วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
และหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกินปากอันมีกลิ่น
เหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนทำอะไรไว้ เพราะ
การฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้น นายนิรยบาลถือ
เอาศาตรามาเฉือนปากของท่านเนือง ๆ รดท่าน
ด้วยน้ำแสบด้วยเชือดเนื้อไปพลาง ท่านทำกรรม
ชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบาก
แห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบความทุกข์
อย่างนี้.
เปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อนกระผมเป็น
อิสรชนอยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขา
ล้อมรอบ (เบญจคีรีนคร) เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์
และข้าวเปลือกมากมาย แต่กระผมได้ห้ามปราม
ภรรยา ธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม ซึ่งพากัน
นำพวงมาลาดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่า
มิได้ ไปสู่สถูปเพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้

แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์
และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ
๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียนการบูชาพระสถูป
ก็เมื่อการบูชา และการฉลองพระสถูปของพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอันมหาชนให้เป็นไป
อยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษแห่งการบูชาพระ-
สถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้น พึงห่างเหิน
จากบุญ ขอท่านจงดู ชนทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่ง

ทัดทรงดอกไม้ตบแต่งร่างกาย เหาะมาทางอากาศ
เหล่านี้ เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่งมียศ
เสวยอยู่ ซึ่งวิบากแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชน
ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์
น่าขนพองสยองเกล้า อันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อม
ทำการนอบน้อม วันทาพระมหามุนีนั้น กระผม
ไปจากเปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็น
ผู้ไม่ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนืองนิตย์เป็น
แน่แท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุคฺคนฺโธ ได้แก่ ผู้มีกลิ่นไม่น่า
ปรารถนา. อธิบายว่า มีกลิ่นเหมือนกลิ่นซากศพ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป. บทว่า ตโต ความว่า
นอกเหนือจากกลิ่นเหม็นฟุ้งไปและถูกหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกิน.
บทว่า สตฺถํ คเหตฺวาน โอกฺกนฺตนฺติ ปุนปฺปุนํ ความว่า สัตว์
ทั้งหลายถูกกรรมตักเตือน จึงเอาศาตราอันลับคม ผ่าปากแผลนั้น

บ่อย ๆ. บทว่า ขาเรน ปริปฺโผสิตฺวา โอกฺกนฺตนฺติ ปุนปฺปุนํ ความว่า
ถูกรดด้วยน้ำแสบในที่ที่ถูกผ่าแล้วก็เชือดเนื้อไปพลาง.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อิสฺสโร ธนธฺสฺส สุปหูตสฺส ความว่า เป็นใหญ่ คือ
เป็นเจ้าของทรัพย์และธัญญาหารมากมายยิ่ง อธิบายว่า เป็นคน
มั่งคั่งมีทรัพย์มาก.
บทว่า ตสฺสายํ เม ภริยา จ ธีตา จ สุณิสา จ ความว่า ใน
อัตภาพก่อน ผู้นี้เป็นภรรยา เป็นธิดา เป็นลูกสะใภ้ของกระผม
นั้น. เปรตกล่าวแสดงว่า หญิงเหล่านั้นเป็นเทวดายืนอยู่ในอากาศ.
บทว่า ปจฺจคฺฆํ แปลว่า ใหม่. บทว่า ถูปํ หรนฺติโย วาเรสึ
ความว่า ข้าพเจ้าติเตียนพระธาตุห้ามหญิงเหล่านั้นผู้น้อมเข้าไป
เพื่อบูชาพระสถูป. ด้วยคำว่า ตํ ปาปํ ปกตํ มยา นี้ เปรตถึงความ
เดือดร้อน กล่าวว่า ความชั่วในการติเตียนพระธาตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้กระทำ คือประพฤติอยู่เสมอ.

บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ได้แก่ ประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน.
เปรตกล่าวร่วมเปรตเหล่านั้นกับตนว่า มยํ. แปลว่า พวกเรา. บทว่า
ปจฺจตฺตเวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนาที่กำลังครอบงำอยู่เป็นแผนก ๆ. ด้วย
บทว่า นิรเย เปรตกล่าวเปตวิสัยให้เหมือนกับนรก เพราะมีทุกข์หนัก.

บทว่า เย จ โข ถูปปูชาย วตฺตนฺเต อรหโต มเห ความว่า เมื่อ
การฉลอง การบูชา อุทิศสถูปของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น
ไปอยู่ ชนเหล่าใดประกาศอาทีนพ คือ โทษ ในการบูชาพระสถูป
เหมือนข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายพึงเลือกเฟ้นบุคคลเหล่านั้นจากบุญนั้น.
เปรตประกาศความที่ตนเป็นผู้เสื่อมใหญ่ โดยอ้างผู้อื่นว่าพึงยังบุคคล
ผู้เหินห่างจากบุญให้เกิด.

บทว่า อายนฺติโย แปลว่า ผู้มาทางอากาศ. บทว่า
มาลาวิปากํ ได้แก่ วิบาก คือผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ที่ทำไว้
ในพระสถูป. บทว่า สมิทฺธา ได้แก่ สำเร็จด้วยทิพยสมบัติ.
บทว่า ตา ยสสฺสิโน ได้แก่ หญิงเหล่านั้นมีบริวาร.

บทว่า ตญฺจ ทิสฺวาน ความว่า เห็นผลพิเศษอันโอฬารยิ่ง
อันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ของบุญอันเกิด
จากการบูชาอันนิดหน่อยยิ่งนักนั้น. บทว่า นโม กโรนฺติ สปฺปฺา
วนฺทนฺติ ตํ มหามุนึ ความว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ หญิงเหล่านี้
ย่อมไหว้ย่อมอภิวาท อธิบายว่า กระทำการนอบน้อม และกระทำ
นมัสการท่านผู้เป็นบุญเขตอันสูงสุด.

ลำดับนั้น เปรตนั้นมีใจสลด เมื่อจะแสดงกรรมที่ตนพึง
กระทำต่อไป อันควรแก่ความสลดใจ จึงกล่าวคาถาว่า โสหํ นูน
ดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น.
ท่านพระมหากัสสปะผู้อันเปรตกล่าวอย่างนี้ จึงกระทำ
เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แสดงธรรมแก่บริษัท ผู้ถึงพร้อม
แล้ว.
จบ อรรถกถาธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐
จบ ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มหาวรรคที่ ๔
อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑
เรื่องอัมพสักขรเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เวสาลี นาม นครตฺถิ
วชฺชีนํ ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า อัมพสักขระ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาทะ ครองราชย์ในเมืองเวสาลี.

ก็สมัยนั้น ในพระนครเวสาลี มีเปือกตมอยู่ในที่ใกล้ร้าน
ตลาดของพ่อค้าคนหนึ่ง. ชนเป็นอันมากในที่นั้น โดดข้ามไปลำบาก
บางคนเปื้อนโคลน. พ่อค้านั้นเห็นดังนั้น จึงคิดว่า คนเหล่านี้อย่า
เหยียบเปือกตม จึงให้นำกระดูกศีรษะโคอันมีส่วนเปรียบด้วย
สีสังข์ปราศจากกลิ่นเหม็น มาวางทอดไว้. ก็ตามปกติ เขาเป็นคน
มีศีลไม่มักโกรธ มีวาจาอ่อนหวาน และระบุถึงคุณตามความเป็น
จริงของคนเหล่าอื่น.

วันนั้น เมื่อสหายของตนอาบน้ำ ไม่แลดูด้วยความเลินเล่อ
เขาจึงซ่อนผ้านุ่งไว้ด้วยความประสงค์จะล้อเล่น ทำให้เขาลำบาก
เสียก่อนจึงได้ให้ไป. ก็หลานของเขาขโมยภัณฑะมาจากเรือนของ
คนอื่น แล้วทิ้งไว้ที่ร้านของเขานั่นเอง. เจ้าของภัณฑะเมื่อตรวจดู
จึงแสดงหลานของเขาและตัวเขาพร้อมทั้งภัณฑะแก่พระราชา.

พระราชาสั่งบังคับว่า พวกท่านจงตัดศีรษะผู้นี้ ส่วนหลานของเขา
จงเสียบหลาวไว้. พวกราชบุรุษได้กระทำดังนั้น. เขาทำกาละ
แล้วเกิดในภุมเทพ ได้เฉพาะม้าอาชาไนยทิพ มีสีขาว มีความเร็ว
ทันใจ เพราะเอาศีรษะโคทำสะพาน และเพราะการกล่าวสรรเสริญ
คุณของผู้มีคุณ กลิ่นทิพจึงฟุ้งออกจากกายของเขา แต่เขาได้เป็น

ผู้เปลือยกาย เพราะเก็บผ้าสาฎกซ่อนไว้ เขาตรวจดูกรรมที่ตน
ทำไว้ในกาลก่อน เห็นหลานของตนถูกเสียบหลาวโดยทำนองนั้น
ถูกความกรุณากระตุ้นเตือน จึงขึ้นม้ามีฝีเท้าเร็วทันใจ ในเวลา
เที่ยงคืน ก็ถึงสถานที่ที่หลานนั้นถูกเสียบไว้บนหลาว จึงยืนอยู่
ในที่ไม่ไกล กล่าวทุกวัน ๆ ว่า จงมีชีวิตอยู่เถอะ พ่อผู้เจริญ ชีวิต
เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็สมัยนั้น พระเจ้าอัมพสักขระเสด็จบนคอช้างเชือกประเสริฐ
เสด็จเลียบพระนคร ทรงเห็นหญิงคนหนึ่งเปิดหน้าต่างในเรือน
หลังหนึ่งผู้กำลังดูสมบัติของพระราชา ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ จึงให้
สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังอาสนะว่า ท่านจงใคร่ครวญเรือนนี้และ
หญิงนี้ ดังนี้แล้วเสด็จเข้าพระนิเวศน์ของพระองค์โดยลำดับ ส่ง
บุรุษนั้นไป โดยให้รู้ว่า ไปเถอะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนั้นมีสามี

หรือไม่. เขาไป รู้ว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว จึงกราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาเมื่อทรงคิดถึงอุบายที่จะครอบครองหญิงนั้น จึงรับสั่งให้
เรียกสามีของนางมา แล้วตรัสว่า มาเถอะ พนาย เธอจงอุปัฏฐาก
เรา. เขาแม้จะไม่ปรารถนาก็รับอุปัฏฐากพระราชา เพราะกลัวว่า
เมื่อเราไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ พระราชาก็จะลง
ราชทัณฑ์ จึงได้ไปอุปัฏฐากพระราชาทุกวัน ๆ. ฝ่ายพระราชา

ก็ได้ประทานบำเหน็จรางวัลแก่เธอ โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ก็ได้
ตรัสกะเธอผู้มายังที่บำรุงแต่เช้าตรู่ อย่างนี้ว่า ไปเถอะ พนาย
ในที่โน้น มีสระโบกขรณีลูกหนึ่ง เธอจงนำดินสีอรุณ และดอก
อุบลแดง จากสระโบกขรณีนั้นมา ถ้าเธอไม่มาภายในวันนี้ ชีวิต
ของเธอจะหาไม่. ก็เมื่อเขาไปแล้ว จึงตรัสกะคนผู้รักษาประตูว่า
วันนี้ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัศดงคต เธอจงปิดประตูทุกด้าน.

ก็สระโบกขรณีนั้นอยู่ในที่สุด ๓๐๐ โยชน์ แต่กรุงเวสาลี
อนึ่ง บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม จึงถึงสระโบกขรณีนั้นแต่เช้า
ทีเดียว เพราะกำลังเร็วของลม เพราะได้สดับตรับฟังมาก่อนว่า
สระโบกขรณีนั้น อมนุษย์หวงแหน เพราะความกลัว เขาจึงเดิน
เวียนไปรอบ ๆ ด้วยคิดว่า ในที่นี้ จะมีอันตรายอะไร ๆ หรือไม่หนอ.

อมนุษย์ผู้รักษาสระโบกขรณีเห็นเขาแล้ว เกิดความกรุณา แปลง
เป็นมนุษย์เข้าไปหาแล้วกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านมาที่นี้เพื่อ
ประโยชน์อะไร เขาก็ได้เล่าเรื่องนั้นให้อมนุษย์นั้นฟัง. อมนุษย์นั้น
จึงกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงถือเอาตามต้องการเถิด
ดังนี้แล้วจึงแสดงรูปทิพของตนแล้วหายไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เขาถือเอาดินสีอรุณและดอกอุบลแดงในสระโบกขรณีนั้น
ถึงประตูพระนครในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคตเลย. ผู้รักษา
ประตูเห็นเขาแล้ว เมื่อเขาร้องบอกอยู่นั่นแหละ ก็ปิดประตูเสีย.
เมื่อประตูถูกปิด เขาเข้าไปไม่ได้ เห็นบุรุษผู้อยู่บนหลาวใกล้ประตู
จึงได้กระทำให้เป็นสักขีพยานว่า คนเหล่านี้ เมื่อเรามาถึงในเมื่อ
พระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต ร้องขออยู่นั้นเอง ก็ปิดประตูเสีย ถึง
ท่านก็จงรู้เถิดว่า เรามาทันเวลา เราไม่มีโทษ. บุรุษผู้อยู่บนหลาว

ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า เราถูกร้อยหลาว เขาจะฆ่า บ่ายหน้าไปหา
ความตาย จะเป็นพยานให้ท่านได้อย่างไร. ก็ในที่นี้ เปรตตนหนึ่ง
มีฤทธิ์มากจักมาที่ใกล้เรา ท่านจงทำเปรตนั้นเป็นพยานเถิด. บุรุษ
นั้นถามว่า เราจะเห็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนนั้นได้อย่างไร. บุรุษ
ผู้อยู่บนหลาวกล่าวว่า ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ ท่านจักเห็นด้วย

ตนเอง. เขายืนอยู่ในที่นั้น เห็นเปรตนั้นมาในมัชฌิมยาม จึงได้
ทำให้เป็นพยาน. ก็เมื่อราตรีสว่าง เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่าน
ล่วงอาญาของเรา เพราะฉะนั้น เราจะลงราชทัณฑ์แก่ท่าน บุรุษ
นั้นจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้ล่วงอาชญาของ
พระองค์ ข้าพระองค์มาในที่นี้ ในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต

เลย พระราชาตรัสถามว่า ในข้อนั้น ใครเป็นพยานให้เธอ. บุรุษ
นั้น จึงอ้างถึงเปรตเปลือย ผู้มายังสำนักของบุรุษผู้ถูกหลาวร้อย
นั้นว่า เป็นพยาน เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ข้อนั้นเราจะเชื่อได้
อย่างไร จึงทูลว่า วันนี้ ในเวลาราตรี พระองค์จงส่งบุรุษผู้ควร
เชื่อได้ไปกับข้าพระองค์. พระราชาได้สดับดังนั้น จึงเสด็จไปใน

ที่นั้นพร้อมกับบุรุษนั้นด้วยพระองค์เอง แล้วประทับยืนอยู่ และ
เมื่อเปรตมาในที่นั้นกล่าวว่า จงเป็นอยู่เถิด ผู้เจริญ ชีวิตเท่านั้น
ประเสริฐกว่า จึงทรงสอบถามเปรตนั้นด้วยคาถา ๕ คาถา โดยนัย
มีอาทิว่า การนอน การนั่ง ไม่มีแก่ผู้นี้ ดังนี้. ก็ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เพื่อจะแสดงความสัมพันธ์แห่งคาถาเหล่านั้น พระสังคีติกาจารย์
จึงได้ตั้งคาถาว่า เวสาลิ นาม นครตฺถิ วชฺชีนํ ความว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีนครชาววัชชีนครหนึ่ง นามว่าเวสาลี
ในนครเวสาลีนั้น มีกษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่า
อัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง
ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบ
เหตุ จึงตรัสถามเปรตนั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การ
นอน การนั่ง การเดินไปเดินมา การลิ้ม การดื่ม
การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของคนผู้ถูก

เสียบไว้บนหลาวนี้ ย่อมไม่มีชนเหล่าใดผู้เป็น
ญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเห็นเคยฟังร่วมกันมา
เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใดมีอยู่ในกาล
ก่อน เดี๋ยวนี้คนเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมเยียนบุคคล
นั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติเป็นต้นสละแล้ว
มิตรสหาย ย่อมไม่มีแก่คนผู้ตกยาก พวกมิตร-

สหายทราบว่า ผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น
และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ก็พากันไปห้อมล้อม
คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติ ย่อมมีมิตรสหายมาก ส่วน
บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคือง
ด้วยโภคะ ย่อมหามิตรสหายยาก นี้เป็นธรรมดา
ของโลก บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อน

เลือด ตัวทะลุเป็นช่อง ๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับ
ไปในวันนี้ พรุ่งนี้ เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่
บนปลายหญ้าคา ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะ
เหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่าง
ยิ่ง นอนหงายบนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูก่อน
บุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิต
อยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเมืองเวสาลีนั้น.
บทว่า นครสฺส พาหิรํ ได้แก่ มีอยู่ในภายนอกพระนคร คือ เกิด
เป็นไป เกี่ยวพันกันในภายนอกแห่งนครเวสาลีนั่นเอง. บทว่า
ตตฺเถว คือ ในที่ที่ตนเห็นเปรตนั้นนั่นแล บทว่า ตํ โยค ตํ เปตํ
แปลว่า ซึ่งเปรตนั้น. บทว่า การณตฺถิโก ได้แก่ เป็นผู้มีความต้องการ
ด้วยเหตุเพื่อผลดังกล่าวว่า จงมีชีวิตอยู่เถิด ท่านผู้เจริญ การมีชีวิต
อยู่นั่นแหละ ประเสริฐ.

บทว่า เสยฺยา นิสชฺชา นยิมสฺส อตฺถิ ความว่า การนอนมี
การเหยียดหลังเป็นลักษณะ และการนั่งมีการนั่งคู้บัลลังก์เป็น
ลักษณะ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ถูกหลาวเสียบนี้ได้. บทว่า อภิกฺกโม
นตฺถิ ปฏิกฺกโม จ ความว่า การไปมีการก้าวไปข้างหน้า แม้เพียง
เล็กน้อย ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้. บทว่า ปริจาริกา สาปิ ความว่า แม้หญิง
ผู้บำรุงบำเรออินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเช่น การกิน การดื่ม การเคี้ยว

การนุ่งผ้า และการใช้สอย เป็นต้น แม้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปริหรณา สาปิ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า แม้
หญิงผู้บริหารอินทรีย์ด้วยสามารถแห่งการบริโภคมีของกิน เป็นต้น
ก็ไม่มีแก่ผู้นี้ เพราะเป็นผู้ปราศจากชีวิต, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ปริจารณา สาปิ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ทิฏฺ€สุตา สุหชฺชา อนุกมฺปกา ยสฺส อเหสุํ ปุพฺเพ
ความว่า ผู้ที่มีคนเป็นสหายเคยเห็นกันมา และไม่เคยเห็นกันมา
เป็นมิตร มีความเอ็นดู ได้มีในกาลก่อน. บทว่า ทฏฺ€ุมฺปิ ความว่า
บุคคลเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมก็ไม่ได้ คือ การอยู่ร่วมกัน จักมีแต่ที่ไหน.
บทว่า วิราชิตตฺโต ได้แก่ ผู้มีสภาวะ อันญาติเป็นต้นสละแล้ว.
บทว่า ชเนน เตน ได้แก่ อันชนมีชนผู้เป็นญาติเป็นต้นนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้ เป็นสาโลหิตของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึงชาติก่อน ข้า-
พระองค์เห็นแล้ว มีความกรุณาแก่เขาว่า ขออย่า
ให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์
ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้แล้ว
จักเข้าถึงนรก อันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป
เป็นสถานที่ร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อน

ให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่านรก
นั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรก
อันมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้
เกิดความน่ากลัว มีความทุกข์กล้าแข็งอย่างเดียว
บุรุษนี้ ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่ง
ว่า ข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะ

พึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์
จึงไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษ
นี้อย่าได้ดับไปเสีย เพราะคำของข้าพระองค์เลย
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูดว่า ขอท่านจงมี
ชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาโลหิโต ได้แก่ มีโลหิตเสมอกัน
คือ เชื่อมกันโดยกำเนิด, อธิบายว่า เป็นญาติกัน. บทว่า ปุริมาย
ชาติยา คือในอัตภาพก่อน. บทว่า มา ปาปธมฺโม นิรยํ ปตายํ
มีวาจาประกอบความว่า ข้าพระองค์ได้เห็นผู้นี้แล้ว ได้มีความ
กรุณาว่า ขออย่าให้บุรุษผู้มีธรรมอันเลวทรามนี้ ตกนรกเลย คือ
อย่าได้เข้าถึงนรกเลย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สตฺตุสฺสทํ ความว่า หนาแน่นด้วยสัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว
อีกอย่างหนึ่ง หนาแน่นด้วยเหตุอันหยาบช้า มีการจองจำ ๕ อย่าง
เป็นต้น ๗ อย่าง เหล่านี้คือ การจองจำ ๕ อย่าง คือ เทโลหะร้อน ๆ
เข้าไปในปาก ให้ขึ้นภูเขาอันเต็มด้วยถ่านเพลิง ใส่เข้าในหม้อเหล็ก
ให้เข้าไปยังป่าอันพร้อมด้วยดาบ ให้ลงไปในชลาลัยในนรก โยนทิ้ง
ลงไปในมหานรก. อธิบายว่า ก่อสั่งสมจนมาก ๆ ขึ้นไป. บทว่า
มหาภิตาปํ ได้แก่ ทุกข์ใหญ่ หรือความเร่าร้อนอันเกิดแต่กองไฟ
ใหญ่. บทว่า กฏุกํ แปลว่า ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ภยานกํ แปลว่า
ให้เกิดความกลัว.

บทว่า อเนกภาเคน คุเณน ได้แก่ ด้วยอานิสงส์ หลายส่วน.
บทว่า อยเมว สูโล นิรเยน เตน ความว่า หลาวนี้แหละ ประเสริฐ
กว่านรก อันเป็นที่เกิดของบุรุษนี้นั้น. จริงอยู่ บทว่า นิรเยน นี้
เป็นตติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัติ. บทว่า เอกนฺตติพฺพํ
ความว่า มีความทุกข์อันแรงกล้าโดยส่วนเดียวแท้ คือ เป็นทุกข์ใหญ่
อย่างแน่นอน.

บทว่า อินญฺจ สุตฺวา วจนํ มเมโส ความว่า บุรุษนี้ ฟังถ้อยคำ
ของเรานี้ ที่กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า อิโต จุโต เคลื่อนจากอัตภาพนี้
แล้ว เป็นต้น เป็นผู้เข้าถึงทุกข์ เป็นเหมือนเข้าถึงทุกข์ในนรก ตาม
คำของเรา. บทว่า วิชเหยฺย ปาณํ ความว่า พึงสละชีวิตของตน.
บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. บทว่า มา เม กโต อธิบายว่า

เราไม่ได้พูดคำนี้ ในที่ใกล้แห่งบุรุษนี้ว่า ขอชีวิตของบุรุษนี้ จง
อย่าดับพร้อมกับเราเลย. โดยที่แท้ เราพูดเพียงเท่านี้ว่า จงมีชีวิต
อยู่เถอะท่านผู้เจริญ เพราะชีวิตนั่นแหละ ประเสริฐ.

เมื่อเปรตประกาศความประสงค์ของตนอย่างนี้ พระราชา
เมื่อทรงให้โอกาสเพื่อจะถามประวัติของเปรตนั้นอีก จึงตรัสคาถา
นี้ว่า :-
เรื่องของบุรุษนี้ เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนา
จะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา
เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าพระองค์ ได้ให้ปฏิญญาไว้ในกาลนั้น
แน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่ผู้ไม่เลื่อมใส
บัดนี้ ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดย
พระองค์จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอ
เชิญพระองค์ ตรัสถามข้าพระองค์ ตามพระ
ประสงค์เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่
สามารถจะกราบทูลได้.

นี้เป็นพระคาถาตรัสและคาถาโต้ตอบระหว่างพระราชากับเปรต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺโต แปลว่า อันข้าพเจ้า
รู้แล้ว. บทว่า อิจฺฉามเส แปลว่า ข้าพระองค์ ย่อมปรารถนา.
บทว่า โน แปลว่า แก่พวกเรา. บทว่า น จ กุชฺฌิตพฺพํ ความว่า
ไม่ควรทำความโกรธว่า คนเหล่านี้ ได้ถามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.

บทว่า อทฺธา แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า ปฏิฺา เม
ความว่า เมื่อว่าโดยความรู้ เราได้ปฏิญญา คือให้โอกาสว่า ท่าน
จงถาม. บทว่า ตทา อหุ คือ ได้มีในกาลนั้น คือในการเห็นครั้งแรก.
บทว่า นาจิกฺขณา อปฺปสนฺนสฺส โหติ ความว่า ไม่ได้พูดแก่ผู้ที่
ไม่เลื่อมใส. จริงอยู่ ผู้เลื่อมใสเท่านั้นย่อมกล่าวอะไร ๆ แก่ผู้

เลื่อมใส แต่ในเวลานั้น ท่านไม่มีความเลื่อมใสในเรา และเราก็ไม่มี
ความเลื่อมใสในท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่มีความปรารถนา
ที่จะกล่าวปฏิญญา. แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาท่าน มีวาจา
ที่จะให้ท่านพอเชื่อถือได้ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ชื่อว่า
มีวาจาพอเชื่อถือได้. บทว่า ปุจฺฉสฺสุ มํ กามํ ยถา วิสยฺหํ ความว่า

ขอพระองค์จงซักถามเรื่องตามที่พระองค์ทรงปรารถนากะข้า-
พระองค์เถิด. แต่ข้าพระองค์จักกราบทูลตามสมควรแก่กำลัง
ความรู้ของตน โดยประการที่ข้าพระองค์สามารถจะกราบทูลได้.
เมื่อเปรตให้โอกาสแก่การถามอย่างนี้ พระราชา จึงตรัส
คาถาว่า :-

เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควร
เชื่อสิ่งนั้น แม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เชื่อ
ก็ขอให้ลงโทษ ถอดยศเราเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ด้วยจักษุ เราควรเชื่อสิ่งนั้นแม้ทั้งหมด โดยประการนั้นนั่นแล
ก็แลถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้ว ไม่เชื่อ ดูก่อนเทพยดา ขอท่านจงลง
นิยสกรรม และนิคคหกรรมแก่เราเถิด. อีกอย่างหนึ่งบทว่า
ยํ กิญฺจหํ จกฺขุนา ปสฺสิสฺสามิ ความว่า เราจักเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ด้วยจักษุ เพราะไม่เป็นอารมณ์แห่งจักษุจึงไม่เห็น. บทว่า สนฺพมฺปิ
ตาหํ อภิสทฺทเหยฺยํ ความว่า เราควรเชื่อสิ่งที่ท่านได้เห็น ได้ยิน
หรือสิ่งอื่น, อธิบายว่า จริงอยู่ เรามีความเชื่อเช่นนั้น ในท่าน.
ส่วนเนื้อความแห่งบทหลัง ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
เปรตได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาว่า :-

ขอสัจจปฏิญญา ของพระองค์นี้ จงมีแก่ข้า-
พระองค์ พระองค์ได้ฟังธรรมที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว
จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มีความต้องการ
อย่างอื่น ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายข้าพระองค์ จัก
กราบทูลธรรมทั้งหมดที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว
บ้าง หรือไม่ได้สดับแล้วบ้าง แก่พระองค์ตามที่
ข้าพระองค์รู้.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระราชาและเปรตทั้งสองนั้น จึงมีคาถา
เป็นเครื่องตรัสโต้ตอบกันดังนี้ว่า :-
พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า :-

ท่านขี่ม้าอันประดับประดาแล้วเข้าไปยัง
สำนักของบุรุษที่ถูกเสียบหลาว ม้าขาวตัวนี้เป็น
ม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชมนี้ เป็นผลแห่งกรรม
อะไร
เปรตกราบทูลว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทาง
ลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส เอาศีรษะโค ศีรษะ
หนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์
และบุคคลอื่น เหยียบบนศีรษะโคนั้น เดินไป
ได้สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชม
นี้เป็นผลแห่งกรรมนั่นเอง
พระเจ้าสักขระตรัสถามว่า :-

ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมี
กลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิแห่งเทวดา
เป็นผู้มีอานุภาพมาก แต่เป็นคนเปลือยกาย นี้เป็น
ผลแห่งกรรมอะไร.
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ
ทั้งมีจิตเลื่อมใสอยู่เป็นนิตย์ พูดกับคนทั้งหลาย
ด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีเป็นทิพย์
สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น
ข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียงของบุคคลผู้ตั้งอยู่

ในธรรม มีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระ-
องค์มีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผล

แห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์
อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บน
บก ไม่มีความประสงค์จะลักขโมย และไม่มีจิต
คิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ จึง
เป็นคนเปลือยกาย เป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.
พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

ผู้ใดทำบาปเล่น ๆ นักปราชญ์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจ
ทำบาปจริง ๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรม
ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างไร?
เปรตกราบทูลว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มนุษย์เหล่าใด มีความดำริชั่วร้าย เป็น
ผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เพราะกายแตก
ตายไป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรกใน
สัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าอื่น
ปรารถนาสุคติ ยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอัน
สงเคราะห์แล้ว เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้า
ถึงสุคติในสัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจปฺปฏิฺา ตว เมสา โหตุ
ความว่า ขอความปฏิญญาของท่านนี้ จงเป็นความสัจจสำหรับ
ข้าพระองค์ว่า ข้าพเจ้าพึงเชื่อสิ่งนั้นทั้งหมด. บทว่า สุตฺวาน
ธญฺมํ ลภ สุปฺปสาทํ ความว่า ท่านฟังคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว จงได้
ความเลื่อมใส เป็นอันดี. บทว่า อฺตฺถิโก ได้แก่ ข้าพระองค์
ไม่มีความประสงค์จะรู้. บทว่า ยถา ปชานํ ได้แก่ ตามที่คนอื่นรู้อยู่
อธิบายว่า ตามที่พระองค์รู้แล้วหรือว่า ตามที่ข้าพระองค์รู้แล้ว.

บทว่า กิสฺเสตํ กมฺมสฺส อยํ วิปาโก ความว่า นั่นเป็นผล
แห่งกรรมอะไร คือ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า เอตํ เป็นเพียงนิบาต ก็อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เป็น
ผลของกรรมอะไรของท่าน.

บทว่า จิกฺขลฺลมคฺเค แปลว่า ในทางมีโคลน. บทว่า นรกํ
ได้แก่ บ่อ. บทว่า เอกาหํ ตัดเป็น เอกํ อหํ. บทว่า นรกสฺมึ นิกฺขิปึ
ความว่า เราทอดศีรษะโค ๑ ศีรษะ ในบ่อที่มีโคลนโดยประการที่
ผู้เดินจะไม่เหยียบเปือกตม. บทว่า ตสฺส ได้แก่ เอาศีรษะโคทำเป็น
สะพานนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ธมฺเม €ิตานํ ได้แก่ ผู้ประพฤติเป็นธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ. บทว่า มนฺเตมิ ได้แก่ กล่าว คือ ระบุถึง. บทว่า
ขิฑฺฑตฺถิโก ได้แก่ ประสงค์จะหัวเราะเล่น. บทว่า โน จ ปทุฏฺ€จิตฺโต
ได้แก่ ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายเจ้าของผ้า อธิบายว่า ไม่มีความประสงค์
จะลัก ทั้งไม่ประสงค์จะทำให้เสียหาย.

บทว่า อกีฬมาโน ได้แก่ ไม่ประสงค์ คือ มีจิตคิดประทุษร้าย
เพราะความโลภเป็นต้น. บทว่า กึ ตสฺส กมฺมสฺส วิปากมาหุ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิบากทุกข์อันเผ็ดร้อนของกรรม
ชั่วนั้น คือที่ทำไว้อย่างนั้นไว้เพียงไร.

บทว่า ทุฏฺ€สงฺกปฺปมนา ได้แก่ ผู้มีวิตกทางใจอันประทุษร้าย
ด้วยอำนาจความดำริในกามเป็นต้น, ด้วยคำว่า ทุฏฺ€สงฺกปฺปมนา
นั้น ท่านกล่าวถึงมโนทุจริต. บทว่า กาเยน วาจาย จ สงฺกิลิฏฺ€า
ได้แก่ มีความเศร้าหมองด้วยกายและวาจา ด้วยอำนาจปาณาติบาต
เป็นต้น. บทว่า อาสมานา ได้แก่ หวัง คือปรารถนา.

เมื่อเปรตแสดงจำแนกกรรมและผลแห่งกรรมโดยสังเขป
อย่างนี้แล้ว พระราชาไม่ทรงเชื่อข้อนั้น จึงตรัสคาถาว่า :-
เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็น
ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือเราจะพึงเห็น
อย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำ
ให้เราเชื่อถือเรื่องนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ กินฺติ ชาเนยฺยมหํ อเวจฺจ
ความว่า เราจะพึงเชื่อโดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ถึงวิบากของกรรมดี
และกรรมชั่วที่เธอกล่าวจำแนกไว้โดยนัยมีอาทิว่า คนผู้มีความ
ดำริชั่วย่อมเศร้าหมองด้วยกายและวาจา และโดยนัยมีอาทิว่า
ก็คนเหล่าอื่นย่อมปรารถนาสุคติ ดังนี้นั้นได้อย่างไร คือโดยเหตุไร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กึ วาหํ ทิสฺวา อภิสทฺทเหยฺยํ ความว่า เราเห็นอย่างไร
อันเป็นตัวอย่างที่ประจักษ์จะพึงเชื่อได้. บทว่า โก วาปิ มํ
สทฺทหาเปยฺย มํ ความว่า หรือใครเป็นวิญญูชน คือ เป็นบัณฑิต
จะพึงให้เราเชื่อข้อนั้น ท่านจงแนะนำบุคคลนั้น.
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศเรื่องนั้นแก่พระราชานั้น
โดยเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วและได้สดับแล้ว ก็
จงเชื่อเถิดว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว
เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง ก็พึงมีสัตว์
ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก
นี้ ไม่พึงทำกรรมดีและกรรมชั่ว สัตว์ผู้ไปสู่
สุคติ ทุคติ อันเลวและประณีต ก็ไม่มีในมนุษย-
โลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก ทำ

กรรมดีและกรรมชั่วไว้ ฉะนั้น จึงไปสู่สุคติ ทุคติ
เลวบ้าง ประณีตบ้าง นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
วิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้นว่า เป็นที่ตั้งแห่งการ
เสวยสุขและทุกข์ เทวดาย่อมพากันห้อมล้อม
พวกชนผู้ได้เสวยผลอันเป็นสุข คนพาลผู้ไม่เห็น
บาปและบุญทั้งสอง ย่อมเดือดร้อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา จ แปลว่า ทั้งได้ทรงเห็น
โดยประจักษ์. บทว่า สุตฺวา ได้แก่ ทรงสดับธรรมแล้วทรงรู้ คือ
ทรงรู้ตามซึ่งนัยตามแนวแห่งธรรมนั้น. บทว่า กลฺยาณปาปสฺส
ความว่า จงทรงเชื่อเถิดว่า สุขนี้เป็นวิบากแห่งกุศลกรรม และ
ทุกข์นี้เป็นวิบากแห่งอกุศลกรรม. บทว่า อุภเย อสนฺเต ความว่า

เมื่อกรรมทั้งสอง คือ กรรมดีและกรรมชั่วมีอยู่. บทว่า สิยา นุ
สตฺตา สุคตา ทุคฺคตา วา ความว่า เนื้อความดังนี้ว่า สัตว์เหล่านี้
ไปสุคติหรือทุคติ หรือว่า เป็นผู้มั่งคั่งในสุคติหรือเป็นผู้เข็ญใจ
ในทุคติ ดังนี้ จะพึงมีอยู่หรือ คือจะพึงเกิดได้อย่างไร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร