วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้นอังกุระพาณิช เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน
ตามความเป็นจริง จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ถ้าท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพชั้นดาว
ดึงส์ พึงให้พรแก่เราไซร้ เราจะพึงขอพรว่า
เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
ขอภัตตาหารอันเป็นทิพย์ และพวกยาจกผู้มีศีล
พึงปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป
ครั้นเราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง
เมื่อกำลังให้อยู่ พึงยังจิตให้เลื่อมใส ข้าพเจ้าพึง
ขอพรกะท้าวสักกะอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลุฏฺ€ิตสฺส เม สโต ความว่า
เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นในเวลาเช้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเพียร คือ
ความหมั่นด้วยอำนาจสามีจิกรรม มีการนอบน้อมและการปรนนิบัติ
เป็นต้น ต่อพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ. บทว่า
สูริยุคฺคมนํ ปติ แปลว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นไป. บทว่า ทิพฺพา
ภกฺขา ปาตุภเวยฺยุํ ความว่า อาหารอันนับเนื่องในเทวโลก พึง
เกิดขึ้น. บทว่า สีลวนฺโต จ ยาจกา ความว่า และพวกยาจก
พึงเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม.

บทว่า ททโต เม น ขีเยถ ความว่า ก็เมื่อเราให้ทานแก่ผู้ที่
มาแล้ว ๆ ไทยธรรมย่อมไม่สิ้นไป คือ ไม่ถึงความหมดเปลือง.
บทว่า ทตฺวา นานุปเตยฺยหํ ความว่า ก็เพราะเหตุนั้น เราให้ทานนั้น
แล้ว เห็นคนบางคนไม่มีความเลื่อมใส จึงไม่เดือดร้อน ในภายหลัง.

บทว่า ททํ จิตฺตํ ปสาเทยฺยํ ความว่า เมื่อเราให้อยู่ เราก็พึงทำจิตให้
เลื่อมใส คือเราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนั่นแหละ พึงให้ทาน. บทว่า
เอตํ สกฺกํ วรํ วเร ความว่า เราพึงขอพรกะท้าวสักกะจอมเทพ
๕ อย่างนี้คือ ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค ความสมบูรณ์ด้วย

ไทยธรรม ความสมบูรณ์ด้วยพระทักขิไณยบุคคล ความสมบูรณ์
ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ และความสมบูรณ์ด้วยทายก.
ก็ในพร ๕ ประการนี้ ด้วยคำว่า เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า นี้ ชื่อว่า
ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค, ด้วยคำว่า ภัตตาหารอันเป็นทิพย์
พึงปรากฏนี้ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยไทยธรรม ด้วยคำว่า และ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยาจกพึงเป็นผู้มีศีลนี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทักขิโณยบุคคล
ด้วยคำว่า เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป นี้ ชื่อว่า ความ
สมบูรณ์ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ ด้วยคำว่า ครั้นเราให้ทาน
แล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้พึงทำจิตให้เลื่อมใส
นี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทายก รวมความว่า อังกุระพาณิช
ปรารถนาประโยชน์ ๕ ประการ โดยความเป็นพร. ก็ประโยชน์
๕ ประการนั้นแล พึงทราบว่ามีไว้เพียงเพื่อความยิ่งใหญ่แห่งบุญ
อันสำเร็จด้วยทานนั่นเอง.

เมื่ออังกุระพาณิช ประกาศอัธยาศัยของตนอย่างนี้ ชาย
คนหนึ่ง ชื่อว่า โสนกะ ผู้มีความเชี่ยวชาญในนิติศาสตร์ นั่งอยู่ใน
ที่นั้น เป็นผู้ให้ทานเกินประมาณ มีความประสงค์จะตัดทานนั้น
จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้ง
หมด แก่บุคคลอื่น ควรให้ทาน และควรรักษา
ทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้น ประเสริฐกว่า
ทาน ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการ
ให้ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ

การไม่ให้ทาน และการให้ทานเกินควร เพราะ
เหตุผลนั้นแล ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน
บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควร
ประพฤติ โดยพอเหมาะ.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สินธกมาณพมีความประสงค์
จะทดลองอย่างนี้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวิตฺตานิ ได้แก่ อุปกรณ์แก่
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมด ชนิดสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณก-
ทรัพย์, อธิบายว่า ทรัพย์. บทว่า ปเร แก้เป็น ปรมฺหิ แก่บุคคลอื่น,
อธิบายว่า ปรสฺส แก่คนอื่น. บทว่า น ปเวจฺเฉ แปลว่า ไม่พึงให้
อธิบายว่า ไม่ควรทำการบริจาคทรัพย์ทั้งหมดไม่เหลืออะไรไว้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
โดยคิดว่า เราได้พระทักขิไณยบุคคล. บทว่า ทเทยฺย ทานญฺจ
ความว่า ไม่ควรให้ นามธรรม โดยประการทั้งปวง คือ โดยที่แท้
ครั้นรู้ความเจริญและความเสื่อมของตนแล้ว พึงให้ทานอันเหมาะสม
แก่สมบัติ. บทว่า ธนญฺจ รกฺเข ความว่า พึงรักษาทรัพย์ไว้ด้วย

อำนาจ การได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้ รักษาทรัพย์ที่ได้ไว้แล้ว และ
ควบคุมทรัพย์ที่รักษาไว้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทานนั้นซึ่งมีทรัพย์
นั้นเป็นมูลเหตุ บุคคลพึงรักษาทรัพย์ตามวิธีที่กล่าวไว้ว่า :-

พึงใช้บริโภคส่วน ๑ พึงประกอบการงาน
๒ ส่วน และพึงเก็บทรัพย์ส่วนที่ ๔ ไว้ ในเมื่อ
อันตรายจักมี.

จริงอยู่ นักกฎหมายคิดว่า พึงเสพทางทั้ง ๓ โดยทำทุก ๆ
ส่วนให้หมดจด. บทว่า ตสฺมา หิ ความว่า ก็เมื่อจะรักษาทรัพย์
และบำเพ็ญทาน ชื่อว่า ดำเนินไปตามทาน ซึ่งมีทรัพย์เป็นมูลเหตุ
เพื่อประโยชน์แก่โลกทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น ทรัพย์เท่านั้น จึงประเสริฐ
คือ ดีกว่าทาน เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า ไม่พึงทำทานเกินควร.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะให้ทานเกินควร, อธิบายว่า เพราะไม่รู้ประมาณของทรัพย์
อาศัยทรัพย์นั้นให้ทาน ตระกูลจึงตั้งอยู่ไม่ได้ คือ เป็นไปไม่ได้
ได้แก่ ขาดศูนย์ไปเพราะประสงค์ในการให้เกินควร.

บัดนี้ โสนกะบุรุษ เมื่อจะตั้งประโยชน์เฉพาะที่วิญญูชน
สรรเสริญ จึงกล่าวคาถาว่า บัณฑิตไม่สรรเสริญการไม่ให้ทาน
และการให้ทานเกินควรเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อทานมติทานญฺจ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย คือผู้รู้ได้แก่ ผู้มีปัญญา
ย่อมไม่สรรเสริญ ย่อมไม่ชมเชยการไม่ให้ ภิกษาทัพที่หนึ่งก็ดี

ข้าวสารหยิบมือหนึ่งก็ดี โดยประการทั้งปวง และการให้เกินควร
กล่าวคือการบริจาคเกินประมาณ. จริงอยู่ ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้เหิน
ห่างจากประโยชน์ ในสัมปรายภพเพราะไม่ให้ทานโดยประการ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ทั้งปวง. ประเพณีในปัจจุบัน ย่อมไม่เป็นไป เพราะการให้ทาน
เกินควร. บทว่า สเมน วตฺเตยฺย ความว่า บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์
สมบูรณ์ด้วยธรรม ควรประพฤติด้วยญาณอันเป็นสายกลาง อัน
มั่นคง เหมาะแก่ทางโลก เป็นไปสม่ำเสมอ. ด้วยคำว่า ส ธีรธมฺโม
ท่านแสดงว่า ความเป็นไปแห่งการให้และการไม่ให้ ตามที่กล่าว
แล้ว อันใด อันนั้นจัดเป็นธรรมคือ เป็นทางที่นักปราชญ์ผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญา ผู้ฉลาดในนิตินัย ดำเนินไปแล้ว

อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะเปลี่ยนแปลงความ
ประสงค์ของโสนกะบุรุษนั้น จึงประกาศวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ
ด้วย ๔ คาถาว่า :-

ดูก่อนชาวเราทั้งหลาย เอ๋ย ดีหนอ เรา
พึงให้ทานแล ด้วยว่าสัตบุรุษ ผู้สงบระงับ พึง
คบหาเรา เราพึงยังความประสงค์ ของวณิพก
ทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือน
ฝนที่ยังที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็ม ฉะนั้น สีหน้าของ
บุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก

บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว มีใจเบิกบาน ข้อนั้น
เป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน สีหน้า
ของบุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก
บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลาบปลื้มใจ
นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ ก่อนแต่ให้ก็มีใจ

เบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้
แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่ง
ยัญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห วต แปลว่า ดีหนอ. บทว่า
เร เป็นอาลปนะ. บทว่า อหเมว ทชฺชํ แก้เป็น อหํ ทชฺชเมว
แปลว่า เราพึงให้ทีเดียว. จริงอยู่ ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้
ว่า ดูก่อนมาณพ ถ้าว่า วาทะของผู้ฉลาดในนิติศาสตร์นี้ จงมีแก่
ท่านว่า ทรัพย์เท่านั้นดีกว่าทาน ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็พึงให้

โดยแท้. บทว่า สนฺโต จ มํ สปฺปุริสา ภเชยฺยุํ ความว่า สัตบุรุษ
คือ คนดีทั้งหลาย ผู้สงบ คือ ผู้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และ
มโนสมาจารสงบ พึงคบ คือ พึงเข้าถึงเรา ในเพราะทานนั้น.

บทว่า เมโฆว นินฺนานิ ปริปูรยนฺโต ความว่า น่าอัศจรรย์จริง
เราเมื่อยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม ชื่อว่า พึงยัง
วณิพกเหล่านั้น ให้เดือดร้อน เหมือนมหาเมฆ เมื่อยังฝนให้ตก
ชื่อว่า ยังที่ลุ่ม คือที่ต่ำ ให้เต็มฉะนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ยสฺส ยาจนเก ทิสฺวา ความว่า เมื่อบุคคลใด คือ
ผู้ครองเรือน เห็นยาจกทั้งหลาย เกิดศรัทธาขึ้นว่า บุญเขต ปรากฏ
แก่เราหนอ เป็นอันดับแรก สีหน้าย่อมผ่องใส ครั้นให้ทานแก่ยาจก
เหล่านั้น ตามสมบัติแล้ว ย่อมเบิกบานใจ คือ ย่อมมีใจอันปีติและ
โสมนัสจับแล้ว. บทว่า ตํ ความว่า เป็นการเห็นยาจกในกาลใด
และเห็นยาจกเหล่านั้นแล้ว จิตย่อมเลื่อมใส และครั้นให้ทานตาม
สมควรแล้ว ย่อมเบิกบานใจ.

บทว่า เอสา ยฺสฺส สมฺปทา ความว่า นั้นเป็นความถึง
พร้อม คือ ความบริบูรณ์ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งยัญญ์.

บทว่า ปุพฺเพว นานา สุมโน ความว่า บุคคล พึงเป็นผู้มีใจดี
คือเกิดโสมนัส ตั้งแต่จัดแจงอุปกรณ์ทาน ก่อนแต่มุญจนเจตนา
ว่า เราจักฝังขุมทรัพย์อันเป็นเหตุติดตามตนไปได้. บทว่า ททํ
จิตฺตํ ปสาทเย ความว่า เมื่อให้ คือ เมื่อยังไทยธรรม ให้ตั้งอยู่ในมือ
ของพระทักขิไณยบุคคล พึงยังจิตของตนให้เลื่อมใสว่า เราจะยึดถือ

เอาสิ่งที่เป็นสาระ จากทรัพย์อันหาสาระมิได้. บทว่า ทตฺวา อตฺตมโน
โหติ ความว่า ครั้นบริจาคไทยธรรม แก่พระทักขิไณยบุคคลแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีใจดี คือ มีความเบิกบานใจ ได้แก่ย่อมเกิดปีติและโสมนัส
ขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่า ทานที่บัณฑิตบัญญัติแล้ว เราก็ได้ดำเนินตามแล้ว,
โอ ช่างดีจริงหนอ. บทว่า เอสา ยฺสฺส สมฺปทา ความว่า

ความบริบูรณ์แห่งเจตนาทั้ง ๓ อันโสมนัสกำกับแล้ว ซึ่งไปตาม
ความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมนี้คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา
และอปรเจตนานี้ใด นั้น เป็นสัมปทาแห่งยัญญ์ คือ ความถึงพร้อม
แห่งทาน อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นไปโดยประการอื่นจากสัมปทานี้.

อังกุระพาณิช ครั้นประกาศวิธีปฏิบัติของตนอย่างนี้แล้ว
เป็นผู้มีอัธยาศัยในทานเจริญยิ่งขึ้น บำเพ็ญมหาทานทุก ๆ วัน
ให้เป็นไปโดยประมาณยิ่ง. เพราะเหตุนั้น ในกาลนั้น เมื่อทำ
รัชชสมบัติทั้งปวงให้เป็นดุจที่ดอนแล้ว ให้มหาทานเป็นไป มนุษย์
ทั้งหลายได้อุปกรณ์แห่งทานทั้งปวงแล้ว ละการงานของตน ๆ

เที่ยวไปตามความสุข. เพราะเหตุนั้น เรือนคลัง ของพระราชา
ทั้งหลาย จึงได้ถึงความสิ้นไป. ลำดับนั้น พระราชาทั้งหลาย
จึงได้ส่งทูตไปถึงอังกุระพาณิชว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยทาน
ความเจริญของพวกเราจึงได้พินาศไป. เรือนคลังทั้งหลาย จึง
ถึงความสิ้นไป พวกเราควรรู้เหตุอันสมควรในข้อนั้น ดังนี้แล.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงไปยังทักขิณาปถชนบท
ให้ช่วยกันสร้างโรงทานมากมาย ขนาดใหญ่ ในที่ไม่ไกลแต่
มหาสมุทร ในที่อยู่ของพวกทมิฬ เมื่อให้มหาทานเป็นไปอยู่ ดำรง
อยู่จนสิ้นอายุ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป จึงบังเกิดในภพชั้น
ดาวดึงส์. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงสมบัติแห่งทาน
และการเข้าถึงสวรรค์ของอังกุระพาณิชนั้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลาย
ว่า :-

ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ
โภชนะอันเขาให้แก่หมู่ชนวันละ ๖๐,๐๐๐ เล่ม
เกวียนเป็นนิตย์ พ่อครัว ๓,๐๐๐ คน ประดับด้วย
ต่างหูอันวิจิตร ด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้
ขวนขวายในการให้ทาน พากันเข้าไปอาศัย
อังกุระพาณิชเลี้ยงชีวิต, มาณพ ๖๐,๐๐๐ คน
ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมุกดา และ

แก้วมณี ช่วยกันผ่าฟืน สำหรับหุงอาหาร ใน
มหาทานของอังกุระพาณิชนั้น พวกนารี ๑๖,๐๐๐
คน ประดับด้วยอลังการทั้งปวง ช่วยกันบดเครื่อง
เทศ สำหรับปรุงอาหาร ในมหาทาน ของอังกุระ
พาณิชนั้น นารีอีก ๑๖,๐๐๐ คน ประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพีข้าว ยืนคอยรับ

ใช้ในมหาทาน ของอังกุระพาณิชนั้น อังกุระ
พาณิชนั้น ได้ให้ของเป็นอันมาก แก่มหาชนโดย
ประการต่าง ๆ ได้ทำความเคารพและความยำ-
เกรง ในกษัตริย์ ด้วยมือของตนเองบ่อย ๆ ให้
ทานโดยประการต่าง ๆ สิ้นกาลนาน อังกุระ

พาณิช ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว สิ้นเดือน สิ้น
ปักษ์ สิ้นฤดู และปีเป็นอันมาก ตลอดกาลนาน
อังกุระพาณิช ได้ให้ทานและทำการบูชาแล้ว
อย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละร่างกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีวาจาประกอบความว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ€ิ
วาหสทสฺสานิ ความว่า ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ คือ
ผู้มีอัธยาศัยในทาน ได้แก่ ผู้มีใจน้อมไปในทาน โภชนะอันเขาให้แก่
หมู่ชน วันละ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียน คือ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียนที่บรรทุก
ของหอม ข้าวสาลี เป็นต้น เป็นนิตย์.

บทว่า ติสหสฺสานิ สูทา หิ ความว่า พ่อครัว คือ คนทำครัว
ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ก็แล พ่อครัวเหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า
ผู้เป็นประธาน. ในบรรดาพ่อครัวเหล่านั้น บุคคลผู้กระทำตามคำ
ของพ่อครัวแต่ละคน พึงทราบว่า มากมาย. บาลีว่า ติสหสฺสานิ
สูทานํ ดังนี้ก็มี. บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่ง

ต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมณีต่าง ๆ, ก็บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา
นี้ เป็นเพียงอุทาหรณ์, พ่อครัวเหล่านั้น ได้มีเครื่องอาภรณ์ เช่น
แก้วมุกดา และสายรัดเอวที่ทำด้วยทองคำ เป็นต้น. บทว่า องฺกุรํ
อุปชีวนฺติ ความว่า เข้าไปอาศัยอังกุระพาณิช เลี้ยงชีพ, อธิบาย
ว่า ผู้มีชีวิตเนื่องด้วยอังกุระพาณิชนั้น. บทว่า ทาเน ยฺสฺส

ปาวฏา ความว่า เป็นผู้ขวนขวาย คือ ถึงความขวนขวายในการ
ประกอบทานแห่งยัญญ์ อันรู้กันว่า การบูชาใหญ่. บทว่า กฏฺ€ํ
ผาเลนฺติ มาณวา ความว่า พวกมนุษย์หนุ่ม ๆ ผู้ประดับตกแต่ง
แล้ว ช่วยกันผ่าคือ ช่วยกันตัดฟืน เพื่อหุงต้มอาหารพิเศษมี
ของเคี้ยวและของบริโภค เป็นต้น มีประการต่าง ๆ.

บทว่า วิธา ได้แก่ เครื่องเผ็ดร้อนสำหรับปรุงอาหาร ที่จะ
พึงจัดแจง. บทว่า ปิณฺเฑนฺติ ได้แก่ ย่อมประกอบด้วยการบด.
บทว่า ทพฺพิคาหา แปลว่า ผู้ถือทัพพี. บทว่า อุปฏฺ€ิตา
ความว่า เข้าไปยืนคอยรับใช้ ยังสถานที่รับใช้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า พหุํ แปลว่า มาก คือ เพียงพอ. บทว่า พหูนํ แปลว่า
มากมาย. บทว่า ปาทาสิ แปลว่า ได้ให้โดยประการทั้งหลาย.
บทว่า จิรํ แปลว่า ตลอดกาลนาน. จริงอยู่ เขาเกิดในหมู่มนุษย์
ผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี. และเมื่อเขาให้ทานเป็นอันมาก แก่ชนเป็น
อันมาก ตลอดกาลนาน เพื่อจะแสดงประการที่เขาให้ทานจึงกล่าว
ว่า สกฺกจฺจญฺจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจํ

คือมีความเอื้อเฟื้อ ได้แก่ ไม่ได้ทอดทิ้ง คือ ไม่ดูหมิ่น. บทว่า
สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือของตน, ไม่ใช่ถูกบังคับ. บทว่า จิตฺตีกตฺวา
ความว่า กระทำ คือบูชาด้วยจิต อันประกอบด้วยความเคารพ และ
ความนับถือมาก. บทว่า ปุนปฺปุนํ ได้แก่ โดยส่วนมาก คือไม่ใช่
คราวเดียว. มีวาจาประกอบความว่า ไม่ได้กระทำ ๒-๓ วาระ
ได้ให้ตั้งหลายวาระ.

บัดนี้ เพื่อจะประกาศการกระทำบ่อย ๆ นั้นนั่นแล พระ-
สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า พหู มาเส จ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหู มาเส ได้แก่สิ้นหลายเดือนมี เดือน
จิตตะ เป็นต้น. บทว่า ปกฺเข ได้แก่ สิ้นปักษ์เป็นอันมาก ต่างด้วย
กัณหปักษ์และสุกกปักษ์. บทว่า อุตุสํวจฺฉรานิ จ ความว่า สิ้นฤดู

และปีเป็นอันมาก เช่น ฤดูวสันต์และคิมหันต์ เป็นต้น บทว่า
อุตุสํวจฺฉรานิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถอัจจันตสังโยคะ.
บทว่า ทีฆมนฺตรํ แปลว่า สิ้นระยะกาลนาน. ก็ในข้อนี้ เพื่อจะกล่าว
ถึงความที่ทานเป็นไปตลอดกาลนานว่า ท่านได้ให้ตลอดกาลนาน
แล้วจึงแสดงว่า ทานนั้นเป็นไปไม่ขาดระยะทีเดียวอีก พึงเห็นว่า
ท่านกล่าวว่า พหู มาเส ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอวํ แปลว่า โดยประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ทตฺวา
ยชิตฺวา จ โดยเนื้อความก็เป็นบทเดียวกันนั่นแหละ, อธิบายว่า
ได้ให้ด้วยอำนาจการบริจาคไทยธรรมบางอย่าง แก่พระทักขิไณย-
บุคคลบางพวก และเมื่อให้ตามกำลังแก่ชนทั้งปวงผู้มีความต้องการ
โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ได้ให้สิ่งของเป็นอันมาก แก่ชนเป็นอันมาก

บูชาด้วยอำนาจการบูชาอย่างใหญ่. บทว่า โส หิตฺวา มานุสํ เทหํ
ตาวตึสูปโค อหุ ความว่า ในเวลาสิ้นอายุ อังกุระพาณิชนั้น ละ
อัตภาพมนุษย์ไปบังเกิดเป็นเทพนิกาย ในภพชั้นดาวดึงส์ โดยการ
ถือปฏิสนธิ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่ออังกุระเทพบุตรนั้น บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์ เสวย
ทิพยสมบัติอย่างนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย
อินทกะมาณพ เมื่อท่านพระอนุรุทธเถระเที่ยวบิณฑบาต มีจิต
เลื่อมใส ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง. สมัยต่อมาเขาทำกาละแล้ว

บังเกิดเป็นเทพบุตร ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในภพชั้นดาวดึงส์
ด้วยอานุภาพแห่งบุญอันเป็นเขต ไพโรจน์ล่วงครอบงำอังกุระ
เทพบุตร ด้วยฐานะ ๑๐ มีรูปเป็นต้น อันเป็นทิพย์. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า :-

อินทกะมาณพ ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
แก่พระอนุรุทธเถระ ละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้
ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ แต่อินทกะเทพบุตร
รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุระเทพบุตร โดยฐานะ ๑๐
อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุขะ และความ
เป็นใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ความว่าเป็นเหตุแห่งรูป
คือ เป็นนิมิตแห่งความเกิดขึ้นแห่งรูป. แม้ในบทว่า อายุนา แปลว่า
ด้วยชีวิต. ก็ชีวิตของเทวดาทั้งหลาย ท่านกล่าวมีกำหนดเป็น
ประมาณมิใช่หรือ? ท่านกล่าวจริง. แต่ชีวิตนั้นท่านกล่าวไว้โดย
ส่วนมาก. จริงอย่างนั้น เทวดาบางเหล่า ย่อมมีการตายในระหว่าง

ทีเดียว เพราะความวิบัติแห่งความพยายามเป็นต้น. ส่วนอินทก-
เทพบุตร ยัง ๓ โกฏิ ๖ ล้านปีให้บริบูรณ์เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไพโรจน์ล่วงด้วยอายุ. บทว่า ยสสา ได้แก่
สมบูรณ์ด้วยบริวารใหญ่. บทว่า วณฺเณน ความว่า ด้วยความ

สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง. แต่ความสมบูรณ์ด้วยวรรณธาตุ ท่าน
กล่าวไว้ด้วยบทว่า รูเป ดังนี้นั่นเอง. บทว่า อาธิปจฺเจน แปลว่า
ด้วยความเป็นใหญ่.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่ออังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร บังเกิดในภพชั้น
ดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย
ทรงกระทำยมกปาฏิหาร ณ โคนแห่งคัณฑามพฤกษ์ ที่ประตูแห่ง
กรุงสาวัตถี ในวันอาสาฬหปุณณมี ในปีที่ ๗ แต่กาลตรัสรู้ เสด็จ
ไปยังภพชั้นดาวดึงส์ โดยย่างก้าวไป ๓ ก้าวโดยลำดับ ทรง
ครอบงำความรุ่งเรืองของเทวพรหมบริษัท ผู้ประชุมกันด้วย

โลกธาตุ ณ บัณฑุกมพลศิลาอาสน์ ที่ควงต้นปาริฉัตตกะ ด้วย
รัศมีพระสรีระของพระองค์ เหมือนพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ
เหนือเขายุคนธรรุ่งเรืองอยู่ฉะนั้น ประทับนั่งแสดงอภิธรรม
ทอดพระเนตรเห็นอินทกเทพบุตรผู้นั่งอยู่ในที่ไม่ไกล และอังกุร-
เทพบุตรผู้นั่งอยู่ในระยะ ๑๒ โยชน์ เพื่อจะประกาศความสมบูรณ์
แห่งพระทักขิไณยบุคคล จึงตรัสพระคาถาว่า :-

ดูก่อนอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้ว
สิ้นกาลนาน ท่านมาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่ง
อยู่ไกลนัก.

อังกุรเทพบุตร ได้ฟังดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า มหาทานอันข้าพระองค์บริจาคไทยธรรมเป็นอันมาก
บำเพ็ญมาตลอดกาลนาน ก็ไม่ได้มีผลยิ่ง เพราะเว้นจากทักขิไณย
สมบัติ เหมือนพืชที่หว่านลงในนาที่ไม่ดี ฉะนั้น แต่แม้การให้ภิกษา
ทัพพีหนึ่งของอินทกเทพบุตร ยังมีผลมากยิ่งนัก เพราะสมบูรณ์ด้วย

พระทักขิไณยบุคคล เหมือนพืชที่หว่านในนาดี. ฉะนั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ
ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้น
ปาริฉัตตกพฤกษ์ ณ ภพดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดา
ในหมื่นโลกธาตู พากันมานั่งประชุมกันเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา เทวดา

ไร ๆ ไม่รุ่งโรจน์เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วย
รัศมี พระสัมพุทธเจ้าเท่านั้นย่อมรุ่งโรจน์ร่วง
เทวดาทั้งปวง ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล
๑๒ โยชน์ จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วน
อินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า
รุ่งเรืองกว่าอังกุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้าทอด

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเนตรเห็นอังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตร
แล้ว เมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคล จึงได้
ตรัสพระพุทธพจน์นี้ความว่า ดูก่อนอังกุรเทพ-
บุตร มหาทานท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่
สำนักเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก. อังกุรเทพบุตร
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว

ทรงตักเตือนแล้ว ได้กราบทูลว่า จะประสงค์
อะไร ด้วยทานของข้าพระองค์นั้นอันว่างเปล่า
จากพระทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้นั้น
ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ ดุจ
พระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น.
อังกุรเทพบุตรทูลว่า :-

พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน
ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ
ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคล
ผู้ทุศีลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์
ทั้งไม่ยังทายกให้ปลื้มใจ พืชแม้น้อยอันบุคคล
หว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำ

เสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด
ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วในท่านผู้มีศีล
ผู้มีคุณความดี ผู้คงที่ ย่อมมีผลมาก ฉันนั้น
เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตึเส ได้แก่ ในภพดาวดึงส์.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สิลายํ ปณฺฑุกมฺพเล ความว่า
ในคราวที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพล-
ศิลาอาสน์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ทสสุ โลกธาตูสุ สนฺนิปติตฺวาน เทวตา ความว่า
กามาวจรเทวดา และพรหมเทวดาในหมื่นจักรวาฬ อันรู้กันว่า
ชาติเขต ได้พากันมาประชุมเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อ
ฟังธรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า พากันมาเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา อธิบายว่า บนยอดเขาสิเนรุ.

บทว่า โยชนานิ ทส เทฺว จ องฺกุโรยํ ตทา อหุ ความว่า
ในกาลนั้น คือในเวลาพร้อมพระพักตร์พระศาสดา อังกุรเทพบุตร
ผู้มีจริตตามที่กล่าวแล้วนี้ ได้อยู่ระยะไกล ๑๒ โยชน์ อธิบายว่า
ได้นั่งอยู่ในที่ระยะไกล ๑๒ โยชน์ แต่ที่ที่พระศาสดาประทับ.

บทว่า โจทิโต ภาวิตตฺเตน ความว่า ผู้อันพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วด้วยอริยมรรคภาวนาที่ทรง
อบรมไว้อย่างยอดเยี่ยม ตักเตือนแล้ว. คาถามีอาทิว่า จะประสงค์
อะไรด้วยทานของข้าพระองค์ ดังนี้ เป็นคาถาที่อังกุรเทพบุตร
ทูลแด่พระศาสดา โดยเป็นคำโต้ตอบ. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยน สุฺตํ

ความว่า เพราะในกาลนั้น ทานของข้าพระองค์ ว่าง เปล่า คือ เว้น
จากพระทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวดูแคลน
บุญทานของตนว่า จะประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น.

บทว่า ยกฺโข ได้แก่ เทพบุตร. บทว่า ทชฺชา กล่าวว่า
ให้แล้ว. บทว่า อติโรจติ อมฺเหหิ ความว่า ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก
กว่าบุคคลผู้เช่นกับตน. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต.
อธิบายว่า ย่อมไพโรจน์ร่วง คือ ครอบงำเรา. เพื่อจะหลีกเลี่ยง
คำถามว่า เหมือนอะไร อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์
ในหมู่ดาว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อุชฺชงฺคเล ได้แก่ ในภูมิภาคอันแข็งยิ่งนัก. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ในภูมิภาคอันสูง. บทว่า โรปิตํ แปลว่า อันเขา
หว่านแล้ว คือ หว่านหรือถอนแล้วปลูกอีก. บทว่า นปิ โตเสติ
แปลว่า ย่อมไม่ปลาบปลื้มใจ หรือไม่ยังความยินดีให้เกิด เพราะ

มีผลน้อย. บทว่า ตเถว ความว่า พืชเป็นมากที่เขาหว่านไว้ใน
นาดอน ย่อมไม่ไม่ผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก ทั้งไม่ยังชาวนา
ให้ปลาบปลื้มใจฉันใด ทานแม้เป็นอันมากก็ฉันนั้น ที่บุคคลตั้งไว้
ในบุคคลทุศีล คือผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก
ทั้งไม่ทำให้ทายกปลาบปลื้มใจ

สองคาถาว่า ยถาปิ ภทฺทเก เป็นต้น พึงทราบอรรถโยชนา
โดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ในบทเหล่านั้น บทว่า
สมฺมาธารํ ปเวจฺฉนฺเต ความว่า เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ
คือ เมื่อฝนตกทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน ทุก ๕ วัน. บทว่า คุณวนฺเตสุ

ได้แก่ ในบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตาทิสุ
ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.
บทว่า การํ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาศ อธิบายว่า อุปการะ. เพื่อ
จะหลีกเลี่ยงคำถามว่า อุปการะคืออะไร อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวว่า
คือ บุญ.

พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งคาถานี้ไว้ว่า :-
บุคคลพึงเลือกให้ทานในเขตที่ให้แล้ว
มีผลมาก ทายกทั้งหลายครั้นเลือกให้ทานแล้ว
ย่อมไปสวรรค์ การเลือกให้ทานพระสุคตทรง
สรรเสริญ พระทักขิไณยบุคคลเหล่าใด มีอยู่ใน
ชีวโลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในพระทักขิไณย-
บุคคลเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่าน
ไว้ในนาดี ฉะนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเจยฺย แปลว่า พึงเลือก คือ
พึงใคร่ครวญถึงบุญเขตด้วยปัญญา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่าย
ทั้งนั้นแล.

เรื่องอังกุรเปรตนี้นั้นพระศาสดาทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์
เอง โดยนัยมีอาทิว่า มหาทานอันท่านให้แล้วดังนี้ เพื่อจะทรงประกาศ
ความสมบูรณ์ แห่งพระทักขิไณยบุคคลข้างหน้าแก่เทวดาในหมื่น
จักรวาฬ ในภพดาวดึงส์ พระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมในภพ
ดาวดึงส์นั้น ๓ เดือน ในวันมหาปวารณา ทรงแวดล้อมด้วยหมู่เทพ

เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจากเทวโลกลงสู่สังกัสนคร เสด็จถึงกรุง
สาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อจะทรง
ประกาศความสมบูรณ์แห่งพระทักขิไณยบุคคล ในท่ามกลาง
บริษัท ๔ จึงทรงแสดงโดยพิสดาร โดยนัยมีอาทิว่า เราไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ผู้ใด. จึงยึดเอายอดเทศนา คือ จตุสัจจกถา. ในเวลา
จบเทศนา สัตว์หลายพันโกฏิเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว แล.
จบ อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ ๙

อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐
เรื่องของนางเปรตผู้เป็นมารดาของนายอุตตระนี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทิวาวิหารคตํ ภิกฺขุํ. ในเรื่องนั้น มีการขยายความดัง
ต่อไปนี้ :- เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อปฐมมหาสังคีติ
เป็นไปแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะ พร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูป อยู่
ในราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงโกสัมพี ก็สมัยนั้น อำมาตย์

คนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน ได้ทำกาละแล้ว. ก็ในกาลก่อน อำมาตย์
นั้นได้เป็นผู้จัดตั้งการงานในพระนคร. ลำดับนั้น พระราชาจึง
รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพผู้เป็นบุตรของอำมาตย์นั้นมา แล้ว
ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่บิดาดำรงอยู่ว่า เจ้าจงดูแลการงาน
ที่บิดาเจ้าจัดตั้งไว้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อุตตรมาณพนั้น รับพระดำรัสแล้ว วันหนึ่ง ได้พานายช่าง
ไปป่า เพื่อต้องการไม้สำหรับซ่อมแซมพระนคร จึงเข้าไปยัง
ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะในที่นั้น เห็นพระเถระผู้ทรง
บังสุกุลจีวร นั่งเงียบอยู่ในที่นั้น. จึงเลื่อมใสในอิริยาบถ ได้กระทำ
ปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระเถระแสดงธรรมแก่เธอ.
เธอสดับธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตร จึงตั้งอยู่ใน
สรณะแล้วนิมนต์พระเถระด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายจงรับภัตตาหารเพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้
โดยความอนุเคราะห์กระผมเถิด. พระเถระรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
เธอกลับจากที่นั้นแล้วไปยังนคร ได้บอกแก่อุบาสกเหล่าอื่นว่า
ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระเถระเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ถึงท่าน
ทั้งหลายก็พึงมายังโรงทานของข้าพเจ้า.

ในวันที่ ๒ เวลาเช้าตรู่ เธอให้จัดขาทนียะ และโภชนียะอัน
ประณีต แล้วให้แจ้งเวลา กระทำการต้อนรับพระเถระผู้มาพร้อม
กับภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้วมุ่งหน้าให้เข้าไปยังเรือน ลำดับนั้น
เมื่อพระเถระและภิกษุทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยเครื่องลาด
อันเป็นกัปปิยะควรค่ามาก ทำการบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และธูป

ให้พระเถระและภิกษุเหล่านั้นอิ่มหนำด้วยข้าวน้ำอันประณีต เกิด
ความเลื่อมใสกระทำอัญชลีฟังอนุโมทนา เมื่อพระเถระกระทำ
อนุโมทนาภัตรเสร็จแล้วไปอยู่ จึงถือบาตรตามส่ง ออกจากนคร
แล้วเมื่อจะกลับ วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายพึง
เข้ามายังเรือนของข้าพเจ้าเป็นนิตย์ รู้ว่าพระเถระรับแล้วจึงกลับ.

เธออุปัฏฐากพระเถระอยู่อย่างนี้ ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ตั้งอยู่
ในโสดาปัตติผลแล้ว และได้สร้างวิหารถวาย ทั้งกระทำให้ญาติ
ของตนทั้งหมดเลื่อมใสในพระศาสนา.

ฝ่ายมารดาของเธอมีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม จึง
ได้บริภาษอย่างนี้ว่า เมื่อเรายังต้องการ เจ้าให้สิ่งไรแก่พวกสมณะ
สิ่งนั้นจงสำเร็จเป็นโลหิตแก่เจ้าในปรโลก. แต่นางอนุญาตกำหาง
นกยูงกำหนึ่งที่ให้ในวันฉลองวิหาร นางทำกาละแล้วเกิดในกำเนิด
เปรต แต่เพราะนางอนุโมทนาทานด้วยกำหางนกยูง นางจึงมีผม

ดำสนิท มีปลายตวัดขึ้น ละเอียด และยาว. ในคราวที่นางลงแม่น้ำ
คงคาด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำนั้น แม่น้ำคงคาเต็มไปด้วยเลือด นางถูก
ความหิวกระหายครอบงำเที่ยวไปสิ้น ๕๕ ปี วันหนึ่ง ได้เห็น
พระกังขาเรวตเถระนั่งพักกลางวัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงเอา
ผมของตนปิดตัวเข้าไปหา ขอน้ำดื่ม ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร