วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทศบารมีวิภาค - สัจจบารมี
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์)
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


อิทานิ อฏฺฐมี ทิวเส สนฺนิปติตาย พุทฺธปริสาย กาจิ ธมฺมิกถา กถิยเต,
อิโต ปรํ สจฺจปารมึ อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ภาสิสฺสามีติ
อิมสฺส ธมฺมปริยายสฺส อตฺโถ สาธายสฺมนฺเตหิ สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติ


ณ วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีที่ ๘ ค่ำ แห่งศุกลปักษ์
เป็นวันสันนิบาตแห่งพุทธบริษัท เพื่อจะฟังพระธรรมเทศนา

เมื่อพร้อมด้วยสันนิบาตประชุมและได้ประกอบกิจอันเป็นบุรพภาคปฏิบัติ
มีไหว้พระสวดมนต์และสมาทานศีลสำเร็จแล้ว

ต่อนี้เป็นโอกาสที่จักฟังพระธรรมเทศนา
พึงตั้งใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ของตน ๆ ด้วยการฟังพระธรรมเทศนา
นับเข้าในโสตาปฏิยังคะ เป็นองค์ที่จักให้ได้สำเร็จพระโสดาประการหนึ่ง

ท่านแสดง โสตาปฏิยังคะ องค์ที่จักให้สำเร็จพระโสดาไว้ ประการว่า

สปฺปุริสูปสํเสโว การสมาคมคบหากับท่านที่เป็นสัตบุรุษ ๑

สทฺธมฺมสฺสวนํ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑

โยนิโสมนสิกาโร สนสิการ คือ กระทำใจใจโดยแยบคายในธรรมของสัตบุรุษ ๑

ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ประพฤติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมของสัตบุรุษ ๑

คุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ ถ้ามีพร้อมบริบูรณ์ในบุคคลผู้ใด
ย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้นั้นสำเร็จพระโสดา จึงมีนามว่า โสตาปฏิยังคะ


แปลว่าองคคุณจะให้สำเร็จพระโสดา ดังนี้

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 27 มี.ค. 2010, 16:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความจริงบรรดาพุทธบริษัท ที่ตั้งใจมาฟังพระธรรมเทศนานี้
ก็คงมีความประสงค์จะได้บรรลุคุณ คือความเป็นพระโสดาด้วยกันแทบทุกคน

ด้วยคุณธรรมคือความเป็นพระโสดานั้น เป็นโลกุตรธรรม

ผู้บรรลุคุณธรรมนั้นชื่อว่า นิยโตบุคคล แปลว่าบุคคลผู้เที่ยง
คือเที่ยงต่อสุคติและเที่ยงที่จักได้บรรลุคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไป
และได้นามว่า อจลสัทธา แปลว่า ผู้มีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย
เป็นไปมั่นไม่หวั่นไหว ไม่กลับกลายไปเชื่อศาสดาอื่น
และไม่กลับกลายมาเป็นปุถุชนคนหนาไปด้วยกิเลสอีกด้วย
เป็นผู้รู้ตนเป็นธรรม เห็นตนเป็นธรรม ตามบทที่ท่านพรรณนาไว้ ข้อ ว่า


ทิฏฺฐธมฺโม เป็นผู้มีธรรมอันได้เห็นแล้ว

ปตฺตธมฺโม เป็นผู้มีธรรมอันได้บรรลุถึงแล้ว

วิทิตธมฺโม เป็นผู้มีธรรมอันได้รู้แจ้งแล้ว

ปริโยคาฬฺหธมฺโม เป็นผู้มีธรรมอันหยั่งลงรอบคอบแล้ว

ติณฺณวิจิกิจฺโฉ เป็นผู้มีความสงสัยเป็นเครื่องขัดข้องลำบากจิตอันข้ามได้แล้ว

วิคตกถํกโถ เป็นผู้มีความสงสัยให้กล่าวอะไรหนอ ๆ ไปปราศแล้ว

เวสารชฺชปฺปตฺโต เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว

อปรปจฺจโย สตฺถุสาสเน เป็นผู้ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนแห่งพระศาสดา

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ท่านพรรณนาคุณแห่งพระโสดาไว้อย่างนี้
พึงเข้าใจว่า พระโสดาท่านมีแว่นธรรมสำหรับส่องภพเบื้องหน้าอยู่กับตน
ไม่ฉงนในอริยสัจทั้ง ๔ มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ฉะนี้

เพราะเหตุนี้ ควรพุทธบริษัทใฝ่ใจในพุทธโอวาทนี้ให้มาก
พยายามถือเอาคุณ คือความเป็นพระโสดาให้ได้ในชาตินี้
อย่าปรารมภ์แต่ในเบื้องหน้าว่า

นิพฺพานปจฺจโย โหตุ อนาคเต กาเล

ให้คิดเสียว่า คุณสมบัติที่จักให้สำเร็จพระนิพพานมาถึงพร้อมแก่ตนเต็มที่แล้ว

ข้อสำคัญก็คือ อัตตสมบัติ ที่มีอวัยวะร่างกายสมบูรณ์และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ได้รับพุทธโอวาท ยังขาดอยู่แต่ โยนิโสมนสิการ และ ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ เท่านั้น


ถ้าตั้งใจโยนิโส และปฏิบัติตามให้ตรงตามพุทธโอวาท
ก็คงไม่คลาดจากมรรคผลที่ตนต้องประสงค์ ไม่ต้องมีความสงสัย

ต่อนี้จักแสดงใน สัจจบารมี ต่ออนุสนธิสืบไป

สจฺจํ นาม ชื่ออันว่าความสัจนี้ นับเข้าในพระบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าดวงหนึ่ง
เป็นโพธิปกรณธรรม พระองค์ได้ทรงสร้างสมมาสิ้นโกฏิแห่งกัปเป็นอันมาก

ลักษณะแห่งสัจจบารมีนั้น ได้แก่ความจริง คือจริงกาย จริงวาจา จริงใจ
ส่วนจริงใจนั้น คือตนได้ตั้งเจตนาว่า จักไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
จักไม่ให้มีอิสสา พยาบาท อาฆาตจองเวรแก่ใคร
จิตของเราจักไม่ให้น้อมไป เงื้อมไปในกามารมณ์
เมื่อตั้งเจตนาไว้แล้วอย่างนี้ ก็ตั้งหน้ารักษาให้ได้จริงตามที่ตั้งไว้นั้น อย่างนี้ชื่อว่า จริงใจ

ส่วนจริง วาจา นั้น คือตนตั้งเจตนาไว้ว่า

เราจักกล่าวแต่คำจริง จักกล่าวแต่คำอ่อนโยน
จักกล่าวแต่คำสมัครสมานประสานสามัคคี
จักกล่าวแต่คำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์
เมื่อได้ตั้งเจตนาลงไว้แล้ว ก็ตั้งหน้ารักษาให้เป็นจริงตามนั้น อย่างนี้ชื่อว่าจริงวาจา

ส่วนจริง กาย นั้น คือตนได้ตั้งเจตนาไว้ว่า

จักเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เว้นจากอสัทธรรมที่ผิด
เว้นจากการดื่มน้ำเมา เมื่อตั้งไว้ซึ่งเจตนาเช่นนั้น
ก็ตั้งหน้ารักษาให้จริงไปตามนั้น อย่างนี้ ชื่อว่าจริงกาย

สจฺจ นี้เป็นยอดของศีล เป็นเครื่องประดับของศีล เป็นรัศมีของศีล
ผู้รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาฏิโมกข์
ต้องให้มีสัจจะกำกับ จึงจักมีสิริวิลาสสะอาดผ่องใส


ศีลเปรียบเหมือนวงแหวน สัจจะเปรียบเหมือนเพชรพลอยเครื่องประดับ
เป็นยอดเป็นจอม ทำวงแหวนนั้นให้สะอาดงดงาม
มีราคาสูงขึ้นตามส่วนของเพชรพลอย ซึ่งเป็นยอดเป็นจอมนั้นฉันใด

ศีลนี้ ถ้าได้สัจจะมาประดับเป็นยอดเป็นจอมขึ้น
ก็ย่อมสะอาดรุ่งเรืองขึ้น ตามกำลังของสัจจะอย่างนั้น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ท่านแสดงไว้ว่า สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ ความจริงนี้แหละเป็นธรรมชาติ
มีรสให้สำเร็จประโยชน์ นับว่าเป็นรสอันอร่อย ยิ่งกว่ารสอย่างอื่น
เพราะรสอย่างอื่นจะเป็นรสแต่งขึ้นปรุงขึ้น หรือรสของเป็นเองตามสภาวะก็ตาม
จะอร่อยได้บางครั้งบางสมัยบางบุคคลไม่ทั่วไป

ส่วนรสแห่งสัจจะความจริงนี้ ย่อมเป็นที่พึงใจด้วยกันไม่เลือกบุคคลประเภทใด
และเป็นธรรมเครื่องประดับของนักปราชญ์มาแล้วแต่โบราณกาล


ตามที่ท่านประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า

สจฺจํ เว อมตา วาจา เอส ธมฺโม สนนฺตโน,
สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา


ความว่า ความจริงนี่แหละเป็นวาจาอันไม่ตาย
ธรรมคือสัจจวาจานี้เป็นของบัณฑิตแต่โบราณกาล
บัณฑิตได้สรรเสริญผู้ตั้งมั่นในสัจจะ
ได้ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอรรถและตั้งอยู่ในธรรม ดังนี้


ท่านพรรณนาคุณแห่งบุคคลผู้รักษาสัจจะไว้ในที่มาต่าง ๆ กันโดยอเนกนัย
จักสาธกนิทานมาไว้พอเป็นนิทัศน์

ในอดีตภาค ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่ง เห็นโทษในฆราวาส
บริจาคโภคทรัพย์ที่ควรบริจาค มอบโภคทรัพย์ที่ควรมอบแก่ภรรยาและบุตร
แล้วออกบวชบำเพ็ญพรตปลูกอาศรมอยู่ที่วิเวกตำบลหนึ่ง ไม่สู้ไกลแต่พระนครนัก
พอไปแสวงหาอาหารสะดวก ตั้งหน้าเจริญสมณธรรมตามผาสุก

ในสมัยนั้น ยังมีเศรษฐีตระกูลหนึ่ง มีความเลื่อมใสเป็นโยมอุปัฏฐาก
ถึงวัน ๘ ค่ำ ๑๔ - ๑๕ ค่ำ พาภรรยาและบุตรออกไปปฏิบัติรักษาอุโบสถศีลอยู่เป็นนิตย์

อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกับภรรยายังสนทนากันกับพระดาบสนั้นอยู่ที่อาศรม
พวกบ่าวพาบุตรเศรษฐีไปเที่ยวเล่นที่ข้างวัด
มีงูเห่าดำอาศัยอยู่ที่หัวปลวกตำบลนั้น เลื้อยออกมากัดเอาเด็กบุตรเศรษฐี
ล้มลงกับที่ขาดสัญญา พิษขึ้นดำไปทั้งตัว
พวกบ่าวก็ช่วยกันอุ้มเอาเด็กนั้นมายังสำนักแห่งบิดามารดา วางลงตรงหน้าพระดาบส

พระดาบสจึงแนะนำเศรษฐีกับภรรยาว่า

ในเราทั้ง ๓ นี้ ใครมีสัจจะความจริงใจของตนอย่างไร
จงตั้งสัตยาธิษฐานบำบัดพิษนี้ให้อันตรธาน


ส่วนพระดาบสตั้งสัตยาธิษฐานขึ้นก่อน กล่าวขึ้นว่า

ตั้งแต่อาตมาบวชมาได้ ๒๐ ปีล่วงแล้ว มิได้มีความเลื่อมใสในพรหมจรรย์เลย
คิดแต่จะสึกไม่ขาดสักวัน แต่เห็นว่า ได้ตั้งใจบวชแล้วก็สู้อดสู้ทนเอาอย่างนั้นเอง
วาจาที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้เป็นคำสัจคำจริง ไม่เอาคำเท็จมากล่าว
ขอให้พิษงูนี้จงระงับจากเด็กให้ประจักษ์ประเดี๋ยวนี้

พอขาดคำก็เอามือลูบลงที่ตัวเด็ก
พิษที่ดำทั้งตัวนั้นหายทันที ตัวเด็กขาวเป็นปกติ


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 27 มี.ค. 2010, 17:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ฝ่ายเศรษฐีตั้งสัตยาธิษฐานขึ้นว่า

ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับมรดกสืบตระกูลมา
ไม่มีความเลื่อมใสยินดีในศาลาทานทั้ง ๔ ประตู อันบิดามารดาตั้งไว้
เสียงอื้ออึงอยู่มิได้ขาด คิดจะให้รื้อทิ้งเสีย คิดทุกวันมิได้ขาด

แต่เห็นว่าเป็นของบิดามารดา จำเป็นจำใจต้องรักษาไว้

วาจาที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้เป็นคำสัจคำจริง ไม่เอาคำเท็จมากล่าว
ขอให้พิษงูนี้จงระงับจากเด็กให้ประจักษ์เดี๋ยวนี้

พอขาดคำก็เอามือลูบลงที่ตัวเด็ก
พิษงูก็สงบกายออกไป เด็กได้สติก็กลับตัวลืมตาขึ้นได้


ฝ่ายภรรยาเศรษฐีตั้งสัตยาธิษฐานขึ้นว่า

ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้มาเป็นภรรยาร่วมสุขร่วมทุกข์อยู่กับท่านเศรษฐีก็นานมาแล้ว
มีบุตรด้วยกัน ๒ คน บุตรก็โตแล้ว บุตรคนเล็กก็ถูกงูกัดนี้

ข้าพเจ้าจะได้มีความรักความยินดีอยู่กับท่านเศรษฐีนี้ไม่มีเลย
คิดเกลียดคิดชังอยู่เสมอ คิดจะละทิ้งอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาด
มาหวนคิดถึงชาติตระกูลของตนว่าไม่เคยเป็นร้างเป็นหม้ายเลย
ก็สู้อดกลั้น ทนทานเอาเท่านั้นเอง

วาจาที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้เป็นคำสัจคำจริง ไม่ได้เอาคำเท็จมากล่าว
ขอให้พิษงูจงระงับดับหายจากเด็กบัดนี้เถิด

พอขาดคำก็เอามือลูบลงตัวเด็ก
พิษงูก็ระงับดับหาย เด็กลุกขึ้นวิ่งเล่นได้เป็นปกติ


ที่ชักเอาใจความของเรื่องนิทานมาแสดงนี้
ประสงค์จะให้เห็นว่า

อำนาจแห่งสัจจะเป็นของน่าอัศจรรย์


แต่เรื่องสัจจะของเขาก็ไม่น่าจะมีฤทธิ์มีเดช แต่ก็ยังมีคุณานุภาพถึงปานนั้น
ในที่มาอื่น ๆ พรรณนาคุณของสัจจะมีประการเป็นอันมาก

บัดนี้จักย่นลงแสดงสัจจะที่จักให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุคุณธรรมตามที่ตนปรารถนา
ให้พึงศึกษาให้รู้จักสัจจธรรม คือธรรมที่เป็นของจริงให้ผลดีอยู่ทุกเมื่อ

คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคผลนิพพาน เป็นสัจจธรรม
คือเป็นธรรมอันจริงอยู่โดยธรรมดา
เป็นธรรมไม่ยักย้ายผันแปรไปอย่างอื่น เป็นของดีอยู่อย่างนั้นชั่วนิรันดร


ถ้าบุคคลทำตนให้จริงตามเท่านั้น
ก็จักได้รับผลคือความสุขตามชั้นตามภูมิที่ตนรักษาได้


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 27 มี.ค. 2010, 17:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


คือว่า ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน เป็นของจริงอยู่แล้ว
ส่วนตัวเราก็เป็นสภาวธรรม ของจริงส่วนหนึ่งเหมือนกัน

เราตั้งใจน้อมกายถวายตัวรับเอาสัจจธรรม
คือ ศีล สมาธิ ปัญญามาเป็นตัว
ตัวของเราก็เป็นสัจจธรรม ชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา


ศีลสมาธิปัญญาเป็นอริยมรรค ตัวของเราก็เป็นสัจจธรรมชั้นมรรค
เมื่อมรรคเป็นของจริงแล้ว ผลจะไปทางไหน
ตัวของเราก็เป็นสัจจธรรมชั้นผลไปเท่านั้น
เมื่อมรรคผลเป็นของจริงมีในตัวเราแล้ว นิพพานจะหนีไปข้างไหน
ตัวของเราก็จักเป็นสัจจธรรม คือนิพพานไปเท่านั้นเอง


ข้อสำคัญคือให้รู้จักสัจจธรรม

สัจจธรรมมีมากประเภทโดยอาการมีหนึ่ง โดยปรมัตถ์
จะยกขึ้นแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดัง ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน
เป็นแต่คุณธรรมหรือลักษณะอาการของธรรมเท่านั้น
ตัวธรรมก็คือสกลกายของเรานี้เอง

สกลกายนี้ ถ้าประดับด้วยคุณธัมมาลังการชั้นใด ก็เป็นสัจจธรรมชั้นนั้น
ให้พุทธบริษัทผู้ตั้งใจรับแจกพระบารมีแต่สำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พึงยินดีรับเอาสัจจบารมีเข้ามาอบรมกายวาจาใจของตน
ทำตนให้จริงในศีล ในสมาธิ ในปัญญา ให้จริงตลอดถึงมรรคผลนิพพาน
จะรักษาความจริงให้สำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความไม่ประมาท
ไม่เพลินต่ออารมณ์ของโลกเกินไป
เป็นเหตุเป็นปัจจัยอุดหนุนสัจจบารมีให้มีกำลัง


ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร พึงตั้งใจดำเนินตามโดยนัยบรรยายมานี้
ก็จะสมดังความมุ่งมาตรปรารถนาโดยไม่ต้องสงสัย ดังวิสัชนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ


:b8: :b8: :b8:

ที่มา : หนังสือ ทศบารมีวิภาค-มงคลสุตตวิภาคบรรยาย
ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

สำเนาเทศน์กัณฑ์เช้า ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนอ้าย (๒/๙/๗๐) [ทศบารมีวิภาค - สัจจบารมี]


:b50: :b50: ทศบารมีวิภาค : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=56279

:b44: รวมคำสอน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47595

:b44: ประวัติและปฏิปทา “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26908


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุในทุกสิ่งดีดีที่คุณโรสหมั่นทำแล้วด้วยดีค่ะ

:b48: ธรรมรักษานะคะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2015, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: สาธุๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 06:58 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร