วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 21:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว
มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้า
ไปหาภิกษุผู้อยู่ในที่พักกลางวัน ซึ่งนั่งอยู่ริมฝั่ง
แม่น้ำคงคา ได้กล่าวกะภิกษุนี้ว่า.

คาถาทั้ง ๒ นี้พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น ณ ที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า เห็นเข้าน่ากลัว.
บาลีว่า รุทฺททสฺสนา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เห็นเข้าน่าเกลียดน่ากลัว.
บทว่า ยาวภูมาวลมฺพเร ได้แก่ มีผมห้อยย้อยลงมาถึงพื้นดิน. เมื่อ
ก่อนกล่าวว่าภิกษุ ภายหลังกล่าวว่าสมณะ หมายเอาเฉพาะพระกังขา-
เรวตเถระนั่นเอง.

ก็นางเปรตนั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว เมื่อจะขอน้ำดื่ม จึง
กล่าวคาถานี้ว่า:-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายจาก
มนุษยโลกมา ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย
ตลอดเวลา ๕๕ ปีแล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่
ดิฉันผู้กระหายน้ำด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิชานามิ ภตฺตํ วา ความว่า
ดิฉันไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ในระยะกาลนานอย่างนี้
คือ ไม่ได้กินและไม่ได้ดื่ม. บทว่า ตสิตา แปลว่า ระหาย. มีวาจา
ประกอบความว่า บทว่า ปานียาย ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้เที่ยวไปเพื่อต้องการน้ำดื่ม.

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบคาถาอันว่าด้วยคำและคำโต้ตอบของ
พระเถระ และของนางเปรต ดังต่อไปนี้
พระเถระกล่าวว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แม่น้ำคงคานี้มีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมา
จากภูเขาหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำจากแม่น้ำ
คงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอน้ำดื่มกะเราทำไม.
นางเปรตกล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำ
คงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับกลายเป็นโลหิต
ปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำดื่ม
กะท่าน.
พระเถระถามว่า :-
ท่านได้กระทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย
วาจา หรือใจ น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็น
โลหิตปรากฏแก่ท่าน.
นางเปรตตอบว่า :-

ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก
มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง
และคิลานปัจจัย แก่พระสมณะทั้งหลาย ด้วย
ความไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่
ครอบงำแล้ว ด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวาย
จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัย

แก่สมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น
จงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะ
วิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลาย
เป็นโลหิตปรากฏแก่ดิฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมวนฺตโต ได้แก่ จากขุนเขา
ชื่อว่า หิมวันต์ เพราะมีหิมะมาก. บทว่า สนฺทติ แปลว่า ไหลไป.
บทว่า เอตฺโต ได้แก่จากแม่น้ำคงคาใหญ่นี้. ด้วยบทว่า กึ ท่าน
แสดงว่า ท่านขอน้ำดื่มกะเราทำไม ท่านจงลงสู่แม่น้ำคงคา ดื่มเอา
ตามชอบใจเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า โลหิตํ เม ปริวตฺตติ ความว่า น้ำเมื่อไหลไป ย่อมกลาย
คือ แปรเป็นโลหิต เพราะผลแห่งกรรมชั่วของดิฉัน น้ำ พอนางเปรต
นั้นตักขึ้น ก็กลายเป็นโลหิตไป.

บทว่า มยฺหํ อกามาย แปลว่า เมื่อดิฉันไม่ปรารถนา. บทว่า
ปเวจฺฉติ แปลว่า ย่อมให้. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ คิลานปัจจัย.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เอตํ เป็นต้น ความว่า ด้วยวิบาก
แห่งกรรมชั่วที่ดิฉันทำไว้ ด้วยอำนาจการสาปแช่งว่า ดูก่อนอุตตระ
ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ที่เจ้าให้แก่สมณะนี้ จงกลายเป็นโลหิตแก่เจ้า
ในปรโลก.

ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุสงฆ์ อุทิศ
นางเปรตนั้น เที่ยวไปบิณฑบาต รับภัตต์แล้ว ได้ถวายแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ถือเอาผ้าบังสุกุล จากกองหยากเยื่อเป็นต้น ซักแล้วทำให้
เป็นฟูกและหมอน ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ด้วยเหตุนั้น นางเปรต
นั้น จึงได้ทิพยสมบัติ. นางไปยังสำนักพระเถระ แสดงทิพยสมบัติ

ที่ตนได้แก่พระเถระ พระเถระประกาศประวัตินั้นแก่บริษัท ๔ ผู้
มายังสำนักตน แล้วแสดงธรรมกถา ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงเกิด
ความสังเวช เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน ยินดี
ยิ่งในกุศลธรรม มีทานและศีลเป็นต้น. ก็เปตวัตถุนี้ พึงเห็นว่า
ท่านยกขึ้นสู่สังคายนา ในทุติยสังคีติ.
จบ อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑
เรื่องสุตตเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ ปุเร ปพฺพชิตสฺส
ภิกฺขุโน ดังนี้. อุปบัติเหตุของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร. ได้ยินว่า ใน
หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี เมื่อพระศาสดา ยังไม่
เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล นับขึ้นไป ๗๐๐ ปี ยังมีเด็กคนหนึ่ง อุปัฏฐาก
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. เมื่อเธอเจริญวัยแล้ว มารดาของเธอ

จึงไปขอนางกุลธิดาคนหนึ่ง มาจากตระกูลที่เสมอกัน เพื่อประโยชน์
แก่บุตรนั้น. ก็ในวันวิวาหะนั้นเอง กุมารนั้น ไปอาบน้ำกับพวก
สหาย ถูกงูกัดตายไป. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ถูกยักษ์จับ
ก็มี. เธอกระทำกุศลกรรมไว้เป็นอันมาก ด้วยการอุปัฏฐากพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า บังเกิดเป็นวิมานเปรต เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์
ในเด็กหญิงนั้น. แต่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.

ลำดับนั้น เธอปรารถนาจะนำนางทาริกานั้นมายังวิมาน
ของตน จึงคิดว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ นางจึงจะอภิรมย์ในที่นี้
กับเรา ให้เป็นกรรมที่จะต้องอำนวยผลในปัจจุบัน จึงพิจารณา
ถึงเหตุที่ให้ได้เสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์นั้น เห็นพระปัจเจก-
พุทธเจ้า กำลังทำจีวรกรรมอยู่ จึงแปลงรูปเป็นคน ไปไหว้แล้ว

กล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านต้องการด้ายหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
ตอบว่า เราจะทำจีวรกรรมอุบาสก. เวมานิกเปรตนั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงเที่ยวขอด้าย ในที่ชื่อโน้น ดังนี้แล้ว
ได้ชี้เรือนของนางทาริกานั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ไปในที่นั้น

ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ลำดับนั้น นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ยืนอยู่ ในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส รู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรามีความ
ต้องการด้าย จึงได้ให้ด้ายกลุ่มหนึ่ง. ลำดับนั้น อมนุษย์นั้น ได้แปลง
เพศเป็นมนุษย์ ไปยังเรือนของนางทาริกา อ้อนวอนมารดาของนาง
แล้ว อยู่กับนาง ๒-๓ วัน เพื่อจะอนุเคราะห์มารดาของนาง จึงทำ

ภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้น ให้เต็มด้วยเงินและทอง แล้วเขียนชื่อไว้
ข้างบนภาชนะทั้งหมดนั้น มีอันให้รู้ว่านี้เป็นทรัพย์ที่เทวดาให้
ใคร ๆ ไม่ควรเอาไป ดังนี้ จึงได้พาเด็กหญิงนั้นไปยังวิมานตน.
มารดาของนางได้ทรัพย์เป็นอันมาก ได้ให้แก่พวกญาติของตน แก่
คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ส่วนตนเองบริโภคแล้ว เมื่อจะ
ทำกาละจึงแจ้งแก่ญาติทั้งหลายว่า ถ้าธิดาของเรามาไซร้ ท่านจง
ให้ทรัพย์นี้แล้วได้ตายไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นกาลล่วงไป ๗๐๐ ปี แต่กาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของพวกเรา เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร
ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี โดยลำดับ เมื่อหญิงนั้นอยู่ร่วมกับ
อมนุษย์นั้น ความรำคาญก็เกิดขึ้น. นางเมื่อจะกล่าวกะอมนุษย์นั้น
ว่า ดีละ พระลูกเจ้า ขอท่านจงนำดิฉันกลับไปสู่เรือนของตนเถิด
ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อนฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้า ซึ่งได้เข้าไปขอถึงเรือนของดิฉัน วิบาก
ของการถวายด้ายนั้น ดิฉันจึงได้เสวยผลอัน
ไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลาย
โกฏิ บังเกิดแก่ดิฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่น
ไปด้วยดอกไม้ น่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพ

ต่าง ๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตร เทพธิดา
ผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจ
ถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมาย ก็ไม่
หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญใน
วิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้น ฉันกลับ
ไปสู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่

ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน นี้ ท่าน
กล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า
นั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ย่อมควรที่จะกล่าวได้ว่า เป็นบรรพชิต

เพราะขับไล่ คือละพลังแห่งกามจากสันดานของตนโดยเด็ดขาด และ
ควรกล่าวว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลส. บทว่า สุตฺตํ ได้แก่
ด้ายอันสำเร็จด้วยฝ้าย. บทว่า อุปสงฺกมฺม ได้แก่ เข้ามายังเรือน
ของฉัน. บทว่า ยาจิตา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ขอด้วยการ
เที่ยวไปเพื่อภิกษา กล่าวคือ การประกอบด้วยกายวิญญัติ ที่กล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมยืนเจาะจง นี้เป็นการขอ
ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย บทว่า ตสฺส ได้แก่ ถวายด้ายนั้น. บทว่า
วิปาโก วิปุลผลูปลพฺภติ ความว่า บัดนี้ได้ คือ เสวยผลอันไพบูลย์
คือวิบากอันตั้งขึ้นอย่างใหญ่หลวง. บทว่า พหุกา แปลว่า มิใช่น้อย.
บทว่า วตฺถโกฏิโย ได้แก่ โกฏิแห่งผ้า อธิบายว่า ผ้าหลายแสน
ประเภท.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อเนกจิตฺตํ ได้แก่ วิจิตรด้วยรูปภาพต่าง ๆ หรือ มี
รูปภาพอันวิจิตรด้วยรัตนะ มีแก้วมุกดาและแก้วมณีเป็นต้น มากมาย.
บทว่า นรนาริเสวิตํ ได้แก่ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพ-
ธิดาผู้เป็นบริวาร. บทว่า สาหํ ภุญฺชามิ ความว่า ฉะนั้น จะเลือก
ใช้สอยวิมานนั้น. บทว่า ปารุปามิ ความว่า ฉันจะนุ่งและห่มผ้า

ตามที่ปรารถนาต้องการ ในบรรดาผ้าหลายโกฏิ. บทว่า ปหูตวิตฺตา
ความว่า สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
มากมาย คือ มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บทว่า น จ ตาว ขียติ ความว่า
สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องปลื้มใจนั้น ย่อมไม่หมดสิ้นไป คือไม่ถึง
ความสิ้นไป ได้แก่ไม่ถึงความหมดเปลือง.

บทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากมนฺวฺยา ความว่า ฉันได้รับ
ความสุขอันเป็นวิบาก และความสำราญ กล่าวคือ ความอร่อยอัน
น่าปรารถนา โดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยบุญกรรมที่สำเร็จ
ด้วยการให้ด้ายนั้นนั่นเอง ในวิมานนี้. บทว่า คนฺตฺวา ปุนเทว

มานุสํ ได้แก่ ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกอีกทีเดียว. บทว่า กาหามิ
ปุฺานิ ความว่า ข้าพเจ้าทำบุญอันให้สำเร็จความสุขพิเศษแก่ฉัน,
ซึ่งเป็นเหตุให้ดิฉันได้สมบัตินี้. บทว่า นยยฺยปุตฺต มํ ความว่า
ข้าแต่ลูกเจ้า เจ้าจงนำ คือ จงพาฉันกลับไปสู่มนุษยโลก.

อมนุษย์นั้น ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อไม่ปรารถนาจะไป
ด้วยความอนุเคราะห์ เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์ในนางนั้น จึง
กล่าวคาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านมาอยู่ในวิมานนี้กว่า ๗๐๐ ปี เป็น
คนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง
ญาติของท่าน ตายไปหมดแล้ว ท่านจากเทวโลก
นี้ไปสู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต นี้ เป็นการแสดงไขถึง
การลบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สตฺต นี้ เป็นปฐมมาวิภัตติใช้ใน
อรรถบัญจมีวิภัตติ. บทว่า วสฺสสตา แปลว่า กว่าร้อยปี, อธิบายว่า
ท่านมาอยู่ในที่นี้ คือมาสู่วิมานนี้เลย ๗๐๐ ปี คือ ท่านอยู่ในที่นี้

๗๐๐ ปี. บทว่า ชิณฺณา จ วุฑฺฒา จ ตหึ ภวิสฺสสิ ความว่า ท่านมี
อัตภาพอันอุตุและอาหารอันเป็นทิพย์ สนับสนุนอุปถัมภ์อยู่ใน
วิมานนี้ ตั้งอยู่โดยอาการเป็นหนุ่มทีเดียว ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้ ด้วยอานุภาพแห่งกรรม. อนึ่งท่านไปจากเทวโลกนี้ จักเป็น

คนแก่เพราะชราแก่ตามวัย ในมนุษยโลกนั้น เพราะกรรมสิ้นไป
และเพราะอำนาจแห่งฤดูและอาหารของมนุษย์. เพื่อจะหลีกเลี่ยง
คำถามว่า จะทำอย่างไร ตอบว่า เพราะญาติของท่านทั้งหมดตาย
ไปหมดแล้ว อธิบายว่า แม้ญาติของท่านทั้งหมดนั่นแหละ ตายไป

หมดแล้ว เพราะกาลเวลาล่วงไปนาน เพราะฉะนั้น ท่านจากเทวโลก
นี้ ไปยังมนุษยโลกนั้น จักกระทำอย่างไร, อธิบายว่า ท่านจงยัง
อายุให้สิ้นไปในที่นี้ ไม่ให้เหลือเศษไว้ คือ จงอยู่ในที่นี้.
หญิงนั้น อันอมนุษย์นั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เมื่อไม่เชื่อคำของ
อมนุษย์นั้น จึงกล่าวคาถาอีกว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อฉันอยู่ในวิมานนี้ ๗ ปีเท่านั้น ได้เสวย
ทิพยสมบัติ และความสุขอิ่มหนำแล้ว ฉันกลับ
ไปสู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่
ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺเตว วสฺสานิ อิธาคตาย เม
ความว่า ข้าแต่ลูกเจ้า เมื่อฉันอยู่ในที่นี้ ชะรอยว่าล่วงไปถึง ๗ ปี
ทีเดียว, นางกำหนดกาลเวลาที่ล่วงไปเป็นอันมากไม่ได้ จึงได้กล่าว
อย่างนั้น เพราะค่าที่ตนเพียบพร้อมไปด้วยทิพยสมบัติ และสุขสมบัติ
ถึง ๗๐๐ ปี.

ก็วิมานเปรตนั้น ถูกนางถามอย่างนี้แล้ว จึงพร่ำสอนเธอ
มีประการต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า บัดนี้เธอ จักไม่อยู่ในที่นั้น เกิน
๗ วัน ทรัพย์ที่เราให้แม่ของเจ้าฝังไว้มีอยู่ เจ้าจงให้ทรัพย์นั้นแก่
สมณพราหมณ์ แล้วจงปรารถนาความอุบัติในที่นี้แหละ จึงจับแขน

นางวางไว้ที่กลางบ้าน กล่าวว่า เจ้าพึงโอวาท ชนแม้เหล่าอื่น
ผู้มาในที่นี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงทำบุญตามกำลังเถิด ดังนี้แล้วจึงไป.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

เวมานิกเปรตนั้น จับแขนหญิงนั้น นำกลับ
ไปสู่บ้าน ที่นางเกิด แล้วพูดกะหญิงนั้น ซึ่งกลับ
เป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอกชน
แม้อื่นที่มายังที่นี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงทำบุญเถิด
ท่านทั้งหลาย จะได้รับความสุข.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ วิมานเปรตนั้น. บทว่า
ตํ ได้แก่หญิงคนนั้น. บทว่า คเหตฺวาน ปสยฺห พาหายํ ได้แก่ จับ
แขนหญิงนั้น เหมือนบังคับนำไป. บทว่า ปจฺจานยิตฺวาน ได้แก่ นำ
กลับมายังบ้านที่นางเกิดเจริญเติบโต. บทว่า เถรึ ได้แก่ เป็นคนแก่,
อธิบายว่า คนแก่ คนเฒ่า. บทว่า สุทุพฺพลํ ได้แก่ มีกำลังน้อยที่สุด
เพราะค่าที่ตนเป็นคนคร่ำคร่าเพราะชรานั่นเอง. ได้ยินว่า พร้อม

กับการไปจากวิมานนั้นนั่นแล นางเป็นคนคร่ำคร่า แก่เฒ่า ล่วงกาล
ผ่านวัย. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว. ก็เพื่อจะแสดงอาการแห่ง
คำที่จะพึงกล่าว ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อฺมฺปิ ชนํ คำนั้น
มีอธิบายดังนี้ว่า :- แน่ะนางผู้เจริญ ถึงท่านก็พึงทำบุญ แม้คน

อื่นที่มาในที่นี้ เพื่อต้องการเยี่ยมบ้าน ท่านก็พึงว่ากล่าวสั่งสอนว่า
ท่านผู้มีหน้าผ่องใส ท่านจงเพ่งดูศีรษะ และท่อนผ้าที่ถูกไฟไหม้
ก็จงทำบุญมีทานและศีลเป็นต้น และว่า เมื่อทำบุญแล้ว ท่านจะได้
รับความสุข อันเป็นผลแห่งบุญนั้น โดยแท้จริงทีเดียว ไม่ควรทำ
ความสงสัยในบุญนั้น.

ก็แล เมื่อวิมานเปรตนั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงไป หญิงนั้น ไป
ยังที่อยู่ของหมู่ญาติตน ให้ญาติเหล่านั้นรู้จักตนแล้ว จึงถือเอา
ทรัพย์ที่ญาติเหล่านั้นมอบให้ เมื่อจะให้ทานแก่สมณะและพราหมณ์
จึงได้ให้โอวาทแก่ชนผู้มาแล้ว ๆ สู่สำนักของตน จึงกล่าวสอนด้วย
คาถาว่า :-

เราได้เห็นเปรตทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ทำความดี
ไว้ เดือดร้อนอยู่ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์ กระทำกรรมอัน
มีความสุขเป็นวิบากแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ใน
ความสุข.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกเตน ได้แก่ ไม่บังเกิด คือ
ตนไม่ได้สั่งสมไว้. บทว่า สาธุนา ได้แก่ มีกุศลกรรม. บทว่า
สาธุนานี้ เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ. บทว่า
วิหฺนฺติ แปลว่า ถึงความคับแค้น. บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่
บุญกรรมอันมีสุขเป็นวิบาก. บทว่า สุเข €ิตา ได้แก่ดำรงอยู่ใน

ความสุข. บาลีว่า สุเข€ิตา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า เจริญยิ่ง คือ แผ่ไป
ด้วยความสุข. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เราเห็นพวกเปรต เหมือน
พวกมนุษย์ เดือดร้อนอยู่เพราะไม่ได้ทำกุศลไว้ ทำแต่อกุศล ถึง
ความคับแค้น ด้วยความหิวและกระหายเป็นต้น เสวยทุกข์อย่างมหันต์.
แต่เราได้เห็นหมู่สัตว์ ผู้กระทำกรรมอันเป็นเหตุอำนวยความสุข

ผู้นับเนื่องในเทวดาและมนุษย์ ด้วยกุศลกรรมที่ตนทำไว้นั้น และ
อกุศลกรรมที่ตนไม่ได้กระทำไว้ ดำรงอยู่ในความสุข. บทว่า สุเข
€ิตา นี้. เป็นบทกล่าวบ่งถึงตน. เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อเว้นความชั่ว
ให้ห่างไกลแล้ว จงประกอบขวนขวายในการบำเพ็ญบุญ.

หญิงนั้น เมื่อให้โอวาทอย่างนี้ ได้บำเพ็ญมหาทาน ตลอด
๗ วัน เพื่อสมณและพราหมณ์เป็นต้น ในวันที่ ๗ ตายไป บังเกิด
ในภพชั้นดาวดึงส์. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็น
อัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. แต่

เมื่อว่า โดยความแปลกกัน พระองค์ทรงประกาศถึงความที่ทานที่
บำเพ็ญในพระปัจเจกพุทธเจ้า ว่า ผลมากมีอานิสงส์มาก. มหาชน
ได้ฟังดังนั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ยินดี
ยิ่งในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงพระปรารภ
กัณณมุณฑเปรต ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า โสณฺณโสปานผลกา
ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนาม
ว่ากัสสปะ ในกิมิลนคร ยังมีอุบาสกคนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน มี
ฉันทะร่วมกันกับอุบาสก ๕๐๐ คน เป็นผู้ขวนขวายในบุญกรรม
มีการปลูกดอกไม้ สร้างสะพาน และสร้างที่จงกรม เป็นต้นอยู่

สร้างวิหารถวายพระสงฆ์ ได้ไปวิหารตามกาลเวลา พร้อมกับ
อุบาสกเหล่านั้น. ฝ่ายภริยาของอุบาสกเหล่านั้น เป็นอุบาสิกามี
ความพร้อมเพรียงกันและกัน ต่างถือดอกไม้ของหอมและเครื่อง
ลูบไล้เป็นต้น ไปยังวิหารตามกาลเวลา ไปพักผ่อน ในสภาอัน
เป็นที่รื่นรมย์เป็นต้น ในระหว่างทาง.

ภายหลังวันหนึ่ง นักเลงหญิง ๒-๓ คน นั่งประชุมกันที่สภา
แห่งหนึ่ง เมื่ออุบาสิกาเหล่านั้น พากันไปพักผ่อนในที่นั้น เห็นรูป
สมบัติของอุบาสิกาเหล่านั้น มีจิตปฏิพัทธ์ รู้ว่า อุบาสิกาเหล่านั้น
ถึงพร้อมด้วยศีล อาจารและคุณธรรม จึงสนทนากันว่า ใครสามารถ
จะทำลายศีล ของอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ในบรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น

ได้. ในนักเลงเหล่านั้น นักเลงคนหนึ่ง กล่าวว่า เราสามารถ.
นักเลงเหล่านั้น ได้ทำความเสนียดจัญไรว่า พวกเราจะทำกรรม
อันเป็นเสนียดจัญไร ด้วยค่าจ้าง ๑,๐๐๐. เมื่อท่านทำได้ เราจะ
ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แก่ท่าน เมื่อท่านทำไม่ได้ ท่านพึงให้ทรัพย์แก่เรา.
เขาพยายามด้วยอุบายเป็นอเนก เมื่ออุบาสิกาเหล่านั้น มายังสภา

จึงดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงเปล่งออกไพเราะเพราะพริ้ง ขับเพลง
ขับอันประกอบด้วยกามคุณ มีเสียงไพเราะทีเดียว ให้หญิงคนหนึ่ง
ในบรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น ถึงศีลวิบัติ ด้วยเสียงเพลงขับ กระทำ
การล่วงเกิน ให้นักเลงเหล่านั้นพ่ายแพ้ไปด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐.
นักเลงเหล่านั้น พ่ายแพ้ไปด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วจึงบอกแก่สามี

ของนาง. สามีถามนางว่า บุรุษเหล่านั้นได้กล่าวโดยประการที่เธอ
เป็นอย่างนี้หรือ? นางปฏิเสธว่า ฉันไม่รู้เรื่องเช่นนี้ เมื่อสามีไม่เชื่อ
จึงแสดงสุนัขที่อยู่ใกล้ ได้ทำการสบถว่า ถ้าฉันทำกรรมชั่วเช่นนั้น
ไซร้ ขอสุนัขดำตัวหูขาดนี้ จงกัดฉัน ซึ่งเกิดในภพนั้น ๆ เถิด.
ฝ่ายหญิง ๕๐๐ คน รู้ว่าหญิงนั้นประพฤตินอกใจ ถูกสามีท้วงว่า

หญิงนี้ทำกรรมชั่วเช่นนี้ หรือว่าไม่ได้ทำ จึงกล่าวมุสาว่า พวก
เราไม่รู้กรรมเห็นปานนี้ จึงได้ทำสบถว่า ถ้าพวกฉันรู้ ขอให้พวก
ดิฉันพึงเป็นทาสหญิง ของหญิงนั้นแหละ ทุก ๆ ภพไปเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2019, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น หญิงผู้ประพฤตินอกใจนั้น มีหทัยถูกความเดือดร้อน
นั้นนั่นแลแผดเผา จึงซูบซีดไป ไม่นานนัก ก็ตายไป บังเกิดเป็น
เวมานิกเปรตอยู่ที่ริมฝั่งสระกัณณมุณฑแห่งหนึ่ง บรรดาสระใหญ่
๗ สระ ที่ขุนเขาหิมวันต์. และรอบ ๆ วิมานของนาง ได้บังเกิด
สระโบกขรณีขึ้นสระหนึ่ง อันประกอบด้วยการเสวยวิบากแห่ง

กรรมของนาง ส่วนหญิง ๕๐๐ คนที่เหลือ ทำกาละแล้ว บังเกิด
เป็นนางทาสีของหญิงนั้นนั่นแล ด้วยอำนาจกรรมที่ทำสบถไว้.
นางเสวยทิพยสมบัติตลอดกลางวัน เพราะผลแห่งบุญกรรมที่ตน
ทำไว้ในกาลก่อนนั้น พอถึงเที่ยงคืนก็ถูกพลังแห่งกรรมชั่วตักเตือน
จึงลุกขึ้นจากที่นอน ไปยังฝั่งสระโบกขรณี. สุนัขดำตัวหนึ่ง

ประมาณเท่าลูกแพะ มีรูปร่างน่ากลัว หูขาด มีเขี้ยวโง้งยาวคมกริบ
มีนัยน์ตาเสมือนกองถ่านไม้ตะเคียนที่ลุกโพลงดีแล้ว มีลิ้นเหมือน
กลไกแห่งสายฟ้าที่แลบออกมาไม่ขาดระยะ มีเล็บโง้งคมกริบ
มีขนน่าเกลียดยาวแข็ง มาจากสระกัณณมุณฑะนั้น แล้วทำนาง
ผู้ไปในที่นั้น ให้ล้มลงที่ภาคพื้น เป็นเสมือนถูกความหิวจัดครอบงำ

ขู่ข่ม กัดกิน ให้เหลือเพียงร่างกระดูก แล้วคาบไปทิ้งที่สระโบก-
ขรณีแล้ว ก็หายไป. พร้อมกับที่สุนัขทิ้งในสระโบกขรณีนั้นนั่นแหละ
นางก็มีรูปเป็นปกติเดิมแล้ว ขึ้นสู่วิมาน นอนอยู่บนที่นอน. ฝ่าย
หญิงนอกนั้น เสวยทุกข์เป็นทาสของนางนั้นนั่นแล. พวกหญิงที่อยู่
ในที่นั้น ล่วงไป ๕๕๐ ปี ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้น เว้นจากบุรุษเสีย อยู่เสวยทิพย-
สมบัติ เกิดความเบื่อหน่าย. ยังมีแม่น้ำสายหนึ่งไหลออกจากสระ
กัณณมุณฑะ ในบรรดาสระใหญ่ ๗ สระนั้น ออกทางช่องบรรพต
แล้ว เข้าไปยังแม่น้ำคงคา. ก็ในที่ใกล้แต่สถานที่อยู่ของหญิง

เหล่านั้น ยังมีป่าไม้แทบหนึ่ง เป็นเช่นกับสวน อันงดงามประกอบ
ไปด้วยต้นมะม่วง ต้นขนุนและน้ำเต้าเป็นต้น ซึ่งมีผลเป็นทิพย์.
หญิงเหล่านั้น คิดพร้อมกันอย่างนี้ว่า เอาเถอะ พวกเรา จักทิ้ง
ผลมะม่วงเหล่านี้ลงในแม่น้ำนี้, ผิไฉน ชายบางคน เห็นผลไม้นี้เข้า

เพราะความโลภในผลไม้ จะพึงมาในที่นี้บ้าง พวกเราจักอภิรมย์
กับชายนั้น. หญิงเหล่านั้น ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. ก็ผลมะม่วง
ที่หญิงเหล่านั้น พากันโยนลงไปบางผล ดาบสเก็บได้. บางผล
พรานไพรเก็บเอาไป บางผลกาแย่งเอาไป บางผลคล้องอยู่ที่ริมฝั่ง
ส่วนผลหนึ่ง ลอยไปตามกระแสน้ำ ในแม่น้ำคงคา ถึงกรุงพาราณสี
โดยลำดับ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2019, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็สมัยนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงสรงสนานในแม่น้ำคงคา
ที่เขาล้อมไว้ด้วยตาข่ายโลหะ. ลำดับนั้น ผลไม้นั้นลอยไปตาม
กระแสแม่น้ำมาโดยลำดับ ติดอยู่ที่ตาข่ายโลหะ. พวกราชบุรุษ
เห็นผลมะม่วงทิพย์ขนาดใหญ่ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส นั้นเข้า
จึงนำเข้าไปถวายแก่พระราชา. พระราชาทรงหยิบเอาส่วนหนึ่ง
ของผลมะม่วงนั้น เพื่อจะทดลอง จึงพระราชทานให้แก่เพชฌฆาต

คนหนึ่งที่พระองค์ทรงตั้งไว้ในเรือนจำกิน. เขาเคี้ยวกินผลไม้นั้น
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ผลไม้เช่นนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเคี้ยว
กินเลย ผลมะม่วงนี้ ชะรอยว่าจะเป็นของทิพย์. พระราชาได้พระ-
ราชทานอีกชิ้นหนึ่งแก่เพชฌฆาตนั้น. เพชฌฆาตเคี้ยวกินผลมะม่วง
นั้นแล้ว ปราศจากหนังเหี่ยวและผมหงอก มีรูปร่างน่าพึงใจ ได้

เป็นประหนึ่งตั้งอยู่ในวัยหนุ่ม. พระราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้น
ทรงเกิดอัศจรรย์พระทัย ไม่เคยมี จึงเสวยผลมะม่วงนั้นบ้าง
ได้รับความวิเศษในพระวรกาย จึงตรัสถามพวกมนุษย์ว่า ผลมะม่วง
ทิพย์เห็นปานนี้ มีอยู่ที่ไหน? พวกมนุษย์กราบทูลอย่างนี้ ได้ยินว่า
มีอยู่ที่ขุนเขาหิมพานต์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ก็ใคร
สามารถจะนำเอามะม่วงเหล่านั้นมาได้. พวกมนุษย์กราบทูลว่า
พรานไพร ย่อมรู้พระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งให้เรียกพวกพรานไพรมา จึงแจ้งเรื่องนั้น
ให้พวกพรานไพรทราบ ได้พระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
แก่พรานไพรผู้หนึ่ง ที่พวกพรานไพรเหล่านั้นสมมุติมอบถวายไป
จึงส่งพรานไพรคนนั้นไป ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไป จงรีบนำ
เอาผลมะม่วงนั้นมาให้เรา. พรานไพรนั้นได้ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐

กหาปณะนั้น แก่บุตรและภริยา ถือเอาสะเบียง มุ่งหน้าไปสระ
กัณณมุณฑะ ตรงกันข้ามกับแม่น้ำคงคา ล่วงเลยถิ่นมนุษย์ไป
พบดาบสองค์หนึ่งที่ประเทศประมาณ ๖๐ โยชน์ ฝั่งในแต่สระ
กัณณมุณฑะ เดินไปตามทางที่ดาบสนั้นบอกให้ พบดาบสอีกองค์
หนึ่งที่ประเทศประมาณ ๓๐ โยชน์ เดินไปตามทางที่ดาบสนั้นบอก

ให้ พบดาบสอีกองค์หนึ่ง ในที่ประมาณ ๑๕ โยชน์ จึงได้บอกเหตุ
ที่ตนมาแก่ดาบสนั้น. ดาบสพร่ำสอนเธอว่า ตั้งแต่นี้ไป เธอจะละ
แม่น้ำคงคาใหญ่สายนี้เสีย อาศัยแม่น้ำน้อยนี้ เดินทวนกระแสร์ไป
ถือเอาน้ำในราตรี ในคราวที่ท่านเห็นช่องบรรพตแล้ว พึงเข้าไป.

ก็แม่น้ำสายนี้ ในเวลากลางคืน จะไม่ไหล. เพราะฉะนั้น แม่น้ำนั้น
จึงเหมาะแก่การไปของท่าน. โดยล่วงไป ๒-๓ โยชน์ ท่านก็จักเห็น
ผลมะม่วงเหล่านั้น. เขาได้ทำตามนั้นแล้ว พอพระอาทิตย์อุทัยขึ้น
ได้ถึงสวนมะม่วง อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก เป็นภูมิภาคที่
โชติช่วงไปด้วยข่ายแห่งรัศมีของรัตนะต่าง ๆ งดงามไปด้วย
ส่วนแห่งป่าที่มีผลมาก มีแมกไม้ มีสาขาปกคลุมเป็นดุจเพดาน
หมู่วิหกนานาชนิดก็ส่งเสียงร่ำร้อง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2019, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พวกหญิงอมนุษย์เหล่านั้น เห็นพรานไพรนั้น
เดินมาแต่ไกล จึงวิ่งเข้าไปด้วยหมายใจว่า คนนี้เป็นที่พึ่งของเรา
คนนี้เป็นที่พึ่งของเรา. ก็พรานไพรนั้น พอเห็นหญิงเหล่านั้นเข้า
จึงตกใจกลัว ร้อง หนีไป เพราะตนไม่ได้ทำบุญกรรมอันเหมาะสม
ที่จะเสวยทิพยสมบัติในที่นั้น ร่วมกับหญิงเหล่านั้นได้ จึงไปถึง
กรุงพาราณสี โดยลำดับแล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระราชา.

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงเกิดความหวังเพื่อจะเห็นหญิง
เหล่านั้น และ เพื่อจะบริโภคผลมะม่วงทั้งหลาย จึงให้พวกอำมาตย์
สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงผูกสอดกำธนู เหน็บพระขรรค์
โดยอ้างว่าจะไปล่าเนื้อ มีมนุษย์ ๒-๓ คน เป็นบริวาร เสด็จไป
ตามทางที่พรานไพรนั้นนั่นแหละชี้แนะให้ จึงพักพวกมนุษย์ไว้

ในที่ระยะ ๒-๓ โยชน์ จึงพาเฉพาะพรานไพรไปโดยลำดับ ให้
พรานไพรแม้นั้น กลับจากที่นั้น พอพระอาทิตย์อุทัย ก็เสด็จเข้าถึง
สวนมะม่วง. ลำดับนั้น พวกหญิงเหล่านั้น เห็นเทพบุตรนั้น เหมือน
เกิดในภพใหม่ จึงต้อนรับ รู้ว่าเขาเป็นพระราชา จึงเกิดความรัก
และความนับถือมาก ให้อาบน้ำโดยเคารพ ให้ประดับตกแต่ง

ด้วยดี ด้วยผ้า เครื่องอลังการ ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
ยกขึ้นสู่วิมาน ให้บริโภคโภชนะอันเป็นทิพย์ มีรสเลิศต่าง ๆ แล้ว
ได้เข้าไปนั่งใกล้เขาตามสมควรแก่ความปรารถนา.

ครั้นล่วงไป ๑๕๐ ปี พระราชาเสด็จลุกขึ้น ในเพลาเที่ยงคืน
ประทับนั่งทอดพระเนตรเห็นนางเปรต ผู้ประพฤติล่วงเกินนั้น
กำลังเดินไปยังฝั่งสระโบกขรณี มีความประสงค์จะทดลองดู จึง
ตามไป ด้วยคิดว่า เพราะเหตุไรหนอ หญิงนี้ จึงไปในเวลานี้.
ลำดับนั้น พระราชาเห็นนางผู้ไปในที่นั้น กำลังถูกสุนัขกัด เมื่อ

ไม่รู้ว่า นี่อะไรกันหนอ จึงทดลองดู ๒-๓ วัน จึงคิดว่า สุนัขนี้
ชะรอยจะเป็นศัตรูแก่หญิงนี้ จึงพุ่งหลาวอันลับดีแล้ว ปลงเสียจาก
ชีวิต และโบยหญิงนั้นแล้ว ให้ลงยังสระโบกขรณี เห็นรูปที่ตน
ได้เห็นครั้งก่อนแล้ว จึงตรัสถามประวัติของนางนั้นด้วยคาถา
๑๒ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2019, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สระโบกขรณีนี้ มีน้ำใสสะอาด มีบันได
ทองคำลาดด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระนั้น
มีกลิ่นหอมฟุ้งน่ารื่นรมย์ใจ ดาดดื่นไปด้วยหมู่ไม้
นานาชนิด มีกลิ่นต่าง ๆ หอมตลบไปด้วยลม
รำเพยพัดดารดาษด้วยบัวต่าง ๆ เกลื่อนกล่น
ด้วยบัวขาว มีกลิ่นหอมเจริญใจ อันลมรำเพยพัด
ฟุ้งขจร เสียงระงมไปด้วยหงษ์และนกกะเรียน

นกจักพรากมาร่ำร้องไพเราะจับใจ เกลื่อนกล่น
ไปด้วยฝูงนกต่าง ๆ ส่งเสียงร้องอื้ออึง มีหมู่
รุกขชาติ อันมีดอกและผลนานาพรรณ ไม่มี
เมืองใด ในมนุษย์เหมือนเมืองของท่านนี้เลย
ปราสาทเป็นอันมากของท่าน ล้วนแล้วด้วย
ทองคำและเงิน รุ่งเรืองงามสง่าไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ
โดยรอบ นางทาสี ๕๐๐ คน คอยบำเรอท่าน ประ

ดับด้วยกำไลทองคำ นุ่งห่มผ้าขลิบทองคำ บัลลังก์
ของท่านมีมาก ซึ่งสำเร็จด้วยทองคำและเงิน
ปูลาดด้วยหนังชะมด และผ้าโกเชาว์ อันบุคคล
จัดแจงไว้แล้ว ท่านจะเข้านอนบนบัลลังก์ใด ก็
สำเร็จดังความปรารถนาทุกอย่าง เมื่อถึงเที่ยงคืน
ท่านลุกจากบัลลังก์นั้นลงไปสู่สวนใกล้สระโบก-
ขรณี ยืนอยู่ที่ฝั่งสระนั้น อันมีหญ้าเขียวอ่อน

งดงาม ลำดับนั้น สุนัขหูด้วน ก็ขึ้นมาจากสระนั้น
กัดอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน เมื่อใดท่านถูกสุนัข
กัดกินแล้ว เหลือแต่กระดูก เมื่อนั้นท่านจึงลงสู่
สระโบกขรณี ร่างกายก็กลับเป็นเหมือนเดิม ภาย
หลังจากเวลาลงสระโบกขรณี ท่านกลับมีอวัยวะ

น้อยใหญ่เต็มบริบูรณ์งดงาม ดูน่ารัก นุ่งห่มแล้ว
มาสู่สำนักของเรา ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้
ด้วยกายวาจาใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร
สุนัขหูด้วนจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร