วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เอตาทิสํ แปลว่า เห็นปานนั้น. บทว่า อุตฺตมกิจฺฉปตฺตํ
ความว่า ได้รับความยากอย่างยิ่ง คือ ได้รับทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า
รตฺตาภตํ ได้แก่ ที่เขานำมาในราตรี. บทว่า โนนีตปิณฺฑํ วิย ได้แก่
เสมือนกับก้อนเนยใส, ท่านกล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นเพียงชิ้นเนื้อ.
บทว่า ปเวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่โดยภาวะที่มีกำลังน้อย. บทว่า
สํสยํ ความว่า ชื่อว่ามีความสงสัย เพราะมีความสงสัยว่า เขาจะ
มีชีวิตอยู่หรือไม่หนอ. บทว่า ชีวิตสาวเสสํ ได้แก่ เหลืออยู่แต่เพียง
ชีวิตอย่างเดียว เพราะไม่มีทรัพย์อันเป็นเหตุดำรงชีวิต.

บทว่า อคฺคกุลิโก ภวิสฺสติ โภคโต จ ความว่า จักเป็นผู้
มีสกุลสูง คือ มีสกุลสูงสุดอันมีโภคะเป็นเหตุ คือด้วยอำนาจโภคะ.

คาถาว่า กิสฺส วตํ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า อุบาสกผู้อยู่ใน
สำนักของพระศาสดากราบทูลด้วยอำนาจคำถามถึงกรรมที่เขา
ทำไว้ และคาถานั้นแลอุบาสกผู้ประชุมกันอยู่ในป่าช้าได้กล่าวไว้
แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส แปลว่า พึงเป็นกรรมอะไร.
บทว่า วตํ ได้แก่ การสมาทานวัตร. บทว่า กิสฺส มีวาจาประกอบ
การเปลี่ยนวิภัติอีกว่า วัตรและพรหมจรรย์ที่เธอสั่งสมไว้ดีเช่นไร.

บทว่า เอตาทิสํ ความว่า ชื่อว่าเห็นปานนั้น เพราะเกิดในท้อง
หญิงแพศยา ถูกทอดทิ้งในป่าช้า. บทว่า พฺยสนํ แปลว่า ความพินาศ.
บทว่า ตาทิสํ แปลว่า เห็นปานนั้น, อธิบายว่า มีประการดังกล่าว
แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอยู่ตลอดราตรีด้วยน้ำนมที่ไหลออกจาก
นิ้วมือ และโดยนัยมีอาทิว่า เด็กนี้จักมีสกุลสูงแห่งนครนี้. บทว่า
อิทฺธึ ได้แก่ เทวฤทธิ์ อธิบายว่า ทิพยสมบัติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกอุบาสกเหล่านั้นทูลถามแล้ว
ได้ทรงพยากรณ์ในเวลานั้น โดยประการที่พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายเมื่อจะแสดงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มหาชนได้ทำการบูชาอย่างโอฬาร แก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เด็กนั้น
มิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบ-
คายอันมิใช่ของสัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นอัน
มารดาตักเตือนให้กลับความวิตกอันลามกนั้น
แล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุง
พระตถาคต ซึ่งประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร
ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็นพรหม-

จรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหม-
จรรย์ที่เขาประพฤติแล้วนั้น เขาถึงความพินาศ
เช่นนี้แล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขาตั้งอยู่
ในมนุษยโลกนี้ สิ้น ๑๐๐ ปี เป็นผู้พรั่งพร้อม
ด้วยกามคุณทั้งปวง เมื่อตายไปจักเข้าถึงความ
เป็นสหายแห่งท้าววาสวะในสัมปรายภพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชนตา ได้แก่ หมู่ชน อธิบายว่า
คณะแห่งอุบาสก. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในการบูชานั้น. บทว่า
อสฺส ได้แก่ ของทารกนั้น. บทว่า จิตฺตสฺสหุ อฺถตฺตํ ความว่า
ในภพก่อน จิตของเขามีภาวะเป็นอย่างอื่น คือ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เคารพ
ไม่มีปีติ. บทว่า อสพฺภํ ได้แก่ ได้กล่าววาจาหยาบอันไม่ควรที่จะฟัง
ในที่ประชุมแห่งสาธุชน.

บทว่า โส ได้แก่ เด็กนี้นั้น. บทว่า ตํ วิตกฺกํ ได้แก่ วิตก
อันลามกนั้น. บทว่า ปวิโนทยิตฺวา ได้แก่ สงบระงับด้วยสัญญัติ
ที่มารดากระทำ. บทว่า ปีตึ ปสาทํ ปฏิลทฺธา ได้แก่ กลับได้ คือ
ทำปีติและความเลื่อมใสให้เกิด. บทว่า ผาคุยา อุปฏฺ€าสิ ได้แก่ บำรุง
ด้วยการถวายข้าวยาคู. บทว่า สตฺตรตฺตํ แปลว่า ตลอด ๗ วัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตสฺส วตํ ตํ ปน พฺรหฺมจริยํ ความว่า ความเลื่อมใส
และการให้แห่งจิตของตนซึ่งมีประการดังเรากล่าวในหนหลังนั้น
เป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของบุคคลนี้ อธิบายว่า ไม่มีสิ่งไรอื่น.
บทว่า €ตฺวาน ความว่า ตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้แหละจนสิ้น
อายุ. บทว่า อภิสมฺปรายํ ได้แก่ ในภพใหม่. บทว่า สหพฺยตํ
คจฺฉติ วาสวสฺส ได้แก่ จักเข้าถึงความเป็นสหาย โดยความเป็น
บุตรแห่งท้าวสักกะจอมเทพ. ก็คำว่า สหพฺยตํ คจฺฉติ วาสวสฺส
นี้ เป็นคำปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอันเป็นอนาคต. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ ๖
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเสรินีเปรต จึงได้ตรัสพระคาถามีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา
ทฺพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในหัตถินีบุรี ในแคว้นกุรุรัฐ มีหญิงคนหนึ่งชื่อว่า
เสรินี ได้เป็นผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีวิต. ก็ภิกษุทั้งหลายจากที่นั้น ๆ
ได้มาประชุมกันในหัตถินีบุรีนั้น เพื่อต้องการทำอุโบสถ. ได้มี
ภิกษุจำนวนมากมาประชุมกันอีก. มนุษย์ทั้งหลายเห็นดังนั้น จึง
จัดเตรียมเครื่องอุปกรณ์ในการบำเพ็ญทานเป็นอันมาก มีเมล็ดงา
และข้าวสารเป็นต้น และมีเนยใส เนยข้น และน้ำผึ้งเป็นต้น บำเพ็ญ

มหาทาน. ก็สมัยนั้น นางคณิกาคนนั้นไม่มีศรัทธาไม่มีความเลื่อมใส
จิตถูกกลุ้มรุมด้วยมลทินคือความตระหนี่ แม้จะถูกพวกมนุษย์
เหล่านั้นให้กำลังใจว่า มาซิเธอ ก่อนอื่นจงอนุโมทนาทานนี้ ก็
ประกาศยืนยันความไม่เลื่อมใสแก่มนุษย์เหล่านั้นว่า จะประโยชน์
อะไรด้วยทานที่ให้แก่พวกสมณะโล้น การบริจาคสิ่งของมีประมาณ
เล็กน้อย จักมีแต่ไหน.

สมัยต่อมา นางทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต ที่หลังคู แห่ง
ปัจจันตนครแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น อุบาสกชาวเมืองหัตถินีบุรีคนหนึ่ง
ไปยังนครนั้นเพื่อการค้า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังหลังคู
ด้วยประโยชน์เช่นนั้น. นางเห็นเขาที่นั้น ก็จำได้เป็นคนเปลือย
มีร่างกายเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูก เห็นเข้าน่าสะพึงกลัวยิ่งนัก
ได้ยืนแสดงตนอยู่ในที่ไม่ไกล. อุบาสกนั้น เห็นนางนั้นแล้ว ถาม
เป็นคาถาว่า :-

ท่านเปลือยกาย มีรูปพรรณน่าเกลียด ซูบ
ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอม
จนเห็นแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหนอ มายืนอยู่ที่นี้.
ฝ่ายนางเปรต จึงประกาศตนแก่อุบาสกนั้นด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์
ได้ยาก เกิดในยมโลก ทำกรรมอันลามกไว้ จึง
จากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางถูกอุบาสกนั้น ถามถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยคาถาอีกว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ หรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึง
จากโลกนี้ไปสู่เปตโลก
จึงบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ และประโยชน์ที่เขาพึงกระทำ
ให้แก่ตนอีก ด้วยคาถา ๖ คาถานี้ว่า :-

ดิฉัน ได้ค้นหาทรัพย์มาได้กึ่งมาสก ในที่
ที่ไม่มีใครหวงห้าม เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉันไม่
ได้กระทำที่พึ่งแก่ตนไว้ ดิฉันกระหายน้ำ เข้าไป
ยังแม่น้ำ แม่น้ำก็กลับว่างเปล่าไป ในเวลาร้อน
ดิฉันเข้าไปยังร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป
ทั้งลมก็กลับกลายเป็นเปลวไฟไป เผาร่างของ
ดิฉันฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันควรจะเสวย

ทุกข์มีความกระหายเป็นต้น ตามที่ท่านกล่าว
แล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น
ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วยบอกแก่มารดา
ดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดใน
ยมโลก เขาจากโลกนี้ไปยังเปตโลก เพราะทำ
บาปกรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔๐๐,๐๐๐

ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ
ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้
นั้นเถิด ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทาน
แล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้น
ดิฉันก็จะมีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า
ในถิ่นที่เป็นท่าของแม่น้ำ และสระน้ำเป็นต้น ที่ใคร ๆ ไม่หวงห้าม
คือ ในที่ที่พวกมนุษย์อาบและทำกิจด้วยน้ำเช่นนั้น. บทว่า วิจินึ
อฑฺฒมาสกํ ความว่า ดิฉันถูกความโลภครอบงำ ค้นหา คือแสวงหา
ได้ทรัพย์เพียงกึ่งมาสก ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงได้อะไร ๆ
สักอย่างหนึ่ง ในที่นี้ ที่พวกมนุษย์วางลืมไว้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า เมื่อสมณพราหมณ์ อันเป็นที่พึ่ง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของสัตว์ทั้งหลาย โดยความเป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์อันเนื่องด้วย
ความพยายามของปวงสัตว์ ซึ่งไม่มีใครหวงห้าม โดยการเข้าไปหา
มีอยู่. บทว่า วิจินึ อฑฺฒมาสกํ ความว่า ดิฉันมีจิตถูกมลทินคือ
ความตระหนี่กลุ้มรุม จึงไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ จึงเก็บทรัพย์
ไว้เป็นพิเศษกึ่งมาสก จึงไม่สั่งสมบุญไว้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉัน จึงไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ดังนี้
เป็นต้น.

บทว่า ตสิตา ได้แก่ ผู้กระหายแล้ว. บทว่า ริตฺตกา
ความว่า แม่น้ำที่กาพอจะพึงดื่มได้ ไหลไปอยู่ ก็กลับกลายเป็น
แม่น้ำว่างเปล่าจากน้ำ มีเพียงทราย เพราะกรรมชั่วของดิฉัน.
บทว่า อุณฺเหสุ ได้แก่ ในฤดูร้อน. บทว่า อาตโป ปริวตฺตติ
ความว่า ที่ที่มีร่มเงา เมื่อดิฉันเข้าไป ก็กลับกลายเป็นแดดไป.

บทว่า อคฺคิวณฺโณ ได้แก่ มีสัมผัสเช่นกับไฟ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า แผดเผาฟุ้งตลบไป ดังนี้เป็นต้น. นางเปรตเรียก
อุบาสกนั้น ด้วยความเคารพว่า ภนฺเต ในบทว่า เอตญฺจ ภนฺเต
อรหามิ นี้ อธิบายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดิฉัน สมควรเสวยทุกข์อัน
เกิดแต่ความกระหาย เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่น

อันลามก ทารุณ กว่านั้น เพราะดิฉันได้กระทำกรรมชั่ว อันเกิด
แต่การกระทำนั้น. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว.

บทว่า เอตฺถ นิกฺขิตฺตํ อนกฺขาตํ ความว่า ดิฉันไม่ได้บอกว่า
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ เก็บไว้ในที่นี้. บัดนี้ นางเปรตเมื่อจะแสดง
ปริมาณของทรัพย์นั้น จึงกล่าวว่า ทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ ดิฉันได้เก็บ
ซ่อนไว้ภายใต้เตียง ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปลฺลงฺกสฺส ได้แก่บัลลังก์อันเป็นที่นอนของตนในกาลก่อน. บทว่า

ตโต ความว่า ขอมารดา จึงถือเอาทรัพย์ส่วนหนึ่ง จากทรัพย์ที่
ดิฉันฝังไว้ แล้วจงให้ทานอุทิศถึงดิฉัน. บทว่า ตสฺสา ได้แก่
มารดาของดิฉัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อนางเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้ อุบาสกนั้นรับคำของนางนั้น
แล้ว พิจารณากรณียกิจของตนในที่นั้น จึงไปยังหัตถินีนคร แจ้ง
เรื่องนั้นแก่มารดาของนาง. เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า :-

อุบาสกนั้น รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว
กลับไปสู่หัตถินีนคร บอกแก่มารดาของนางว่า
ข้าพเจ้าเห็นธิดาของท่าน เขาตกทุกข์ เกิดใน
ยมโลก เพราะได้กระทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก
นี้ ไปสู่เปตโลก นางได้สั่งฉันในที่นั้นว่า ท่าน

ไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอกแก่มารดาของดิฉัน
ด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็นแล้ว ตกทุกข์ เกิด
อยู่ในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก
นี้ไปสู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔๐๐,๐๐๐
ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียงไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ
ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้

นั้น มาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทานแล้ว
จงอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น ดิฉัน จัก
มีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ก็มารดา
ของนางเปรตนั้น ถือเอาทรัพย์ที่นางเปรตซ่อนไว้
นั้น มาให้ทาน ครั้นแล้วอุทิศส่วนบุญไปให้
นางเปรต นางเปรตเป็นผู้มีความสุข แม้มารดา
ของนาง ก็เป็นอยู่สบาย.
คาถาเหล่านั้น รู้ได้ง่ายทีเดียว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มารดาของนางได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์
อุทิศไปให้นาง. เพราะเหตุนั้น นางตั้งอยู่ในความสมบูรณ์ ด้วย
เครื่องอุปกรณ์ที่ได้มา แสดงตนแก่มารดา บอกเหตุนั้นให้ทราบ
มารดาแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.
เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ ๖

อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นรนาริปุรกฺขโต ยุวา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ยังมีพรานคนหนึ่ง เที่ยวล่าเนื้อ
เลี้ยงชีพตลอดคืนและวัน. พรานนั้น ได้มีอุบาสกคนหนึ่งเป็นมิตร.
อุบาสกนั้น เมื่อไม่อาจจะให้นายพรานนั้น กลับจากความชั่วตลอด
กาลได้ จึงชักชวนในการบุญตอนราตรีว่า มาเถอะสหาย ท่านจง
งดเว้นจากปาณาติบาต ในตอนกลางคืน. เขางดเว้นในตอนกลางคืน
กระทำปาณาติบาตในตอนกลางวันเท่านั้น.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ใกล้
กรุงราชคฤห์ เสวยทุกข์อย่างใหญ่ ตลอดส่วนกลางวัน เพียบพร้อม
พรั่งพร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ในกลางคืน. ท่านนารทะเห็นดังนั้น
จึงสอบถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วย
เทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ
อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์
ในกลางวัน ท่านได้กระทำกรรมอะไรไว้ใน
ชาติก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรนาริปุรกฺขโต ความว่า อัน
เทพบุตร เทพธิดา ผู้บำรุงบำเรอ พากันแวดล้อมเข้านั่งใกล้.
บทว่า ยุวา แปลว่า ยังหนุ่มแน่น. บทว่า รชนีเยหิ แปลว่า อันเป็น
เหตุให้ใคร่ คือเป็นเหตุเกิดความกำหนัด. บทว่า กามคุเณหิ
ได้แก่ด้วยส่วนแห่งกาม. บทว่า โสภสิ อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรือง

ด้วยความพรั่งพร้อมในกลางคืน. ด้วยเหตุนั้น ท่านนารทะจึงกล่าว
ว่า เสวยทุกข์ในตอนกลางวัน ดังนี้ อธิบายว่า เสวยเหตุคือ ความ
คับแค้นมีประการต่าง ๆ ในตอนกลางวัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
รชนี ได้แก่ ในตอนกลางคืน. บทว่า เยหิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
กิมกาสิ ปุริมาย ชาติยา ความว่า ในชาติก่อนแต่ชาตินี้ ท่านได้
กระทำกรรมอะไรอันเป็นทางให้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ ขอท่าน
จงบอกกรรมนั้นเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ จึงได้
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง
ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจ-
คีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต เป็นคน
หยาบช้า ทารุณ มีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอัน
มาก ผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคือง ยินดีแต่ใน
การเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วยกาย
วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหาย
ของกระผม เป็นคนมีใจดี มีศรัทธา ก็อุบาสก

คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่
เนือง ๆ ว่า อย่าทำกรรมชั่วเลย พ่อเอ๋ย อย่าไป
ทุคคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า
จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวม
เสียเถิด กระผมฟังคำของสหายผู้หวังดี มีความ

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำ
สั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา
ยินดีแต่ในบาปตลอดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดี
นั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวม ด้วย
ความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในตอนกลาง
วัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้นเสีย กระผมจึงฆ่า
สัตว์ แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวม
งดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน กระผมจึงได้รับ

ความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัด
กิน คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่ง
กุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือด
ดาล พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน ก็
ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียรเนือง ๆ บากบั่นใน
ศาสนาของพระสุคตเจ้า กระผมเข้าใจว่าชนเหล่า
นั้น จักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุง
แต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ผู้ทารุณ. บทว่า
โลหิตปาณี ได้แก่ ผู้มีฝ่ามืออันเปื้อนเลือด ด้วยการฆ่าสัตว์เนือง ๆ.
บทว่า ทารุโณ แปลว่า กล้าแข็ง อธิบายว่า เบียดเบียนตนเอง.
บทว่า อวิโรธกเรสุ ได้แก่ ในเนื้อและนกเป็นต้น ผู้ไม่กระทำ
ความโกรธด้วยอาการอะไร ๆ

บทว่า อสํยมา แปลว่า ผู้ไม่สำรวม คือ เป็นผู้ทุศีล.
บทว่า สกลานุสาสส ความว่า ซึ่งอนุศาสนีทั้งปวง คือ การงดเว้น
จากปาณาติบาตตลอดกาล. บทว่า จิรปาปาภิรโต ได้แก่ ผู้ยินดียิ่ง
ในบาปตลอดกาลนาน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สํยเม คือ ในสุจริต. บทว่า นิเวสยิ แปลว่า ตั้งอยู่แล้ว.
คำว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืน จงงดเว้นเสีย
นี้ เป็นคำแสดงอาการแห่งความตั้งมั่น. ได้ยินว่า นายพรานนั้น
ได้เป็นผู้ประกอบการฆ่าสัตว์เนือง ๆ ในเวลากลางคืน ด้วยการ
ดักบ่วง คือลูกศรเป็นต้น.

บทว่า ทิวา ขชฺชามิ ทุคฺคโต ความว่า บัดนี้ ฉันถึงทุคคติ
เสวยทุกข์อย่างมหันต์ เคี้ยวกินในตอนกลางวัน. ได้ยินว่า ในตอน
กลางวัน เขาได้เสวยผลอันพึงเห็นเสมอด้วยกรรม เพราะเขาให้
สุนัขกัดเนื้อ ในส่วนกลางวัน สุนัขใหญ่ ๆ วิ่งไป ทำสรีระให้เหลือ
เพียงร่างกระดูก แต่เมื่อย่างเข้ากลางคืน ร่างกายนั้นจึงกลับเป็น
ปกติตามเดิม เสวยทิพยสมบัติ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

เพราะฉะนั้น กลางคืนกระผมจึงได้รับ
ความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขลุมกัดกิน
คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศล
กรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล
พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหตา ความว่า เป็นผู้มีจิต
เดือดดาล คือ เป็นเสมือนถูกความคับแค้นผูกพัน. บทว่า สมนฺตา
ขาทิตุํ ได้แก่ วิ่งไป เพื่อกัดกินร่างกายของเรา โดยรอบด้าน.
ก็ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่พวกสุนัขเหล่านั้น เข้าไปใกล้
นำความกลัวมาให้แก่ตนเป็นอย่างยิ่ง ก็สุนัขเหล่านั้นวิ่งไปกระทำ
ร่างกายให้เหลือแต่เพียงกระดูกแล้วจึงไปเสีย.

ในคาถาสุดท้ายว่า เย จ เต สตตานุโยคิโน มีความสังเขป
ดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่า เรา ก็เป็นผู้งดเว้นจากเหตุเพียงการฆ่าสัตว์
เฉพาะในกลางคืน ยังได้เสวยทิพยสมบัติถึงเพียงนี้ ก็บุรุษเหล่าใด
ผู้ขวนขวายยั่งยืนมั่นคง คือหมั่นประกอบเนือง ๆ คือทุกเวลา ใน
อธิศีลเป็นต้น ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคสุคตพุทธเจ้า

บุรุษเหล่านั้น เป็นผู้มีบุญ เห็นจะบรรลุอมตธรรม อันได้นามว่า
อสังขตบท อันไม่เจือปน ด้วยโลกิยสุขอย่างเดียวเท่านั้น คือ บุรุษ
เหล่านั้น ย่อมไม่มีการห้ามอะไร ๆ ในการบรรลุอมตบทนั้น.
เมื่อเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัต-
ติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท ผู้ถึงพร้อมแล้ว, คำทั้งหมด
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรตอีกตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า
กูฏาคาเร จ ปาสาเท ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มาณพ ชื่อว่ามาควิกะคนหนึ่ง แม้
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ก็ละโภคสุข ออกเที่ยวล่าเนื้อตลอด
ทั้งคืนและวัน. อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหายของเธอ อาศัยความ
เอ็นดูจึงให้โอวาทว่า ดีละสหาย เธอจงงดเว้นจากปาณาติบาต เธอ
อย่าได้มี เพื่อสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
เธอ หาได้เอื้อเฟื้อโอวาทนั้นไม่. ลำดับนั้น อุบาสกนั้น จึงขอร้อง
พระขีณาสพเถระ ซึ่งเป็นที่เจริญใจแห่งตนรูปหนึ่งว่า ดีละ พระผู้-
เป็นเจ้า ขอท่านจงแสดงธรรมแก่บุรุษชื่อโน้น โดยประการที่เธอ
จะพึงงดเว้นจากปาณาติบาต.

ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระนั้น เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
ได้หยุดยืนที่ประตูเรือนของเธอ. มาควิกะนั้นเห็นท่านแล้ว เกิดมี
ความนับถือมาก ต้อนรับให้เข้าไปสู่เรือน ได้ตกแต่งอาสนะถวาย.
พระเถระนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว. ฝ่ายมาณพนั้น ก็เข้าไปหา
พระเถระนั่งแล้ว. พระเถระ ประกาศโทษในปาณาติบาต และ

อานิสงส์ ในการงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น แก่เธอ. เธอ แม้ฟัง
ดังนั้นแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. ลำดับนั้น
พระเถระจึงกล่าวกะเธอว่า คุณ ถ้าคุณไม่สามารถจะงดเว้นโดย

ประการทั้งปวงได้ไซร้ อันดับแรก เธอก็จงงดเว้นแม้ในกลางคืน
เถอะ. เธอรับคำแล้วว่า จะงดเว้นในเวลากลางคืน แล้วจึงงดเว้น
จากปาณาติบาตนั้น. คำที่เหลือ เช่นกับเรื่องที่ติดกันนั่นแล. ก็
ในบรรดาคาถาพระนารทเถระ ได้สอบถามเธอด้วยคาถา ๓ คาถา
ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท
บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรี
เครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อ
สิ้นราตรี พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวย
ทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่ว
อะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่ง
กรรมอะไร ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

ลำดับนั้น เปรตจึงบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านด้วยคาถาว่า :-
เมื่อก่อนกระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง
ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจ-
คีรีนคร) เป็นคนหยาบช้า ทารุณ ไม่สำรวมกาย
วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของผม เป็น
คนใจดี มีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็น
สาวกของพระโคดม แม้อุบาสกนั้น เอ็นดูกระผม
ห้ามกระผมเนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อ

เอ๋ย อย่าไปทุคคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความ
สุขในโลกหน้า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็น
การไม่สำรวมเสียเถิด. กระผมฟังคำของสหาย
ผู้หวังดี มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว
ไม่ทำตามคำสั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคน
ไม่มีปัญญา ยินดียิ่งแล้วในบาปตลอดกาลนาน
สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ใน

ความสำรวม ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่าน
ฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้น
เสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลาง
คืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน
กระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์
ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพย-
สมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวัน

ฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกิน
กระผมรอบด้าน ก็ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียร
เนือง ๆ บากบั่นมั่นในพระศาสนาของพระสุคต-
เจ้า กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้น จักได้บรรลุ
อมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่าง
แน่นอน.
เนื้อความแห่งคาถานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบ อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน มหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตผู้วินิจฉัยโกง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า มาลี กิริฏี กายูรี
ดังนี้.
ในกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสาร เข้าจำอุโบสถเดือนละ ๖ วัน
มนุษย์เป็นอันมากคล้อยตามท้าวเธอ จึงพากันเข้าจำอุโบสถ. พระ-
ราชาตรัสถาม พวกมนุษย์ผู้มายังสำนักของพระองค์ว่า พวกเธอ
เข้าจำอุโบสถหรือ หรือว่า ไม่เข้าจำ. ในบรรดามนุษย์เหล่านั้น
ผู้พิพากษาตัดสินความคนหนึ่ง เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เป็นผู้

หลอกลวง ผู้รับเอาสินบน ไม่อดกลั้นเพื่อจะกล่าวว่า หม่อมฉัน
ไม่ได้เข้าจำอุโบสถ แต่กราบทูลว่า หม่อมฉัน เข้าจำอุโบสถ
พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอ ผู้ออกจากที่ใกล้พระ-
ราชา สหายวันนี้ ท่านเข้าจำอุโบสถหรือ ? เขาตอบว่า สหายเอ๋ย
เพราะความกลัว ผมจึงกราบทูลอย่างนั้น ต่อพระพักตร์พระราชา
แต่ผมไม่ได้เข้าจำอุโบสถ.

ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น อันดับ
แรกเธอจงรักษาอุโบสถ กึ่งวัน ในวันนี้ เธอจงสมาทานองค์อุโบสถ
เถิด. เธอรับคำของสหายนั้นแล้วไปยังเรือน ไม่บริโภคเลย บ้วน
ปากอธิษฐานอุโบสถ เข้าจำอยู่ในกลางคืน ถูกความเสียดแทง
อันมีพลังลมเป็นต้น เหตุซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากท้องว่าง เข้าตัดอายุ

สังขาร ถัดจากจุติก็ไปบังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ในท้องภูเขา.
จริงอยู่ เขาได้วิมาน ซึ่งมีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นาง เป็นบริวาร และ
ทิพยสมบัติเป็นอันมาก ด้วยเหตุเพียงการรักษาอุโบสถราตรีเดียว.
แต่เพราะตนเป็นผู้พิพากษาโกง และพูดวาจาส่อเสียด ตนเอง
จึงจิกเนื้อหลังของตนเองกิน. ท่านพระนารทะ ลงจากเขาคิชกูฏ
เห็นเธอเข้า จึงถามด้วยคาถา ๔ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไล
ทองคำ ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีสีหน้าผ่องใส
งดงาม ดุจสีพระอาทิตย์อุทัย มาบนอากาศ
มีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นางเป็นบริวาร บำรุงบำเรอ
ท่านนางฟ้าเหล่านั้น ล้วนสวมกำไลทองคำ
นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพ
มาก มีรูปเป็นที่ให้ขนชูชัน แก่ผู้พบเห็น แต่ท่าน
จิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำ
กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะ
วิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของ
ตนเองกินเป็นอาหาร.

เปรตนั้นตอบว่า :-
กระผมได้ประพฤติทุจจริตด้วยการส่อ
เสียด พูดเท็จ พลางและล่อลวงเพื่อความฉิบหาย
แก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทใน
มนุษยโลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริง
ปรากฏแล้ว ละเหตุผลเสีย ประพฤติคล้อยตาม

อธรรม ผู้ใด ประพฤติทุจจริต มีคำส่อเสียด
เป็นต้น ผู้นั้นต้องจิกเนื้อหลัง ของตนกิน เหมือน
กระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น
ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ ท่าน
ได้เห็นเองแล้ว ชนเหล่าใดเป็นคนฉลาด มีความ
อนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่าน
อย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลัง
ของตนเป็นอาหารเลย.

ฝ่ายเปรตนั้น ได้ตอบความนั้น ด้วยคาถา ๓ คาถา แก่ท่าน
พระนารทะเถระนั้นแล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลี ได้แก่ ผู้ทัดทรงดอกไม้
อธิบายว่า ผู้ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์. บทว่า กิริฏี แปลว่า ผู้สวม
ใส่ชฎา. บทว่า กายูรี แปลว่า ผู้สวมกำไลทองคำ อธิบายว่า
ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับแขน. บทว่า คตฺตา แปลว่า อวัยวะ

คือสรีระ. บทว่า จนฺทนุสฺสทา แปลว่า ผู้ลูบไล้ด้วยจุณจันทร์.
บทว่า สูริยวณฺโณ ว โสภสิ ความว่า ท่านเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส
ดุจพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ. บาลีว่า อรณวณฺณี ปภาสสิ ดังนี้
ก็มี. บทว่า อรณํ ความว่า มีสีเสมอกับเทพผู้ไม่มีความหม่นหมอง
คือ เป็นแดนอันประเสริฐ.

บทว่า ปาริสชฺชา แปลว่า ผู้นับเนื่องในบริษัท อธิบายว่า
ผู้อุปัฏฐาก. บทว่า ตุวํ แปลว่า ท่าน. บทว่า โลมหํสนรูปวา
ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยรูป อันให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น. จริงอยู่
คำว่า โลมหํสนรูปวา นี้ ท่านกล่าวไว้ เพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อม
ด้วยความเป็นผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า อุกฺกจฺจ แปลว่า ตัด
อธิบายว่า เฉือน.

บทว่า อจาริสํ แปลว่าได้เที่ยวไปแล้ว คือได้ดำเนินไปแล้ว.
บทว่า เปสุฺมุสาวาเทน แปลว่า ด้วยความเป็นผู้พูดส่อเสียด
และพูดคำเท็จ. บทว่า นิกติวญฺจนาย จ ได้แก่ ด้วยการพลาง
และล่อลวง คือ ด้วยการล่อลวง โดยทำให้แปลกแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยแสดงของเทียม.

บทว่า สจฺจกาเล คือ ในกาลอันสมควรเพื่อจะกล่าวคำสัตย์.
บทว่า อตฺถํ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล อันต่างด้วยประโยชน์ใน
ปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ เหตุ คือ สิ่งที่ควร. บทว่า
นิรากตฺวา ได้แก่ ทิ้ง คือละ. บทว่า โส ได้แก่สัตว์ผู้ประพฤติ
วจีทุจจริตมีการพูดส่อเสียดเป็นต้น. คำที่เหลือทั้งหมด มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐
เรื่องแห่งเปรตผู้ติเตียนพระธาตุนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนฺตลกฺขสฺมึ
ติฏฺ€นฺโต ดังนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ในระหว่างนางรัง
ทั้งคู่ ณ สาลวโนทยาน แห่งมัลลกษัตริย์ อันเป็นที่แวะเวียน ใน
กรุงกุสินารา และทำการจำแนกพระธาตุพระเจ้าอชาตสัตตุ ทรง
ถือเอาการส่วนพระธาตุที่พระองค์ได้ ทรงระลึกถึงพระพุทธคุณ
๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน แล้วให้การบูชาอันโอฬารเป็นไป.

พวกมนุษย์ในที่นั้น นับไม่ได้ประมาณไม่ได้ พากันทำจิต
ให้เลื่อมใส ได้เข้าถึงสวรรค์. ก็บุรุษประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน ในที่นั้น
มีจิตวิปปลาส เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา และเพราะความเห็น
ผิดที่ตนให้เกิดตลอดกาลนาน ประทุษร้ายจิตของตนแม้ในฐานะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แล้วเกิดในหมู่เปรต. ภรรยา ธิดา
ลูกสะใภ้ของกุฏมพี ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์

นั้นนั่นเอง มีจิตเลื่อมใส พากันคิดว่า จักถวายบูชาพระธาตุ จึง
ถือเอาสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น เริ่มไปยังที่บรรจุ
พระธาตุ. กฎุมพีนั้นคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการบูชากระดูก
จึงดูหมิ่นพระธาตุเหล่านั้น ติเตียนการบูชาพระธาตุ. หญิงเหล่านั้น
ก็ไม่เชื่อคำของกฎุมพีนั้น พากันไปในที่นั้น กระทำการบูชาพระธาตุ

มายังเรือนถูกโรคเช่นนั้นครอบงำ ไม่นานนักก็ทำกาละไปบังเกิด
ในเทวโลก. ส่วนกฎุมพีนั้นถูกความโกรธครอบงำ ไม่นานนักทำ
กาละแล้ว ไปบังเกิดในหมู่เปรตเพราะบาปกรรมนั้น.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านมหากัสสปะปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร
โดยประการที่พวกมนุษย์เห็นเปรตเหล่านั้น และเทวดาเหล่านั้น
ก็ครั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว ยืนอยู่ที่ลานเจดีย์ ถามเปรตผู้ติเตียน
พระธาตุนั้นด้วย ๓ คาถา เปรตนั้น ได้พยากรณ์แก่ท่านแล้ว.
พระเถระถามว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร