ้งลงไป

หรือล้ำเลยออกไปกว่าที่มองเห็นกันได้ พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์หรือรับรู้ประสบการณ์ทางอินทรีย์

ทั้ง 5 แล้ว กล่าวคือ หลังจากรับรู้ประสบการณ์ หรือเสวยอารมณ์ โดยไม่อภินันท์ ด้วยตัณหา

ไม่เสริมแต่งคลอเคลียหรือกริ่มกรุ่นด้วยกิเลสคือราคะ โทสะ และโมหะ แล้วอารมณ์หรือประสบการณ์

เหล่านั้น ก็ไม่ค้างคาที่จะมีอำนาจครอบงำชักจูงหรือรบกวนต่อไปอีก จึงกลายเป็นของเย็น

(สีติภวิสฺสนฺติ) คือสงบราบคาบหมดพิษสงไป ไม่อาจก่อชาติก่อภพขึ้นได้อีก


พูดเป็นสำนวนว่า พระอรหันต์มีความสามารถพิเศษที่จะทำให้อารมณ์หรือสบการณ์ต่างๆ

ที่ผ่านเข้ามา มีสภาพเป็นกลางปราศจากอำนาจครอบงำหน่วงเหนี่ยว

กลายเป็นของสงบเย็นอยู่ใต้อำนาจของท่าน

พระอรหันต์จึงได้ชื่อที่เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งว่า สีติภูตะ หรือสีตะ แปลว่า เป็นผู้เย็นแล้ว *

ภาวะที่ประจักษ์โดยปราศจากประสบการณ์เสริมแต่งค้างคาอยู่ หรือภาวะที่ประสบในเมื่อไม่มี

อารมณ์ภายนอกคั่งค้างครองใจหรือคอยรบกวนอยู่ เช่นนี้ นับว่าเป็นภาวะชั้นใน ซึ่งนอกเหนือจาก

การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก ล้ำเลยไปกว่าระดับการรับรู้ทางอินทรีย์ 5

พ้นจากประบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ที่พัวพันอยู่กับขันธ์ 5

เรียกได้ว่าเป็นการเข้าถึงภาวะที่ปราศจากภพ หรือไม่มีภพใหม่

ในภาวะเช่นนี้ คือ เมื่อไปมีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว

ก็จึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือประจักษ์หรือประสบนิพพานในฐานะที่เป็นธัมมายตนะ**

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

นิพพานในข้อที่สองนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ที่ประจักษ์แก่พระอรหันต์

พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ภายนอก นอกเหนือจาการดำเนินชีวิตตามปกติ

เป็นภาวะที่พูดถึงหรือบรรยายได้เพียงแค่ลักษณะของการเกี่ยวข้องกับนิพพานนั้น

ถึงจุดที่ประสบการณ์อย่างที่รู้ที่เข้าใจกัน ซึ่งไม่ใช่นิพพานได้สิ้นสุดลง

ส่วนภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ซึ่งลึกเลยไปกว่านั้น เป็นเรื่องของผู้ประสบและประจักษ์เองจะรู้

และเข้าใจ คือเป็นสันทิฏฐิกะ


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


* เช่น ในข้อความว่า “ตถาคต...เป็นผู้ดับร้อนหมดแล้ว เย็นซึ้งเหมือนห้วงน้ำลึก”

( ขุ.สุ.25/359/415)

และ “(ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว) เป็นผู้หายหิว ดับร้อน เย็นซึ้ง เสวยแต่ความสุข

มีตนเป็นพรหมอยู่แล้วตั้งแต่ในปัจจุบันทีเดียว”

(ม.ม.13/17/17 ฯลฯ)

** ธัมมายตนะ อายตนะภายนอกอย่างที่ 6 ได้แก่ ธรรมารมณ์ ซึ่งแยกได้เป็นขันธ์ 5

กับนิพพาน

(นิพพานเป็นธรรมนอกเหนือจากขันธ์ 5 ดังในคัมภีร์ชั้นหลัง มีคำแสดงลักษณะนิพพาน

อีกคำหนึ่งว่า ขันธวินิมุต แปลว่า พ้นจากขันธ์ คือจัดเข้าในขันธ์ 5 ไม่ได้

(ปญฺจ.อ. 389 ฯลฯ)

แต่กระนั้นก็จัดเข้าในธัมมายตนะด้วย

(วิภงฺค.อ.67 ฯลฯ)[/size]

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 17:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


--vขอบพระคุณในความรู้ครับ :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




207714.jpg
207714.jpg [ 70.81 KiB | เปิดดู 11279 ครั้ง ]
อิติ.อ. 215 ว่า โดยปรมัตถ์ (ความหมายสูงสุดหรือความหมายที่แท้จริง)

นิพพานไม่มีการแบ่งประเภท แต่ที่แบ่งเป็นสอง เป็นการแบ่งโดยปริยายเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 17:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




559802.gif
559802.gif [ 57.14 KiB | เปิดดู 11278 ครั้ง ]
ย้อนกลับมาดูรายละเอียดของศัพท์ดังกล่าวข้างต้น


การแบ่งประเภทนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือที่แบ่งเป็นนิพพานธาตุ 2 ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ

ได้แก่

1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ

2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื้อเหลือ


สิ่งที่เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทในที่นี้คือ อุปาทิ ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่สภาพที่ถูกกรรมกิเลส

ถือครอง หรือสภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น หมายถึงเบญจขันธ์

เมื่อถือตามคำอธิบายนี้ จึงได้ความหมายว่า


1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้อง

กับเบญจขันธ์

2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ หรือ นิพพานที่ไม่เกี่ยวข้อง

กับเบญจขันธ์

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

นิพพานอย่างแรก แปลความหมายกันต่อไปอีกว่า หมายถึงดับกิเลส

แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่

ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกาว่า กิเลสปรินิพพาน (ดับกิเลสสิ้นเชิง)


ส่วนนิพพานอย่างที่สอง ก็แปลกันต่อไปว่า ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพาน

ของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกาว่า ขันธปรินิพพาน

(ดับขันธ์ 5 สิ้นเชิง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 17:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




4.jpg
4.jpg [ 23.29 KiB | เปิดดู 11275 ครั้ง ]
เพื่อความแจ่มชัด และให้ผู้ศึกษาพิจารณา จะคัดข้อความตามบาลีเกี่ยวกับเรื่องนี้มาลง ดังนี้



“แท้จริง พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 อย่างเหล่านี้ กล่าวคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”


“ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว

บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้ว

หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

อินทรีย์ 5 ของเธอยังดำรงอยู่เทียว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย เธอย่อมได้เสวยอารมณ์

ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ

ย่อมเสวยทั้งสุขและทุกข์ อันใดเป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ของเธอ

อันนี้เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”


ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกมัด

ไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิต) ทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของเธอ ซึ่งเธอไม่ติดใจเพลินแล้ว

(อนภินันทิต) จักเป็นของเย็น

ข้อนี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”


มีคาถาสำทับความอีกว่า

“นิพพานธาตุ 2 อย่างเหล่านี้ พระผู้ทรงจักษุ ผู้คงที่ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ได้ทรงประกาศไว้แล้ว

(คือ)

นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐธัมมิกะ (มีในปัจจุบัน หรือทันตามเห็น) ชื่อว่า สอุปาทิเสส

เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่ง เป็นสัมปรายิกะ (มีในเบื้องหน้า หรือเป็นขอล้ำ) เป็นที่ภพทั้งหลายดับ

ไปหมดสิ้น ชื่อว่า อนุปาทิเสส..”

(ขุ.อิติ. 25/222/258)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 17:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพิจารณาตามพุทธพจน์ที่แสดงนิพพานธาตุ 2 อย่างนั้น

จะเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวถึงนิพพานโดยบรรยายอาการ หรือลักษณะแห่งการเกี่ยวข้อง

กับนิพพาน คือ กล่าวถึงนิพพานเท่าที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้บรรลุ

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ใช้บุคคลผู้บรรลุนิพพาน เป็นอุปกรณ์สำหรับทำความเข้าใจ

เกี่ยวกับนิพพาน

มิใช่เป็นการบรรยายภาวะของนิพพานล้วนๆโดยตรง ทั้งนี้เพราะภาวะของนิพพานเองแท้ๆ

เป็นสันทิฏฐิกะ อันผู้บรรลุจะเห็นได้เอง

และเป็นปัจจัตตัง เวทิตัพพัง วิญญูหิ อันวิญญูชน รู้ได้จำเพาะที่ตัวเอง


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

โดยนัยนี้ การอธิบายโดยแบ่งนิพพานเป็น 2 อย่างนี้ ก็ไม่มีอะไรแตกต่างหรือล้ำลึกกว่าที่

ได้อธิบายมาแล้วใน ตอนที่ว่าด้วยภาวะของนิพพานและภาวะของผู้บรรลุนิพพาน

(ลิงค์นี้)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... sc&start=0

ขอย้ำความที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ ที่ว่า โดยปรมัตถ์ (ความหมายสูงสุดหรือความหมายที่แท้

จริง) นิพพานไม่มีการแบ่งประเภท แต่ที่แบ่งเป็นสองนั้น เป็นการแบ่งโดยปริยายเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 17:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18.jpg
18.jpg [ 32.87 KiB | เปิดดู 11272 ครั้ง ]
ถ้าจะอุปมา เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย เหมือนคนที่ว่ายน้ำฝ่ากระแสคลื่นลมอยู่ในทะเลใหญ่

ผู้บรรลุนิพพานก็เหมือนคนที่ขึ้นฝั่งได้แล้ว ภาวะที่ขึ้นอยู่บนฝั่งแล้ว ซึ่งเป็นภาวะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในตัว

ของมันเอง มีความปลอดโปร่งโล่งสบาย ซึ่งบุคคลผู้นั้นประสบอยู่ภายใน ประจักษ์แก่ตนเอง

โดยเฉพาะเปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน

ส่วนภาวะที่ไม่ถูกบีบคั้นคุกคาม ไม่ติดขัดจำกัดตัวอยู่ในเกลียวคลื่น ไม่ถูกซัดไปซัดมา ไม่เป็นผู้ตก

อยู่ใต้อำนาจของคลื่นลม สามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวอย่างเป็นอิสระและได้ผลดี

ขยับเขยื้อนไหวได้ตามปรารถนา เปรียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน

หรือถ้าจะอุปมาให้ใกล้ตัวให้มากกว่านั้น เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายเหมือนคนเจ็บไข้ ผู้บรรลุนิพพาน

ก็เหมือนคนที่หายป่วยแล้ว หรือคนที่สุขภาพดี ไม่มีโรค ความไม่มีโรค หรือความแข็งแรง

มีสุขภาพดีนั้น เป็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะประสบประจักษ์อยู่ภายใน

ตนเองโดยเฉพาะ

ภาวะนี้จะอิ่มเอิบชื่นบาน ปลอดโปร่ง โล่งสบาย คล่องเบาอย่างไร เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว

ของผู้นั้น คนอื่นอาจคาดหมายตามอาการและเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถประสบเสวยได้

ภาวะนี้เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ส่วนภาวะอีกด้านหนึ่งซึ่งเนื่องอยู่ด้วยกันนั่นเอง และอาจแสดงออกได้หรือมีผลต่อการแสดงออก

ในการดำเนินชีวิตหรือติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆคือ ความไม่ถูกโรคบีบคั้น ไม่อึดอัด

ไม่อ่อนแอ ไม่ถูกขัดขวาง ถ่วง หรือชะงักงันด้วยความเจ็บปวดและอ่อนเปลี้ยเป็นต้น

สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวทำอะไรต่างๆได้ตามต้องการ

ภาวะนี้เทียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน.



สรุปความว่า นิพพานมีอย่าวเดียว แต่แบ่งมองเป็น 2 ด้าน ด้านที่หนึ่งคือ นิพพานในแง่

ของความสิ้นกิเลส ซึงมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

ด้านที่สองคือนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆแท้ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้บรรลุ

ไม่อาจหยั่งถึงด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์ 5 เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์ 5

ทั้งหมด

อนุปาทิเสสนิพพานคือ นิพพานตามความหมายของนิพพานเองแท้ๆล้วนๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5)

สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติ เมื่อสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวัน

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็นอารมณ์

สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 19:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวว่า อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงภาวะของนิพพานเองแท้ๆล้วนๆ นั้น ต้องกับมติของ

พระอรรถกถาจารย์ ในคัมภีร์ประมัตถทีปนี ซึ่งอธิบายว่า อมตมหานิพพานธาตุ เรียกว่า

“อนุปาทิเสสา” ตรงกับภาวะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

“มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะไม่มีปฐวี ไม่มีอาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย

ไม่มีอากาสานัญจายตนะ…”

(ขุ.อุ.25/158/206)

นอกจากนั้น อรรถกถาและฎีกาบางแห่ง อธิบายความหมายบ้าง ใช้ถ้อยคำบ้าง อันแสดงให้เห็นว่า

อนุปาทิเสสนิพพาน ตรงกับ อนุปาทาปรินิพพาน ซึ่งหมายถึงภาวะของนิพพานที่เป็นจุดหมายในการปฏิบัติ

ธรรม หรือเป็นที่บรรลุสูงสุด ในพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฯลฯ

ภาวะสิ้นกิเลส หรือหมดตัณหา หรือสิ้นราคะ โทสะ โมหะ ที่ทำให้ดำเนินชีวิตสัมพันธ์กับโลก

ภายนอกอย่างไร้โทษ ไร้ทุกข์ มีแต่เกื้อกูลอำนวยประโยชน์ เป็นสุข ซึ่งมีการตรัสรู้

หรือบรรลุอรหัตผลเป็นจุดกำหนด เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน

ภาวะที่หมดความผูกพันกับขันธ์ 5 พ้นจากการปรุงแต่ง ปราศจากภพ หรือไม่มีภพใหม่สืบต่อไปอีก

ซึ่งประจักษ์ภายในจำเพาะตัว มีความจบสิ้นแห่งชีวิตในโลกเป็นจุดกำหนด เรียกว่า

อนุปาทิเสสนิพพาน

พูดให้สั้นกว่านั้นอีกว่า ภาวะสิ้นกิเลสเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน

ภาวะสิ้นภพเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะนิพพานท่ามกลางกิจกรรมของอินทรีย์ 5 เป็น สอุปาทิเสสนิพพาน

ภาวะนิพพานพ้นจาก หรือ เป็นอิสระจากกิจกรรมของอินทรีย์ 5 เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน


อย่างไรก็ตามพึงตระหนักในใจว่า ตามที่จริงแล้ว หลักฐานในบาลีมิได้แสดงว่า ท่านสนใจอะไรนักที่จะกล่าว

ถึงภาวะนิพพาน 2 อย่างนี้

จุดสนใจที่ท่านเน้นและกล่าวถึงอย่างมากมายก็คือ เรื่องที่จะนำไปปฏิบัติได้ เพื่อให้รู้ประจักษ์นิพพาน

ด้วยตนเอง

การนำเรื่องนิพพานสองมากล่าวในแง่วิชาการเสียยึดยาว อาจกลายเป็นการทำเรื่องที่ท่านไม่ยุ่ง

ให้กลายเป็นเรื่องที่ยาก และอาจจะทำให้ผู้ศึกษาคาดหมายเกี่ยวกับอัตราส่วนของเรื่องนี้

ที่มีในพระปิฎกมากมายเกินความจริงไปได้ เนื้อความเท่าที่กล่าวมานี้

ก็พอจะให้เห็นเค้าเงื่อนบ้างแล้ว จึงควรยุติไว้เพียงนี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 14:34
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ยังมีขันธ์ 5 อยู่ เมื่อใช้สมองคิด ตีความ จดจำเรื่องทางโลก จึงผิดได้เหมือนคนทัวไป เพราะท่านไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เรื่องทางธรรม เรื่องอริยะสัจ 4 เรื่องการดับทุกข์ ท่านจะไม่ผิดพลาด เพราะท่านได้ปัญญาแล้ว

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึงว่า พระอรหันต์ท่านนั้น ท่านเหลือแต่จิตบริสุทธิ์อย่างเดียว จิตบริสุทธิ์นั้นสามารถเนรมิตรนามรูปใดก็ได้ ขึ้นมาใช้งาน หรือท่านจะมาเป็นความรู้ในจิตสนธนาหรือชี้แนะเราได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร