วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นสมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต เป็นผู้
เปลือยกายมีรูปน่าเกลียด เห็นเข้าน่าสะพึงกลัว ไม่รู้จักข้าวและ
น้ำแม้แต่ในความฝัน ทัดทรงกำดอกราชพฤกษ์และดอกโกสุมบน
ศีรษะ คิดว่าเราจักได้อะไร ๆ ในสำนักของพวกญาติในจุนทัฏฐิลคาม
เมื่อน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไม่ขาดสาย จึงเดินทวนกระแสน้ำไป.

ก็สมัยนั้น อำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ชื่อว่า โกลิยะ ปราบ
ปัจจันตนครซึ่งกำเริบเสิบสานให้สงบแล้วก็กลับมา จึงส่งพล
บริวารมีพลช้าง และพลม้าเป็นต้นไปทางบก ส่วนตนเองมาทางเรือ
ตามกระแสแม่น้ำคงคา เห็นเปรตนั้นกำลังเดินไปอย่างนั้น เมื่อจะ
ถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มี
ร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่ง
ร่างกายเดินไปในน้ำที่ไหลไม่ขาดสายในแม่น้ำ
คงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺชมาเน ได้แก่ ไม่แยกกัน
คือ ยังติดกันโดยการย่างเท้า. บทว่า วาริมฺหิ คงฺคาย ได้แก่ น้ำใน
แม่น้ำคงคา. บทว่า อิธ คือ ในที่นี้. บทว่า ปุพฺพทฺธเปโตว ความว่า
มีร่างกายข้างหน้ากึ่งหนึ่ง ไม่เหมือนเปรต คือเหมือนเทพบุตร

ไม่นับเนื่องในกำเนิดเปรต. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า อย่างไร? ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นผู้ทัดทรงดอกไม้ประดับประดา. อธิบายว่า ประดับ
ประดาด้วยดอกไม้ คล้องไว้ที่ศีรษะ. บทว่า กสฺส วาโส ภวิสฺสติ
ความว่า ที่อยู่ของท่าน อยู่ในบ้านไหน หรือในประเทศไหน ท่าน
จงบอกเรื่องนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำที่เปรตนั้นและโกลิยอำมาตย์กล่าว
ในกาลไร พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาว่า :-
เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้าน
จุนทัฏฐิละอันอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุง
พาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้กรุงพาราณสี ก็
มหาอำมาตย์อันปรากฏชื่อว่า โกลิยะเห็นเปรต
นั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าสีเหลืองแก่เปรต

นั้น เมื่อเรือหยุดเดินได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าแก่
อุบาสกช่างกัลบก เมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะให้ช่าง
กัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที
ภายหลัง เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้
ตกแต่งร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมสำเร็จ
แก่เปรตนั้นผู้อยู่ในที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิต
ผู้มีปัญญาพึงให้ทักษิณบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์
แก่เปรตทั้งหลาย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จุนฺทฏฺ€ิลํ ได้แก่ บ้านอันมีชื่อ
อย่างนั้น. บทว่า อนฺตเร วาสภคามํ พาราณสึ จ สนฺติเก ได้แก่
ในระหว่างวาสภคามและกรุงพาราณสี. จริงอยู่ บทว่า อนฺตเร
วาสภคามํ พาราณสึ จ สนฺติเก นี้ เป็นทุติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่ง
ฉัฏฐีวิภัติ เพราะประกอบด้วย อนฺตรา ศัพท์. จริงอยู่ บ้านนั้น
อยู่ในที่ใกล้กรุงพาราณสีแล. ก็ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า ในระหว่าง
วาสภคามและกรุงพาราณสี ข้าพเจ้าจักไปบ้านชื่อว่า จุนทัฏฐิลคาม
ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี.

บทว่า โกลิโย อิติ วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อปรากฏอย่างนี้ว่า
โกลิยะ. บทว่า สตฺตุํ ภตฺตญฺจ ได้แก่ ข้าวสตู และภัต. บทว่า
ปีตกญฺจ ยุคํ อทา ความว่า ได้ให้คู่ผ้าคู่หนึ่งสีเหลือง คือ สีเหมือน
ทองคำ. หากเมื่อเขาถามว่า ได้ให้เมื่อไร? จึงกล่าวตอบว่า ได้ให้
เมื่อเรือหยุด. บทว่า กปฺปกสฺส อทาปยิ มีวาจาประกอบความว่า
ได้หยุดเรือซึ่งกำลังแล่น ได้ให้แก่อุบาสกช่างกัลบกคนหนึ่งในที่นั้น

เมื่อโกลิยอำมาตย์ให้คู่ผ้านั้น. บทว่า €าเน คือ โดยทันที ได้แก่
ในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า เปตสฺส ทิสฺสถ ความว่า ได้ปรากฏใน
ร่างของเปรต คือ ผ้านุ่งและผ้าห่มได้สำเร็จแก่เปรตนั้น. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ภายหลังเปรตนั้นนุ่งห่มดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้
ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ อธิบายว่า นุ่งห่มผ้าดีแล้ว ประดับ

ประดาตกแต่งด้วยอาภรณ์คือดอกไม้. บทว่า €าเน €ิตสฺส เปตสฺส
อุปกปฺปถ ความว่า ก็เพราะทักษิณานั้นตั้งอยู่ในฐานะอันควรแก่
พระทักขิไณยบุคคล ย่อมสำเร็จ คือ ได้ถึงการประกอบเป็นพิเศษ
แก่เปรตนั้น. บทว่า ตสฺมา ทชฺเชถ เปตานํ อนุกมฺปาย ปุนปฺปุนํ
ความว่า พึงให้ทักษิณาบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์เปรต คือ เพื่ออุทิศ
เปรต.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น โกลิยมหาอำมาตย์นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น
จึงให้สำเร็จทานวิธีมาตามกระแสน้ำ เมื่อพระอาทิตย์อุทัยได้ถึง
กรุงพาราณสี. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาทางอากาศ เพื่อ
อนุเคราะห์เปรตเหล่านั้น ได้ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฝ่าย
โกลิยมหาอำมาตย์ลงจากเรือแล้ว หรรษาร่าเริง นิมนต์พระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระองค์
ทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ เพื่ออนุเคราะห์
ข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับด้วยดุษณีภาพ. โกลิยมหาอำมาตย์
นั้นได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงให้สร้างสาขา
มณฑปใหญ่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ในขณะนั้นนั่นเอง ให้ประดับ

ประดาด้วยผ้าต่างชนิดอันวิจิตรด้วยสีย้อมต่าง ๆ ทั้งเบื้องบน
และด้านข้าง ๆ ทั้ง ๔ ด้าน ได้ให้ปูอาสนะถวายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าในที่นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่
ตบแต่งไว้.

ลำดับนั้น มหาอำมาตย์นั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
บูชาด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้ว
นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลคำที่ตนกล่าวและคำโต้ตอบ
ของเปรตในหนหลัง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า ขอสงฆ์จงมา. พร้อมกับที่พระองค์ทรงพระดำริ

นั่นแล ภิกษุสงฆ์อันพุทธานุภาพกระตุ้นเตือน จึงพากันแวดล้อม
พระธรรมราชา ดุจฝูงหงส์ทองพากันแวดล้อมพญาหงส์ธตรฐ.
ในขณะนั้นนั่นเอง มหาชนพากันประชุมด้วยถ้อยคำ จักมีพระธรรม
เทศนาอันยิ่ง. มหาอำมาตย์เห็นด้วยดังนั้นมีจิตเลื่อมใส จึงอังคาส
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำด้วยขาทนียะ

และโภชนียะอันประณีต. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว เพื่ออนุเคราะห์มหาชนจึงทรงอธิษฐานว่า ขอคนชาวบ้าน
ใกล้กรุงพาราณสีจงประชุมกันเถิด. ก็มหาชนทั้งหมดนั้นได้ประชุม
กันด้วยกำลังพระฤทธิ์. และพระองค์ได้ทรงทำเปรตเป็นอันมาก
ให้ปรากฏแก่มหาอำมาตย์. บรรดาเปรตเหล่านั้น บางพวกนุ่งผ้า

ท่อนเก่าขาดวิ่น บางพวกเอาผมของตนเองปิดอวัยวะที่ละอาย
บางพวกเปลือยกายมีรูปเหมือนตอนเกิด ถูกความหิวกระหาย
ครอบงำ มีหนังหุ้มห่อไว้ มีร่างกายเพียงแต่กระดูก เที่ยวหมุนเคว้ง
ไปข้างโน้นข้างนี้ ปรากฏแก่มหาชนโดยประจักษ์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร
คือบันดาลด้วยพระฤทธิ์ โดยประการที่เปรตเหล่านั้นประชุมพร้อม
กันประกาศความชั่วที่ตนทำแก่มหาชน. พระสังคีติกาจารย์เมื่อ
จะแสดงเนื้อความนั้น จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาด
รุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปยังทิศน้อยทิศใหญ่
เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกล ไม่ได้
ก็กลับมา บางพวกสลบแล้ว เพราะความหิว
กระหาย นอนกลิ้งเกลือกบนพื้นดิน บางพวก
ล้มลงที่แผ่นดินในที่ที่ตนวิ่งไปนั้น ร้องไห้ร่ำไร
ว่า เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ในกาลก่อน จึง

ได้ถูกไฟคือ ความหิว ความกระหายเผาอยู่ ดุจ
ถูกไฟเผาในที่ร้อน เมื่อก่อนพวกเรามีธรรมอัน
ลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล
เมื่อไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน.
เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่เราไม่ทำการแจกจ่าย
ให้ทานและไม่ได้ให้อะไร ๆ ในบรรพชิตผู้

ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีเขาไม่ทำ
เกียจคร้าน ใคร่แต่ความสำราญ และกินมาก
ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง ด่าว่าปฏิคาหกผู้รับ
โภชนะ. เรือน ทาส ทาสี และเครื่องอาภรณ์ของ
เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา
พวกเขาไปบำเรอคนอื่นหมด พวกเรามีแต่ส่วน
ของความทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้วจักไปเกิด

ในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน ตระกูลคน
จัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก
นี่เป็นคติของความตระหนี่. ส่วนทายกทั้งหลาย
ผู้ได้ทำกุศลไว้ในชาติก่อน ปราศจากความ
ตระหนี่ ย่อมทำสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมทำ

สวนนันทนวันให้สว่างไสว รื่นรมย์อยู่เวชยันต-
ปราสาท สำเร็จความปรารถนาในสิ่งที่น่าใคร่
ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง
มีโภคะมาก คือ ในตระกูลคนมีเรือนยอด และ
ปราสาทราชมณเฑียร มีบัลลังก์ลาดด้วยผ้า
โกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับ

ด้วยแววหางนกยูง คอยพัดอยู่. ในเวลาเป็นทารก
ก็ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย หมู่ญาติ พี่เลี้ยง
นางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชน
ผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและ
เย็นตลอดชาติ. สวนใหญ่ของเทวดาเหล่าไตรทศ
ชื่อว่านันทนวัน เป็นสถานที่ไม่เศร้าโศก น่า
รื่นรมย์นี้ ย่อมไม่มีแก่ชนผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ความ
สุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแต่คนผู้

ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดา
เหล่าไตรทศ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่า
บุคคลผู้ทำบุญไว้ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์
เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตุนฺนวสนา แปลว่า นุ่งผ้าขี้ริ้ว
รุ่งริ่ง. บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก. บทว่า เกสนิวาสนา แปลว่า
เอาผมนั่นแหละปิดอวัยวะที่น่าอาย. บทว่า ภตฺตาย คจฺฉนฺติ ความว่า
หยุดอยู่เฉพาะที่ไหน ๆ ไม่ได้ ย่อมเดินไปเพื่อต้องการอาหารด้วย
หวังใจว่า ไฉนพวกเราไปจากนี้แล้ว จะพึงได้อะไร ๆ จะเป็นอาหาร
ที่เขาทิ้งก็ตาม อาเจียนก็ตาม ครรภมลทินเป็นต้นก็ตาม ในที่ใด
ที่หนึ่ง. บทว่า ปกฺกมนฺติ ทิโสทิสํ ความว่า หลีกจากทิศไปสู่ทิศ
สิ้นที่มีระยะห่างหลายโยชน์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ทูเร แปลว่า ในที่ไกลมาก. บทว่า เอเก ได้แก่ เปรต
บางพวก. บทว่า ปธาวิตฺวา ได้แก่ วิ่งเข้าไปเพื่อต้องการอาหาร.
บทว่า อลทฺธาว นิวตฺตเร ความว่า ครั้นไม่ได้ข้าวหรือน้ำดื่มอะไร ๆ
เลยก็พากันกลับ. บทว่า ปมุจฺฉิตา ความว่า เกิดสลบเพราะความ
ทุกข์อันเกิดแต่ความหิวและความกระหายเป็นต้น. บทว่า ภนฺตา
แปลว่า กลิ้งเกลือกไป. บทว่า ภูมิยํ ปฏิสุมฺภิตา ความว่า เมื่อความ
สลบนั้นนั่นแลเกิดขึ้น ก็ซูบซีดล้มลงบนแผ่นดิน เหมือนบุคคลยืน
ขว้างก้อนดินลงไปฉะนั้น

บทว่า ตตฺถ คือในที่ที่ตนเดินไป. บทว่า ภูมิยํ ปฏิสุมฺภิตา
ความว่า ล้มลงบนภาคพื้น เพราะไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ด้วย
ความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวเป็นต้น เหมือนตกไปในเหวฉะนั้น.
หรือว่าในที่ที่ไปนั้น เป็นผู้หมดหวังเพราะไม่ได้อาหารเป็นต้น
ก็ล้มลงบนภาคพื้น เหมือนถูกใคร ๆ โบยตีตรงหน้า. บทว่า ปุพฺเพ
อกตกลฺยาณา แปลว่า ผู้ไม่ได้ทำคุณความดีอะไรไว้ในภพก่อน. บทว่า
อคฺคิทฑฺฒาว อาตเป ความว่า ถูกไฟคือความหิวกระหายแผดเผา
ย่อมเสวยทุกข์อย่างมหันต์ เหมือนถูกไฟเผาในที่ร้อนในฤดูแล้ง.

บทว่า ปุพฺเพ คือในอดีตภพ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่
ชื่อว่าผู้มีสภาวะอันลามก เพราะมีความริษยา และความตระหนี่
เป็นต้น. บทว่า ฆรณี ได้แก่ หญิงผู้เป็นแม่เรือน. บทว่า กุลมาตโร
ได้แก่ ผู้เป็นมารดาของทารกในตระกูล หรือเป็นมารดาของบุรุษ
ในตระกูล. บทว่า ทีปํ แปลว่าที่พึ่ง อธิบายว่า บุญ. จริงอยู่
บุญนั้นท่านเรียกว่า ปติฏฺ€า เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
ในสุคติ. บทว่า นากมฺห แปลว่า ไม่ทำไว้แล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ปหูตํ แปลว่า มาก. บทว่า อนฺนปานมฺปิ ได้แก่ ข้าว
และน้ำ. ศัพท์ว่า สุ ในบทว่า อปิสฺสุ อวกิรียติ เป็นเพียงนิบาต.
เออก็ข้าวแลน้ำเราไม่ได้กระทำ คือ ทิ้งเสีย. บทว่า สมฺมคฺคเต
ได้แก่ เมื่อเราดำเนินชอบคือปฏิบัติชอบ. บทว่า ปพฺพชิเต แปลว่า
แก่นักบวช. จริงอยู่ บทว่า ปพฺพชิเต นี้เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถ
จตุตถีวิภัติ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อบรรพชิตผู้ดำเนินชอบ
มีอยู่ คือ เมื่อได้บรรพชิต. บทว่า น จ กิญฺจิ อทมฺหเส ความว่า
พวกเปรตผู้ถูกความเดือดร้อนครอบงำกล่าวว่า เราไม่ได้ให้ไทยธรรม
แม้เพียงเล็กน้อย.

บทว่า อกมฺมกามา ความว่า ชื่อว่า อกัมมกามะ เพราะ
ปรารถนาอกุศลกรรมที่คนดีทั้งหลายไม่พึงกระทำ หรือชื่อว่า
กัมมกามะ เพราะปรารถนากุศลกรรมที่คนดีพึงทำ ชื่อว่า อกัมมกามะ
เพราะไม่ปรารถนากุศลกรรม อธิบายว่า ไม่มีฉันทะในกุศลกรรม.
บทว่า อลสา ได้แก่ เป็นคนเกียจคร้าน คือ ไม่มีความเพียรในการ
กระทำกุศล. บทว่า สาทุกามา ได้แก่ ปรารถนาสิ่งที่สำราญ

และอร่อย. บทว่า มหคฺฆสา แปลว่า ผู้กินจุ. แม้ด้วยบททั้ง ๒
ท่านแสดงไว้ว่า ได้โภชนะที่ดีและอร่อยแล้วไม่ให้อะไร ๆ แก่
ผู้ต้องการ บริโภคเองเท่านั้น. บทว่า อาโลปปิณฺฑทาตาโร ได้แก่
ให้ก้อนข้าวแม้เพียงคำเดียว. บทว่า ปฏิคฺคเห ได้แก่ ผู้รับก้อนข้าว
นั้น. บทว่า ปริภาสิมฺหเส ได้แก่ กล่าวกดขี่ อธิบายว่า ดูหมิ่นและ
เย้ยหยัน.

บทว่า เต ฆรา มีอธิบายว่า ในกาลก่อน พวกเราได้กระทำ
ความรักว่าเรือนของเรา เรือนเหล่านั้นตั้งอยู่ตามเดิม บัดนี้ สิ่ง
อะไร ๆ ก็ไม่สำเร็จแก่พวกเรา. แม้ในบทว่า ตา จ ทาสิโย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตาเนวาภรณานิ โน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
โน แปลว่า แก่พวกเรา. บทว่า เต ได้แก่ มีเรือนเป็นต้นเหล่านั้น.
บทว่า อฺเ ปริจาเรนฺติ ความว่า กระทำการประกอบให้พิเศษ
ด้วยการบริโภคเป็นต้น. บทว่า มยํ ทุกฺขสฺส ภาคิโน ความว่า
พวกเปรตกล่าวติเตียนตนว่า ก็เมื่อก่อน พวกเราขวนขวายแต่การ
เล่นอย่างเดียว ละทิ้งสมบัติไม่รู้ที่ทำให้สมบัตินั้นติดตัวไป แต่บัดนี้
เราเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์อันเกิดแต่ความหิว และความกระหาย
เป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายจุติจากกำเนิดเปรตแล้ว
แม้จะเกิดในมนุษย์ ก็เป็นคนมีชาติเลว มีความประพฤติเหมือน
คนกำพร้าทีเดียว ด้วยเศษแห่งวิบากกรรมนั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น
เพื่อจะแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าว ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า เวณี
วา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณี วา ได้แก่ เกิดในตระกูล

ช่างสาน อธิบายว่า เป็นช่างสานไม้ไผ่ ช่างสานไม้อ้อ. วา ศัพท์
มีอรรถไม่แน่นอน. บทว่า อวฺา แปลว่า ดูหมิ่น อธิบายว่า
ดูแคลน. บาลีว่า วมฺภนา ตัดพ้อ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถูกผู้อื่น
เบียดเบียน. บทว่า รถการี ได้แก่ ช่างหนัง. บทว่า ทุพฺภิกา ได้แก่
ผู้มักประทุษร้ายมิตร คือผู้เบียดเบียนมิตร. บทว่า จณฺฑาลี แปลว่า

เป็นคนชาติจัณฑาล. บทว่า กปณา ได้แก่ วณิพก คือผู้ได้รับความ
สงสารอย่างยิ่ง. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ เกิดในตระกูลช่างกัลบก
ในบททั้งปวงมีวาจาประกอบความว่า มีบ่อย ๆ อธิบายว่า ย่อมเกิด
ในตระกูลต่ำเหล่านี้แล้ว ๆ เล่า ๆ.

บทว่า เตสุ เตเสฺวว ชายนฺติ ความว่า เกิดในเปรตทั้งหลาย
เพราะมลทิน คือความตระหนี่ จุติจากเปรตแล้วบังเกิดในตระกูล
คนกำพร้าแม้พวกอื่น มีตระกูลนายพราน และตระกูลคนเทหยากเยื่อ
ซึ่งถูกตัดพ้อมาก และเข็ญใจอย่างยิ่งอันเป็นตระกูลต่ำ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นคติของคนตระหนี่ ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระสังคีติกาจารย์ครั้นแสดงคติของสัตว์ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้
อย่างนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงคติของคนผู้ทำบุญไว้ จึงกล่าวคาถา
๗ คาถาว่า ก็ผู้ได้ทำคุณงามความดีไว้ในปางก่อน ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺคํ เต ปริปูเรนฺติ ความว่า ทายก
ทั้งหลายได้ทำคุณงามความดีไว้ในชาติก่อน ยินดียิ่งในบุญอัน
ว่าด้วยการให้ทาน ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ย่อมทำ

สวรรค์ คือ เทวโลกให้บริบูรณ์ ด้วยรูปสมบัติของตนและด้วย
บริวารสมบัติ. บทว่า โอภาเสนฺติ จ นนฺทนํ ความว่า ไม่ใช่ทำ
นันทนวันให้บริบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ย่อมครอบงำ
นันทนวันแม้สว่างไสว อยู่ตามสภาวะด้วยรัศมีแห่งต้นกัลปพฤกษ์
เป็นต้น และให้สว่างไสวโชติช่วงด้วยความโชติช่วงแห่งผ้าและ
อาภรณ์ และด้วยรัศมีแห่งร่างกายของตน.

บทว่า กามกามิโน ความว่า มีเครื่องใช้สอยตามปรารถนา
ในกามคุณตามที่ต้องการ. บทว่า อุจฺจากุเลสุ ได้แก่ ตระกูลสูง
มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า สโภเคสุ ได้แก่ มีสมบัติมาก.
บทว่า ตโต จุตา ความว่า ครั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว.

บทว่า กูฏาคาเร จ ปาสาเท ได้แก่ ในกูฏาคารและปราสาท.
บทว่า พีชิตงฺคา ได้แก่ มีเรือนร่างที่ถูกเขาพัดวีอยู่. บทว่า
โมราหตฺเถหิ ได้แก่ ถือพัดวีชนีประดับด้วยแววหางนกยูง. บทว่า
ยสสฺสิโน อธิบายว่า มีบริวารรื่นรมย์อยู่.

บทว่า องฺกโต องฺกํ คจฺฉนฺติ ความว่า แม้ในเวลาเป็นทารก
พวกญาติและนางนมพากันกะเดียดไป อธิบายว่า ไม่ไปตามพื้นดิน.
บทว่า อุปติฏฺ€นฺติ แปลว่า คอยบำรุงอยู่. บทว่า สุเขสิโน ได้แก่
ผู้ปรารถนาความสุข อธิบายว่า คอยบำบัดทุกข์แม้มีประมาณน้อยว่า
ความหนาวหรือความร้อนอย่าได้มี.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า นยิทํ กตปุฺานํ ความว่า สวนใหญ่ของเทวดา
ดาวดึงส์เหล่าไตรทศ ชื่อว่า นันทนวัน ใกล้ป่าใหญ่นี้ ไม่มีความ
เศร้าโศก น่ารื่นรมย์ใจ ไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ อธิบายว่า ผู้ที่
ไม่ได้ทำบุญไว้ไม่อาจได้.

ด้วยบทว่า อิธ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้ที่ได้ทำบุญไว้เป็น
พิเศษในมนุษยโลกนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ คือในปัจจุบัน.
บทว่า ปรตฺถ คือ ในสัมปรายภพ.
บทว่า เตสํ ได้แก่ อันเทพทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั้น.
บทว่า สหพฺยกามานํ ได้แก่ ปรารถนาความเป็นสหาย. บทว่า
โภคสมงฺคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยโภคะทั้งหลาย อธิบายว่า ผู้
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ บันเทิงใจอยู่. คำที่เหลือ
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร ตามควร
แก่อัธยาศัยของมหาชน ผู้ประชุมกันในที่นั้น มีโกลิยอำมาตย์เป็น
ประมุข ผู้มีใจสลด ในเมื่อเปรตเหล่านั้นประกาศถึงคติของกรรม
ที่ตนทำไว้โดยทั่วไป และคติของบุญกรรมด้วยประการอย่างนี้.
ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรม ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภเปรตผู้เป็นญาติ ของท่านพระสานุวาสีเถระ จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี พระราชโอรส
ของพระราชาทรงพระนามกิตวะ ทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน
เมื่อเสด็จกลับทรงทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระองค์
หนึ่งนามว่า สุเนตต์ กำลังเที่ยวบิณฑบาต ออกจากพระนคร เป็น
ผู้เมาด้วยความเมา เพราะความเป็นใหญ่ มีจิตคิดประทุษร้ายว่า

สมณะโล้นนี้ ไม่กระทำอัญชลีอะไร ๆ แก่เรา เดินไป เสด็จลงจาก
คอช้างแล้ว ถามว่า ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม? จึงรับบาตรจากมือ
แล้ว ทุ่มลงที่พื้นดินให้แตกไป. ลำดับนั้น พระราชโอรสนั้นมีความ
อาฆาตในฐานะอันไม่สมควร มีจิตคิดประทุษร้าย พระปัจเจก-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พุทธเจ้านั้น ผู้ไม่แสดงความวิการ เพราะท่านถึงความคงที่ ผู้
มีจิตผ่องใส อันตกแต่ง (ประกอบ) ด้วยโสมนัสเวทนา แผ่ไปด้วย
อำนาจกรุณา ตรวจดูอยู่ในที่ทุกสถาน จึงตรัสว่า ท่านไม่รู้จักเรา
ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะดอกหรือ ท่านมองดูอยู่
จะทำอะไรเราได้ เมื่อไม่อาจจึงหลีกไป. ก็พอพระราชโอรสหลีกไป

เท่านั้น ก็เกิดความเร่าร้อนในร่างกายเป็นกำลัง เปรียบเหมือน
ความเร่าร้อนแห่งไฟในนรก. เพราะวิบากกรรมนั้น พระราชโอรส
นั้น จึงมีกายถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากครอบงำ ถูกทุกขเวทนา
อย่างแรงกล้าเสียดแทง ทำกาละแล้ว บังเกิดในอเวจีมหานรก.

พระราชโอรสนั้น นอนหงาย นอนคว่ำ กลิ้งเกลือก พลิกขวา
พลิกซ้าย โดยประการเป็นอันมากในที่นั้น ไหม้อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี จุติจาก
อัตตภาพนั้นแล้ว เสวยทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหาย ในหมู่เปรต
ตลอดกาลนับประมาณมิได้ จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว ในพุทธุปบาท
กาลนี้ บังเกิดในเกวัฏฏคาม ใกล้กุณฑินคร, เขาเกิดญาณอันระลึก

ชาติได้, เพราะเหตุนั้น เขาเมื่ออนุสรณ์ถึงทุกข์ที่ตนเคยเสวยใน
กาลก่อน แม้เจริญวัยแล้ว ก็ไม่ยอมไปจับปลากับพวกหมู่ญาติ
เพราะกลัวบาป. เมื่อพวกญาติเหล่านั้นพากันไป เขาก็แอบเสีย

ไม่ปรารถนาจะฆ่าปลา และเขาก็ไปทำลายข่าย หรือจับปลาเป็น ๆ
มาปล่อยในน้ำเสีย พวกญาติ เมื่อไม่ชอบใจการกระทำเช่นนั้นของ
เขา จึงไล่เขาออกจากบ้าน. แต่เธอมีพี่ชายอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีความ
รักเขามาก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ อาศัยกุณฑินคร อยู่ในสานุบรรพต.
ลำดับนั้น บุตรชาวประมงนั้น ถูกพวกญาติทอดทิ้ง เที่ยวเร่ร่อน
ไปทุกแห่งที่ถึงสถานที่แห่งนั้นแล้ว เข้าไปหาพระเถระในเวลาฉัน
ภัตตาหาร พระเถระถามเธอแล้ว รู้ว่าเธอต้องการอาหาร จึงให้
ภัตตาหารแก่เธอ เธอบริโภคภัตตาหารเสร็จแล้ว รู้เรื่องนั้นแล้ว
รู้ถึงความเลื่อมใสในธรรมกถา จึงกล่าวว่า จักบวชไหมคุณ?

เธอเรียนถวายว่า จักบวช ขอรับ. พระเถระ ครั้นให้เธอบรรพชา
แล้ว พร้อมกับเธอ ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระ-
ศาสดา ตรัสกะพระเถระนั้นว่า อานนท์ เธอ พึงช่วยอนุเคราะห์
สามเณรนี้เถิด. แต่เพราะสามเณรไม่เคยกระทำกุศลไว้ เธอจึง
มีลาภน้อย. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เธอ จึง

แนะให้เธอตักน้ำดื่มให้เต็มหม้อ เพื่อให้ภิกษุบริโภค. อุบาสกและ
อุบาสิกาทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงเริ่มตั้งนิตยภัตเป็นอันมากแก่เธอ.

สมัยต่อมา เธอได้อุปสมบทแล้ว บรรลุพระอรหัต เป็นพระ
เถระ พร้อมกับภิกษุ ๑๒ รูป ได้อยู่ที่สานุบรรพต. ฝ่ายพวกญาติ
ของเธอ ประมาณ ๕๐๐ คน มิได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ สร้างแต่
บาปธรรมมีมัจฉริยะเป็นต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดในหมู่เปรต. ฝ่าย
มารดาบิดาของเขา ระลึกอยู่ว่า ในกาลก่อนผู้นี้ ถูกพวกเราขับไล่

ออกจากเรือน จึงไม่เข้าไปหาเธอ ส่งพี่ชายที่รักใคร่ชอบใจในเธอ
ไป. ในเวลาที่พระเถระเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน เธอยันเข่าขวา
ลงที่พื้นดิน กระทำอัญชลี แสดงตน ได้กล่าวคาถามีอาทิว่า มาตา
ปิตา จ เต ภนฺเต มารดา บิดา ของท่านขอรับ. เพื่อจะแสดงความ
เกี่ยวพันกันแห่งคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น มีอาทิว่า กุณฺฑินาคริโย
เถโร ดังนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงยกขึ้นตั้งไว้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเถระชาวกุณฑินคร รูปหนึ่ง อยู่ที่
ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐปาทะ เป็นสมณะ
ผู้มีอินทรีย์ อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชาย
ของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา ทำ
กรรมอันลามก จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรต
เหล่านั้นถึงทุคคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบาก
ยิ่งนัก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสดุ้ง

หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตน
แก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่านตน
เดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่า ประนมมือ
แสดงตนแก่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็น
ผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้น จึงบอกให้พระเถระ
รู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นพี่ชายของท่าน ไปสู่เปตโลก

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดาบิดาของท่านเกิดใน
ยมโลก เสวยทุกขเวทนา เพราะทำบาปกรรมไว้
จึงจากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดา
บิดา ของท่านทั้ง ๒ นั้น มีช่องปากเท่ารูเข็ม
ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัว
สะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจ

แสดงตนแก่ท่านได้ ขอท่านจงเป็นผู้มีความกรุณา
อนุเคราะห์แก่มารดาบิดาเถิด จงให้ทาน แล้วอุทิศ
ส่วนกุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอัน
ทารุณ จักยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ เพราะทาน
อันท่านให้แล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ได้แก่พระ-
เถระผู้เกิดเติบโตในนครมีชื่ออย่างนี้ บาลีว่า กุณฺฑิกนคโร เถโร
ดังนี้ก็มี บาลีนั้น ความก็อย่างนี้. บทว่า สานุวาสินิวาสิโก ได้แก่
ผู้มีปกติอยู่ที่สานุบรรพต. บทว่า โปฏฺ€ปาโทติ นาเมน ได้แก่ เขามี
ชื่อว่า โปฏฐปาทะ. บทว่า สมโณ แปลว่า เป็นผู้สงบบาป. บทว่า
ภาวิตินฺทฺริโย ความว่า ผู้อบรมสัทธินทรีย์เป็นต้นแล้ว ด้วยอริยมรรค

ภาวนา คือเป็นพระอรหันต์. บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระสานุวาสีเถระ
นั้น. บทว่า ทุคฺคตา ได้แก่ ผู้ไปสู่ทุกคติ. บทว่า สูจิกฏฺฏา ได้แก่
ผู้มีช่องปากเท่ารูเข็ม เพราะเป็นผู้เศร้าหมองด้วยของเน่าเปื่อย คือ
อึดอัดอยู่ ได้แก่ ถูกความหิวกระหายอันได้นามว่า สูจิกา บีบคั้นแล้ว
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สูจิกณฺ€า ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้มีช่องปาก

เสมือนกับรูเข็ม. บทว่า กิลนฺตา ได้แก่ ผู้มีกายและจิตลำบาก.
บทว่า นคฺคิโน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างเปลือย คือไม่มีท่อนผ้า. บทว่า
กิสา ได้แก่ ผู้มีร่างกายซูบผอม เพราะมีร่างกายเหลือแต่เพียง
หนังหุ้มกระดูก. บทว่า อุตฺตสนฺตา ได้แก่ ถึงความหวาดเสียว
เพราะความเกรงกลัวว่า สมณะนี้เป็นบุตรของเรา. บทว่า มหตฺตาสา

ได้แก่ เกิดมหาภัยขึ้น เพราะอาศัยกรรมที่ตนได้ทำไว้ในปางก่อน.
บทว่า น ทสฺเสนฺติ ความว่า ไม่แสดงตน คือ ไม่ยอมเผชิญหน้ากัน.
บทว่า กุรูริโน แปลว่า ผู้มีการงานทารุณ.

บทว่า ตสฺส ภาตา ได้แก่ เปรตผู้เป็นพี่ชายของสานุวาสีเถระ.
บทว่า วิตริตฺวา แปลว่า เป็นผู้รีบข้ามไปแล้ว, อธิบายว่า มีภัย
เกิดแต่ความสะดุ้ง เพราะเกรงกลัว. อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า วิตุริตฺวา
ดังนี้ก็มี อธิบายว่าเป็นผู้รีบด่วน คือ รีบไป. บทว่า เอกปเถ คือ
ในหนทางสำหรับเดินได้คนเดียว. บทว่า เอกโก คือ ไปคนเดียว ไม่มี
เพื่อน. บทว่า จตุกุณฺฑิโก ภวิตฺวาน ความว่า ชื่อว่า จตุกุณฺฑิโก

เพราะเสวยทุกขเวทนา คือ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยองค์ ๔ อธิบาย
ว่า ใช้เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ เดินและยืน (คลานไป) อธิบายว่า เป็น
อย่างนั้น. จริงอยู่ เปรตนั้น ได้กระทำอย่างนั้นว่า การปกปิดอวัยวะ
อันยังหิริให้กำเริบ ย่อมมีแต่นี้. บทว่า เถรสฺส ทสฺสยีตุมํ ความว่า
อ้างคือ แสดงตนแก่พระเถระ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อมนสิกตฺวา ได้แก่ ไม่ทำไว้ในใจ คือ ไม่นึกถึง
อย่างนี้ว่า ผู้นี้ ชื่ออย่างนี้. บทว่า โส จ ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า
ภาตา เปตคโต อหํ มีวาจาประกอบความว่า เปรตนั้น กล่าวอย่างนี้
ว่า เราเป็นพี่ชายในอัตภาพที่เป็นอดีต, บัดนี้ เราเป็นเปรตมาใน
ที่นี้ ดังนี้แล้วจึงให้พระเถระรับรู้.

ก็เพื่อจะแสดงประการที่จะให้พระเถระรับรู้ได้ จึงได้กล่าว
คาถา ๓ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า มาตา ปิตา จ ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า มาตา ปิตา จ เต แปลว่า มารดาและบิดาของท่าน.
บทว่า อนุกมฺปสฺสุ ความว่า จงอนุเคราะห์ คือจงทำความเอ็นดู.
บทว่า อนฺวาทิสาหิ แปลว่า เจาะจง. บทว่า โน ได้แก่ พวกเรา.
บทว่า ตว ทินฺเนน ได้แก่ ด้วยทานที่ท่านให้แล้ว.

พระเถระ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เพื่อจะแสดงข้อที่เปรตนั้น
ปฏิบัติ จึงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

พระเถระกับภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป เที่ยวไป
บิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมกันในที่เดียวกัน
เพราะเหตุแห่งภัตกิจ, พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุ
ทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้ภัตตาหาร
ที่ท่านได้แล้วแก่กระผมเถิด กระผมจักทำสังฆ-
ทาน เพื่ออนุเคราะห์หมู่ญาติ ภิกษุเหล่านั้น จึง
มอบถวายพระเถระ พระเถระจึงนิมนต์สงฆ์

ถวายสังฆทานแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา
บิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้ จง
สำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย
จงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง
โภชนะอันประณีต สมบูรณ์ มีแกงและกับหลาย
อย่าง เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลังเปรตผู้
เป็นพี่ชาย มีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไป
แสดงตนแก่พระเถระ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ โภชนะเป็นอันมาก ที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว
แต่ขอท่านจงดู ข้าพเจ้าทั้งหลาย ยังเป็นคนเปลือย
กายอยู่ ขอท่านจงพยายาม ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้ผ้านุ่งห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บผ้าจาก
กองหยากเหยื่อเอามาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อัน
มาจากจาตุรทิศ ครั้นถวายแล้ว ได้อุทิศส่วนกุศล
ให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอ
ทานนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด ขอพวกญาติ
ของเรา จงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศ
นั้นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลังเปรตเหล่านั้น นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
แล้ว ได้มาแสดงตนแก่พระเถระ กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีผิวพรรณ
ดี มีกำลัง มีความสุข มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม มากกว่า
ผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช ผ้านุ่ง
ผ้าห่มทั้งหลาย ของพวกเราไพบูลย์และมีค่า
มาก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปือกไม้ ผ้าฝ้าย

ผ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้น แขวนอยู่
ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่
พอใจ ขอท่านจงพยายาม ให้พวกข้าพเจ้าได้
บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้างกุฏี มุงด้วยใบไม้
แล้วได้ถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วได้

อุทิศส่วนกุศล ให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ
เจตนาว่า ขอผลแห่งการถวายกุฏีนี้ จงสำเร็จแก่
พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความ
สุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เรือน
ทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่น ๆ อัน
บุญกรรมกำหนดแบ่งไว้เป็นส่วน ๆ เกิดขึ้นแล้ว

แก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้
ไม่เหมือนกับเรือนในมนุษยโลก เรือนของพวก
เราในเปตโลกนี้ งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง
๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทวโลก แต่พวกเรายังไม่
มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายาม
ให้พวกข้าพเจ้า ได้ดื่มด้วยเถิด พระเถระจึงตัก

น้ำเต็มธรรมกรก แล้วถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ
แล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาบิดาและพี่ชาย
ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้ จงสำเร็จแก่พวก
ญาติของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความสุข

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร