วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำดื่ม คือ
สระโบกขรณีกว้าง ๔ เหลี่ยม ลึกมีน้ำเย็น มีท่า
ราบเรียบดี น้ำเย็นมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้
ดารดาษด้วยกอปทุมและอุบลเต็มด้วยละออง
เกสรบัว อันร่วงหล่นบนวารี ได้เกิดขึ้น เปรต
เหล่านั้น อาบและดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดง
ตนแก่พระเถระแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้า มากเพียงพอแล้ว บาป

ย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพ-
เจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาค อันมีก้อน
กรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายาม ให้พวก
ข้าพเจ้า ได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระ
ได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้น
แล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วย
อุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติ

ของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความสุขเถิด
ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลาย ได้
พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถแล้วกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า เป็นผู้อันท่าน
อนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่ง ผ้าห่ม

เรือน น้ำดื่ม และ ยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย จึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนี มีความ
กรุณาในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เถโร จริตฺวา ปิณฺฑาย ความว่า
พระเถระเที่ยวจาริกไปบิณฑบาต. บทว่า ภิกฺขู อฺเ จ ทฺวาทส
ความว่า ภิกษุผู้อยู่กับพระเถระและภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป ประชุม

ร่วมในที่เดียวกัน. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะส่วนพิเศษแห่งภัตเป็นเหตุ. อธิบายว่า เพราะภัตกิจ
เป็นเหตุ คือ เพราะการฉันเป็นเหตุ. บทว่า เต โดยภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า ยถา ลทฺธํ แปลว่า ตามที่ได้. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้.

บทว่า นิยฺยาทยึสุ แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า สงฺฆํ นิมนฺตยิ
ความว่า นิมนต์ภิกษุ ๑๒ รูปนั่นแหละ เพื่อฉันภัตตาหารนั้น โดย
สังฆุทเทศ อุทิศสงฆ์. บทว่า อนฺวาทิสิ ได้แก่ อุทิศให้. บรรดา
ญาติเหล่านั้น เพื่อจะแสดงญาติที่ตนเจาะจงเหล่านั้น จึงกล่าวคำ
ว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดา และพี่ชาย ขอผลทานนี้จง
สำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติจงมีความสุขเถิด.

บทว่า สมนนฺตรานุทฺทิฏฺเ€ แปลว่า พร้อมกับการอุทิศ
นั่นเอง. บทว่า โภชนํ อุปปชฺชถ ความว่า โภชนะย่อมเกิดแก่เปรต
เหล่านั้น. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า โภชนะเช่นไร? จึงกล่าวว่า
โภชนะอันสะอาด. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรสพฺยญฺชนํ
ได้แก่ ประกอบด้วยกับข้าวมีรสต่าง ๆ หรือว่า มีรสหลายอย่างและ
มีกับข้าวหลายอย่าง. บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การได้โภชนะ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อุทฺทสฺสยี ภาตา ความว่า เปรตผู้เป็นพี่ชาย แสดง
ตนแก่พระเถระ. บทว่า วณฺณวา พลวา สุขี ความว่า เพราะการได้
โภชนะนั้น ทันใดนั้นเอง เปรตนั้นสมบูรณ์ด้วยรูป สมบูรณ์ด้วย
กำลัง มีความสุขทีเดียว. บทว่า ปหูตํ โภชนํ ภนฺเต ความว่า
ท่านผู้เจริญ โภชนะมากมาย คือมิใช่น้อย อันเราได้แล้ว เพราะ

อานุภาพทานของท่าน. บทว่า ปสฺส นคฺคามฺหเส ความว่า ท่านจงดู
แต่พวกเราเป็นคนเปลือยกาย เพราะฉะนั้น ขอท่านจงบากบั่น
กระทำความพยายามอย่างนั้นเถิด ขอรับ. บทว่า ยถา วตฺถํ ลภามเส
ความว่า ขอท่านทั้งหลายจงพยายามโดยประการ คือ โดยความ
พยายามที่ข้าพเจ้าทั้งหมดพึงได้ผ้าเถิด.

บทว่า สงฺการกูฏมฺหา ได้แก่ จากกองหยากเยื่อในที่นั้น ๆ.
บทว่า อุจฺจินิตฺวาน ได้แก่ ถือเอาโดยการแสวงหา. บทว่า นนฺตเก
ได้แก่ ท่อนผ้าที่เขาทิ้งมีชายขาด. ก็เพราะผ้าเหล่านั้น ชื่อว่า
เป็นผ้าท่อนเก่าขาดรุ่งริ่ง พระเถระเอาผ้าเหล่านั้นทำเป็นจีวรถวาย
สงฆ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำผ้าท่อนเก่าให้เป็นผืนผ้า
แล้วอุทิศสงฆ์ผู้มาจากจตุรทิศ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺเฆ
จาตุทฺทิเส อท ความว่า ได้ถวายแก่สงฆ์ ผู้มาจากทิศทั้ง ๔.
ก็บทว่า สงฺเฆ จาตุทฺทิเส นี้ เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถแห่ง
จตุตถีวิภัติ.

บทว่า สุวตฺถวสโน แปลว่า เป็นผู้นุ่งห่มผ้าดี. บทว่า
เถรสฺส ทสฺสยีตุมํ ความว่า แสดงตน คืออ้างตน ได้แก่ปรากฏ
ตนแก่พระเถระ. ผ้าชื่อว่าปฏิจฉทา เพราะเป็นที่ปกปิด

บทว่า กูฏาคารนิเวสนา ได้แก่ เรือนที่เป็นปราสาท และ
ที่อยู่อาศัยอื่นจากปราสาทนั้น. จริงอยู่ บทว่า กูฏาคารนิเวสนา
นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า วิภตฺตา ได้แก่ ที่เขาจัด
แบ่งโดยสันฐาน ๔ เหลี่ยมเท่ากัน ยาว และกลม. บทว่า ภาคโส
มิตา แปลว่า กำหนดเป็นส่วน ๆ. บทว่า โน ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
บทว่า อิธ ได้แก่ เปตโลกนี้. ศัพท์ว่า อปิ ในบทว่า อปิ ทิพฺเพสุ
นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ในเทวโลก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กรกํ ได้แก่ ธมกรก. บทว่า ปูเรตฺวา แปลว่า เต็ม
ด้วยน้ำ. บทว่า วาริกิญฺชกฺขปูริตา ได้แก่ เหนือน้ำในที่นั้น ๆ
ดารดาษเต็มด้วยเกสรปทุมและอุบล เป็นต้น บทว่า ผลนฺติ แปลว่า
ย่อมบาน อธิบายว่า แตกออกที่ส้นเท้าและริม ๆ เท้าเป็นต้น.

บทว่า อาหิณฺฑมานา ได้แก่ เที่ยวไปอยู่. บทว่า ขญฺชาม
แปลว่า เขยกไป. บทว่า สกฺขเร กุสกณฺฏเก ได้แก่ ในภูมิภาค
อันมีก้อนกรวด และหน่อหญ้าคา อธิบายว่า เหยียบลงที่ก้อนกรวด
และหน่อหญ้าคา. บทว่า ยานํ ได้แก่ ยานชนิดใดชนิดหนึ่ง มีรถ
และล้อเลื่อนเป็นต้น. บทว่า สิปาฏิกํ ได้แก่ รองเท้าชั้นเดียว.

ม อักษรในบทว่า รเถน มาคมุํ นี้ ทำการเชื่อมบท คือ
มาด้วยรถ. บทว่า อุภยํ แปลว่า ด้วยการให้ทั้ง ๒ คือ ด้วยการ
ให้ยาน และด้วยการให้ปัจจัย ๔ มีภัตเป็นต้น จริงอยู่ ในการให้
๒ อย่างนั้น แม้การให้เภสัช ท่านก็สงเคราะห์ด้วยการให้น้ำดื่ม
คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงตรัสว่า
เปรตเหล่านี้ ย่อมเสวยทุกข์อย่างใหญ่ในบัดนี้ ฉันใด แม้ท่านก็
ฉันนั้น เป็นเปรตในอัตตภาพอันเป็นลำดับอันเป็นอดีต แต่อัตตภาพ
นี้ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ดังนี้แล้ว อันพระเถระทูลอาราธนา จึงทรง

แสดงเรื่องสุตตเปรตแล้วทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว
มหาชนได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ ได้เป็นผู้ยินดีในบุญ
กรรมมีทานและศีลเป็นต้นแล
จบ อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ ๓
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรง
ปรารภนางเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า
เวฬุริยถมฺภํ รุจิรํ ปภสฺสรํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปะ หญิงคนหนึ่งสมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ
มีกัลยาณมิตรเป็นที่อิงอาศัย เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา ได้สร้าง
อาวาสไว้แห่งหนึ่ง น่าดูยิ่ง มีฝา เสา บันได และพื้นภูมิอันวิจิตร
อันจำแนกไว้ด้วยดี นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งในอาวาสนั้น อังคาส
ด้วยอาหารอันประณีต แล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์. สมัยต่อมา
นางทำกาละแล้ว เกิดเป็นนางวิมานเปรต อาศัยสระชื่อรถการะที่

ขุนเขาหิมพานต์ ด้วยอำนาจบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ด้วยอานุภาพบุญ
ที่นางถวายอาวาสแก่สงฆ์ วิมานอันล้วนด้วยรัตนะทุกอย่าง กว้าง
ขวาง โดยรอบน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง งดงามเสมือน
นันทนวัน ณ สระโบกขรณี ย่อมเกิดขึ้นแก่นางและนางเองก็มี
ผิวพรรณดังทองคำ งดงามน่าชมน่าเลื่อมใส.

นางเว้นจากพวกบุรุษเสีย เสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ ที่นั้น
เมื่อนางไม่มีบุรุษอยู่ในที่นั้นเป็นเวลานาน ก็เกิดความเบื่อหน่าย
ขึ้น นางรำคาญขึ้นแล้วคิดว่า อุบายนี้ใช้ได้ จึงทิ้งมะม่วงสุกอัน
เป็นทิพย์ลงในแม่น้ำ. คำทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในเรื่อง
นางกรรณมุณฑเปรตนั่นแหละ. ก็ในเรื่องนี้ ยังมีมาณพคนหนึ่ง

ชาวกรุงพาราณสี เห็นผลมะม่วงผลหนึ่ง ในบรรดามะม่วงสุก
เหล่านั้น ในแม่น้ำคงคา จึงไปสู่ที่อยู่ของนางโดยทำนองนั้น นาง
เห็นดังนั้น จึงนำเขาไปยังที่อยู่ของตน กระทำปฏิสันถารแล้วนั่ง.
เขาเห็นความสมบูรณ์ของสถานที่อยู่ของนางเมื่อจะถามจึงกล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นสู่
วิมานมีเสาเป็นวิการแห่งแก้วไพฑูรย์ งามผุดผ่อง
มีรูปภาพอันวิจิตรต่าง ๆ อยู่ในวิมานนั้น ดุจ
พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า ฉะนั้น.
อนึ่ง รัสมีของท่านมีสีดังทองคำ ท่านมีรูปอัน
อุดม น่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์
อันประเสริฐ มีค่ามาก สามีของท่านไม่มีหรือ
ก็สระโบกขรณีของท่านเหล่านี้ มีอยู่โดยรอบ

มีบัวต่าง ๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก เกลื่อน
กล่นด้วยทรายทองโดยรอบ, ในสระโบกขรณีนั้น
หาเปือกตมและจอกแหนมิได้ มีหงส์น่าดูน่าชม
น่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวแวะเวียนไปในน้ำทุกเมื่อ
หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะ พากันมาประชุม
ร่ำร้องอยู่ เสียงร่ำร้องของหงส์ในสระโบกขรณี

ของท่านมิได้ขาดเสียง ดุจเสียงกลอง ท่านมียศ
งามรุ่งเรือง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมีคิ้วโก้งดำดี
มีหน้ายิ้มแย้ม พูดจาน่ารักใคร่ มีอวัยวะทั้งปวง
งามรุ่งเรืองยิ่งนัก. วิมานนี้ปราศจากละอองธุลี
ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ มีสวนนันทนวันอัน
ให้เกิดความยินดี เพลิดเพลินเจริญใจ ดูก่อน

นารีผู้มีร่างน่าดูน่าชม เราปรารถนาเพื่อจะอยู่
บันเทิงกับท่าน ในสวนนันทนวันของท่านนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ โยคว่าในวิมานนั้น. บทว่า
อจฺฉสิ ได้แก่ ท่านนั่งอยู่ในเวลาที่ปรารถนาแล้ว ๆ. มาณพเรียก
นางเปรตนั้นว่า เทวิ. บทว่า มหานุภาเว ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
อานุภาพทิพย์อันใหญ่. บทว่า ปถทฺธนิ ได้แก่ ทางไกลอันเป็น

ทางของตน อธิบายว่า ทางพื้นอากาศ. บทว่า ปณฺณรเสว จนฺโท
ความว่า โชติช่วงอยู่ ดุจพระจันทร์อันมีดวงบริบูรณ์ในวันเพ็ญ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วณฺโณ จ เต กนกสฺส สนฺนิโภ ความว่า ก็ผิวพรรณ
ของท่านดุจทองสิงคีอันสุกปลั่ง น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก. ด้วยเหตุนั้น
มาณพจึงกล่าวว่า มีรูปอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก. บทว่า อตุเล
ได้แก่ อันควรค่ามาก. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อตุเล เป็นคำเรียก
เทวดา อธิบายว่า มีรูปไม่มีใครเหมือน. บทว่า นตฺถิ จ ตุยฺห สามิโก
ความว่า ก็สามีของท่านไม่มีหรือ.

บทว่า ปหูตมลฺยา ได้แก่ มีดอกไม้หลายชนิด มีดอกบัวเป็นต้น.
บทว่า สุวณฺณจุณฺเณหิ แปลว่า ด้วยทรายทอง. บทว่า สมนฺตโมตฺถตา
แปลว่า เกลื่อนกล่นโดยรอบ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสระโบกขรณี
ทั้งหลายนั้น. บทว่า ปงฺโก ปณโก จ ความว่า ไม่มีเปือกตมหรือ
จอกแหนในน้ำ.

บทว่า หํสา จิเม ทสฺสนียา มโนรมา ความว่า หงส์เหล่านี้
ดูน่าเป็นสุข น่ารื่นรมย์ใจ. บทว่า อนุปริยนฺติ ได้แก่ ท่องเที่ยวไป.
บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ในทุกฤดูกาล. บทว่า สมยฺย แปลว่า ประชุม
กัน. บทว่า วคฺคู แปลว่า ไพเราะ. บทว่า อุปนทนฺติ แปลว่า
เพรียกร้องอยู่. บทว่า พินฺทุสฺสรา ได้แก่ มีเสียงไม่แตกพร่า คือ
มีเสียงกลมกล่อม. บทว่า ทุนฺทุภีนํ ว โฆโส ความว่า เสียงร้อง
ของพวกหงส์ในสระโบกขรณีของท่าน ดุจเสียงกลอง เพราะเป็น
เสียงไพเราะและกลมกล่อม.

บทว่า ททฺทลฺลมานา ได้แก่ รุ่งเรืองอย่างยิ่ง. บทว่า ยสสา
ได้แก่ ผู้มีเทพฤทธิ์. บทว่า นาวาย ได้แก่ ในเรือโกรน. จริงอยู่
มาณพเห็นนางเปรตนั่งอยู่บนบัลลังก์อันมีค่ามากในเรือทองคำ
กำลังเล่นกีฬาในน้ำ ณ สระโบกขรณีอันมีกอปทุม จึงได้กล่าว
อย่างนั้น. บทว่า อวลมฺพ ความว่า ลงนั่งไม่อิงพนัก. คำว่า

ติฏฺ€สิ นี้ เป็นคำห้ามการไป เพราะฐานะศัพท์ มีอันห้ามการไป
เป็นอรรถ. บาลีว่า นิสชฺชสิ ดังนี้ก็มี พึงเห็นความแห่งบทว่า
นิสชฺชสิ เป็น นิสีทสิ นั่นเอง. บทว่า อาฬารปมฺเห ได้แก่
มีขนตาดำ ยาว งอน. บทว่า หสิเต แปลว่า มีหน้ายิ้มแย้มร่าเริง
ยิ่งนัก. บทว่า ปิยํวเท แปลว่า พูดจาน่ารักใคร่. บทว่า
สพฺพงฺคกลฺยาณิ แปลว่า งามด้วยอวัยวะทั้งปวง คือ มีอวัยวะ
ทุกส่วนงดงาม. บทว่า วิโรจสิ แปลว่า รุ่งเรืองยิ่งนัก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วิรชํ แปลว่า ปราศจากธุลี คือ ไม่มีโทษ. บทว่า
สเม €ิตํ ได้แก่ ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ หรือตั้งอยู่ที่ภาคพื้น
อันเสมอ เพราะงดงามทั้ง ๔ ด้าน อธิบายว่า งามรอบด้าน. บทว่า
อุยฺยานวนฺตํ ได้แก่ ประกอบด้วยสวนนันทนวัน. บทว่า รตินนฺทิ-
วฑฺฒนํ ความว่า ชื่อว่ารตินันทิวัฑฒนะ เพราะทำความยินดีและ

ความเพลิดเพลินใจให้เจริญ, อธิบายว่า ทำสุขและปีติให้เจริญ.
คำว่า นาริ เป็นคำร้องเรียกนางเปรตนั้น. บทว่า อโนมทสฺสเน
ได้แก่ เห็นเข้าไม่น่าติเตียน เพราะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์.
บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ผู้กระทำความบันเทิงใจ. บทว่า อิธ แปลว่า
ในสวนนันทนวันนี้ หรือในวิมานนี้. บทว่า โมทิตุํ มีวาจาประกอบ
ความว่า เราปรารถนาเพื่อจะอภิรมย์.

เมื่อมาณพนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว วิมานเปติเทวดานั้นเมื่อ
จะให้คำตอบแก่มาณพนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านจงกระทำกรรมอันจะให้ท่านได้
เสวยผลในวิมานของเรานี้ และจิตของท่าน
จงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอัน
บันเทิงในที่นี้แล้ว จักได้อยู่ร่วมกับเราสมความ
ประสงค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรหิ กมฺมํ อิธ เวทนียํ ความว่า
ท่านจงทำ คือพึงได้ประสบกุศลกรรมอันเผล็ดผล คือ ให้ผลใน
ทิพยสถานนี้. บทว่า อิธ นิหิตํ ได้แก่ น้อมนำจิตเข้าไปในวิมานนี้,
บาลีว่า อิธ นินฺนํ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า จิตของท่านจงน้อม โอน
เอื้อมไปในที่นี้. บทว่า มมํ แปลว่า ซึ่งเรา. บทว่า ลจฺฉสิ แปลว่า
จักได้.

มาณพนั้นได้ฟังคำของนางวิมานเปรตนั้นแล้ว จากที่นั้น
ไปยังถิ่นมนุษย์ ตั้งจิตนั้นไว้ในที่นั้น กระทำบุญกรรมอันเกิดแต่จิต
นั้น ไม่นานนัก กระทำกาละแล้วบังเกิดในวิมานนั้น เข้าถึงความ
เป็นสหายกับนางเปรตนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว
คาถาสุดท้ายว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มาณพนั้นรับคำของนางเปรตนั้นแล้ว
ได้กระทำกรรมอันเป็นกุศลส่งผลให้เกิดในวิมาน
นั้น ครั้นแล้วได้เข้าถึงความเป็นสหายของนาง
เวมานิกเปรตนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถ
สัมปฏิจฉนัตถะ. บทว่า ตสฺสา ได้แก่ นางเวมานิกเปรตนั้น. บทว่า
ปฏิสฺสุณิตฺวา ได้แก่ รับคำของนางเวมานิกเปรตนั้น. บทว่า ตหึ
เวทนียํ ได้แก่ กุศลกรรมอันมีผลเป็นสุขที่จะพึงได้รับกับนาง
เวมานิกเปรตนั้น ในวิมานนั้น. บทว่า สหพฺยตํ คือ ซึ่งความอยู่
ร่วมกัน. มีวาจาประกอบความว่า มาณพนั้นเข้าถึงความเป็น
สหายกับนางเวมานิกเปรตนั้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

เมื่อคนเหล่านั้นเสวยทิพยสมบัติในวิมานนั้น ตลอดกาลนาน
อย่างนี้ เพราะสิ้นกรรม บุรุษจึงกระทำกาละ แต่หญิงเพราะบุญ
กรรมของตนถึงเขตสมบัติ จึงอยู่จนครบอายุในวิมานนั้น ตลอด
พุทธันดรหนึ่ง. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จ

อุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ใน
พระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
จาริกไปบนภูเขา เห็นวิมานและนางเวมานิกเปรตนั้น จึงถาม
ด้วยคาถามีอาทิว่า วิมานมีเสาแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์งดงามผุดผ่อง
และนางเวมานิกเปรตนั้นได้เล่าประวัติของตนทั้งหมดแก่ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ ตั้งแต่ต้น. พระเถระได้ฟังดังนั้นมายังกรุง
สาวัตถีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
กระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท
ผู้ถึงพร้อมแล้ว มหาชนได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้เป็นผู้ยินดีในบุญธรรม
มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ ๓
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ
อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
เปรต ๔ ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสานิ
เอโก สาลี ปุนาปโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี
มีพ่อค้าโกงคนหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยอเนสนากรรมมีการโกงด้วย
ตราชั่งเป็นต้น. เขาถือเอาฟ่อนข้าวสาลี เคล้าด้วยดินแดง ทำให้
หนักกว่าเดิม ปนกับข้าวสาลีแดงแล้วขาย. บุตรของเขาโกรธว่า
คุณพ่อไม่ยอมให้เกียรติยกย่องมิตรสหายของเรา ผู้มาสู่เรือนเสีย
เลย ได้ถือเอาเชือกหนัก ๒ เส้น ตีศีรษะมารดา. หญิงสะใภ้ของ
เขา ลักกินเนื้อที่เก็บไว้สำหรับชนทั้งปวงแล้ว เมื่อถูกชนเหล่านั้น

ซักไซร้จึงให้คำสบถว่า ถ้าเรากินเนื้อนั้นจริง ก็ขอให้เราพึงเฉือน
เนื้อสันหลังของตนแล้วกินทุก ๆ ภพไปเถิด. ฝ่ายภริยาของเขา
เมื่อชนทั้งหลายพากันขออุปกรณ์บางอย่าง ก็ตอบว่า ไม่มี เมื่อ
ถูกชนเหล่านั้นรบเร้า จึงได้ทำสบถด้วยมุสาวาทว่า ถ้าเรากล่าว
ถึงสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มีไซร้ ขอให้เราพึงเป็นผู้มีคูถเป็นอาหาร ในที่
ที่เกิดแล้วเถิด.

สมัยต่อมาชนทั้ง ๔ คนนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต
ในดงไฟไหม้ ในคน ๔ คนนั้น พ่อค้าโกง ใช้มือทั้งสองข้าง กอบ
เอาแกลบที่ลุกโพลงด้วยผลกรรมแล้ว เกรี่ยลงบนศีรษะของตนเอง
เสวยทุกข์เป็นอันมาก, บุตรของเขาก็ใช้ค้อนเหล็กตีศีรษะตนเอง
เสวยทุกข์ไม่ใช่น้อยเลย หญิงสะใภ้ของเขา ด้วยผลกรรม จึงใช้

เล็บทั้งหลายที่ทั้งกว้างและยาวยิ่งนัก คมเป็นอย่างดี กรีดเนื้อ
แผ่นหลังของตนเองกิน เสวยทุกข์หาประมาณมิได้. พอภริยา
ของเขา น้อมนำข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์ดี ปราศจากด่างดำ
เข้าไปเท่านั้น ก็กลายสำเร็จเป็นคูถ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่หนอน
นานาชนิด มีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดยิ่งนัก, ภริยานั้นเอามือทั้ง
สองข้างกอบคูถนั้นกิน เสวยทุกข์อย่างมหันต์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อชนทั้ง ๔ คนเหล่านั้น เกิดในหมู่เปรตเสวยทุกข์อย่าง
มหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อจาริก
ไปบนภูเขา วันหนึ่งไปถึงที่นั้น เห็นเปรตเหล่านั้น จึงถามถึงกรรม
ที่เปรตเหล่านั้น กระทำด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านทั้ง ๔ คนนี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบ
ข้าวสาลีที่ไฟลุกโชน โปรยใส่ศีรษะตนเอง
อีกคนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยค้อนเหล็ก ส่วน
คนที่เป็นหญิง เอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือด
ของตนเอง ส่วนท่านกินคูถอันเป็นของไม่สะอาด
ไม่น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุสานิ ได้แก่ ข้าวรีบ. บทว่า
เอโก แปลว่า ผู้หนึ่ง. บทว่า สาลึ แปลว่า ข้าวสาลี. จริงอยู่ บทว่า
สาลึ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. อธิบายว่า
โปรยแกลบแห่งข้าวสาลี ที่ไฟลุกโชนลงบนศีรษะของตน. บทว่า
ปุนาปโร ตัดเป็น ปุน อปโร แปลว่า อีกคนหนึ่ง. จริงอยู่ ท่าน

กล่าวหมายถึงผู้ตีศีรษะมารดาแล้วเอาฆ้อนเหล็กตีศีรษะตนเองจนถึง
ศีรษะแตก. บทว่า สกมํสสโลหิตํ มีวาจาประกอบความว่า ย่อมกิน
เนื้อหลัง และเลือดของตนเอง. บทว่า อกนฺตํ แปลว่า ไม่น่าชอบใจ
คือ น่าเกลียด. บทว่า กิสฺส อยํ วิปาโก ความว่า นี้เป็นผลแห่ง
บาปกรรมชนิดไหน ซึ่งพวกท่านเสวย ณ บัดนี้.

เมื่อพระเถระถามถึงกรรมที่ชนเหล่านั้น กระทำอย่างนี้
ภริยาของพ่อค้าโกง เมื่อจะแจ้งถึงกรรมที่ชนทั้งหมดนั้นกระทำไว้
จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
เมื่อก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ตีดิฉัน
ผู้เป็นมารดา ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน เป็นพ่อค้าโกง
ข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้เป็นลูกสะใภ้ของดิฉัน
ลักกินเนื้อแล้ว กลับหลอกลวงด้วยมุสาวาท
ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก เป็นหญิง
แม่เรือน เป็นใหญ่แก่สกุลทั้งปวง เมื่อสิ่งของมี
อยู่ เหล่ายาจกขอแล้ว เก็บซ่อนไว้เสีย ไม่ได้ให้
อะไร ๆ จากของที่มีอยู่เลยปกปิดไว้ด้วยมุสาวาท
ว่า ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา ถ้าเราปกปิดของ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ที่มีไว้ไซร้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตรแห่ง
ข้าวสาลีอันมีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถ
เพราะวิบากแห่งกรรม คือมุสาวาทของดิฉัน ก็
กรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบ-
สูญ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตรคูถ
อันมีกลิ่นเหม็น มีหนอน.

นางเปรตเมื่อจะแสดงถึงบุตรจึงได้กล่าวว่า อยํ ในคาถานั้น.
บทว่า หึสติ แปลว่า ใช้กำลังเบียดเบียน อธิบายว่า ใช้ไม้ฆ้อนตี.
บทว่า กูฏวาณิโช แปลว่า พ่อค้าเลวทราม อธิบายว่า ทำการค้าด้วย
การหลอกลวง. บทว่า มํสานิ ขาทิตฺวา ความว่า กินเนื้อที่ทั่วไป
แก่คนเหล่าอื่นแล้ว หลอกลวงชนเหล่านั้น ด้วยมุสาวาทว่า เรา
ไม่ได้กิน.

บทว่า อคารินี ได้แก่ หญิงแม่เจ้าเรือน. บทว่า สนฺเตสุ
ความว่า เมื่อเครื่องอุปกรณ์ที่ชนเหล่าอื่นขอยังมีอยู่นั่นแล. บทว่า
ปริคุหามิ แปลว่า ปกปิด. จริงอยู่ คำว่า ปริคุหามิ นี้ ท่านกล่าว
ด้วยกาลวิปลาส. บทว่า มา จ กิญฺจิ อิโต อทํ ความว่า เราไม่ได้
ให้แม้เพียงสิ่งอะไร ๆ จากสิ่งอันเป็นของของเรานี้ แก่ชนเหล่าอื่น

ผู้ต้องการ. บทว่า ฉาเทมิ ความว่า ปกปิดด้วยมุสาวาทว่า สิ่งนี้
ไม่มีอยู่ในเรือนของเรา.
บทว่า คูถํ เม ปริวตฺตติ ความว่า ข้าวสาลีมีกลิ่นหอม
ย่อมเปลี่ยนไป คือ แปรไปโดยความเป็นคูถ ด้วยอำนาจกรรม
ของเรา. บทว่า อวญฺฌานิ แปลว่า ไม่สูญเปล่า คือ ไม่ไร้ผล.
บทว่า น หิ กมฺมํ วินสฺสติ ความว่า กรรมตามที่ตนได้สั่งสมไว้
ยังไม่ให้ผล จะไม่สูญไปไหนเลย. บทว่า กิมินํ ได้แก่ มีหนอน
คือ เกิดเป็นหมู่หนอนขึ้น. บทว่า มีฬฺหํ แปลว่า คูถ. คำที่เหลือ
ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

พระเถระ ครั้นสดับคำของนางเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕
เรื่องแห่งกุมารเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อจฺเฉรรูปํ สุคตสฺส
าณํ ดังนี้. เรื่องนั้นมีอุปุปัตติเหตุเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี อุบาสกและอุบาสิกาเป็นอันมาก
เป็นหมู่กันโดยธรรม สร้างมณฑปหลังใหญ่ไว้ในพระนคร ประดับ
มณฑปนั้นด้วยผ้านานาพรรณ นิมนต์พระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์
มาแต่เช้าตรู่ ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานนั่งบนอาสนะ
ที่ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีควรแก่ค่ามาก บูชาด้วยสักการะมี
ของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้ว ให้มหาทานเป็นไป. บุรุษคนหนึ่ง

มีจิตถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม พอเห็นดังนั้น ทนต่อสักการะ
นั้นไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ ทิ้งเสียที่กองหยากเหยื่อ
ยังจะดีกว่า กว่าการที่จะถวายแก่สมณะโล้นเหล่านี้ ซึ่งหาดีมิได้
เลย. พวกอุบาสกอุบาสิกาได้ฟังดังนั้น เกิดความสลดใจพากันคิดว่า
การที่บุรุษนี้ขวนขวายสร้างกรรมชั่ว อันเป็นเหตุให้ผิดในภิกษุ

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานถึงอย่างนี้ จัดว่าเป็นกรรมอันหนัก
หนอ ดังนี้แล้ว จึงได้บอกเรื่องนั้น แก่มารดาของเขาแล้วกล่าวว่า
ไป เธอจงไปขอขมาโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์
สาวก. มารดารับคำแล้ว เมื่อจะขู่บุตรให้ยินยอม จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า และเยี่ยมภิกษุสงฆ์ แสดงโทษที่บุตรกระทำ
ไว้ให้ขมาโทษแล้ว ได้กระทำการบูชา ด้วยการถวายข้าวยาคู

ตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. เพราะฉะนั้น
ไม่นานนักบุตรก็ทำกาละ บังเกิดในท้องของหญิงแพศยา ผู้เลี้ยง
ชีพด้วยกรรมที่เศร้าหมอง. ก็พอบุตรเกิดขึ้นเท่านั้น มารดารู้ว่าเป็น
เด็กชาย ก็ให้เขาไปทิ้งเสียที่ป่าช้า. บุตรนั้น อันพลังแห่งบุญของ
ตนคุ้มครองรักษาไว้ในที่นั้น ไม่ถูกอะไร ๆ เบียดเบียน จึงหลับ
เป็นสุขเหมือนหลับที่ตักของมารดา. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เทวดาพากันรับคุ้มครองรักษาบุตรนั้นไว้.

ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหา-
กรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทอดพระเนตร
เห็นเด็กนั้นที่ถูกทอดทิ้งไว้ที่ป่าช้า จึงได้เสด็จไปยังป่าช้า ในเวลา
พระอาทิตย์ขึ้น. มหาชนประชุมกันว่า พระศาสดาเสด็จมาในที่นี้
เห็นจะมีเหตุอะไรในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่บริษัทผู้
ประชุมกันแล้วว่า เด็กคนนี้ไม่มีใครรู้จัก บัดนี้ถูกทอดทิ้งไว้ใน
ป่าช้า ไร้ที่พึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น เด็กนั้นก็จักได้รับสมบัติอันโอฬาร

ในอนาคต ปัจจุบัน และอภิสัมปรายภพแล้ว ถูกพวกมนุษย์เหล่านั้น
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติปางก่อน เด็กคนนี้ทำกรรม
อะไรไว้ ดังนี้จึงทรงประกาศ กรรมที่เด็กกระทำไว้ และสมบัติที่
เด็กพึงได้รับในอนาคต โดยนัยเป็นต้นว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
หมู่ชนได้กระทำการบูชาอย่างโอฬาร
แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่
จิตของเด็กนั้นกลับกลายเป็นอย่างอื่น จึงได้กล่าว
วาจาหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษดังนี้แล้ว

จึงแสดงธรรมอันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของบริษัทที่พากันมา
ประชุมแล้ว จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดง
ด้วยพระองค์เองในเบื้องบน. ในเวลาจบสัจจะ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้
ตรัสรู้ธรรม. ก็กฎุมพีคนหนึ่ง ผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้รับเด็กนั้น
ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นบุตรของเรา. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เด็กนี้ อันบุญกรรมมีประมาณเท่านี้
รักษาไว้แล้ว และมหาชนพากันกระทำการอนุเคราะห์ ดังนี้แล้ว จึง
เสด็จไปยังพระวิหาร.

สมัยต่อมา เมื่อกฎุมพีนั้น ทำกาละแล้ว เธอก็ปกครองทรัพย์
ที่กฎุมพีนั้นมอบให้เก็บรวมทรัพย์ไว้ ได้เป็นคฤหบดี มีสมบัติ
มากในพระนครนั้นเอง ได้เป็นผู้ยินดีในการให้ทานเป็นต้น. ภายหลัง
วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า น่าอัศจรรย์
พระศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เด็กชื่อแม้นั้น ในกาลนั้น

เป็นคนอนาถา แต่บัดนี้เสวยสมบัติมาก และกระทำอย่างโอฬาร
พระศาสดา ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย
มิใช่เธอจะมีสมบัติแต่เพียงเท่านี้ โดยที่แท้ ในเวลาสิ้นอายุ จัก
บังเกิด เป็นโอรสของท้าวสักกเทวราช ในภพชั้นดาวดึงษ์ และจัก
ได้สมบัติอันเป็นทิพย์. ภิกษุทั้งหลายและมหาชน ได้ฟังดังนั้นแล้ว

คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผู้เห็นกาลไกล ทรง
สดับเหตุนั้นแล้ว เสด็จไป เมื่อเขาพอเกิดมาเท่านั้นก็ถูกทิ้งใน
ป่าช้าผีดิบ เสด็จไปในที่นั้น กระทำการสงเคราะห์เธอดังนี้แล้ว
จึงพากันชมเชยญาณพิเศษของพระศาสดา แล้วได้กราบทูลประวัติ
ของเด็กนั้นในอัตภาพนั้น. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดง
ความนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์
เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลว่า บุคคล
บางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย. กุมารนี้ถูก
ทอดทิ้งในป่าช้าเป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือ
ตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็ก งูใหญ่
ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้
สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเล็บเท้าทั้งสองของ
เด็กนี้ ฝูงกาและสุนัขจิ้งจอกก็พากันมาเดินเวียน
รักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง

ส่วนฝูงกาพากันมาเอาขี้ตาไปทิ้ง มนุษย์และ
อมนุษย์ไร ๆ มิได้จัดแจงรักษาเด็กนี้ หรือใคร ๆ
ที่จะทำเมล็ดพรรณผักกาดให้เป็นยามิได้มี และ
ไม่ได้ถือเอาการประกอบฤกษ์ยาม ทั้งไม่ได้เรี่ย -
รายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญา

กว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กอันบุคคล
นำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงซึ่งความทุกข์
อย่างยิ่งเช่นนี้ เหมือนก้อนเนยใสหวั่นไหวอยู่
มีความสงสัยว่า รอดหรือไม่รอด เหลืออยู่แต่สัก
ว่าชีวิต ครั้นได้รับพยากรณ์ว่า เด็กนี้จักเป็นผู้มี
สกุลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้

พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า
อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา
นี้เป็นวิบากแห่งวัตรหรือพรหมจรรย์ ที่เขา
ประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว
จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉรรูปํ ได้แก่ มีสภาวะน่า
อัศจรรย์. บทว่า สุคตสฺส าณํ ได้แก่ พระญาณแห่งพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอันไม่ทั่วไปกับสาวกอื่น ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาพระ-
สัพพัญญุตญาณมีอาสยานุสยญาณเป็นต้นเท่านั้น. เพื่อจะเลี่ยง
คำถามว่า พระญาณนี้นั้น ไม่เป็นวิสัยของพระสาวกอื่น เป็นอย่างไร
จึงกล่าวว่า พระศาสดาทรงพยากรณ์ตามชั้นของบุคคล. ด้วยคำนั้น
ท่านแสดงว่า ความที่พระญาณเป็นภาวะน่าอัศจรรย์ ย่อมรู้ได้ด้วย
เทศนาของพระศาสดาเท่านั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงพยากรณ์ พระองค์จึงตรัสว่า บุคคล
บางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย ดังนี้. ความแห่งคำนั้นมีอธิบาย
ดังนี้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้ มีกุศลธรรมมาก เป็นผู้เสื่อมจาก
ชาติเป็นต้น ด้วยอำนาจอกุศลที่ตนได้แล้วเป็นปัจจัยก็มี บางพวกมี
มีบุญน้อยก็มี บางพวกมีบุญธรรมน้อยกว่าก็มี เป็นผู้รุ่งเรือง เพราะ
ความเป็นบุญรุ่งเรืองมากด้วยเหตุมีเขตุตสมบัติเป็นต้น ก็มี.

บทว่า สิวถิกาย แปลว่า ในป่าช้า. บทว่า องฺคุฏฺ€เสฺนเหน
ได้แก่ ด้วยน้ำนมอันไหลออกจากนิ้วมือ อธิบายว่า ด้วยน้ำนมอัน
ไหลออกจากนิ้วมือของเทวดา. บทว่า น ยกฺขภูตา น สรีสปา วา
ความว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปีศาจภูต ยักขภูต
หรืองูใหญ่น้อยที่เที่ยวไป หรือเดินไป ไม่พึงเบียดเบียน คือไม่พึง
ทำร้าย.

บทว่า ปลิหึสุ ปาเท ความว่า เลียเท้าทั้งสองด้วยลิ้นของตน.
บทว่า ธงฺกา แปลว่า พวกเหยี่ยว. บทว่า ปริวตฺตยนฺติ ความว่า
เที่ยวเวียนรักษาไป ๆ มา ๆ เพื่อให้รู้ว่าไม่มีโรคว่า ใคร ๆ อย่าพึง
เบียดเบียนกุมารนั้นเลย. บทว่า คพฺภาสยํ แปลว่า มลทิลครรภ์.
บทว่า ปกฺขิคณา ได้แก่ ฝูงนกมีแร้ง และเหยี่ยวเป็นต้น. บทว่า
หรนฺติ แปลว่า ขจัดไป. บทว่า อกฺขิมูลํ ได้แก่ ขี้ตา.

บทว่า เกจิ ได้แก่ พวกเป็นมนุษย์ แต่อมนุษย์จัดแจงรักษา.
บทว่า โอสธํ ได้แก่ ยาอันบำบัดโรคในกาลนั้น และกาลต่อไป.
ด้วยบทว่า สาสปธูปนํ วา ท่านแสดงว่า ผู้ที่จะทำยาด้วยเมล็ด
พรรณผักกาด เพื่อจะรักษาเด็กผู้แรกเกิดนั้น ไม่มี. บทว่า
นตฺขตฺตโยคมฺปิ น อคฺคเหสุํ ความว่า ไม่ยึดเอาแม้ด้วยการประกอบ
ฤกษ์, อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่กระทำกรรมแรกเกิดให้แก่เธออย่างนี้ว่า

เด็กนี้เกิดในฤกษ์โน้น ดีถิโน้น ครู่โน้น. บทว่า น สพฺพธฺานิปิ
อากิรึสุ ความว่า เมื่อจะกระทำมงคล ไม่ได้กระทำข้าวเปลือกมี
ข้าวสาลีเป็นต้นอันเจือด้วยน้ำมันเมล็ดพรรณผักกาดที่เขาประกอบ
ให้เป็นยาแก่เด็กนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร